อิสรภาพ ใน ทาง พระพุทธ ศาสนา หมาย ถึง อะไร

พุทธศาสนาไม่มีการบังคับ ให้คนศรัทธา หรือเชื่อ แต่ท้าทายให้เข้ามาเรียนรู้ และพิสูจน์หลักธรรม ด้วยตนเอง ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือคำสอน ซึ่งทรงสอนให้ผู้ฟังใช้ปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้ก่อนจะปลงใจเชื่อ พระสงฆ์หรือพุทธสาวกมีหน้าที่เพียงอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ คนที่สนใจฟังเท่านั้น ทำให้ศาสนาพุทธได้รับการยอมรับจากวิญญูชนไปทั่วโลก นักปราชญ์ทั้งหลายทั้งในอดีต และปัจจุบันจึงกล่าวยกย่องว่าเป็นศาสนาที่ประกาศความเป็นอิสระของมนุษย์ให้ปรากฏแก่โลกยิ่งกว่าศาสนาใดๆที่มีมา ทั้งจุดมุ่งหมายเป็นอิสระจากกิเลสตัณหาและมายาสิ่งสมมุติทั้งปวง

ในอีกนัยหนึ่ง พุทธศาสนา สอนว่าทุกคนมีอิสระ และเสรีที่จะเลือกทำ เลือกเป็น เลือกสร้าง โลก ได้อย่างเต็มที่ด้วยตนเอง โดยการสร้างเหตุ และเตรียมปัจจัยให้พร้อม ที่จะทำให้เกิดผลอย่างที่ต้องการ (เมื่อเหตุและปัจจัยพร้อม ผลก็จะเกิดขึ้น) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับ การดลบันดาลของใคร หรือกรรมเก่า (ที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่ง หรือเงื่อนไขหนึ่งเท่านั้น)

ที่มา http://www.wikipedia.org

Thaiza Variety ธรรมะ ธรรมโมลักษณะพระพุทธศาสนาที่ ๖ มุ่งอิสรภาพ

13 กุมภาพันธ์ 2555
3,901

มหาสมุทรแม้จะกว้างใหญ่เพียงใดก็ตาม แต่ทั้งหมดนั้น น้ำในมหาสมุทรที่มากมาย มีรสเดียวคือรสเค็ม ธรรมวินัยของพระองค์ที่สอนไว้มากมายนั้น ทั้งหมดก็มีรสเดียวคือวิมุตติรส ได้แก่ ความหลุดพ้นจากทุกข์ และกิเลส

ก ก

อิสรภาพ ใน ทาง พระพุทธ ศาสนา หมาย ถึง อะไร




ลักษณะที่ ๖ พระพุทธศาสนานั้นมีวิมุตติ หรือความมีอิสรภาพเป็นจุดหมายสำคัญ และไม่ใช่เป็นเพียงจุดหมายเท่านั้น แต่มีอิสรภาพเป็นหลักการสำคัญทั่วไปทีเดียว


ในทางธรรมท่านใช้คำว่า วิมุตติรส กับ วิมุตติสาระ


สำหรับวิมุตติรสนั้น พระพุทธเจ้าตรัสเป็นคำอุปมาว่า มหาสมุทรแม้จะกว้างใหญ่เพียงใดก็ตาม แต่ทั้งหมดนั้น น้ำในมหาสมุทรที่มากมาย มีรสเดียวคือรสเค็ม ฉันใด ธรรมวินัยของพระองค์ที่สอนไว้มากมายนั้น ทั้งหมดก็มีรสเดียวคือวิมุตติรส ได้แก่ ความหลุดพ้นจากทุกข์ และกิเลส ฉันนั้น


ภาษาสมัยใหม่เรียกความหลุดพ้นว่าอิสรภาพ เดี๋ยวนี้ เราไม่ใช้คำว่า วิมุตติ เราติดคำว่าอิสรภาพ ที่จริงเราใช้คำว่า อิสรภาพในความหมายของวิมุตตินั่นเอง เวลาแปลเป็นภาษาอังกฤษจะเห็นชัด ฝรั่งแปลวิมุตติว่า freedom เราแปลอิสรภาพ ก็ว่า freedom ตรงกัน แต่ในภาษาไทย คนไทยแทนที่จะใช้คำว่าวิมุตติ กลับไปใช้คำว่า อิสรภาพ ที่จริงในภาษาบาลีเดิม อิสรภาพไม่ได้แปลว่า freedom


อิสรภาพนั้น แปลว่า ความเป็นใหญ่ ตรงกับ sovereignty หรือ แม้แต่ domination หรือ dominion คือความมีอำนาจเหนือกว่า แต่เราใช้อิสรภาพในความหมายของ freedom เพราะฉะนั้น อิสรภาพที่ใช้กันในภาษาไทย จึงไปตรงกับคำว่า วิมุตติ วิมุตติรส ก็คือ รสแห่งอิสรภาพ


พระพุทธศาสนานั้น มีลักษณะของความหลุดพ้น หรือความเป็นอิสระอยู่โดยตลอด จุดหมายของพระพุทธศาสนาก็ได้แก่ วิมุตติ


พระพุทธเจ้าตรัสอีกแห่งหนึ่งว่า วิมุตติสารา สพฺเพ ธมฺมา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีวิมุตติเป็นสาระ คือมีวิมุตติเป็นแก่นสาร ซึ่งก็มีความหมายอันเดียวกัน ลักษณะนี้ก็บอกให้ทราบว่า พระพุทธศาสนานั้นถือเอาวิมุตติหรืออิสรภาพนี้ เป็นจุดหมาย เป็นหลักการสำคัญ และให้ความสำคัญแก่อิสรภาพทุกขั้นตอน ไม่เฉพาะในขั้นสุดท้ายที่ว่า ต้องการให้คนเข้าถึงความหลุดพ้นเท่านั้น แต่มีลักษณะของการไม่ยึดติดถือมั่น ไม่มีอุปาทานในสิ่งต่างๆ อยู่โดยตลอด


จะเห็นว่า หลักการของพระพุทธศาสนานี้ บางครั้งก็สรุปด้วยคำว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย คือให้รู้เข้าใจความจริงถึงขั้นที่ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นไม่อาจเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้ ไม่อาจไม่น่า ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพราะอะไร เพราะว่าสิ่งทั้งหลายนั้น ไม่ได้เป็นไปตามความปรารถนา หรือตามความยึดมั่นของเรา แต่มันเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยของมัน ถึงเราจะไปยึดมั่น ก็ไม่มีผลอะไรต่อตัวความจริง มีแต่จะกระทบกระเทือนต่อตัวเราเอง ทำให้เราแย่เอง


วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือเราจะต้องรู้ความจริงของเหตุปัจจัยแล้วไปทำที่เหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น เราจะต้องรู้เท่าทันความจริงว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของเรา การเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ไม่เป็นประโยชน์และเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แล้วก็ไม่ทำให้มีผลเป็นจริงขึ้นมาได้


พระพุทธศาสนาก็จึงสอนให้เรามีอิสรภาพ ไม่ยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย จนกระทั่งเมื่อรู้ความจริง รู้เท่าทันชัดแจ้งทั่วตลอดแล้ว ก็จะมีจิตหลุดพ้น เป็นอิสระ


แม้แต่ในขั้นต้นๆ สำหรับการปฏิบัติที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นวิมุตติ ก็จะมีลักษณะของการไม่ยึดติดอยู่เสมอ เช่น พระพุทธศาสนาไม่ให้ความสำคัญสูงสุดแก่ศรัทธา การบรรลุจุดหมายของพระพุทธศาสนา หรือการเข้าถึงอิสรภาพ ไม่ขึ้นต่อศรัทธาหรือความเชื่อ แต่จะหลุดพ้นได้เพราะรู้เห็นแจ้งด้วยตนเอง อันนี้เป็นลักษณะของการไม่ยึดติด


เริ่มตั้งแต่ไม่ให้ยึดติดในบุคคล แต่ให้รู้จักพึ่งพาบุคคลในทางที่ถูกต้อง เอาเขาเป็นสื่อในการที่จะนำเราให้เข้าไปหาสัจธรรมด้วยการเป็นกัลยาณมิตร


หลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องพระวักกลิ ซึ่งบวชเข้ามาแล้วก็พอใจในพระรูปพระโฉมของพระพุทธเจ้ามาก ชอบติดตามพระองค์ไปในที่ต่างๆ เรื่อยไป พระพุทธเจ้าก็ทรงคอยมองดูรอให้อินทรีย์ของพระวักกลิแก่กล้า จนถึงคราวหนึ่งก็ได้ตรัสว่า "ดูก่อน วักกลิ เธอจะตามดูทำไมร่างกายที่เปื่อยเน่าได้นี้" แล้วก็ตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม" คือให้ย้ายความสนใจ และความติดใจออกจากตัวบุคคลไปหาตัวธรรม หรือสัจธรรม

อันนี้ก็เป็นลักษณะของการที่ไม่ให้ติด ไม่ให้ยึดในสิ่งทั้งหลาย แม้แต่ในระดับของการปฏิบัติขั้นต้นๆ จนถึงขั้นสุดท้ายก็ให้มีอิสรภาพโดยสมบูรณ์.

ที่มา http://www.dhammajak.net/

Tags: พุทธศาสนา ลักษณะ อิสรภาพ วิมุตติ ธรรมะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อิสรภาพ ใน ทาง พระพุทธ ศาสนา หมาย ถึง อะไร
    8 ก.ค. 65  1,506

    วันนี้ในอดีต ครบรอบ 29 ปี 8 ก.ค.วันมรณภาพ ท่านพุทธทาสภิกขุ

  • อิสรภาพ ใน ทาง พระพุทธ ศาสนา หมาย ถึง อะไร
    7 ก.ค. 65  1,210

    ซินเจียงเตรียมเปิดให้สาธารณชนเข้าชมถ้ำพุทธศิลป์ คู่มู่ถู่หล่า ต.ค.นี้

  • อิสรภาพ ใน ทาง พระพุทธ ศาสนา หมาย ถึง อะไร
    9 ก.พ. 65  1,583

    นักโบราณคดีพบวัดพุทธเก่าแก่ อายุกว่า 2,000 ปีในปากีสถาน

  • อิสรภาพ ใน ทาง พระพุทธ ศาสนา หมาย ถึง อะไร
    23 ม.ค. 65  1,478

    หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ พระอาจารย์เซนชื่อดังระดับโลก มรณภาพอย่างสงบแล้ว

  • อิสรภาพ ใน ทาง พระพุทธ ศาสนา หมาย ถึง อะไร
    29 ธ.ค. 63  2,379

    สำนักงานพระพุทธศาสนา ชวนร่วมสวดมนต์ข้ามปีออนไลน์ ที่บ้านพร้อมกันทั่วประเทศ

  • อิสรภาพ ใน ทาง พระพุทธ ศาสนา หมาย ถึง อะไร
    1 ก.ค. 63  2,782

    สัปดาห์พระพุทธศาสนาวิถีใหม่ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา ผ่านช่องทางออนไลน์

โหลดบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

อิสรภาพ ทางพระพุทธศาสนา หมายถึงอะไร

2) จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาคืออิสรภาพ ความมีอิสรภาพเป็นจุดหมาย ส าคัญ และไม่ใช่เป็นเพียงจุดหมายเท่านั้น แต่มีอิสรภาพเป็นหลักการส าคัญทั่วไปทีเดียว ในทางธรรมท่านใช้ค าว่า วิมุตติรสกับวิมุตติสาระ พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะของความ หลุดพ้น หรือความเป็นอิสระอยู่โดยตลอด จุดหมายของพระพุทธศาสนาก็ได้แก่วิมุตติ ลักษณะนี้บอกให้ ...

การมุ่งสู่อิสรภาพของศาสนาพุทธ คือข้อใด

ประการออกบวช คือ พระองค์มุ่งออกสู่อิสรภาพทั้ง หนึ่งซึ่งในทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นกระบวนการเรียน อิสรภาพทางกายและอิสรภาพทางใจ ที่สำคัญมากก็ รู้ที่ถูกต้อง กระบวนการเรียนรู้อย่างนี้จะทำให้มนุษย์ คือ ความอิสระจากการครอบงำของอวิชชา และกิเลส

การมีอิสรภาพ คืออะไร

น. ความเป็นใหญ่ ความเป็นไทแก่ตัว การปกครองตนเอง.

เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาจึงได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งอิสรภาพ

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งอิสระเสรีภาพ ด้วยการสร้าง "ปัญญา" ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทัน เพื่อบรรลุ วัตถุประสงค์ อันสูงสุดคือ นิพพาน คือการไม่มีความทุกข์ อย่างที่สุด หรือ การอยู่ในโลกอย่างไม่มีทุกข์ คือกล่าวว่า ทุกข์ทั้งปวงล้วนเกิดจากการยึดถือ ต่อเมื่อ "หมดการยึดถือ" จึงไม่มีอะไรจะให้ทุกข์ (แก้ที่ต้นเหตุของทุกข์ ...