การจัดการความปลอดภัยคืออะไร

(อ้างอิงจาก คณะกรรมการความปลอดภัยด้านเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.), 2560.)

1. การรักษาความลับ (Confidentiality) ให้บุคคลผู้มีสิทธิเท่านั้น เข้าถึงเรียกดูข้อมูลได้ ต้องมีการควบคุมการเข้าถึง ข้อมูลเป็นความลับต้องไม่เปิดเผยกับผู้ไม่มีสิทธิ

2. ความถูกต้องแท้จริง (Integrity) มีเกราะป้องกันความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล และวิธีการประมวลผล ต้องมีการควบคุมความผิดพลาด ไม่ให้ผู้ไม่มีสิทธิมาเปลี่ยนแปลงแก้ไข

3. ความสามารถพร้อมใช้เสมอ (Availability) ให้บุคคลผู้มีสิทธิเท่านั้นเข้าถึงข้อมูลได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ต้องมีการควบคุมไม่ให้ระบบล้มเหลว มีสมรรถภาพทำงานต่อเนื่อง ไม่ให้ผู้ไม่มีสิทธิมาทำให้ระบบหยุดการทำงาน

     ความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ (Information Security)

บริษัทฯ มีนโยบายให้ความปลอดภัยและการรักษาความลับของข้อมูล โดยบริษัทฯ ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐานสูงทั้งในด้านเทคโนโลยีและกระบวนการเพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลที่เป็นความลับ บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีระบบความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเว็บไซต์และข้อมูลของบริษัทฯ มีการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการเลือกใช้ Firewall System, Anti-Virus System ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง รวมทั้งได้ใช้เทคโนโลยี เข้ารหัสข้อมูลที่ระดับ 128 บิท (128 Bit Encryption) ซึ่งเป็นการเข้ารหัสข้อมูลระดับสูงสำหรับการทำธุรกรรมผ่านบริการทางอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังกำหนดให้ลูกค้าต้องลงทะเบียนก่อนจึงจะสามารถใช้บริการได้

บริษัทฯ ได้มีการเลือกใช้เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ที่มีระบบการรักษาความปลอดภัยในขั้นพื้นฐานที่เป็นมาตรฐานสากลอยู่แล้ว และเสริมด้วยการทำงานด้านอุปกรณ์ความปลอดภัยเฉพาะอีกชั้น และโดยหลักการทั่วไปในการควบคุมและรักษาความปลอดภัยให้กับระบบข้อมูลข่าวสาร ได้แก่การควบคุมส่วนต่าง ๆ ของระบบอย่างรัดกุม วิธีการที่ใช้ในการควบคุมมีดังนี้

1.  การควบคุมรักษาความปลอดภัยโดยตัวซอฟต์แวร์ (Software Control)
โดยมีระดับวิธีการ 3 วิธีคือ

-  การควบคุมจากระบบภายในของซอฟต์แวร์ (Internal Program Control) คือการที่       โปรแกรมนั้นได้มีการควบคุมสิทธิการเข้าถึง และสิทธิในการใช้ข้อมูลภายในระบบ ซึ่งถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลภายในระบบเอง 

-  การควบคุมความปลอดภัยโดยระบบปฏิบัติการ (Operating System Control) คือการควบคุมสิทธิการเข้าถึงและการใช้ข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้คนหนึ่ง และจำแนกแตกต่างจากผู้ใช้คนอื่น ๆ

-  การควบคุมและการออกแบบโปรแกรม (Development Control) คือการควบคุมตั้งแต่การออกแบบ การทดสอบก่อนการใช้งานจริง

2. การควบคุมความปลอดภัยของระบบโดยฮาร์ดแวร์ (Hardware Control)
โดยเลือกใช้เทคโนโลยีทางด้านฮาร์ดแวร์ ที่สามารถควบคุมการเข้าถึง และป้องกันการทำงานผิดพลาด ด้วยอุปกรณ์ภายในตัวเอง

3. การใช้นโยบายในการควบคุม (Policies)
โดยมีการประกาศใช้นโยบาย และการปรับปรุงนโยบายให้มีการทำงานสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยมีผลบังคับใช้ทั้งองค์กร

4. การป้องกันทางกายภาพ (Physical Control)
การมีมาตรการการเข้าถึงศูนย์คอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น รวมทั้งมีระบบสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

    มาตรการและอุปกรณ์ที่ใช้ในนโยบายระบบความปลอดภัย

        การจัดการด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่าย Counter Service จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนดังนี้

    1. โครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัย

a.การติดตั้งระบบ Firewall บริษัทฯ ได้ติดตั้ง Firewall ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำการป้องกันผู้บุกรุกเข้า-ออกระบบ และกำหนดโซนการให้บริการ การเข้าถึงข้อมูล ที่เหมาะสม
- กำหนดขอบเขต และโซนการทำงานที่เหมาะสม
- กำหนดบริการ และการเข้าถึงระบบสำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

b.การติดตั้งระบบ Anti-Virus เพื่อทำการป้องกัน และกำจัดไวรัสที่มีการอัพเดตข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

c.การติดตั้งระบบ SSL บริษัทฯ เลือกใช้ SSL เวอร์ชั่นล่าสุด ซึ่งบริษัท และธนาคารชั้นนำส่วนใหญ่เลือกใช้ เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง  หน้าที่ของ SSL คือ สลับที่ข้อมูลและแปลงเป็นรหัสตัวเลขทั้งหมด ยิ่งความละเอียดในการเข้ารหัสมีมากเท่าไร ความปลอดภัยก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ระดับความละเอียดของการเข้ารหัสมีหน่วยเป็น บิท  โดยเว็บไซท์บริษัทฯ ได้ใช้การเข้ารหัสระดับ 128 บิท ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่บริษัท และธนาคารชั้นนำของโลกใช้อยู่

d.การติดตั้งระบบปฏิบัติการที่มีระดับความปลอดภัยที่ระดับ C2 โดยการติดตั้ง และเปิดใช้เฉพาะบริการที่เหมาะสม และจำเป็นเท่านั้น

ปตท.สผ. ยึดถือความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น เพื่อให้บรรลุและคงไว้ซึ่งความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปตท.สผ. ได้กำหนดให้มีระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ และยึดถือปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยและสุขภาพของบุคลากรทุกคน รวมถึงชุมชนรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน ปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความมั่นคงปลอดภัยของบุคลากรและทรัพย์สิน

ปตท.สผ. มีนโยบายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของการเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ ดังนี้

  • มุ่งมั่นที่จะสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ ในระดับสูงสุด โดยเน้นภาวะผู้นำด้านความปลอดภัยฯ และการมีส่วนร่วมของพนักงานและผู้รับเหมาทุกคน
  • กำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมายและแผนงานด้านความปลอดภัยฯ เพื่อการพัฒนาการจัดการด้าน ความปลอดภัยฯ อย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้าหมายของการมีผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ ในระดับชั้นนำ โดยผู้บังคับบัญชาตามสายงานมีภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้น
  • ปฏิบัติงานภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากลอย่างเคร่งครัด
  • บริหารจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยฯ ให้อยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่สามารถปฏิบัติได้ ตลอดวัฏจักรของธุรกิจ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงาน
  • ส่งเสริมการสร้างระบบการจัดการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และเข้มงวดเรื่องการปฏิบัติงานโดยปราศจากสารเสพติดและแอลกอฮอล์ในสถานที่ปฏิบัติงาน
  • ลดการดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับหลักการของแนวทางสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน และการสร้างคุณค่าเชิงบวกด้านความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศ
  • ปกป้องพนักงานและองค์กรจากการระบาดของโรคติดต่อ ภัยพิบัติ ภัยคุกคามและช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัย ผ่านกระบวนการจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉิน เหตุการณ์วิกฤติ และความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ
  • ให้อำนาจทุกคนในองค์กรใช้สิทธิในการหยุดปฏิบัติงานภายใต้สภาวะที่ไม่ปลอดภัย
  • มุ่งมั่นพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการด้านความปลอดภัยฯ อย่างต่อเนื่อง ผ่านการฝึกอบรม โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย และการปรับปรุงพัฒนาระบบและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องด้วยเทคโนโลยี

ทั้งนี้ เพื่อให้การนำนโยบายความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ไปใช้ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด บุคลากรของ ปตท.สผ. ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุดจนถึงระดับพนักงานในพื้นที่ปฏิบัติการ รวมทั้งผู้รับเหมาทุกคนต้องมีความมุ่งมั่นร่วมกันและมีสติในทุกครั้งที่ลงมือปฏิบัติงาน

ระบบการบริหารจัดการความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

ระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของ ปตท.สผ. เป็นการเชื่อมโยงนโยบายด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ของบริษัทเข้าด้วยกัน เพื่อควบคุมความเสี่ยงของการเกิดอันตรายจากกิจกรรมภายในองค์กร โดยเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เกิดความปลอดภัย ป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงาน รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของบริษัทยังได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตามแนวทางของสมาคมผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซนานาชาติ (International Association of Oil and Gas Producers – IOGP) และสอดคล้องกับมาตรฐานสากลอื่น ๆ อาทิ ISO 14001:2015 ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม และ ISO 45001:2018 ระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของ ปตท.สผ. ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

การจัดการความปลอดภัยคืออะไร


องค์ประกอบรายละเอียด1. ภาวะผู้นำและความมุ่งมั่น
(Leadership and Commitment)ความมุ่งมั่นของผู้บริหารในทุกระดับและวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ ของคนในองค์กร2. นโยบายและวัตถุประสงค์
(Policy and Strategic Objective)กลยุทธ์ เป้าหมาย และนโยบายด้านความปลอดภัยฯ3. ทรัพยากรของบริษัทและระบบงานเอกสาร
(Organization Resource and Documentation)การจัดองค์กร การจัดสรรทรัพยากรในการบริหารและระบบเอกสารในด้านความปลอดภัยฯ4. การประเมินและการบริหารจัดการความเสี่ยง
(Evaluation and Risk Management)การประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงจากกิจกรรมต่างๆ5. การวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน
(Planning and Operational Control)การวางแผนการดำเนินงาน รวมทั้งการบริหารการเปลี่ยนแปลง และการเตรียมความพร้อมและตอบสนองในกรณีฉุกเฉิน6. การลงมือปฏิบัติและวัดผล
(Implementation and Monitoring)การลงมือปฏิบัติตามแผนและขั้นตอนต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ รวมถึงการวัดผลการดำเนินงานตามดัชนีชี้วัดต่างๆ7. การตรวจสอบและทบทวนผลการดำเนินงาน
(Audit and Review)การประเมินผลและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ด้านความปลอดภัยฯ เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข

บริษัทยังได้จัดให้มีแผนการตรวจติดตามภายใน ซึ่งเป็นการตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ โดยในปี 2564 มีการตรวจติดตามการดำเนินงานด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ในระดับองค์กรจำนวน 39 ครั้ง ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 100 กิจกรรมสำรวจและผลิตทั้งหมดของบริษัท

นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดให้มีการตรวจประเมินโดยหน่วยงานภายนอกเพื่อให้การรับรองตามมาตรฐานสากลต่าง ๆ เช่น ISO 14001:2015 และ ISO 45001:2018 ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัท ทั้งนี้ในปี 2564 ปตท.สผ. ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการบริหารจัดการ ดังนี้

ISO 14001:2015 ระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
  • ภายในประเทศ: สำนักงานใหญ่, โครงการอาทิตย์, โครงการบงกชเหนือ, โครงการบงกชใต้, โครงการเอส 1, โครงการพีทีทีอีพี 1 และโครงการสินภูฮ่อม
  • ต่างประเทศ: โครงการซอติก้า ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และโครงการซาราวัก ในประเทศมาเลเซีย
  • ฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียม: จังหวัดสงขลา และจังหวัดระนอง
ISO 45001:2018 ระบบการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • ภายในประเทศ: สำนักงานใหญ่, โครงการอาทิตย์, โครงการบงกชเหนือ, โครงการบงกชใต้, โครงการเอส 1, โครงการพีทีทีอีพี 1 และโครงการสินภูฮ่อม
  • ฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียม: จังหวัดสงขลา และจังหวัดระนอง

การพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจเป็นปัจจัยที่สำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยฯ ปตท.สผ. ริเริ่มโครงการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ ขององค์กรตั้งแต่ปี 2554 โดยอ้างอิงตามรูปแบบวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยฯ ขององค์กรผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซนานาชาติ (IOGP) ซึ่งแบ่งระดับวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ ออกเป็น 5 ระดับ คือ Pathological, Reactive, Calculative, Proactive และ Generative

การจัดการความปลอดภัยคืออะไร

ผลการสำรวจระดับวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยฯ ขององค์กรครั้งแรกในปี 2554 ปตท.สผ. อยู่ในระดับ 3.31 (ระดับ Calculative) จากนั้นได้มีการนำผลสำรวจดังกล่าว มาจัดทำแผนเพื่อปรับปรุงวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยฯ ให้ดีขึ้นและทำการสำรวจซ้ำทุก 3 ปี โดยผลสำรวจระดับวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ มีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องขึ้นและเข้าสู่ระดับ Proactive ในปี 2560 ด้วยคะแนน 4.16 จากคะแนนเต็ม 5

บริษัทได้จัดทำแผน 3 ปี ในการปรับปรุงและพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ ขององค์กร (2021-2023 SSHE Culture Improvement Plan) เพื่อปรับปรุงวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ ขององค์กรและมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ ขององค์กรในทุกพื้นที่มีการพัฒนาและองค์กรบรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ โดยจะมีการสำรวจเพื่อประเมินผลอีกครั้งในปี 2566

จากการสำรวจระดับวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ ในปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่าระดับวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ ขององค์กรเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.36 ซึ่งผลการสำรวจในทุก ๆ ระดับตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานทั่วไปมีค่าที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพนักงาน ปตท.สผ. ในทุกระดับได้ให้ความสำคัญและมีความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยฯ อย่างเท่าเทียมกันทั่วทั้งองค์กร

นอกจากนี้ ในปี 2563 ปตท.สผ. ยังได้ริเริ่มให้ผู้รับเหมาเข้ามามีส่วนร่วมในการสำรวจระดับวัฒนธรรมความปลอดภัยฯ ขององค์กรเป็นครั้งแรกอีกด้วย

การปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัย

วัฒนธรรมความปลอดภัยถูกปลูกฝังอยู่ในทุกการดำเนินงานของ ปตท.สผ. เพื่อช่วยในการปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและบรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตาม จำนวนของการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ก็ยังคงเกิดขึ้น บริษัทจึงพยายามอย่างไม่ลดละที่จะเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยภายในองค์กร โดยมุ่งเน้นที่การดูแลความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและการแสดงความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านความปลอดภัย รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาเครื่องมือสำหรับโครงการความเป็นผู้นำด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยโครงการได้ขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้งในส่วนของพนักงานและผู้รับเหมาผ่านการจัดอบรมในปีที่ผ่านมา และการปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยที่แข็งแกร่งนั้นต้องเริ่มจากผู้ปฏิบัติงานที่มีศักยภาพ บริษัทจึงมีการกำหนดความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training needs) ทางด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของพนักงานและผู้รับเหมา เพื่อให้ความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่าง ๆ ในการทำงานแก่บุคลากร โดยบริษัทได้จัดให้มีการฝึกอบรมและทักษะที่จำเป็นตามเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงานเรื่อง การกำหนดการฝึกอบรมและความสามารถที่จำเป็นด้านความปลอดภัยฯ (SSHE Training and Competency Standard) ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ปฏิบัติงานจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และมีความรู้ความสามารถในการป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคที่เกิดจากการทำงาน ในปี 2564 บริษัทได้จัดอบรมให้พนักงานและผู้รับเหมาในหัวข้อต่าง ๆ ดังตัวอย่างนี้

หลักสูตรจำนวนครั้ง
ฝึกอบรมจำนวนผู้เข้าอบรม
(รวมผู้รับเหมา)หลักสูตรเสริมสร้างวัฒนธรรมและความเป็นผู้นำความปลอดภัย19401หลักสูตรการประเมินความเสี่ยงและการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย9173หลักสูตรการปกป้องสิ่งแวดล้อมและบริหารสารเคมีอันตราย4115การอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในงานยก14198หลักสูตรระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในขบวนการผลิต13417หลักสูตรการบริหารจัดการสุขลักษณะและอาชีวอนามัย247หลักสูตรการบริหารจัดการผู้รับเหมา15278หลักสูตรสำหรับทีมบริหารเหตุการณ์ฉุกเฉิน8256หลักสูตรการสืบสวนและวิเคราะห์สาเหตุอุบัติเหตุเบื้องต้น13189

นอกจากนี้ บริษัทได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับการส่งเสริมวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในองค์กร เช่น การสังเกตงานและการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย (Safety Observation & Communication Card-SOC) และการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย(Hazard Reporting Card - HRC) และโปรแกรมตรวจสอบการควบคุมการปฏิบัติงาน (Operational Control Verification Program) เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้เน้นการส่งเสริมให้ทำงานอย่างปลอดภัยและเพิ่มการสังเกตตรวจจับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดหรือลดความเสี่ยงในที่ทำงาน และบริษัทยังได้ส่งเสริมอย่างเต็มที่ให้พนักงานและผู้รับเหมาทุกคนมีอำนาจในการหยุดงานเมื่อพบเห็นสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยที่อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้

การบริหารการจัดการภาวะฉุกเฉินและวิกฤตการณ์

ปตท.สผ. ตระหนักดีว่าธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นธุรกิจที่ต้องใช้มาตรฐานด้านความปลอดภัยในระดับสูง จึงพัฒนาแผนการบริหารการจัดการภาวะฉุกเฉินและวิกฤตการณ์ภายใต้ข้อกำหนดของระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ปตท.สผ. ได้จัดทำการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเพื่อความมั่นคงปลอดภัย (Security Risk Analysis and Assessment) ในพื้นที่ปฏิบัติงานภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ซึ่งทำให้ทราบถึงความเสี่ยงและสามารถกำหนดแนวทางป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและสภาวะวิกฤตโดยให้ความสำคัญและคำนึงถึงการปกป้องชีวิต สิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินและชื่อเสียงขององค์กร ทั้งนี้ แผนงานการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินและสภาวะวิกฤตของแต่ละพื้นที่และศูนย์สนับสนุนหลักของส่วนกลางจะดำเนินการฝึกซ้อมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ โดยผลการดำเนินงานและข้อแนะนำจากการฝึกซ้อมนี้จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยปฏิบัติงานของแต่ละพื้นที่และส่วนกลางเพื่อปรับปรุงแผนงานและความสามารถของบุคลากรอย่างต่อเนื่องสำหรับการจัดการกับสภาวะฉุกเฉินในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความปลอดภัยของบุคลากร

ปตท.สผ. เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า อุบัติเหตุสามารถป้องกันได้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสถิติอุบัติเหตุที่เป็นศูนย์ ซึ่งความเชื่อดังกล่าวได้ถูกสื่อสารและเน้นย้ำตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานและผู้รับเหมาทุกระดับ เราจึงเน้นการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยใน ทุก ๆ ขั้นตอนการทำงาน มีการกำหนดนโยบายและระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในระดับสากล เพื่อจัดการกับความเสี่ยงในการทำงาน และให้มั่นใจได้ว่าทุกคนที่ร่วมงานกับบริษัทจะสามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

ในปี 2564 ถึงแม้ว่าสถิติด้านความปลอดภัยโดยรวมของบริษัทจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นนำระดับโลกซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซนานาชาติ อย่างไรก็ตาม พบว่าสถิติอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บจากการทำงานทั้งหมด (Total Recordable Injury Rate - TRIR) ของพนักงานและผู้รับเหมากลับมาเพิ่มสูงขึ้น และสถิติอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency - LTIF) ยังคงไม่ลดลง เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ผ่านมา จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น บริษัทได้เพิ่มการกำกับดูแลความปลอดภัยที่หน้างาน และจัดให้มีการฝึกอบรมตลอดจนการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวดรัดกุมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำ (รายละเอียดจำนวนอุบัติเหตุต่อบุคคลปรากฏใน ข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย)

จากการวิเคราะห์อุบัติเหตุพบว่าสาเหตุหลักยังคงเกี่ยวข้องกับปัจจัยมนุษย์ (Human factor) การประเมินความเสี่ยง และขาดการสื่อสารถึงอันตรายในการทำงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ ปตท.สผ. ได้ทำการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีในการควบคุม และลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกิด ให้กลับมาอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทางบริษัทยังคงเข้มงวดต่อมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง และมีแผนบริหารจัดการความปลอดภัยต่าง ๆ โดยยังคงเน้นย้ำในเรื่องความเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยของผู้ควบคุมหน้างานให้หัวหน้างานสามารถจัดการอันตรายและความเสี่ยง สื่อสารถ่ายทอดข้อมูล รวมทั้งควบคุมดูแลหน้างานให้ปลอดภัย และให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพนักงานและผู้รับเหมา จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง

บริษัทได้กำหนดเป้าหมายด้านความปลอดภัยในด้านอุบัติเหตุทางยานยนต์และอุบัติเหตุทางเรือ ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรง ทุกกิจกรรมการเดินทางและการขนส่งภายใต้การดำเนินงานของบริษัทได้รับการส่งเสริมเพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันอุบัติเหตุ ซึ่งรวมถึงความปลอดภัยของยานพาหนะและเรือเดินสมุทรของทั้งบริษัทและผู้รับเหมา ซึ่งผลการดำเนินงานในปี 2564 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (รายละเอียดจำนวนอุบัติเหตุของการเดินทางและขนส่งปรากฏใน ข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย)

ความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของคู่ค้าและผู้รับเหมา

ปตท.สผ. ยังคงปรับปรุงระบบการจัดการความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของคู่ค้าและผู้รับเหมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าและผู้รับเหมาทุกคนจะทำงานและกลับบ้านอย่างปลอดภัย ในทุก ๆ ปีที่ผ่านมาบริษัทยังร่วมมือกับคู่ค้าและผู้รับเหมาจัดการประชุมคู่ค้าประจำปี (SSHE Forum) โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการร่วมกันแสดงความมุ่งมั่นพัฒนาประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดีด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปี 2564 ทางบริษัทได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการทางสาธารณสุข ทั้งนี้การประชุมกลุ่มย่อยยังคงมีการดำเนินงานโดยหน่วยงานที่ถือสัญญากับผู้รับเหมาโดยตรง เพื่อเจาะจงเนื้อหาการประชุมให้ตรงกับลักษณะกิจกรรมของผู้รับเหมาแต่ละกลุ่ม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน บริษัทยังคงมีการให้รางวัลผลงานความปลอดภัยยอดเยี่ยมแก่ผู้รับเหมา ทั้งนี้เพื่อเป็นการชื่นชมและส่งเสริมให้ผู้รับเหมาปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

สำหรับผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงสูง ปตท.สผ. ได้มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และทำการตรวจสอบและตรวจทานการบริหารจัดการทางด้านความปลอดภัยฯเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและส่งเสริมให้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้รับเหมาสอดคล้องไปในทางเดียวกับ ปตท.สผ.

นอกจากนี้ บริษัทยังให้แนวทางการจัดการประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพแก่บริษัทผู้รับเหมาเพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงและทำให้การทำงานอยู่ในมาตรฐานเดียวกันกับบริษัทและนำผลการประเมินความเสี่ยงนั้นไปสื่อสารแก่ผู้เกี่ยวข้องและจัดทำแผนงานเพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ อันจะเป็นการยกระดับการดูแลสุขภาพของผู้รับเหมาและพนักงานให้ดีขึ้น โดยปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่นำมาพิจารณาประกอบด้วย สิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ สิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพ สิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมี สิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ และสิ่งคุกคามสุขภาพทางจิตวิทยา

การบริหารความปลอดภัย หมายถึงอะไร

การบริหารความปลอดภัย หมายถึง กรรมวิธีเกี่ยวกับการวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การจัดบุคลากร (Staffing) การเป็นผู้นำ (Leading) การควบคุม (Controlling) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของความปลอดภัยที่กำหนดขึ้น โดยความร่วมมือของพนักงานและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

การจัดการความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน.
1.1 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ... .
1.2 การจัดการด้านความปลอดภัย (Safety Management) ... .
1.3 พฤติกรรมความปลอดภัย (Safety Behavior) ... .
1.4 Health Care. ... .
1.5 Work Place Hygiene. ... .
1.6 การตรวจความปลอดภัย (Safety Audit).

ข้อใดคือความหมายของความปลอดภัย

ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง การปราศจากภัย หรืออันตราย การไม่มีอุบัติเหตุ ไม่มีโรค ที่เกิดขึ้นจากการทํางาน อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่อาจเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บ หรือ เจ็บป่วยจากการทำงาน หรือเสียชีวิต หรือการสูญเสียต่อทรัพย์สิน หรือความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมในการ ทำงาน หรือต่อสาธารณชน

ความปลอดภัยมีความสําคัญอย่างไร

1.ลดความสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของพนักงาน 2.การมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อพนักงานทุกคนมีความปลอดภัย ย่อมจะทำให้พนักงานมั่นใจในการทำงาน ไม่ต้องหวาดระแวงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น 3.การมีกำไรเพิ่มมากขึ้น เมื่อผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้กำไรของโรงงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย