อธิบายหลักการของกราฟิกแบบ raster หรือ bitmap

แนวคิด ภาพกราฟิกแบบบิตแมป (Bitmap) เป็นภาพที่ประกอบขึ้นด้วย จุดสี (Pixel) ต่าง ๆ ที่มีจำนวนคงที่ หากขยายภาพ Bitmap จะเห็น ว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็ก ๆ เรียกว่า “Bit” เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบการจัดเก็บเป็นระเบียบแบบคงที่ การจัด เก็บนี้มีการจัดเก็บรวมกันเป็นจำนวนมาก เรียกว่า “Map” การสร้าง ภาพที่เหมาะสมกับประเภทของกราฟิกเป็นสิ่งสำคัญหนึ่งที่ทำให้ได้ ภาพที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้นำไปใช้งาน สมรรถนะประจำหน่วย สร้างภาพกราฟิกแบบบิตแมป สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของภาพกราฟิกแบบ Bitmap 2. ความแตกต่างระหว่างภาพกราฟิกแบบ Bitmap และ Vector 3. ระบบสีที่ใช้ในภาพกราฟิกแบบ Bitmap 4. ชนิดของไฟล์ภาพกราฟิกแบบ Bitmap 5. ความละเอียดของภาพกราฟิกแบบ Bitmap (Resolution) 6. การตั้งค่าของ Resolution ในโปรแกรม Adobe Photoshop ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายความหมายของภาพกราฟิกแบบ Bitmap ได้ 2. บอกความแตกต่างระหว่างภาพกราฟิกแบบ Bitmap และ Vector ได้ 3. อธิบายระบบสีที่ใช้ในภาพกราฟิกแบบ Bitmap ได้ 4. บอกชนิดไฟล์ภาพกราฟิกแบบ Bitmap ได้ 5. อธิบายความละเอียดของรูปภาพกราฟิกแบบ Bitmap (Resolution) ได้ 6. ตั้งค่าของ Resolution ในโปรแกรม Adobe Photoshop ได้

ความหายของภาพกราฟิก แบบ Bitmap Bitmap หรือ Raster เป็นภาพแบบ Resolution Depend ประกอบไป ด้วยจุดสี (Pixel) ต่าง ๆ มีจำนวนคงที่ที่มีความละเอียด (Resolution) ของ ภาพ หากขยายภาพ Bitmap จะพบว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็ก ๆ เรียกว่า บิต (bit) ซึ่งแต่ละบิตเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก Bitmap มีค่า Pixel จำนวนคงที่จึงทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องการ ขยายขนาดภาพ เมื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นจะมองเห็นเป็นตารางสี่เหลี่ยม เรียงต่อกัน ทำให้ขาดความสวยงาม ภาพแบบ Bitmap จึงเหมาะสำหรับ งานกราฟิกในแบบที่ต้องการให้แสงเงาในรายละเอียดเป็นไฟล์ที่เหมาะกับ การทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เพราะ Bitmap มี Chanel พิเศษ เรียกว่า Alpha Chanel ซึ่งเป็น 32 bits หรือ True Color คือ สี สมจริง ความแตกต่างระหว่างภาพกราฟิก แบบ Bitmap และ Vector ภาพที่นำมาใช้กับโปรแกรม Adobe Photoshop ส่วนมากจะเป็นภาพ เหมือน ภาพถ่าย และไฟล์ที่ได้จากโปรแกรม Adobe Photoshop จะเป็น Bitmap แต่หากสร้างไฟล์แบบ Vector รูปภาพที่ได้จะเหมือนภาพการ์ตูน หรือภาพเขียน ภาพกราฟิก 2 มิติแบบ Bitmap และ แบบ Vector มีความแตกต่างกัน ดังนี้

ความแตกต่างระหว่างภาพกราฟิก แบบ Bitmap และ Vector Bitmap 1. ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่าง ๆ มากมาย 2. ภาพมีจำนวนพิกเซลคงที่ จึงต้องการค่าความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยาย ภาพ โดยจะคำนวณค่าสีทีละ Pixels ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่ 3. เหมาะสำหรับงานกราฟิกในแบบที่ต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด 4. คอมพิวเตอร์จะใช้เวลาในการแสดงภาพมากกว่า เนื่องจากต้องทำตามคำ สั่งที่มีจำนวนมากกว่า Vector 1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ โดยรวมเอา Object ต่างชนิด มาผสมกัน เช่น วงกลม เส้นตรง 2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพ ยังเหมือนเดิม ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง 3. เหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration 4. แสดงภาพบนจอทันที เมื่อรับคำสั่งย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำที่เก็บ ภาพไปยังหน่วยความจำของจอภาพ “ หมายเหตุ ภาพกราฟิก Bitmap ส่วนใหญ่มักจะเป็นภาพถ่ายหรือเป็นภาพที่มีการ ตกแต่งผ่านโปรแกรมตกแต่งภาพ”

ระบบสีที่ใช้ในภาพกราฟิก แบบ Bitmap สีที่ใช้งานด้านกราฟิกทั่วไปมี 4 ระบบ คือ 1. ระบบ RGB เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ แดง (Red) เขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่สายตามนุษย์ที่ มองเห็นเป็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสี มีความเข้มมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสี นี้ว่าแบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก 2. ระบบ CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทาง กระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ ได้แก่ สีหลัก 4 สี คือ สีฟ้า (Cyan) สีม่วง แดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) และสีดำ (Black) เมื่อนำมาผสมกัน จะเกิดเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิท เนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึง เป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือ หมึง สีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วง แล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกต ได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีในระบบนี้ จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB

3. ระบบ HSB เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ แบ่ง ได้ 3 ส่วน คือ - Hue คือ สีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของ มนุษย์ทั่วไป ซึ่งเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นต้น - Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก - Brightness คือ ระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสี จะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้า กำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด 4. ระบบ LAB เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) แบ่งได้ 3 ส่วน - L หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว - A เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง - B เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง

ชนิดของไฟล์ภาพกราฟิก แบบ Bitmap นามสกุลของแฟ้มภาพกราฟิกจะเป็นสิ่งที่บอกถึงคุณลักษณะของแฟ้ม ภาพกราฟิกนั้น ๆ นามสกุลที่ใช้เก็บแฟ้มภาพกราฟิกแบบ Bitmap มีหลาย นามสกุล เช่น .BMP, .JPG, .JPEC, .GIF, .TIFF, .PCX ซึ่งมีดังต่อไปนี้ นามสกุลที่ใช้เก็บ .JPG, .JPEC, .JPE ลักษณะงาน ใช้สำหรับถาพทั่วไปงานเว็บเพจ และงานที่มี ความจำกัดด้านพื้นที่หน่วยความจำ ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ โปรแกรม Photoshop, Paint shop Pro, Illustrator นามสกุลที่ใช้เก็บ .GIF ลักษณะงาน ใช้สำหรับภาพเคลื่อนไหว ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ โปรแกรม Photoshop, Animate

นามสกุลที่ใช้เก็บ .TIFF, .TIF ลักษณะงาน เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร เพราะมี ความละเอียดของภาพสูง ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ โปรแกรม Photoshop, Paintshop Pro, Illustrator นามสกุลที่ใช้เก็บ .BMP, .DIB ลักษณะงาน ไฟล์มาตรฐานของระบบปฎิบัติการวินโดว์ ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ โปรแกรม Paint นามสกุลที่ใช้เก็บ .PCX ลักษณะงาน เป็นไฟล์ดั้งเดิมของโปรแกรมแก้ไขภาพ แบบบิตแมป ไม่มีโมเดลเกรย์-สเกลใช้กับ ภาพทั่วไป ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ โปรแกรม CoreIDraw, Illustrator, Paintbrush

นอกจากโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มีความสามารถในการ ตกแต่งภาพกราฟิก Bitmap แล้วยังมีโปรแกรมอื่น ๆ ที่มีความสามารถ เหมือนกับโปรแกรม Adobe Photoshop ซึ่งเป็นโปรแกรมในโทรศัพท์ เช่น โปรแกรม PicsArt, MOLDIV, Line ฯลฯ ก็ตกแต่งภาพกราฟิก Bitmap ให้ สวยงามได้ โดยส่วนใหญ่นามสกุลที่ใช้เก็บเป็นไฟล์นามสกุล .jpg ความละเอียดของภาพกราฟิก แบบ Bitmap (Resolution) ในการทำงานกราฟิกร่วมกับโปรแกรมใน Adobe Photoshop Resolution หรือค่าความละเอียดของภาพนั้น มีผลกับคุณภาพและขนาด ของไฟล์ ซึ่งค่าความละเอียดของภาพต้องเหมาะสมกับงานที่นำไปใช้ด้วย Resolution คือ ความละเอียดในการแสดงผลของภาพบนจอ เช่น จอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์มือถือ กำหนดหน่วยเป็น Pixel (จุดสี) ต่อ 1 พื้นที่ เช่น หากภาพมีค่า Resolution = 300 Pixels ต่อ 1 inches หมายความว่าทุก 1 นิ้วของภาพ จะมีจุดสีอัดกันเป็นจำนวน 300 สี หน่วยของ Resolution มีอยู่ 2 แบบ คือ “ 1. Pixels/Inches = ความหนาแน่นของจุดสีต่อพื้นที่ 1 นิ้ว 2. Pixels/cm = ความหนาแน่นของจุดสีต่อพื้นที่ 1 เซนติเมตร” การทำงานกราฟิกมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดค่า Resolution ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยหน่วยที่นิยมใช้ของ Resolution คือ Pixels/Inches หรือที่เรียกกันว่า ppi หากค่าของ Resolution มีมากเท่าไหร่ เม็ดสีที่อัดเรียงตัวกันใน พื้นที่ก็จะมากเท่านั้น ส่งผลให้ภาพคมชัด แต่ขนาดของไฟล์ก็จะใหญ่ตามไป ด้วย เมื่อกำหนดค่า Resolution ให้มากเกินความจำเป็น ภาพจะมีขนาด ใหญ่ขึ้นและแสดงผลช้าลงค่า Resolution ที่เหมาะสมควรกำหนดให้มี ความเหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ ดังนี้

- 72 ppi งานเกี่ยวกับเว็บไซต์ เน้นความรวดเร็วในการแสดงผล หน้าเว็บไซต์ หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือบนหน้าจอโทรศัพท์ - 100-15 ppi เหมาะสมกับงานทั่วไปที่ต้องการความละเอียด มากกว่าปกติ เช่น ภาพที่ใช้ในงานนำเสนอข้อมูล, ภาพทั่วไปบนเว็บไซต์ การ แสดงผลจึงช้ากว่ารูปภาพแบบ 72 ppi - 300-350 ppi งานที่ต้องการความคมชัดในการแสดงผลสูง เช่น โปสเตอร์ นิตยสาร งานสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ การตั้งค่าของ Resolution ใน โปรแกรม Adobe Photoshop การตั้งค่า Resolution สามารถทำได้ตั้งแต่ตอนสร้างไฟล์ใหม่ (File>New) โดยให้ระบุค่าที่ต้องการลงในช่อง Resolution และเลือก ประเภทเป็น Pixels/Inches ดังนี้

หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นอย่างไร จงอธิบายอย่างละเอียด

หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสีเหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (Pixel) และในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้แฟ้มภาพมี ...

ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ (Raster) หมายถึงอะไร

ภาพกราฟิกส์แรสเตอร์ (อังกฤษ: raster graphics) หรือ ภาพบิตแมป (อังกฤษ: bitmap) หรือ คือภาพที่ประกอบด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัว มีข้อดีคือ เหมาะกับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี กำหนดสีที่ต้องการความละเอียดได้ง่าย ข้อเสีย คือเมื่อมีจุดสีที่คงที่นั่น ทำให้เวลาขยายภาพนั้นจะมีความละเอียดน้อยลงมาก และถ้าเพิ่มขนาดความ ...

ภาพเวกเตอร์ใช้การคำนวณหลักการใด

คือ ภาพชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมใช้สูตรหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การวาดเส้น หรือวัตถุทรงเลขาคณิต ซึ่งมีความสามารถที่จะย่อ และขยายได้โดยไม่เสียคุณภาพงาน ภาพไม่แตก จึงเหมาะกับงานป้ายโฆษณา หรือโปสเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มากๆ

หลักการทำงานของภาพกราฟิกมีกี่ประเภท

1. ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ > เป็นภาพที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วๆไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์ ตัวอย่างภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ 2. ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ > เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ เช่น 3D max, Maya ทำให้ได้ภาพที่มีสีและแสงเงาเหมือนจริง ตัวอย่างภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ