ลูก เมา รถ ทํา ไง ดี

สวัสดีค่ะ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านที่ประสบปัญหาการเดินทางกับลูกน้อย เพราะในบางครั้งการเดินทางก็เต็มไปด้วยอุปสรรคต่างๆ เช่น ลูกไม่นั่งคาร์ซีท ร้องไห้งอแง เมารถ เป็นต้น ทำให้หมดสนุกกับการเดินทางค่ะ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและความสนุกสนานเพลิดเพลินกับการเดินทางของเด็กๆ วันนี้เรามาเตรียมพร้อมรับมืออาการเมารถของเด็กๆกันค่ะ

อาการเมารถ คือความรู้สึกไม่สบายในท้องขณะเดินทางด้วยรถยนต์หรือเรือ เด็กๆที่ได้รับผลกระทบจะรู้สึกถึงความรู้สึกปั่นป่วนในช่องท้องทำให้เด็กรู้สึกคลื่นไส้และอึดอัดอย่างมาก ซึ่งเกิดจากระบบประสาทการทรงตัวทำงานได้ไม่สมดุลค่ะ และอาการเมารถในเด็กคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการเบื้องต้น เช่น ปวดศีรษะ เวียนหัว อาเจียน กระสับกระส่าย เป็นต้น ดังนั้นวันนี้เรามีวิธีรับมืออาการเมารถสำหรับเด็กมาฝากค่ะ เพื่อให้การเดินทางของลูกสบายและสนุกมากขึ้นค่ะ

  • ก่อนเดินทาง 30 นาที ให้ลูกกินยาแก้เมารถสำหรับเด็ก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และผลข้างเคียงจากการทานยาแก้เมารถคือการง่วงนอนซึ่งจะทำให้ลูกของคุณหลับในระว่างการเดินทางค่ะ
  • การรับประทานอาหารก่อนเดินทาง ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่ายไม่ควรทานอาหารที่มีน้ำมันและมีรสเผ็ด และไม่มากจนเกินไปค่ะ เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายท้องระหว่างเดินทางค่ะ
  • เตรียมสิ่งของจำเป็น เช่น ถุงพลาสติกเผื่อลูกอาเจียน สิ่งของที่ลูกติดเพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย เป็นต้น
  • การนอนหลับ หากลูกของคุณนอนหลับในระหว่างการเดินทางซึ่งมีโอกาสน้อยที่ลูกของคุณจะมีอาการเมารถ ดังนั้นควรวางแผนการเดินทางเลือกในช่วงเวลาที่ลูกของคุณนอนหลับค่ะ
  • ในกรณีที่ลูกรู้สึกคลื่นไส้ในระหว่างการเดินทางเพราะรู้สึกว่าอยู่ในกล่องอึดอัดและหายใจไม่ออก ควรเปิดหน้าต่างเปิดให้อากาศถ่ายเทเพื่อให้ลูกของคุณรู้สึกสดชื่นและสามารถหายใจได้สะดวกมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงกลิ่นแรงๆ เช่น อาหารในรถ น้ำหอมรถ กลิ่นหนังเหม็นอับ ฯลฯ เนื่องจากกลิ่นแรงๆในรถนั้นส่วนใหญ่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้รู้สึกเวียนหัวคลื่นไส้ค่ะ
  • โฟกัสไปที่สภาพแวดล้อมนอกรถ ส่วนหนึ่งของอาการเมารถที่เกิดขึ้นเพราะสมองไม่สามารถปรับสมดุลการเคลื่อนไหวทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ ควรให้เด็กๆมองไปไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้แทนที่การมองสิ่งรอบข้างใกล้ตัวที่เคลื่อนไหวค่ะ ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงเกม ของเล่น หนังสือหรือภาพยนตร์ในระหว่างการเดินทางค่ะ
  • หยุดพักระหว่างการเดินทาง การพักระหว่างการเดินทางไม่เพียงดีต่อลูกของคุณที่มีอาการเมารถเท่านั้น แต่ยังดีต่อบุคคลอื่นๆที่ร่วมเดินทางมาด้วยได้เหยียดขาและแขนบ้าง ซึ่งจะช่วยให้สดชื่นและลดอาการเมารถได้ค่ะ

อาการเมารถเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในเด็ก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางได้เพื่อป้องกันหรือลดอาการเมารถในระหว่างการเดินทางได้ค่ะ

อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน อาจเป็นปัญหาหนักใจของใครหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำ โดยมักเกิดขึ้นเมื่อโดยสารยานพาหนะที่มีการเหวี่ยงตัวขณะเคลื่อนที่เป็นเวลานาน ส่งผลให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรืออาเจียน ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถป้องกันและบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างระหว่างเดินทาง และอาจใช้ยาแก้เมารถตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร

ลูก เมา รถ ทํา ไง ดี

อาการเมารถเป็นอย่างไร ?

เมารถ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล ดังนั้น ขณะโดยสารยานพาหนะใด ๆ ก็ตาม จึงมีทั้งคนที่มีอาการเมารถและคนที่ไม่มีอาการ ซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังเมารถ ได้แก่

  • เวียนศีรษะ
  • รู้สึกไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • ไม่อยากอาหาร
  • มีเหงื่อออก
  • เด็กเล็กที่เมารถอาจหน้าซีด กระสับกระส่าย หาว หรือร้องไห้ร่วมด้วย

เมารถเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

อาการเมารถ เมาเรือ หรือเมาเครื่องบิน เกิดขึ้นเมื่อประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวของหูชั้นในทำงานไม่ประสานกับภาพที่ดวงตามองเห็น สมองจึงได้รับสัญญาณที่ขัดแย้งกันจนมีอาการเมารถตามมา โดยอาจเกิดจากการโดยสารรถที่ขับเหวี่ยงไปมาหรือขับบนถนนที่คดเคี้ยวนานเกินไป การนั่งเรือที่โคลงเคลงตามลูกคลื่น การโดยสารเครื่องบิน หรือแม้แต่ระหว่างเล่นเครื่องเล่นผาดโผนต่าง ๆ ในสวนสนุกอย่างรถไฟเหาะก็อาจทำให้มีอาการได้เช่นกัน

ทั้งนี้ บุคคลในกลุ่มต่อไปนี้ อาจเสี่ยงเกิดอาการเมารถได้มากกว่าคนทั่วไป

  • ผู้ที่มีประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวเร็ว
  • ผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงรับการบำบัดด้วยฮอร์โมน
  • ผู้ป่วยไมเกรน
  • เด็กอายุ 2-12 ปี
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคหืด ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาไอบูโพรเฟน ยานาพรอกเซน เป็นต้น
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมใช้สารเสพติด

บรรเทาอาการเมารถได้อย่างไร ?

อาการเมารถ เมาเรือ หรือเมาเครื่องบิน สามารถป้องกันและบรรเทาได้ด้วยตนเอง เพียงปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • หากนั่งรถควรเลือกนั่งที่เบาะหน้า ส่วนการโดยสารเรือหรือเครื่องบินก็ควรเลือกนั่งตรงกลางลำ เพื่อลดแรงเหวี่ยงหรือการโคลงเคลงของยานพาหนะ
  • ขณะโดยสารรถให้มองตรงไปทางด้านหน้า โดยให้สายตาจดจ้องไปยังจุดที่หยุดอยู่กับที่ เช่น ตึกสูง เส้นขอบฟ้า เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการจ้องมองสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ อย่างรถที่กำลังวิ่งอยู่บนถนน หรือเรือลำอื่นที่แล่นไปมา
  • หลับตาและกำหนดลมหายใจเข้าออกลึก ๆ
  • หากอยู่ในพาหนะส่วนตัว อาจพูดคุยกับคนอื่น ๆ หรือร้องเพลงเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
  • แวะจอดรถตามจุดพักรถระหว่างทาง เพื่อผ่อนคลายอิริยาบถ พักดื่มน้ำ หรือสูดอากาศภายนอก
  • หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือหรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดระหว่างเดินทาง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่และอาหารที่มีรสจัด รวมทั้งงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนโดยสารยานพาหนะใด ๆ

ยาแก้เมารถ

นอกจากการปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ ผู้ที่เมารถเป็นประจำอาจรับประทานยาแก้เมารถ หรือแปะพลาสเตอร์ยาแก้เมารถ ดังต่อไปนี้

  • ยาต้านฮิสตามีน เป็นยาที่มีสรรพคุณช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการเมารถที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น ยาไซไคลซีน ยาไดเมนไฮดริเนต เป็นต้น แต่ยาเหล่านี้อาจส่งผลข้างเคียงทำให้รู้สึกง่วงนอนได้
  • ยาสโคโปลามีน มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเมารถ โดยตัวยาจะอยู่ในรูปของพลาสเตอร์สำหรับแปะลงบนผิวหนัง ใช้แปะไว้ด้านหลังใบหูตั้งแต่ก่อนเดินทางประมาณ 2-3 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ผู้ใช้ยาควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือตามฉลากยาอย่างเคร่งครัด รวมทั้งปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนให้เด็กรับประทานยาต้านฮิสตามีนหรือใช้พลาสเตอร์ยาสโคโปลามีน เพราะเด็กอาจเสี่ยงได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่าคนในช่วงวัยอื่น

ทำยังไงให้หายเมารถ

วิธีแก้ไข.
เลือกที่นั่งนิ่ง ๆ เช่น โซนกลางรถ ชั้นล่างสุด หรือแถวหน้า.
มองไปที่ไกล ๆ อย่าอ่านหนังสือ เล่นโทรศัพท์.
กินยาแก้เมารถก่อนออกเดินทาง 30 นาที เช่น ยาไดเมนไฮดริเนทโปรเมทาซีน เป็นต้น ควรระวังผลข้างเคียง เช่น อาการง่วง จึงหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ.
การใส่แว่นกันแดดหรือหลับตาอาจช่วยบรรเทาอาการเมารถได้.

อาการเมารถกี่วันหาย

โดยปกติแล้วอาการเมารถสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องไปพบแพทย์ แค่พักเล็กน้อยไม่กี่ชั่วโมงก็สามารถกลับมาเป็นปกติได้แล้ว แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เวียนหัวหรือคลื่นไส้อย่างหนักแม้เวลาจะผ่านไปนานแล้วก็แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยดีกว่า ซึ่งแพทย์จะให้ยาปฎิชีวนะเข้ามาช่วยบรรเทาอาการ สำหรับใครที่มีอาการเมารถบ่อย ๆ เกิดขึ้นซ้ำ ...

เมาเครื่องบินทำไงดี

วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ทำไงดี ?.
1. สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ... .
2. ดมยาดม ... .
3. พยายามตั้งศีรษะให้ตรงและนิ่งที่สุด ... .
4. กลิ่นเปลือกพริกช่วยได้ ... .
5. ขิงก็ช่วยด้วย ... .
6. ดื่มน้ำอัดลม ... .
7. เคี้ยวหมากฝรั่ง ... .
8. กดจุดแก้เมารถ เมาเรือ.

ยาแก้เมารถกินได้วันละกี่เม็ด

ขนาดใช้: ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 1 เม็ด. เด็กอายุ 6-12 ปี กินครั้งละครึ่งเม็ด. คำเตือน: กินแล้วถ้าง่วงนอน มึนงง ห้ามขับรถ ขับเรือ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือของมีคม เพราะอาจเกิดอันตรายได้.