เกษตร ทฤษฎี ใหม่ ใน ชีวิต ประจํา วัน

���ɰ�Ԩ����§���ѧ�Ѻʹ�Ѻ�ɵ÷�ɮ�����

             ��...��¸�ùѹ���  ������
�Ҫվ : �Ѻ�Ҫ���
�.�Ѻ��ԡ �.���ͧ �.��к��
������ : [email protected]
(����������Ҿ��Сͺ�繤����Ѻ�Դ�ͺ�ͧ�����¹)

 

เกษตร ทฤษฎี ใหม่ ใน ชีวิต ประจํา วัน

          �Ѩ�غѹ�ء � ʶҹ�֡�ҨѴ����ա�����¹����͹����ǡѺ��Ѫ�����ɰ�Ԩ����§ �����ѧ��������¹�դ��������зѡ�Тͧ��������§�������ö�����㹪��Ե
��Ш��ѹ�� ��㹢�з���ѧ����¹͡���ѧ�ͧ������ɰ�Ԩ����§����觷���ǹ������š�š����Ѳ�� �š��觷ع���� �֧�ѡ���ͧ������������觷�������������Ѻ��
�����������Ѻ�ҹТͧ�� ���������������Ѻ�Ҫվ�ͧ�� �������觷�������´�����ҧ���

"�ҡ���������һ�Ѫ�����ɰ�Ԩ����§��͡�÷���黯ԺѵԨе�ͧ
��Ѻ任�١�ѡ�Թ�ͧ ����§�ѵ��Թ�ͧ �����෤����շ��ѹ���¹��
��ҵ�ͧ���ǹ��зӤ���������������"


          ����ǹ�ҡ�ͧ������ɰ�Ԩ����§������ͧ�ͧ����١�ѡ ���ǹ ����§������� �����ԧ���� ����Сͺ�Ҫվ��� � ������ö������Ǿ���Ҫ�����任���ء��
��������� �...���������Ңͧ�ç�ҹ�ص��ˡ���������ö���һ���ء�������鹡�ü�Ե��ҹ����ɵ����ҧ������ͧ �������÷��ص��ˡ�����Ҵ�˭��Թ� ����
�ҡ��Ҵ�˭��Թ� ��е�ͧ��觾ԧ�Թ����ѵ�شԺ���෤����ըҡ��ҧ���������Ҽ�Ե�Թ��� ��ͧ�ӹ֧�֧��觷������㹻�����¡�͹...� ���;���Ҫ��������ͧ��͡��
�ѹ������Ъ������� � �ѹ�Ҥ� ���� ��� �����§����Ҩ�����ҡ �Ҩ���բͧ�����ҡ��� ����ҵ�ͧ������´��¹����� ��ͧ���ͻ���ҳ����ѵ�Ҿ �ٴ�ҡ��
��§ �����á����§ ��ԺѵԵ������§�
          ������ ����ҧ��� � ��ظ�� (����) ��͸Ժ�¶֧ �ӹ��������ǡѺ��Ѫ�����ɰ�Ԩ����§������ ���·���ش ��� � ��ǧ � ���͹� �Ѩ����Ӥѭ���������ͧ � ��ǧ
��� (�) �����ͻ���ҳ ��� �ش�觨��Թ� (�) ������˵��ռŷ��ФԴ��������ء���ҧ��͹ŧ��ͻ�Ժѵ� (�) �����Ԥ����ѹ�������� �����������š����ѵ��������ռš�з�
��ͪ��Ե�ͧ����ҡ�Թ� ��ǹ � ���͹� ��� (�) �������˵ؼ������������ҧ�ͺ�ͺ������Ѵ���ѧ (�) �س���� �ҡ���������ҹ������դ���������ʹ ��������͹��Ӥѭ
�ҡ㹡�ô��Թ���Ե ���ͧ�鹤���ͧ���Ըդ����繤����

เกษตร ทฤษฎี ใหม่ ใน ชีวิต ประจํา วัน

�Ҿ�ҡ Web Site
http://www.kknontat.com/wp-content/uploads/2013/10��Ѫ�����ɰ�Ԩ����§1.jpg
�������Ҿ � �ѹ��� ��-�-��


          ��ǹ��ѡ��âͧ�ɵ÷�ɮ������� ���Ǿ���Ҫ���Ԣͧ��кҷ���稾������������ ���Ծ�ʹ���പ ����ǡѺ��èѴ��÷��Թ㹡�û�Сͺ�Ҫվ�ɵá���
�ͧ�ɵá����͡���ժ��Ե������蹤� ����׹ �����觾�鹷������ǹ � ���� ��鹷���� ��鹷��Թ�����繷��һ�١���� ��鹷��Թ����Ѻ��١�ת���ҹҾѹ��� ��з������Ѻ���������
�������§�ѵ�� ��ѵ����ǹ ��:��:��:�� ����ѡ���㹡�ú����á�èѴ��÷��Թ��й�� ���͡���ɵ�㹷��Թ��Ҵ�������Դ����Է���Ҿ�٧�ش ���˵ط�����¡
���ɮ����� ������ͧ�ҡ �ա�ú�������ШѴ�觷��Թ�͡���Ѵ��ǹ���Ѵਹ ���ͻ���ª���٧�ش�ͧ�ɵá� �����������äԴ�ҡ�͹ �ա�äӹdz����ѡ�Ԫҡ��
����ǡѺ����ҳ��ӷ����纡ѡ������§��͡����л�١�����ҧ���������ʹ�� ����ա���ҧἹ�������ó�Ẻ ��Сͺ���·�ɮ����� � ��鹵͹ ����
          ��鹵͹��� � �繡�ü�ԵẺ��觵��ͧ�����Ըէ���� �����繤���仵�����ѧ ���վ͡Թ���ʹ��ҡ
          ��鹵͹��� � �ɵá������ѧ�ѹ��ٻ����������ˡó� �����ç�����ͧ�ͧ��ü�Ե��õ�Ҵ ��������� ���ʴԡ�� ����֡�� �ѧ�� �����ʹ�
          ��鹵͹��� � ������͡Ѻ�����Թ��о�ѧ�ҹ �����к������ç�� ��駺�ԡ����ҹ�ˡó� ���¡ѹŧ�ع���¡ѹ�Ѳ�Ҥس�Ҿ���Ե�ͧ��ЪҪ�㹪��� ���������Ҫվ
��ҹ����ɵ���§���ҧ����

เกษตร ทฤษฎี ใหม่ ใน ชีวิต ประจํา วัน

�Ҿ�ҡ Web Site
https://aeioulove4143.files.wordpress.com/2013/01/newthe1.jpg
�������Ҿ � �ѹ��� ��-�-��


          ���������һ�Ѫ�����ɰ�Ԩ����§�������ѡ���� � ��·���к���ҵ�ͧ���ɵá���ҹ�� ��Ѫ�����ɰ�Ԩ����§�֧�������ѡ��÷���ͧ��餹��ԡ�Ҫվ�������
�ѹ��Ѻ�һ�١�ѡ ����§�ѵ��Թ�ͧ �ͼ�����ͧ����͹���ҧ�ʹյ ����ѡ���ɰ�Ԩ����§�������ö����ء����ѡ��������ء�дѺ�ҹ���зء�Ң��Ҫվ ��ǹ
�ɵ÷�ɮ����������躹��鹰ҹ�ͧ���ɰ�Ԩ����§ �繡�ù������ѡ��Ѫ�����ɰ�Ԩ����§任���ء�������ҧ���ٻ����㹡�û�Сͺ���
�ɵ����ͤ�����蹤��������׹ ��÷Ӥ����������١��ͧ�֧�繼Ŵշ��з�����ùӤ�����������ѡ��ôѧ�����任���ء���� ����� �����ҧ�١��ͧ�������

เกษตร ทฤษฎี ใหม่ ใน ชีวิต ประจํา วัน

�Ҿ�ҡ Web Site
https://toonbkb.files.wordpress.com/2013/02/newtheory32.jpg
�������Ҿ � �ѹ��� ��-�-��

�͡�����ҧ�ԧ
...........................................................................................................................
����Ҫ���������ɰ�Ԩ����§. [�к��͹�Ź�]. ���觷���� ���ɰ�Ԩ����§.Net/����Ҫ���������ɰ�Ԩ ����§.html (17 ���Ҥ� 2558).
���� ������. (2550). ���ɰ�Ԩ����§. ��ا෾� : ��ѧ�ѭ��.
���ɰ�Ԩ����§. [�к��͹�Ź�]. ���觷���� http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html#porpeing (17 ���Ҥ� 2558).
�ش��� ��ø���. (2549). ��Ѫ�����ɰ�Ԩ����§�������������. ��ا෾� : �ʧ���.

ข้อมูลจาก มูลนิธิชัยพัฒนา, สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) 

ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีต จนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขต ที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูก ได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหาย อันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็มีขนาดเพียงพอ หรือมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว

ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้ โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก พระราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" ซึ่งเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่พื้นที่ขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

ทฤษฎีใหม่: ทำไมใหม่ ?

  • มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
  • มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณนํ้าที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี
  • มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อยการจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและ ที่ทำกิน

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น

ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30: 30: 30: 10 ซึ่งหมายถึง

  • พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ
  • พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน สำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
  • พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
  • พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์และโรงเรือนอื่น ๆ

หลักการและแนวทางสำคัญ

  1. เป็นระบบการผลิตแบบพอเพียง ที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ "ลงแขก" แบบดั้งเดิม เพื่อลดค่าใช้จ่าย
  2. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนา 5 ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
  3. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา 5 ไร่ ทำพืชไร่หรือไม้ผลอีก 5 ไร่ (รวมเป็น 10 ไร่) จะต้องมีน้ำ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ดังนั้น หากมีพื้นที่ 15 ไร่ จึงมีสูตรคร่าว ๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย
    • นา 5 ไร่
    • พืชไร่พืชสวน 5 ไร่
    • สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร จุประมาณ 19,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็น ปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง
    • ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 2 ไร่

รวมทั้งหมด 15 ไร่

  1. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราถือครองที่ดินถัวเฉลี่ย ครัวเรือนละ 15 ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน 30:30:30:10 ไปเป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ

30% ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย)

30% ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น) 

10% สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น) 

อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตรหรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ ดิน ปริมาณน้ำฝนและสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุกกว่าภาคอื่น หรือหากพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อหรือสระน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโยชน์อื่นต่อไปได้ 

ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า

เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของ ตนจนได้ผลแล้ว ฉะนั้น เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สอง และขั้นที่สาม ต่อไปตามลำดับ ดังนี้ 

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง

เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน

  1. การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
  • เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
  1. การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
  • เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
  1. ความเป็นอยู่(กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
  • ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
  1. สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
  • แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
  1. การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
  • ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
  • ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว

กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม

เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ

  • เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
  • ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
  • เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง)
  • ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)

ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่​

จากพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ นั้น พอจะสรุปถึงประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ได้ ดังนี้

  1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้
  2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อยก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระ มาปลูกพืชผักต่าง ๆ ได้ แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
  3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้
  4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย 

ข้อสำคัญที่ควรพิจารณา​ ​

  1. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่นั้น มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น ฉะนั้นเกษตรกรควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย
  2. การขุดสระน้ำนั้น จะต้องสามารถเก็บกักน้ำได้ เพราะสภาพดินในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่น ดินร่วน ดินทราย ซึ่งเป็นดินที่ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ หรือเป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับพืชที่ปลูกได้ ฉะนั้น จะต้องพิจารณาให้ดีและควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดิน หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
  3. ขนาดของพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดิน ถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ 15 ไร่ แต่ให้พึงเข้าใจว่าอัตราส่วนเฉลี่ยขนาดพื้นที่นี้มิใช่หลักตายตัว หากพื้นที่การถือครองของเกษตรกรจะมีน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็สามารถนำอัตราส่วนนี้ (30:30:30:10) ไปปรับใช้ได้
  4. การปลูกพืชหลายชนิด เช่น ข้าวซึ่งเป็นพืชหลัก ไม้ผล พืชผัก พืชไร่ และพืชสมุนไพร อีกทั้งยังมีการเลี้ยงปลา หรือสัตว์อื่น ๆ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำมาบริโภคได้ตลอดทั้งปี เป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของอาหารสำหรับครอบครัวได้ และส่วนที่เหลือสามารถจำหน่ายได้เป็นรายได้แก่ครอบครัวได้อีก
  5. ความร่วมมือร่วมใจของชุมชน จะเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติตามหลักทฤษฎีใหม่ เช่น การลงแรงช่วยเหลือกัน หรือที่เรียกว่าการลงแขก นอกจากจะทำให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชนแล้ว ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานได้อีกด้วย
  6. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดีควรนำไปกองไว้ต่างหาก เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่าง ๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดี ซึ่งอาจนำมาถมทำขอบสระน้ำหรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผล เงื่อนไขหรือปัญหา

ในการดำเนินงาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ได้มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ณ ศาลาดุสิดาลัย มีความตอนหนึ่ง ดังนี้

"...การทำทฤษฎี ใหม่นี้มิใช่ของง่าย ๆ แล้วแต่ที่ แล้วแต่โอกาส และแล้วแต่งบประมาณ เพราะว่าเดี๋ยวนี้ประชาชนทราบถึงทฤษฎีใหม่นี้กว้างขวางและแต่ละคนก็อยากได้ ให้ทางราชการขุดสระแล้วช่วย แต่มันไม่ใช่สิ่งง่ายนัก บางแห่งขุดแล้วไม่มีน้ำ แม้จะมีฝนน้ำก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่ามันรั่ว หรือบางทีก็เป็นที่ที่รับน้ำไม่ได้ ทฤษฎีใหม่นี้จึงต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมด้วย...ฉะนั้น การที่ปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่หรืออีกนัยหนึ่ง ปฏิบัติเพื่อหาน้ำให้แก่ราษฎร เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ง่าย ต้องช่วยกันทำ..." 

ตัวอย่างพื้นที่ที่ควรปลูกและสัตว์ที่ควรเลี้ยง

  • ไม้ผลและผักยืน ต้น : มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กะท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน เป็นต้น
  • ผักล้มลุกและดอกไม้ : มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้น
  • เห็ด : เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น
  • สมุนไพรและเครื่องเทศ : หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กระเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น
  • ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง : ไผ่ มะพร้าว ตาล มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน ยูคาลิบตัส สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน และยางนา เป็นต้น
  • พืชไร่ : ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มัน สำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ พืชไร่เหล่านี้ ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นต้น
  • พืชบำรุงดิน และพืชคลุมดิน : ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนแอฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ขี้เหล็ก กระถิน รวมทั้งถั่วเขียว และถั่วพุ่ม เป็นต้น

หมายเหตุ : พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งชนิด และการเลือกปลูกพืชควรเน้นพืชยืนต้นด้วย เพราะการดูแลรักษาในระยะหลังจะลดน้อยลง มีผลผลิตทยอยออกตลอดปี หากเลือกพืชยืนต้นชนิดต่าง ๆ กัน และให้ความร่มเย็นและชุ่มชื้นกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม

สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ได้แก่

  1. สัตว์น้ำ เช่น ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาดุก เพื่อเป็นอาหารเสริมประเภทโปรตีน และยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย ในบางพื้นที่สามารถเลี้ยงกบได้
  2. สุกร หรือ ไก่ เลี้ยงบนขอบสระน้ำ ทั้งนี้มูลสุกรและไก่สามารถนำมาเป็นอาหารปลา บางแห่งอาจเลี้ยงเป็ดได้ 

ทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์

การที่จะทำให้ทฤษฎีใหม่สมบูรณ์ได้นั้นคือ สระเก็บกักน้ำจะต้องทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มความสามารถ โดยต้องมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถเพิ่มเติมน้ำในสระเก็บกักน้ำให้เต็มอยู่ เสมอ ดังเช่นในกรณีของการทดลองที่วัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ทรงเสนอวิธีการดังนี้ 

ระบบทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์ อ่างใหญ่ เติมอ่างเล็ก อ่างเล็ก เติมสระน้ำ

เกษตร ทฤษฎี ใหม่ ใน ชีวิต ประจํา วัน

จากภาพวงกลมเล็กคือสระน้ำที่เกษตรกร ขุดขึ้นตามทฤษฎีใหม่ เมื่อเกิดช่วงขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง เกษตรกรสามารถสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ และหากน้ำในสระน้ำไม่เพียงพอก็ขอรับน้ำจากอ่างห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อลงมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลงซึ่งจะ ช่วยให้สามารถมีน้ำใช้ตลอดปี

กรณีที่เกษตรกรใช้น้ำกันมาก อ่างห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ก็อาจมีปริมาณน้ำไม่พอเพียง หากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักหรือมีโครงการใหญ่ที่สมบูรณ์แล้ว ก็ใช้วิธีการผันน้ำจากป่าสัก คืออ่างใหญ่ ต่อลงมายังอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ก็จะช่วยให้มีปริมาณน้ำใช้มากพอตลอดปีสำหรับสระของเกษตรกร

เกษตรทฤษฎีใหม่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ 2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อยก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระ มาปลูกพืชผักต่าง ๆ ได้ แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน 3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้

เกษตรทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้นตอนอะไรบ้าง

1. การผลิต : ร่วมมือกันตั้งแต่เตรียมดิน หาพันธุ์พืช ปุ๋ย แหล่งน้ำ และอื่น ๆ 2. การตลาด : เมื่อมีผลผลิตแล้ว ควรเตรียม การโดยรวมกัน ขายให้ได้ประโยชน์สูงสุด 3. ความเป็นอยู่ : เกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร มีปัจจัยพื้นฐาน การดำรงชีพที่พอเพียง

เกษตรทฤษฎีใหม่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตอย่างไร

ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่​ ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ ในหน้าแล้งมีน้ำน้อยก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระ มาปลูกพืชผักต่าง ๆ ได้ แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน

เกษตรทฤษฎีใหม่แบ่งออกเป็นกี่ส่วนอะไรบ้าง

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ