จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ อิสรภาพ

เปิดอ่านหนังสือ “ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ” ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต, ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์”) หน้า 49 เขียนว่า

“...การที่ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ จึงเท่ากับเป็นการยกหลักการแห่งเสรีภาพในการนับถือศาสนาขึ้นมาสถาปนาไว้ ซึ่งเป็นฐานที่ค้ำจุนช่วยให้ไม่มีการเบียดเบียนกันทางศาสนา...”

ในหน้า 64 ยังเน้นอีกว่า “พระพุทธศาสนานั้นเรียกได้ว่าเป็นศาสนาแห่งอิสรภาพ จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาเรียกชื่ออย่างหนึ่งว่า ‘วิมุตติ’ แปลว่าความหลุดพ้น ความปลอดพ้นจากสิ่งผูกรัดบีบคั้นครอบงำจำกัดขัดข้อง ไม่ต้องขึ้นต่ออะไรหรือต่อใครๆ...” 

คำถามคือ พุทธศาสนาจะเป็นศาสนาประจำชาติพร้อมๆ กับเป็นศาสนาแห่งอิสรภาพที่ปลอดพ้นจากสิ่งผูกรัดบีบคั้นครอบงำจำกัดขัดข้องในเวลาเดียวกันได้อย่างไร เพราะการเป็นศาสนาประจำชาติที่มี “ศาสนจักรของรัฐ” (มหาเถรสมาคม) ที่ขึ้นต่อ “พระราชอำนาจตามโบราณราชประเพณี” อันเป็นรูปแบบศาสนจักรที่ตกทอดมาจากยุคก่อนสมัยใหม่ ภายใต้ระบบอำนาจศาสนจักรเช่นนี้ แม้แต่นักบวชเองก็ไม่มีเสรีภาพทางศาสนาได้จริง

เวลาเราพูดถึง “เสรีภาพทางศาสนา” (freedom of religion) ในสังคมสมัยใหม่ ย่อมหมายถึงเสรีภาพในการเลือกนับถือหรือไม่นับถือศาสนา เสรีภาพในการเปลี่ยนศาสนา รวมถึงเสรีภาพในการศึกษาตีความคำสอนศาสนา เสรีภาพที่กลุ่มองค์กรศาสนาต่างๆ จะปกครองกันเอง หรือจัดองค์กรศาสนาตามหลักความเชื่อทางศาสนานั้นๆ โดยไม่ถูกแทรกแซงขัดขวางจากอำนาจรัฐ ตราบที่ไม่มีการละเมิดสิทธิพลเมือง แต่ภายใต้ระบบศาสนจักรของรัฐ นักพุทธพุทธกลับไม่มีเสรีภาพทางศาสนาในความหมายนี้เลย

ทั้งนี้เพราะศาสนจักรขึ้นต่อพระราชอำนาจ กษัตริย์คือผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการแต่งตั้งประมุขสงฆ์ และผู้บริหารระดับสูงของคณะสงฆ์ มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนสมณศักดิ์ เป็นต้น ทำให้นักบวชพุทธไม่มีเสรีภาพทางศาสนาในความหมายของการมีอิสรภาพจัดองค์กรปกครองกันเองตามธรรมวินัยเพื่อเดินตาม “ครรลองของศาสนาแห่งอิสรภาพ” ที่ไม่ขึ้นต่ออำนาจบงการใดๆ นอกเหนือจากฉันทานุมัติของสังฆะได้จริง 

นอกจากนี้ นักบวชพุทธยังไม่มีเสรีภาพทางศาสนาในความหมายของ “การมีอิสรภาพในการตีความพุทธธรรม” อย่างมีนัยสำคัญด้วย เช่น นักบวชพุทธไม่มีเสรีภาพตีความพุทธธรรมสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชน เพราะขัดคำสั่งของศาสนจักร และศาสนจักรยังออกคำสั่งให้พระสงฆ์ทั่วประเทศสอนประชาชนให้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ด้วย

ถ้านักบวชมีเสรีภาพตีความพุทธธรรมจริง “เสรีภาพ” ย่อมหมายถึง “เลือกได้” นักบวชก็ต้องมีเสรีภาพเลือกตีความพุทธธรรมสนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หรือตีความและรวมทั้งเคลื่อนไหวในนามพุทธธรรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประรชาธิปไตยของประชาชนได้ด้วย 

ยิ่งกว่านั้น หากนักบวชมีเสรีภาพตีความพุทธธรรมจริง พระสงฆ์ต้องมีเสรีภาพตีความพุทธธรรมสรรเสริญกษัตริย์ได้ และอ้างอิงหลักพุทธธรรมวิพากษ์วิจารณ์การปกครองโดยธรรมของกษัตริย์ได้ด้วย แต่นักบวชพุทธไทยหาได้มีเสรีภาพในเรื่องพื้นฐานสำคัญมากเช่นนี้แต่อย่างใด

ดังนั้น การกล่าวว่า หากพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจะเป็นการสถาปนาหลักการเสรีภาพทางศาสนาให้มั่นคงจึงไม่จริง ด้วยข้อโต้แย้งที่มีหลักฐานชัดแจ้งดังที่ว่ามา 

ที่น่าเศร้าคือ นอกจากนักบวชจะไม่ตระหนักว่าตนเองไม่เคยมีเสรีภาพทางศาสนาอย่างแท้จริงแล้ว ชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ก็ไม่เคยตระหนักว่า การบังคับเรียนปลูกฝังศีลธรรมพุทธศาสนาในหลักสูตรการศึกษาชาติคือการละเมิดเสรีภาพทางศาสนา เพราะการมีเสรีภาพทางศาสนานั้นย่อมหมายความหว่า ปัจเจกบุคคลจะต้องไม่ถูกบังคับยัดเยียดให้เรียนเพื่อปลูกฝังศีลธรรมของศาสนาใดๆ 

ที่ย้อนแย้งอีกอย่างคือ เมื่อมีผู้เสนอว่า “นักบวชควรจ่ายภาษี” บรรดานักบวชและชาวพุทธบางส่วนกลับต่อต้าน ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ก็แทบไม่นึกถึงความจริงว่าตนเองได้จ่าย “ภาษีศาสนา” สนับสนุนกิจการของพวกนักบวชให้กรมการศาสนาและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) โดยเฉพาะงบประมาณของ พศ.ปีหนึ่งๆ ก็ใกล้เชียงกับงบประมาณของกระทรวงอุตสาหกรรมเลยทีเดียว ขณะที่มีเงินทำบุญบริจาคหมุนเวียนในวัดต่างๆ ทั่วประเทศเฉลี่ยปีละ 1-2 แสนล้านบาท

ประชาชนจ่ายภาษีศาสนาสนับสนุนนักบวชผู้ไม่เสียภาษีไปทำไม จ่ายสนับสนุนศาสนจักรที่เป็นกลไกสนับสนุนอุดการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเป็นศาสนจักรที่มีอำนาจขัดหลักเสรีภาพทางศาสนาในการปกครองตนเองตามธรรมวินัย และขัดหลักเสรีภาพทางศาสนาในการตีความพุทธธรรมของนักบวชที่มียศศักดิ์ฐานนันดรเช่นนั้นหรือ 


1. จุดหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา

จุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนา คือความพ้นทุกข์สิ้นเชิง (นิพพาน) ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทคือ (1) ความพ้นทุกข์ทางจิตใจอย่างสิ้นเชิงในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เพราะสิ้นกิเลสตัณหา (สอุปาทิเสสนิพพาน หรือกิเลสปรินิพพาน หรือจะเรียกว่าวิราคธรรมก็ได้) คงเหลือแต่ความทุกข์ทางร่างกายซึ่งปฏิเสธไม่ได้ เพราะได้เกิดมามีร่างกายเสียแล้ว และ (2) ความพ้นทุกข์สิ้นเชิงเมื่อสิ้นขันธ์ (อนุปาทิเสสนิพพาน หรือขันธปรินิพพาน หรือจะเรียกว่าวิสังขารธรรมก็ได้) คือหมดรูปนาม หรือหมดกายหมดใจอันเป็นกองทุกข์ที่เหลืออยู่หลังจากกิเลสปรินิพพาน พร้อมทั้งไม่มีขันธ์เกิดขึ้นใหม่ให้ต้องเป็นทุกข์อีกในภพต่อไป
แม้นิพพานจะมี 2 ประเภท แต่ถ้าทำประเภทแรกให้แจ้ง โดยขจัดตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจให้หมดสิ้นไปในปัจจุบันได้แล้ว นิพพานประเภทที่ 2 ก็จะตามมาเอง เพราะเมื่อสิ้นตัณหาผู้สร้างภพ ความเกิดใหม่ก็มีอีกไม่ได้

2. ทำอย่างไรจึงจะรู้แจ้งนิพพานได้
การบรรลุถึง หรือการประจักษ์ถึงกิเลสปรินิพพานหรือความพ้นทุกข์เพราะสิ้นกิเลสตัณหา จะเกิดขึ้นได้เมื่อสามารถขจัดตัณหาหรือความทะยานอยากในจิตใจอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ลงได้ เพราะนิพพานชนิดนี้ก็คือความดับสนิทของตัณหา
วิธีที่จะขจัดความทะยานอยากในจิตใจลงได้มีอยู่ทางเดียว คือการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ หรือการเจริญวิปัสสนาคือการมีสติสัมปชัญญะตามรู้กายตามรู้ใจนั่นเอง โดยมีสติ (มีสัมมาสติ) ตามรู้ทุกข์ คือตามรู้กาย ตามรู้ใจ อยู่เนืองๆ (มีสัมมาวายามะ) ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ (มีสัมมาทิฏฐิในภาคปริยัติธรรม) ด้วยจิตที่ตั้งมั่น (มีสัมมาสมาธิ) ไม่นานก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสภาวธรรมว่า กายและใจ หรือรูปนามเป็นทุกข์จริง แต่ไม่ใช่ตัวเรา (มีสัมมาทิฏฐิในภาคปฏิบัติ) แล้วจิต(ไม่ใช่เรา)ก็ปล่อยวางความถือมั่นในรูปนามเสียได้ในที่สุด จิตที่ปล่อยวางรูปนามนั่นแหละ คือจิตที่พ้นทุกข์และได้ประจักษ์ถึงนิพพานอันเป็นสภาวะที่สงบสันติจากขันธ์และกิเลสตัณหาทั้งปวง
การตามรู้กายมีหลักการง่ายๆ คือให้มีความรู้สึกตัว แล้วตามรู้กายไปอย่างสบายๆ หากกายอยู่ในอาการอย่างไร ก็รู้ว่ารูป(ไม่ใช่เรา)อยู่ในอาการอย่างนั้น
การตามรู้ใจก็มีหลักการปฏิบัติง่ายๆ เช่นกัน คือให้มีความรู้สึกตัว แล้วตามรู้จิตใจไปอย่างสบายๆ หากจิตใจมีความรู้สึก หรือมีอาการอย่างไร ก็รู้ว่านาม(ไม่ใช่เรา)มีความรู้สึก หรือมีอาการอย่างนั้น เช่นจิตมีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้ เฉยๆ ก็รู้ ดีก็รู้ ชั่วก็รู้ ส่งออกหรือหลงไปตามอารมณ์ทางทวารทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ก็รู้ และสักว่ารู้อารมณ์ทางทวารทั้ง 6 คือรู้โดยไม่หลง ก็รู้ เป็นต้น
ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดสำหรับการตามรู้กายและตามรู้ใจ เพราะถ้าจิตมีความรู้สึกตัวคือไม่หลงไปกับอารมณ์ที่ปรากฏทางทวารทั้ง 6 (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล สอนว่า อย่าส่งจิตออกนอก) จิตก็ย่อมจะอยู่กับเนื้อกับตัว เกิดความรู้สึกตัว แล้วรู้เนื้อรู้ตัว หรือรู้กายรู้ใจได้
ผู้ปฏิบัติพึงทำความรู้จักสภาวะของความรู้สึกตัว โดยการหัดสังเกตความแตกต่างระหว่างความหลงกับความรู้สึกตัวซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน ความหลงมี 6 ชนิดคือ เมื่อดูรูปก็หลงรูปแล้วลืมกายลืมใจของตนเอง เมื่อฟังเสียงก็หลงเสียงแล้วลืมกายลืมใจของตนเอง เมื่อได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ก็หลงกลิ่น รส และสัมผัสแล้วลืมกายลืมใจของตนเอง และเมื่อรู้อารมณ์ทางใจก็หลงอารมณ์ทางใจแล้วลืมกายลืมใจของตนเอง
เมื่อรู้สึกตัวเป็นแล้วก็ต้องเจริญสติปัฏฐานเพื่อ (1) กระตุ้นความรู้สึกตัวให้เกิดขึ้นเนืองๆ และ (2) ตามรู้รูปนามอันเป็นอารมณ์วิปัสสนาในสติปัฏฐาน จนเห็นความจริงว่ากายและใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จึงจะสามารถละสักกายทิฏฐิหรือความเห็นผิดว่ารูปนามหรือกายใจคือตัวตนลงได้ในเบื้องต้น และสามารถทำลายความยึดถือรูปนามลงได้ในที่สุด
การเจริญสติปัฏฐานเช่นการตามรู้กายในอิริยาบถเดิน หรือการตามรู้ความเคลื่อนไหวของกาย จะช่วยกระตุ้นความรู้สึกตัวได้ง่ายกว่าการตามรู้อารมณ์ที่นิ่งๆ เช่นการรู้รูปนั่ง(โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งหลับตา) เพราะเมื่อนั่งนานก็มักจะเคลิ้มง่าย อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติพึงสังเกตตนเองว่าใช้อารมณ์กรรมฐานอันใดแล้วสติเกิดบ่อย ก็ควรใช้อารมณ์อันนั้นเป็นเครื่องอยู่ประจำไว้ จะเป็นการตามรู้กาย เวทนา จิต หรือธรรมก็ใช้ได้ทั้งสิ้น เพราะแต่ละคนมีจริตนิสัยต่างๆ กัน ทั้งนี้การเจริญสติแม้จะต้องอยู่ภายใต้หลักการอันเดียวกันที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แต่ต่างคนก็มีทางเดินเฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำรอยกัน เพราะทางนี้เป็นทางของผู้ไปคนเดียว ดังนั้นจึงไม่มีรูปแบบสำเร็จรูปของการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งที่ดีที่สุด มีแต่รูปแบบที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเท่านั้น
เมื่อรู้สึกตัวได้แล้วก็ให้หมั่นรู้สึกถึงอาการปรากฏของกายและของจิตใจอยู่เนืองๆ (แล้วแต่สิ่งใดจะปรากฏชัด เพราะการรู้กายก็ช่วยกระตุ้นให้รู้ใจ และการรู้ใจก็ช่วยกระตุ้นให้รู้กายได้) แต่ไม่จำเป็นจะต้องรู้แบบไม่ให้คลาดสายตา เพราะจะกลายเป็นการกำหนด เพ่งจ้อง หรือดักดูกายและใจ ด้วยอำนาจบงการของตัณหา ให้รู้ไปอย่างสบายๆ รู้บ้าง เผลอบ้างก็ยังดี ไม่ต้องอยากรู้หรืออยากให้สติเกิดขึ้นตลอดเวลา เพียงหมั่นตามรู้กายและใจเนืองๆ สติจะเกิดได้บ่อยขึ้นเอง และไม่ต้องพยายามห้ามไม่ให้จิตหลง เพราะจิตเป็นอนัตตา คือห้ามไม่ได้ บังคับไม่ได้ เพียงทำความรู้จักสภาวะของความหลงให้ดี และเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ แล้วความหลงจะสั้นลงได้ นอกจากนี้จะต้องจับหลักการปฏิบัติให้แม่นยำว่า จะต้อง ตามรู้กายตามรู้ใจ ตามที่เป็นจริง ไม่ใช่เข้าไปดัดแปลง แก้ไข หรือควบคุมกายและใจแต่อย่างใดเลย ทั้งนี้บรรดาคำสอนที่ให้เพ่งกายเพ่งจิต หรือให้แก้ไขดัดแปลงจิตใจ เป็นคำสอนในขั้นสมถกรรมฐานทั้งสิ้น
จิตที่มีความรู้สึกตัวย่อมไม่หลงไปตามอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่หลงไปในโลกของความคิด เมื่อไม่หลงไปกับความคิดอันเป็นเรื่องของสมมุติบัญญัติ จิตก็อยู่กับความจริง และสามารถเห็นอารมณ์ปรมัตถ์คือกายและใจ หรือรูปนาม ได้ตรงตามความเป็นจริง
การที่รู้กายรู้ใจได้ตรงตามความเป็นจริงนี้เอง จะส่งให้เกิดผล 2 ขั้นตอน คือเบื้องต้นจะละความเห็นผิดว่ากายและใจคือตัวเราลงได้ และเบื้องปลายจะละความยึดถือกายและใจลงได้
การละความเห็นผิดว่ากายและใจคือตัวเรานั้น เกิดจากการที่ผู้ปฏิบัติตามรู้กาย ตามรู้ใจอยู่เนืองๆ จนเห็นความจริงว่า กายและใจเป็นสิ่งที่แปรปรวน เป็นทุกข์ และบังคับไม่ได้จริง เช่นเมื่อตามรู้รูปยืน เดิน นั่ง นอนอยู่เนืองๆ ก็จะเห็นว่ารูปแต่ละชนิดล้วนถูกความทุกข์บีบคั้น ทำให้รูปเก่าดับไป แล้วรูปใหม่เกิดขึ้น เช่นต้องเปลี่ยนอิริยาบถจากรูปนั่งเป็นรูปยืนและรูปเดิน เป็นต้น จะบังคับให้รูปคงที่ตลอดไปไม่ได้ ส่วนความรู้สึกทางใจก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และบังคับไม่ได้เช่นกัน
สำหรับการละความยึดถือกายและใจเป็นการปฏิบัติในเบื้องสูง วิธีปฏิบัติก็เป็นไปในทำนองเดียวกับการปฏิบัติในเบื้องต้นนั่นเอง เพียงแต่ผู้ปฏิบัติมีสติสัมปชัญญะหรือมีความรู้สึกตัวแก่กล้ามากขึ้น สามารถรู้สึกตัวได้อย่างถี่ยิบโดยไม่มีเจตนาจะรู้ ในขั้นนี้จึงไม่ต้องจงใจทำอะไรเพราะจิตเขาจะทำของเขาเอง คล้ายกับผลไม้ที่รอเวลาสุกเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกเหมือนกับว่า ความรู้สึกตัวแผ่กว้างออก ในขณะที่ความหลงหดสั้นลง อนุสัยและอาสวกิเลสทั้งหลายไม่สามารถทำงานได้ดังเดิม กำลังของกิเลสที่ห่อหุ้มปกคลุมจิตและผูกมัดจิตให้ยึดติดอยู่กับขันธ์(คือกายและใจอันเป็นของหนัก)ก็จะอ่อนกำลังลง ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกว่า จิตใจมีน้ำหนักน้อยลงเรื่อยๆ เพราะวางภาระที่ต้องแบกหามขันธ์ไปตามลำดับ และรู้สึกว่าจิตเป็นเพียงสภาวธรรมบางอย่างที่ไม่สนใจจะเรียกตัวเองว่าจิตด้วยซ้ำไป ความคิดนึกปรุงแต่งจะจางลงๆ เว้นแต่มีกิจที่จะต้องคิดก็คิดปรุงไปตามหน้าที่ และเมื่อถึงจุดหนึ่งจิตก็จะสลัดตัวหลุดพ้นจากอาสวกิเลสที่ห่อหุ้มอยู่ เกิดการปล่อยวางขันธ์หรือกายและใจ ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกได้ว่า จิตกับสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่ว่างและปราศจากน้ำหนักเช่นเดียวกัน คือธรรมภายในได้แก่จิตใจซึ่งปราศจากเปลือกหุ้มคืออาสวกิเลส ก็ว่างไร้ขอบเขตแผ่กว้างผ่าน ทวารตา หู จมูก ลิ้น และกาย รวมเข้าถึงความว่างของธรรมภายนอกเป็นสิ่งเดียวรวดเสมอกัน จิตจึงไม่มีการหลงหรือไหลไปมา และเป็นจิตที่ไม่ทำกรรมอีกต่อไป อนึ่งจิตที่ปล่อยวางขันธ์ก็คือจิตที่พ้นทุกข์ เพราะอุปาทานขันธ์นั่นแหละคือตัวทุกข์ นี้คือนิพพานประเภทแรกคือความพ้นทุกข์ทางจิตใจอย่างสิ้นเชิงในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ (สอุปาทิเสสนิพพาน)
การปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์มีแนวทางปฏิบัติหลักๆ อยู่เพียงเท่านี้ ไม่ต้องทำอะไรมากหรอก เพียงแต่รู้สึกตัวเนืองๆ แล้วตามรู้กายตามรู้ใจไปตามความเป็นจริงซึ่งตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ทำได้อย่างนี้จิตจะพัฒนาไปสู่ความพ้นทุกข์ได้เอง

3. เมือรู้แจ้งนิพพานแล้วจิตใจเป็นอย่างไร
เมื่อรู้แจ้งสอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานประเภทที่เป็นความพ้นทุกข์ทางจิตใจอย่างสิ้นเชิงในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่แล้วนั้น จิตที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย ก็ยังคงทำงานไปตามปกติ และอารมณ์ที่รู้ก็มีทั้งอารมณ์ที่ดีและเลว ด้วยอำนาจของกุศลวิบากและอกุศลวิบาก เหมือนกับผู้อื่นเช่นกัน
จิตที่ทำหน้าที่การงานทางใจก็ยังคงทำหน้าที่ไปตามปกติ มีแปลกอยู่อย่างเดียวคือจิตชนิดที่เป็นมหากุศลจิตและอกุศลจิตจะหมดสิ้นไป เหลือแต่จิตที่สักว่ารู้อารมณ์ทางใจ มีสภาพหมดภาระ โปร่ง โล่ง ไร้ขอบเขต สามารถมองเห็นความว่างจากความเป็นตัวตนและทุกข์ซึ่งแทรกอยู่ในสรรพสิ่ง เป็นหนึ่ง สงบ เบิกบาน และไม่ส่งส่ายไปมา จิตนี้เกิดดับแต่ไม่มีทุกข์ เพราะไม่ได้เกาะเกี่ยวกับขันธ์(รูปนาม/กายและใจ) เหมือนหลุดล่อนออกจากเปลือกคือขันธ์ เหมือนอยู่ต่างระดับกับขันธ์แต่ก็ไม่ได้แยกชั้นเป็นสองส่วนระหว่างจิตผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้เพราะไม่ได้กำหนดหมาย จิตไม่ได้ยึดเกาะอยู่กับกายและใจอันเป็นกองทุกข์ รวมทั้งไม่ยึดเกาะกับสิ่งอื่นๆ เช่นความว่างด้วย แต่จิตนี้ก็ไม่ปฏิเสธขันธ์ คงปล่อยขันธ์คือกายและใจคืนให้เป็นสมบัติของโลกไป แล้วแต่ขันธ์เขาจะเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย แต่จิตนี้ก็อาศัยขันธ์ และรักษาขันธ์เหมือนการรักษาของที่ยืมผู้อื่นมาใช้ เพื่อใช้ขันธ์ทำประโยชน์ไปตามกระแสของความเมตตากรุณาอันเป็นความเคยชินที่มีเหลืออยู่ อนึ่งจิตนี้ไม่มีกิเลส เพราะกิเลสเข้าไม่ถึงจิตนี้
จิตไม่ใช่นิพพาน และนิพพานก็ไม่ใช่จิต ต่างก็เป็นธรรมคนละประเภทกัน คือจิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และนิพพานเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งที่จิตไปรู้เข้า เป็นสภาพที่ว่าง บริสุทธิ์ เต็มบริบูรณ์ ปราศจากความปรุงแต่ง ปราศจากกิเลส และที่สำคัญคือปราศจากทุกข์ คือปราศจากขันธ์หรือรูปนามใดๆ ด้วย ดังนั้นนิพพานที่เป็นบ้านเป็นเมือง หรือเป็นตัวเป็นตน จึงไม่ใช่นิพพานในทางพระพุทธศาสนา
หมายเหตุ เรื่องราวใน “ประทีปส่องธรรม” นี้ ผู้เขียนได้ยินครูบาอาจารย์เล่าให้ฟัง ตัวผู้เขียนเองไม่มีความรู้ความสามารถใดๆ ดังนั้นท่านใดอ่านหนังสือเรื่องนี้แล้วสนใจใคร่ปฏิบัติ ก็ขอให้แสวงหาครูบาอาจารย์ที่ดีเอาเองเถิด
อนึ่งหากอ่านบทความเรื่อง “ประทีปส่องธรรม” แล้วสามารถเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้ ก็ไม่จำเป็นจะต้องอ่านบทความเรื่องอื่นๆ ในหนังสือเล่มนี้ต่อไป เพราะบทความเรื่องอื่นๆ เป็นเพียงส่วนขยายความของบทความเรื่องนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตามเรื่อง “การตามรู้จิต : วิธีการปฏิบัติธรรมที่เรียบง่ายและลัดสั้น” ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ขอชวนเชิญให้เพื่อนนักปฏิบัติลองอ่านดูด้วย

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคืออะไร

7. พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีองค์ประกอบครบถ้วนมีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ นิพพาน และความเจริญอันสูงสุดที่ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ คือ อริยสัจ 4.

อิสรภาพสูงสุดในพุทธศาสนาคือข้อใด

พระพุทธเจ้าทรงวางหลักการอันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาไว้ว่า ได้แก่ การบรรลุถึง ภาวะพระนิพพาน และพระนิพพานก็คือภาวะที่จิตหลุดพ้นจากสรรพกิเลส ซึ่งก็คือบรรลุถึงอิสรภาพนั่นเอง ด้วยเหตุนี้อิสรภาพจึงเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาสอดคล้องกับพระพุทธพจน์ที่ว่า

การมุ่งสู่อิสรภาพของศาสนาพุทธ คือข้อใด

ประการออกบวช คือ พระองค์มุ่งออกสู่อิสรภาพทั้ง หนึ่งซึ่งในทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นกระบวนการเรียน อิสรภาพทางกายและอิสรภาพทางใจ ที่สำคัญมากก็ รู้ที่ถูกต้อง กระบวนการเรียนรู้อย่างนี้จะทำให้มนุษย์ คือ ความอิสระจากการครอบงำของอวิชชา และกิเลส

เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาจึงได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งอิสรภาพ

พระพุทธศาสนาได้รับยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามในนามศาสนาหรือการเผยแผ่ศาสนา เพราะ ให้เสรีภาพในการพิจารณาด้วยปัญญา และพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความอิสระ เสรีภาพ กล่าวคือไม่ผูกติดกับผู้ดลบันดาลหรือพระผู้เป็นเจ้า เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพในการปลดเปลื้องทุกข์โดย ...