ตัวอย่าง การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม

การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะช่วยพิจารณาว่าโครงการที่กำลังเกิดจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือไม่

Show

  1. EIA คืออะไร
  2. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีประโยชน์คือ
  3. สำหรับการกำหนดโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการใด ที่จะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะเป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ซึ่งปัจจุบันการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
  4. ขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่าง การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม

EIA คืออะไร

EIA ย่อมาจาก รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment)  ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ได้ให้คำนิยาม “การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” หมายความว่า กระบวนการศึกษาและการประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ หรือ กิจการ หรือ การดำเนินการใด ของรัฐ หรือ ที่รัฐจะอนุญาตให้มีการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือ ส่วนได้เสียอื่นใดของชุมชนหรือประชาชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการ การมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ผลการศึกษานี้เรียกว่า รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่าง การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีประโยชน์คือ

  • เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจการลงทุน หรือ พัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงาน แผนการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในขั้นตอนการอนุมัติ/อนุญาตของหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย
  • เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคาดการณ์ประเด็นปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ที่อาจเกิดขึ้นตามหลักวิชาการ ซึ่งจะได้เตรียมป้องกันและแก้ไขไว้ก่อนตั้งแต่ขั้นการเตรียมโครงการ เป็นแนวทางในการกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากได้มีการก่อสร้างและดำเนินการ
  • เป็นเครื่องมือที่จะช่วยพิจารณาว่าโครงการที่กำลังเกิดขึ้น อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ในระดับมากน้อยอย่างไร และถ้าเกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมแล้ว  ผู้พัฒนาโครงการจะต้องมีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมก่อนเริ่มดำเนินการ
  • ผลการศึกษาสามารถนำมาเป็นข้อมูลแก่สาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และลดความขัดแย้งของการใช้ทรัพยกรที่เกิดขึ้น

สำหรับการกำหนดโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการใด ที่จะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะเป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ซึ่งปัจจุบันการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

1.รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA)

2.รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE)

3.รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการกิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง (Environmental and Health Impact Assessment : EHIA)


ตัวอย่าง การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม

ขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1.การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA

2.การกลั่นกรองโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

3.การพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

4.การติดตามตรวจสอบ

ในการทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA จะต้องมีการกลั่นกรองโครงการว่าจะต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่ การกำหนดขอบเขตประเด็นสำคัญที่จะต้องทำการศึกษาและประเมินผลกระทบ รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการแสดงความคิดเห็น หรือการนำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการนั้น.

กลับสู่หน้า Blog

Share:

More Posts

ตัวอย่าง การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง

การจัดทำ EIA ประกอบด้วย การศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน คือ ทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง ว่าจะมี การเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ทรัพยากรชีวภาพ การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่มีต่อระบบนิเวศน์ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น

โครงการใดบ้างต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม.
เขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ ตั้งแต่ 100,000,000 ลบ.ม.ขึ้นไป หรือมีพื้นที่เก็บกักน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป.
การชลประทาน ตั้งแต่ 80,000 ไร่ขึ้นไป.
สนามบินพาณิชย์ ทุกขนาด.

วิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมวิธีใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

รูปแบบและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่นิยมและยอมรับที่ใช้อยู่ในประเทศไทย คือ ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 4 หมวด หรือที่เรียกว่า “Four-tier System” ซึ่งเป็นการจัดแยกทรัพยากรสิ่งแวดล้อมออกจากคุณค่าหรือคุณภาพในแง่ต่างๆ ของมนุษย์ ดังต่อไปนี้

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีประโยชน์อย่างไร

๑. การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ และจะช่วยให้การมองปัญหาต่างๆ ได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น นอกเหนือจาก การมองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และความต้องการของสังคมเป็นประเด็นหลักอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา ซึ่งก่อให้ ...