โรคที่เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ

         จากวัยเด็กจนถึงวัยรุ่นเป็นวัยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในทางที่ถูกต้องหรือผิดปกติ วิธีที่จะทราบถึงการเปลี่ยนแปลงว่าไปในทิศทางใด นอกจากการสังเกตของพ่อแม่ผู้ปกครองแล้ว การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเช็คสุขภาพและร่างกายเด็กอยู่เสมอ จะช่วยให้เมื่อเกิดความผิดปกติสามารถรับรู้และเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันทีท่วงทีเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและพัฒนาการทางสมองเป็นปกติ

Show

โรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะต่อมไร้ท่อต่างๆที่ทำหน้าที่ในการผลิตสารชีวเคมีหรือฮอร์โมนสำหรับกระตุ้น และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยความผิดปกติดังกล่าวเป็นผลมาจากการผลิตฮอร์โมนโดยตรง ทั้งผลิตในปริมาณมากเกินไป น้อยเกินไปหรือไม่สามารถผลิตได้เลยทำให้เกิดอาการของโรคต่างๆตามมา ได้แก่

– โรคอ้วน
– คอพอก
– คอพอกเป็นพิษ
– ต่อมไทรอยด์อักเสบ
– มะเร็งต่อมไทรอยด์
– โรคซีแฮน
– โรคแอดดิสัน
– โรคเบาหวาน
– ประจำเดือนผิดปกติ
– นกเขาไม่ขัน

ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system) เป็นอวัยวะที่มีกระจายอยู่ทั่วร่างกายในระบบต่างๆ ทำหน้าที่สร้างสารชีวเคมีหรือที่เรียกว่า ฮอร์โมน เพื่อควบคุม และกระตุ้นการทำงานของร่างกาย หรือยับยั้งการทำงานของอวัยวะ ได้แก่ การสืบพันธุ์ การตั้งท้อง การย่อยอาหาร การดูดซึมอาหาร การเผาพลาญพลังงาน การควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกาย การควบคุมการทำงานของระบอวัยวะต่างๆ เป็นต้น การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อจะทำงานร่วมกับระบบประสาท และสมอง โดยมีสมองส่วนไฮโปธาลามัสทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อ

ฮอร์โมนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ฮอร์โมนเปปไทด์หรือฮอร์โมนโปรตีน (peptides hormone or protein hormone) ละลายน้ำได้ดี และมีโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง และสมองส่วนไฮโปธาลามัส
2. ฮอร์โมนอนุพันธ์โปรตีนหรืออนุพันธ์กรดอะมิโน (protein derivative or amino acid derivative) เช่น ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
3. ฮอร์โมนสเตอร์รอยด์ (steroid hormone) ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ดี
ในตัวทำละลาย มีขนาดโมเลกุลเล็ก เช่น ฮอร์โมนจากอัณฑะ หรือรังไข่ เป็นต้น

บทความโดย Luxury Society Asia

ต่อมไร้ท่อชนิดต่างๆ และหน้าที่

1. ต่อมไพเนียล (Pineal gland) เป็นต่อมขนาดเล็กที่อยู่ด้านหลังสมอง จะมีขนาดเล็กลงเมื่ออายุเข้าวัยหนุ่มสาว ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน malatonin ควบคุมการเป็นหนุ่มสาว การเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์
2. ต่อมใต้สมองหรือต่อมพิทูอิทารี  (Pituitary gland) เป็นต่อมขนาดประมาณผลองุ่น อยู้ใต้สมองส่วนไฮโปธาลามัส ประกอบด้วยต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต และควบคุมการทำงานของต่อมอื่นๆ
3. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่สุด อยู่บริเวณด้านหน้า และด้านข้างของหลอดลมต่ำกว่ากล่องเสียงเล็กน้อย ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย
4. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) เป็นต่อมขนาดเล็กที่ฝังตัวอยู่ในต่อมไทรอยด์ ประกอบด้วยต่อมขนาดเล็ก 2 คู่ อยู่บริเวณปลายด้านบน และปลายด้านล่างของต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่ในการควบคุมแคลเซียม และฟอสเฟตในกระแสเลือด ควบคุมระบบดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย
5. ต่อมไทมัส ( Thymus gland ) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณทรวงอกขั้วปอดด้านบน ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน thymosin เพื่อสร้าง T lymphocyte สำหรับเป็นภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย
6. ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) เป็นต่อมที่อยู่บนไตทั้งสองข้าง ทำหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของโซเดียม และโพแทสเซียมในกระแสเลือด สร้างฮอร์โมน cortisol และ corticosterone สำหรับการสร้างกลูโคส อะมิโนแอสิด และไขมัน และสร้างฮอร์โมนเพศบางชนิด
7. ตับอ่อน (Pancreas) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณลำไส้เล็กตอนต้น และใต้กระเพาะอาหาร ประกอบด้วยต่อมมีท่อ ทำหน้าที่ผลิตสารที่ช่วยในระบบการย่อยอาหาร และต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน glucagon และ Insulin สำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
8. อัณฑะเพศชาย (Testis) เป็นต่อมเพศชายที่ทำหน้าหน้าสังเคราะห์ และหลั่งฮอร์โมน Testosterone ควบคุมลักษณะความเป็นเพศของชาย
9. รังไข่เพศหญิง (Ovary) เป็นต่อมสำคัญในเพศหญิงประกอบด้วยรังไข่ฝั่งซ้าย และขวา ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง Progesterone ควบคุมลักษณะความเป็นเพศของหญิง และสร้างไข่เพื่อการเจริญของตัวอ่อน

โรคที่เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ

See Also

อยากผอมหุ่นดีต้องออกกำลังกายหนักๆดีจริงหรือ

การทำงานของต่อมไร้ท่อแต่ละชนิดแตกต่างกันตามอวัยวะเป้าหมายด้วยการผลิต กระตุ้น และควบคุมระดับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติ แต่การทำงานของแต่ละฮอร์โมนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันจึงมีผลต่อการทำงานของต่อมอื่นๆหากต่อมใดมีการทำงานผิดปกติ ดังนั้น โรคที่เกิดขึ้นกับระบบต่อมไร้ท่อจึงมักเกี่ยวข้องกับการผลิตฮอร์โมนเป็นสำคัญ ทั้งความผิดปกติที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้ ผลิตได้น้อยไม่เพียง และไม่สามารถผลิตได้เลย

โรคต่อมไร้ท่อในเด็กมีอะไรบ้าง...? เด็กกินจุ แต่น้ำหนักลด อาการหนึ่งของ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย (Precorcious puberty) เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 ตัวเตี้ย ดูเกณฑ์จากอะไร และ มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง

เด็กกินจุ แต่น้ำหนักลด อาการหนึ่งของ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis)

อาการ

คอโต เหนื่อยง่าย ใจสั่น กินจุแต่น้ำหนักลด บางรายท้องเสีย ถ่ายบ่อย หงุดหงิดง่าย ขี้ร้อน ใจสั่น เหงื่อออกง่าย ตาโปน ประจำเดือนมาผิดปกติ พบบ่อยช่วงวัยรุ่น เด็กผู้หญิงเจอมากกว่าเด็กผู้ชาย

สาเหตุ

ที่พบได้บ่อย คือโรค Graves disease

การรักษา

ลำดับแรกคือการรักษาด้วยยากิน บางรายใช้ยากินแล้วไม่ตอบสนองหรือมีอาการแพ้ยา อาจต้องเลือกการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การกลืนแร่ หรือการผ่าตัด

ภาวะนี้หากไม่ได้รับการรักษา หรือรับการรักษาช้า อาจทำให้มีอาการรุนแรง ถึงขั้นหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติ ต้องเข้ารับการรักษาใน ICU ได้

ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism)

เป็นภาวะที่พบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ทำให้เด็กเป็นโรคเอ๋อ หรือเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในภายหลังก็ได้ คือพบได้ทุกวัย

  • ในเด็กแรกเกิด อาจพบมีอาการตัวเหลือง บวม ดูดนมได้ไม่ดี ท้องผูก ถ่ายขี้เทาช้ากว่าปกติ กระหม่อมปิดช้า สะดือหลุดช้า พัฒนาการล่าช้าทั้งสติปัญญาความสูง และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ในเด็กโต จะพบอาการ ส่วนสูงตกเกณฑ์ ท้องผูก คอโต สติปัญญาไม่ดี เรียนหนังสือไม่ทันเพื่อน
    การรักษา รักษาได้ด้วยการกินยาไทรอยด์ฮอร์โมน ก็จะช่วยอาการดีขึ้น ส่วนสูงดีขึ้น

เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย (Precorcious puberty)

เด็กผู้หญิง

ที่เป็นสาวเร็ว จะพบมีอาการดังต่อไปนี้ก่อนอายุ 8 ปี มีเต้านมขึ้น มีสิว มีกลิ่นตัว มีขนรักแร้ มีขนบริเวณหัวหน่าวหรืออวัยวะเพศ ตัวสูงเร็วกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน หรือบางคนมีประจำเดือนก่อนอายุ 91/2 ปี

สาเหตุ

ที่พบบ่อยในเด็กผู้หญิงคือไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด หรือบางรายได้รับฮอร์โมนปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมหรืออาหาร บางรายเกิดจากภาวะเนื้องอกบางชนิด

เด็กผู้ชาย

ที่เป็นหนุ่มเร็ว จะพบมีอาการดังต่อไปนี้ก่อนอายุ 9 ปี มีอวัยวะเพศขยายขนาด มีสิว มีขนรักแร้ มีขนบริเวณหัวหน่าวหรืออวัยวะเพศ เสียงแตก

สาเหตุ

ที่พบบ่อยในเด็กผู้ชาย คือ เนื้องอกในต่อมใต้สมอง

ผลกระทบหรือผลเสียของการหนุ่มสาวก่อนวัย

  • ผลต่อร่างกาย จะทำให้หยุดสูงเร็ว หรือตัวเตี้ยเมื่อเป็นผู้ใหญ่
  • ผลต่อจิตใจ โดยเฉพาะในเด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีความพร้อม ในการดูแลตนเองเมื่อมีประจำเดือน

การรักษา

สามารถรักษาได้โดยการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ แบบเดือนละ 1 ครั้ง หรือ สามเดือนฉีด 1 ครั้ง เพื่อชะลอไม่ให้กระดูกล้ำหน้าไปกว่าอายุกระดูกจริง และไม่ให้หยุดสูงเร็ว หรือป้องกันไม่ให้กระดูกปิดเร็ว หยุดการมีประจำเดือนได้

เบาหวานชนิดที่ 1

เป็นโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น และพบได้มากกว่าเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายมีสารภูมิคุ้มกันของตนเองไปทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน เด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จะพบมีอาการ ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักตัวลด ถ้ามารักษาช้า ปล่อยจนอาการหนัก เด็กจะเริ่มอ่อนเพลีย ซึมลง หายใจหอบลึก ปวดท้อง หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดภาวะช็อค และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

การรักษา

เบาหวานชนิดนี้ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เด็กและครอบครัวจะต้องได้รับความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการเลือกกินอาหารที่ถูกต้อง การนับสัดส่วนอาหาร การฉีดอินซูลิน การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง และ การสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่จะนำไปสู่ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป

เบาหวานชนิดที่ 2

เด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่ จะมีลักษณะอ้วน คอดำ ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย พบได้บ่อยในช่วงที่เข้าสู่วัยรุ่น บางรายอาจมีประวัติเสี่ยงตั้งแต่แรกเกิด คือ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2500 กรัม หรือมากกว่า 4000 กรัม มารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน

เบาหวานชนิดนี้เกิดจาก ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน รักษาได้ด้วยการกินยาร่วมกับควบคุมอาหารและออกกำลังกาย บางรายมารักษาช้า หรือมีอาการเป็นมาก อาจต้องรักษาด้วยวิธีการฉีดยาควบคู่ไปด้วย

ตัวเตี้ย ดูเกณฑ์จากอะไร และ มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง

ภาวะตัวเตี้ยในเด็กหมายถึง เด็กที่มีส่วนสูงน้อยกว่า เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 3 ตามเกณฑ์ของเพศและอายุ

เกิดได้จากหลายสาเหตุ

  • ตัวเตี้ยที่ไม่มีโรคเป็นสาเหตุ ได้แก่ ตัวเตี้ยตามกรรมพันธ์ หรือ เป็นม้าตีนปลาย
  • ตัวเตี้ยที่มีโรคเป็นสาเหตุ ได้แก่ ขาดสารอาหาร เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หรือขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต โรคกระดูกอ่อน โรคทางพันธุกรรม และอื่นๆ

***หากสังเกตว่าเด็กมีภาวะตัวเตี้ย ควรพามาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ โดยการตรวจเลือด เอกซเรย์ดูอายุกระดูก และรีบให้การรักษาตามสาเหตุ

โรคใดที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยและส่วนใหญ่มักจะเกิดมาจากสาเหตุใด

ก. โรคของอวัยวะในระบบต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคเบาหวาน ที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อของตับอ่อน

อาการใดที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท้อ

ในขณะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ เกิดภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน จะส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ง่วงตลอดเวลา รวมถึงคิดช้า รู้สึกเฉื่อยชา ขาดสมาธิ ขี้ร้อน เหงื่อออกเยอะผิดปกติ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญมากขึ้น จึงมักทำให้มีอาการเหงื่อออกง่าย ไวต่อความร้อน อุณหภูมิร่างกายสูงผิดปกติ

Endocrine gland มีอะไรบ้าง

ระบบต่อมไร้ท่อและระบบฮอร์โมน.
ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน (Oestrogen and Progesterone) ... .
ฮอร์โมนออกซี่โทซิน (Oxytocin) ... .
ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ... .
ฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxin) ... .
ฮอร์โมนอีพิเนฟริน (Epinephrine).

ต่อมไร้ท่อ8ต่อมมีอะไรบ้าง

ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ... .
ต่อมพิทูอิตารีหรือต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ... .
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) ... .
ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland) ... .
ต่อมอะดรีนัลหรือต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) ... .
ตับอ่อน (Pancreas) ... .
ต่อมไพเนียล (Pineal Gland) ... .
ต่อมไทมัส (Thymus Gland).