ไฟลัมพอริเฟอรา ลักษณะสําคัญ

ไฟลัมพอริเฟอรา(PHYLUM PORIFERA)  สัตว์ที่ลำตัวเป็นรูพรุน ได้แก่ ฟองน้ำ

ไฟลัมพอริเฟอรา ลักษณะสําคัญ

 ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Porifera

    - เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด และ ไม่มีเนื้อเยื่อแท้จริง (Parazoa)

    - ตัวเต็มวัยเกาะกับที่ จึงไม่มี nervous system และ sense organ

    - มีทั้งอาศัยในน้ำจืดและน้ำเค็ม

    - มีสีสดใส (แดง ส้ม เหลือง ม่วง) เกิดจากรงควัตถุที่อยู่ในเซลล์ผิว

    - ฟองน้ำที่มีรูปร่างซับซ้อนน้อยที่สุดจะมีสมมาตรรัศมี แต่ฟองน้ำส่วนใหญ่ไม่มีสมมาตร

    - จะสร้าง Gemmule (แตกหน่อ)เวลาสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม

    - มีโครงร่างแข็งค้ำจุน (Spicule ที่เป็นหินหรือแก้ว , Sponginที่เป็นเส้นใยโปรตีน)   

อาณาจักรสัตว์

พอริเฟอรา (PORIFERA)
Porifera (porus = รู + ferre = มี)

- สัตว์ที่มีรูพรุนทั่วทั้งตัว เรียกทั่วไปว่า ฟองน้ำ (sponges) มีประมาณ 5,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นฟองน้ำทะเล ในน้ำจืดประมาณ 150 ชนิด บางชนิดอยู่ในน้ำกร่อย ฟองน้ำทะเลพบได้ในทะเลทุกแห่งและทุกระดับความลึก
- multicellular animsl, aggregate cell, cellular grade และเป็น colony รูปร่างเปลี่ยนแปลงตามวัตถุที่เกาะ
- ตัวเต็มวัยเกาะกับที่ จึงไม่มี nervous system และ sense organ ฟองน้ำเกาะอยู่กับสิ่งต่างๆตามชายฝั่งทะเล บางชนิดอยู่ตามท้องทะเลที่เป็นโคลนหรือทราย รูปร่างของฟองน้ำมักจะเหมือนกับสิ่งที่เกาะอยู่ และยังสัมพันธ์กับลักษณะกระแสน้ำที่ไหลผ่าน ดังนั้นฟองน้ำชนิดเดียวกันจึงมีรูปร่างที่แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมที่ดำรงชีวิตอยู่ เช่น ฟองน้ำในบริเวณน้ำค่อนข้างนิ่งจะตั้งตรงและสูงกว่าฟองน้ำในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลแรง
- ตัวฟองน้ำเกาะอยู่กับที่จึงเป็นที่เกาะอาศัยของสัตว์อื่นๆมากมาย เช่น ดาวเปราะขนาดเล็กที่เข้าไปอยู่ในฟองน้ำ
- ฟองน้ำยังเป็นอาหารของสัตว์อื่นบางชนิด เช่น ปลาปะการังบางชนิด และหอยฝาเดียวบางชนิด
- ขนาดเล็กมากประมาณ 3-4 ม.ม. หรือมีขนาดใหญ่มากความกว้างกว่า 2 เมตร
- สีสดใส (แดง ส้ม เหลือง ม่วง) เกิดจากรงควัตถุที่อยู่ในเซลล์ผิว
- ฟองน้ำที่มีรูปร่างซับซ้อนน้อยที่สุดจะมีสมมาตรรัศมี แต่ฟองน้ำส่วนใหญ่ไม่มีสมมาตร

โครงสร้างของฟองน้ำ
- การหมุนเวียนน้ำเป็นปัจจัยที่มีผลต่อโครงสร้างทางรูปร่างของฟองน้ำ ฟองน้ำที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อนน้อยที่สุด คือ รูปร่างเป็นทรงกระบอกกลวง มีฐานในการเกาะ ด้านตรงข้ามเป็นช่องเปิดขนาดใหญ่ คือ osculum
- ผนังทรงกระบอกประกอบด้วย
  1. outer layer (epidermis) ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียว คือ pinacocyte       pinacoderm
    porocyte
  2. inner layer (endoderm) เซลล์ที่บุในช่องกลางตัว คือ choanocyte        choanoderm
  3. mesohyle หรือ mesenchyme ประกอบด้วยสารวุ้นคล้ายเจลลาติน คือ gelatinous matrix ที่มี amoebocyte เคลื่อนที่อยู่ในชั้นวุ้นนี้
- amoebocyte เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างและการเคลื่อนที่แบบอมีบา มีหน้าที่ต่างๆหลายอย่าง คือ
1. chromocytes เป็นเซลล์มีรงควัตถุอยู่
2. thesocytes สะสมอาหาร
3. archeocytes สร้างเซลล์สืบพันธุ์
4. sclerocytes สร้างโครงร่างชนิด spicule
5. spongocytesสร้างโครงร่างชนิด spigin

โครงร่าง
- โครงร่างของฟองน้ำจะทำหน้าที่ค้ำจุนฟองน้ำให้คงรูป ทางเดินน้ำไม่หดแฟบลง โครงร่างของฟองน้ำเป็นโครงร่างภายใน มี 2 ชนิดคือ
1. spicule
 - Calcicoblast                 calcareous spicule
 - Silicoblast                    siliceous spicule
 รูปร่างของ spicule
    Monaxon, triaxon, Tetraxon, Hexaxon, polyaxon
 ขนาดของ spicule
   megascleres, microscleres
2. spongin
   Spongioblast                   spongin (scleroprotein)

Water circulation
 พัฒนาการของรูปร่างของฟองน้ำเกิดขึ้นเพื่อเพิ่มพื้นที่ของ choanocyte ที่มีหน้าที่ในการกินอาหารให้มากขึ้น การหมุนเวียนน้ำผ่านไปเข้าในตัวทำให้เกิดโครงสร้าง  3 แบบ
1. asconoid pattern มีเพียง 2 ชนิด คือ Leucosolenia และ Clathrina
      น้ำ          ostia             spongocol             osculum
2. syconoid pattern
 2.1. simple syconoid
    Sycetta - free chamber
    Sycon (Sypha) มี membrane เกาะเชื่อมปลาย chamber และมีรูให้น้ำผ่าน
        น้ำ        incurrent canal       prosopyle       radial canal        apopyle        spongocoel       osculum
   2.2. complex syconoid
     Grantia มี dermal tissue เกิดจาก pinacocyte และ mesohyle ที่ปลาย chamber ขยายออกมาเชื่อมกัน และมี dermal pore ให้น้ำเข้า incurrent canal ที่บุด้วย pinacocyte
        น้ำ        dermal pore         incurrent canal        prosopyle       radial canal          apopyle         spongocoe  l       osculum
3. Leuconoid pattern เป็นลักษณะการหมุนเวียนน้ำที่พัฒนามาดีที่สุด
 น้ำ      dermal pore        incurrent canal       prosopyle       flagellated chamber        apopyle         excurrent canal        osculum

โภชนาการ
- Choanocyte หน้าที่หลักในการกินอาหาร
  ตี flagellum ให้เกิดการหมุนเวียนน้ำ engulf  เกิด food vacuole
  ดูดซับเกลือของซิลิกาและแคลเซียมขณะที่น้ำหมุนเวียนผ่านเข้ามา
- amoebocyte, porocyte และแม้แต่ pinacocyte ต่างก็สามารถกินอาหาร
- การย่อยอาหารเกิดในถุงอาหารและสารอาหารจากการย่อยจะซึมผ่านผนังของถุงอาหารออกมาเช่นเดียวกับโปรโตซัว
- ฟองน้ำที่มีโคเอโนไซต์ขนาดใหญ่ เช่น Scypha, Grantia จะมีการย่อยอาหารในโคเอโนไซต์ แต่ฟองน้ำส่วนใหญ่ เซลล์ที่กินอาหารจะไม่ย่อยอาหาร  แต่จะส่งผ่านไปให้อมีโบไซต์ย่อย อมีโบไซต์เคลื่อนที่ไปและนำเอาอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ เช่น เซลล์ที่ทำหน้าที่สะสมอาหาร เซลล์ที่จะพัฒนาไปในการสืบพันธุ์ เป็นต้น

การหายใจและการขับถ่าย
- diffusion

การสืบพันธุ์
 ฟองน้ำสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ
- การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
1. external budding
2. internal budding (gemmulation)
- การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
1. monoecious เป็นแบบ protandry
2. dioecious
   archeocyte และ amoebocyte         ไข่และสเปิร์ม
   cross fertilize
   embryo เจริญเป็นตัวอ่อนอยู่ใน mesohyl  แล้วจึงออกมากับระบบหมุนเวียนน้ำ ตัวอ่อนของฟองน้ำมี 2 แบบคือ
- amphiblastula พบใน Class Calcispogniae และ Subclass Homoscleromorpha ของ Class Demospongiae
- parenchymula เป็นตัวอ่อนของฟองน้ำส่วนใหญ่ ลักษณะตัวอ่อนเป็นก้อนเซลล์ที่ตัน ผิวนอกเป็นเซลล์ที่มีแฟลเจลลัมหรือซีเลียรอบตัวจึงว่ายน้ำได้ดี

การงอกใหม่ (regeneration) และ เอมบริโอเจนเนซิสของเซลล์ร่างกาย (somatic embryogenesis)
- regeneration ฟองน้ำมีความสามารถในการงอกใหม่เพื่อเสริมสร้างส่วนที่เกิดบาดแผลหรือขาดหายไป
- somatic embryogenesis ถ้าฟองน้ำถูกตัดออกเป็นชิ้นขนาดเล็ก หรือถ้าแยกเซลล์ในฟองน้ำออกจากกันหมดแล้วปล่อยทิ้งไว้จะเกิดการรวมกลุ่มเป็นเซลล์กลุ่มเล็กๆ ซึ่งชิ้นของฟองน้ำแต่ละชิ้นและกลุ่มเซลล์แต่ละกลุ่มสามารถเจริญขึ้นมาเป็นฟองน้ำใหม่ได้

การจำแนกประเภท
 ฟองน้ำจำแนกตามลักษณะของโครงร่างเป็น 4 คลาส (Lutz, 1986 และ Hickman et al., 1982) คือ
1. Class Calcispongiae (Calcarea) เรียกว่า ฟองน้ำแคลคาเรีย (calcareous sponge)
Calcareous spicule แท่งเดียวหรือ 3 แฉก หรือ 4 แฉก
Water circulation มีทั้ง 3 แบบ ขนาดเล็กสูงไม่เกิน 10 ซม.
ไข่และสเปิร์มเปลี่ยนแปลงมาจากโคเอโนไซต์และปฏิสนธิภายใน
ส่วนใหญ่มีสีคล้ำ แต่บางชนิดมีสีสด เช่น เหลือง แดง เขียว เป็นต้น
ดำรงชีวิตอยู่ในบริเวณชายฝั่ง
ฟองน้ำแบบแอสโคนอยด์มีการแตกหน่อออกไปเป็นโคโลนี
  ตัวอย่าง คือ Leucosolenia, Scypha (Sycon), Grantia
2. Class Hyalospongiae (Hexactinellida) มีชื่อเรียกทั่วไปว่าฟองน้ำแก้ว (glass sponge)
ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอยู่ในทะเลลึกประมาณ 500-1,500 เมตร
สมมาตรรัศมี มีลักษณะรูปร่างคล้ายแจกันหรือกรวย
ขนาดของฟองน้ำแก้วสูงประมาณ 7.5-10 ซม. หรืออาจมากกว่า 1.3 เมตร
hexaxon siliceous spicule ที่สานต่อกันเป็นตาข่ายจัดเป็นโครงร่างที่แข็งแรง
megascleara และ  microscleara
 Euplectella (Venus's flower basket) ความหมายที่มีคือ "จนกว่าความตายจะมาพรากจากกัน" (till death us do part) กุ้งขนาดเล็กสกุล Spongicola ที่ผ่านเข้าไปในตัวฟองน้ำตามกระแสน้ำแล้วดำรงชีวิตอยู่ในตัวฟองน้ำจนเมื่อตัวโตขึ้นจะไม่สามารถผ่านตาข่ายของสปิคูลออก มา จึงต้องอยู่ภายในตัวฟองน้ำจนตายไป
3. Class Demospongiae
   มีฟองน้ำประมาณร้อยละ 95 ของฟองน้ำทั้งหมดในไฟลัม ส่วนใหญ่เป็นฟองน้ำขนาดใหญ่
siliceous spicule ที่ไม่เป็นหกแฉก หรือ มีสปันจินเป็นที่ฝังตัวของขวาก และบางชนิดมีเฉพาะสปันจินอย่างเดียว ทางเดินน้ำเป็นแบบลิวโคนอยด์ ดำรงชีวิตในทะเล ยกเว้น family Spongillidae ที่เป็นฟองน้ำน้ำจืด
 ฟองน้ำน้ำจืดกระจายทั่วไปในน้ำที่มีออกซิเจนสูง ฟองน้ำน้ำจืดจะอยู่เป็นกลุ่มก้อน เกาะอยู่ตามกิ่งก้านของพืชน้ำหรือชิ้นไม้ในน้ำ ลักษณะคล้ายเศษสิ่งของที่มีรูพรุน ฟองน้ำน้ำจืดเจริญดีในช่วงกลางฤดูร้อน แต่บางชนิดก็พบว่าเจริญดีในฤดูหนาว ฟองน้ำจะตายและสลายตัวไปในปลายฤดูหนาวโดยทิ้งเจมมูลไว้
 - ฟองน้ำทะเลมีขนาดรูปร่างและสีที่แตกต่างกันมาก บ้างเป็นกลุ่มก้อน บ้างเป็นทรงสูงและแตกแขนงคล้ายนิ้ว บางชนิดเตี้ยและแผ่กว้าง บางชนิดเจาะฝังเข้าไปในเปลือกหอย บางชนิดมีรูปร่างคล้ายพัด แจกัน หรือลูกบอล เป็น Loggerhead sponge เป็นฟองน้ำขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางหลายเมตร
 - ฟองน้ำถูตัว (Spongia, Hippospongia) โครงร่างเป็นสปันจิน จึงเหมาะแก่การใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในครัวเรือน เมื่อเก็บฟองน้ำถูตัวมาตากไว้ เนื้อเยื่อจะเน่าเปื่อย ซึ่งจะล้างออกเหลือก้อนสปันจินไว้ใช้ ฟองน้ำถูตัวจึงเป็นฟองน้ำที่มีคุณค่าทางการค้า (commercial sponge) ในยุคก่อน
  4. Class Sclerospongiae อยู่ตามรอยแยกของแนวปะการังจึงมักเรียกว่า ฟองน้ำปะการัง (coralline sponge) ทางเดินน้ำแบบลิวโคนอยด์ มีสปิคูลเป็นสารซิลิกอน และมีสปันจิน ด้านนอกมีชั้นของหินปูนเป็นโครงร่างบางๆหุ้ม ลักษณะอื่นๆเหมือนฟองน้ำใน Class Demospongiae

ไฟลัมพอริเฟอรา มีอะไรบ้าง

ไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera) ได้แก่ ฟองน้ำ (Sponges) ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Coelenterata) หรือไนดาเรีย (Cnidaria) เช่น ไฮดรา แมงกะพรุน กัลปังหา ปะการัง เป็นต้น

ลักษณะเด่นของสิ่งมีชีวิตกลุ่มพอริเฟอรัน คือข้อใด

มีระบบโครงร่างค้ำจุน 3 ลักษณะ : โครงสร้างภายนอกที่ทำให้ฟองน้ำสามารถคงรูปอยู่ได้ หรือโครงร่างชนิดแข็งที่เรียกว่า “ขวาก” (Spicule) ขวากหินปูน (Calcareous Spicule) มีหินปูนเป็นองค์ประกอบหลัก ขวากแก้ว (Siliceous Spicule) มีซิลิกา (Silica) เป็นองค์ประกอบหลัก

ไฟลัม พอริเฟอรา(Porifera) มีลักษณะที่ไม่มีใครเหมือนคืออะไร

3.1 สัตว์ที่ไม่มีสมมาตร (asymmetry) การจัดเรียงตัวของส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นแบบไม่มีจุดศูนย์กลาง มีรูปร่างไม่แน่นอน เช่น ฟองน้ำ (Phylum Porifera) ลักษณะของร่างกายสัตว์แบบไม่มีสมมาตร (asymmetry)(www.emc.maricopa.edu)

Spicule ในฟองน้ําทําหน้าที่อะไร

โครงสร้างที่อยู่ในชั้นเซนไคม์ เรียกว่า "ขวาก" (spicule) เป็นตัวคงรูปร่างของฟองน้ำ สามารถแบ่ง สารประกอบที่ใช้ในการคงรูปร่างได้เป็น 3 ชนิด คือขวากหินปูน (Calacreous spicule) มีหินปูนเป็น องค์ประกอบ พบในฟองน้ำหินปูน ขวากแก้ว (Siliceous spicule) มีซิลิกา (silica) เป็นองค์ประกอบ สปอนจิน