ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

 การอ่านชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีหลักการดังนี้

            -อ่านเลขจำนวนอะตอมที่เป็นภาษากรีกของธาตุตัวแรกทางซ้ายมือก่อน (ถ้ามีหนึ่งอะตอมไม่ต้องอ่านโมโน) ภาษากรีกหรือภาษาละตินที่นิยมใช้

            -อ่านชื่อธาตุที่อยู่ทางซ้ายมือ

            -อ่านเลขจำนวนอะตอมที่อยู่ทางขวามือ (เลขหนึ่งก็ต้องอ่าน แต่ถ้าตัวแรกเป็นไฮโดรเจนไม่อ่าน)

ตัวเลข

อ่านว่า

1

mono

2

di

3

tri

4

tetra

5

penta

6

hexa

7

 hepta

8

octa

9

nano

10

deca

11

 undec

12

dodec

            -อ่านชื่อธาตุที่อยู่ทางขวามือต่อไปนี้ โดยเปลี่ยนพยางค์ท้ายเป็น ไ-ด์ (-ide) เช่น

-ออกซิเจน    เป็น ออกไซด์             - คลอรีน          เป็น  คลอไรด์

-ไนโตรเจน    เป็น ไนไตรด์              - โบรมีน          เป็น โบรไมด์

-ไอโอดีน      เป็น ไอโอไดด์            - ซัลเฟอร์      เป็น ซัลไฟด์

-ฟลูออรีน      เป็น ฟลูออไรด์            -ไฮโดรเจน     เป็น ไฮไดรด์

-คาร์บอน       เป็น คาร์ไบด์

           -ถ้าสารที่เกิดกับไฮโดรเจนและธาตุหมู่ VIA หรือ VIIA ไม่อ่านเลขจำนวนอะตอมของไฮโดรเจน เช่น

-H2S        อ่านว่า           ไฮโดรเจนซัลไฟด์

-H2Se      อ่านว่า           ไฮโดรเจนซีลิไนด์

-HCl        อ่านว่า           ไฮโดรเจนคลอไรด์

สารประกอบโคเวเลนต์เป็นโมเลกุลของสารที่เกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาสร้างพันธะโคเวเลนต์ต่อกันด้วยสัดส่วนต่าง ๆ กัน ทำให้เป็นการยากในการเรียกชื่อสาร จึงได้มีการตั้งกฎเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ขึ้น เพื่อให้สามารถสื่อความเข้าใจถึงลักษณะโครงสร้างของสารประกอบโคเวเลนต์ได้ ตรงกัน โดยนักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ไว้ดังนี้

1. ให้เรียกชื่อของธาตุที่อยู่ข้างหน้าก่อนแล้วตามด้วยชื่อของธาตุที่อยู่ด้านหลังโดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายของธาตุเป็น-ไอด์(-ide) ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

ไฮโดรเจน (H) ออกเสียงเป็น ไฮไดรต์
คาร์บอน (C) ออกเสียงเป็น คาร์ไบด์
ไนโตรเจน (N) ออกเสียงเป็น ไนไตรด์
ฟลูออรีน (F) ออกเสียงเป็น ฟลูออไรด์
คลอรีน (CI) ออกเสียงเป็น คลอไรต์
ออกซิเจน (O)ออกเสียงเป็น ออกไซต์

2. ระบุจำนวนอะตอมของธาตุไว้หน้าชื่อธาตุโดยวิธีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุจะระบุโดยใช้ชื่อตัวเลขในภาษากรีก ดังนี้

1 = มอนอ (mono)
2 = ได (di)
3 = ไตร (tri)
4 = เตตระ (tetra)
5 = เพนตะ (penta)
6 = เฮกซะ (hexa)
7 = เฮปตะ (hepta)
8 = ออกตะ (octa)
9 = โนนะ (nona)
10 = เดคะ (deca)

แต่มีข้อยกเว้น คือ ไม่ต้องมีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุที่อยู่ด้านหน้าในกรณีที่ธาตุที่อยู่ด้าน หน้ามีอยู่เพียงอะตอมเดียว และไม่จำเป็นต้องมีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุในกรณีที่ธาตุที่อยู่ด้านหน้า เป็นธาตุไฮโดรเจน ไม่ว่าจะมีกี่อะตอมก็ตาม

1. ให้เรียงลำดับธาตุให้ถูกต้องตามหลักสากล ดังนี้คือ Si , C , Sb , As , P , N , H , Te , Se , S , At , I , Br , Cl , O , F ตามลำดับ

2. ในสารประกอบโคเวเลนต์ ถ้าอะตอมของธาตุมีจำนวนอะตอมมากกว่าหนึ่งให้เขียนจำนวนอะตอมด้วยตัวเลขแสดงไว้มุมล่างทางขวา ในกรณีที่ธาตุในสารประกอบนั้นมีเพียงอะตอมเดียวไม่ต้องเขียนตัวเลขแสดงจำนวนอะตอม

3. หลักการเขียนสูตรสารประกอบโคเวเลนต์ที่มีอะตอมของธาตุจัดเวเลนต์อิเล็กตรอน เป็นไปตามกฎออกเตต ใช้จำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะของแต่ละอะตอมของธาตุคูณไขว้ เช่น

  • สูตรของสารประกอบของธาตุ H กับ S ; H และ S มีเวเลนต์อิเล็กตรอน 1 และ 6 ตามลำดับ ดังนั้น H และ S ต้องการอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจำนวน 1 และ 2 ตามลำดับ เพื่อให้แต่ละอะตอมของธาตุมีการจัดอิเล็กตรอนแบบก๊าซเฉื่อย

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

  • สูตรของสารประกอบของธาตุ S กับ C ; S และ C มีเวเลนต์อิเล็กตรอน 6 และ 4 ตามลำดับ ดังนั้น S และ C ต้องการอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจำนวน 2 และ 4 ตามลำดับ เพื่อให้แต่ละอะตอมของธาตุมีการจัดอิเล็กตรอนแบบก๊าซเฉื่อย

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

  • สูตรของสารประกอบของธาตุ N กับ Cl ; N และ Cl มีเวเลนต์อิเล็กตรอน 5 และ 7 ตามลำดับ ดังนั้น N และ Cl ต้องการอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจำนวน 3 และ 1 ตามลำดับ เพื่อให้แต่ละอะตอมของธาตุมีการจัดอิเล็กตรอนแบบก๊าซเฉื่อย

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

ข. การเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์

1.สารประกอบของธาตุคู่ ให้อ่านชื่อธาตุที่อยู่ข้างหน้าก่อนแล้ว ตามด้วยชื่อธาตุที่อยู่หลังโดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ ( ide)

2. ให้ระบุจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุด้วยเลขจำนวนในภาษากรีกดังนี้

1 = mono- (มอนอ) 2 = di- (ได)

3 = tri- (ไตร) 4 = tetra- (เตตระ)

5 = penta- (เพนตะ) 6 = hexa- (เฮกซะ)

7 = hepta- (เฮปตะ) 8 = octa- (ออกตะ)

9 = mona- (โมนะ) 10 = deca- (เดคะ)

3. ถ้าสารประกอบนั้น อะตอมของธาตุแรกมีเพียงอะตอมเดียวไม่ต้องระบุจำนวนอะตอมของธาตุนั้น แต่ถ้าเป็นธาตุข้างหลังในสารประกอบ ถึงแม้มีเพียงหนึ่งอะตอมก็ต้องระบุจำนวนอะตอมด้วยคำว่า “มอนอ” เสมอ เช่น

N2O3อ่านว่า ไดไนโตรเจนไตรออกไซด์

PCl5อ่านว่า ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์

CO อ่านว่า คาร์บอนมอนอกไซด์

P2O5อ่านว่า ไดฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์

การเขียนสูตรเคมี

สูตรเคมี หมายถึงสัญลักษณ์ที่ใช้เพื่อแสดงว่าสารประกอบนั้นมีธาตุอะไรบ้างเป็นองค์ประกอบอย่างละกี่อะตอม สูตรเคมีแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

1. สูตรโมเลกุลเป็นสูตรเคมีที่แสดงให้ทราบว่าสารนั้นประกอบด้วยธาตุอะไรบ้างอย่างละกี่อะตอม เช่น สูตรโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส คือ C6H12O6แสดงว่ากลูโคสประกอบด้วยธาตุ C , H และ O จำนวน 6 , 12 และ 6 อะตอมตามลำดับ

สำหรับสูตรโมเลกุล ของสารโคเวเลนต์โดยทั่วไป จะเขียนสัญลักษณ์ของธาตุในโมเลกุล เรียงลำดับคือ B , Si, C , P , H , S , I , Sr , Cl , O และ F เช่น ClF OF2, CO2เป็นต้น

2. สูตรอย่างง่ายเป็นสูตรเคมีที่แสดงให้ทราบว่าสารนั้นประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง มีอัตราส่วนของจำนวนอะตอมเป็นเท่าใด เช่น สูตรอย่างง่ายของกลูโคสคือ CH2O ซึ่งแสดงว่ากลูโคสประกอบด้วยธาตุ C, H และ O โดยมีอัตราส่วนอะตอมของ C : H : O = 1: 2 : 1

3. สูตรโครงสร้างเป็นสูตรเคมีที่แสดงให้ทราบว่าสารนั้นประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง อย่างละกี่อะตอมและแต่ละอะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะเคมีอย่างไร สูตรโครงสร้างของสารให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของธาตุต่าง ๆ ในโมเลกุลมากกว่าสูตรอย่างง่ายและสูตรโมเลกุล

สูตรโครงสร้างสามารถเขียนได้ 2 แบบคือ สูตรโครงสร้างแบบจุด (electron dot formula) หรือสูตรโครงสร้างแบบลิวอิส (Lewis formula) และสูตรโครงสร้างแบบเส้น (graphic formula) สูตรโครงสร้างทั้ง 2 แบบจะแสดงเฉพาะเวเลนต์อิเล็กตรอนของอะตอมคู่ร่วมพันธะ

ก. สูตรโครงสร้าง

ใช้สัญลักษณ์เป็นจุด ( . ) แทนเวเลนต์อิเล็กตรอนโดยเขียนไว้รอบ ๆ สัญลักษณ์ของธาตุ หรืออาจจะใช้สัญลักษณ์เป็น x แทนเวเลนต์อิเล็กตรอนก็ได้เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างอิเล็กตรอนของธาตุคู่ร่วมพันธะต่างชนิดกัน

โดยทั่ว ๆ ไปการเขียนสูตรแบบจุดจะมีข้อกำหนดดังนี้

1. อะตอมของธาตุก่อนเขียน ให้เขียนแยกกัน และเขียนจุด ( . ) แสดงเวเลนต์อิเล็กตรอนล้อมรอบสัญลักษณ์ของธาตุ โดยมีจำนวนจุดเท่ากับจำนวนเวเลนต์อิเล็กตรอน เช่น

1H มี 1 เวเลนต์อิเล็กตรอน เขียนสูตรแบบจุดเป็น

8O มี 6 เวเลนต์อิเล็กตรอน เขียนสูตรแบบจุดเป็น

15P มี 5 เวเลนต์อิเล็กตรอน เขียนสูตรแบบจุดเป็น

2. เมื่ออะตอม 2 อะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์ ให้เขียนสูตรแบบจุดของอะตอมทั้งสองไว้ด้วยกัน สำหรับอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน ให้เขียนจุด ( . ) ไว้ในระหว่างสัญลักษณ์ของอะตอมคู่ร่วมพันธะ ส่วนอิเล็กตรอนที่ไม่ได้ร่วมกัน หรืออิเล็กตรอนที่ไม่ได้ใช้ในการสร้างพันธะ ให้เขียนด้วยจุดไว้บนอะตอมเดิม

ตัวอย่างเช่น

1. สูตรแบบจุดของไฮโดรเจน (H2)

1H มี 1 เวเลนต์อิเล็กตรอน เขียนสูตรแบบจุดได้เป็น เมื่อ 2 อะตอมรวมกันเป็นโมเลกุล จะมีการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่ จึงเขียนสูตรแบบจุดได้ดังนี้

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

2. สูตรแบบจุดของก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (HF)

9F มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 , 7ดังนั้นมี 7 เวเลนต์อิเล็กตรอน สูตรแบบจุดคือ

เมื่อ H รวมกับ F เป็น HF เขียนเป็นสูตรแบบจุดได้ดังนี้

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

H และ F ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเพียง 1 คู่ในโมเลกุลของ HF จึงมีพันธะโคเวเลนต์เพียง 1 พันธะ โดยเขียนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันไว้ระหว่างธาตุ H กับ F สำหรับอิเล็กตรอนที่เหลือของ F 6 อิเล็กตรอนก็เขียนไว้บนอะตอมของ F

3. สูตรแบบจุดของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)

กำมะถันมีเลขอะตอมเท่ากับ 16

เพราะฉะนั้นมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 , 8 , 6

16S จึงมี 6 เวเลนต์อิเล็กตรอน สูตรแบบจุดคือ

เมื่อ H รวมกับ S เป็น H2S เขียนสูตรแบบจุดได้เป็นดังนี้

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

ในโมเลกุลของ H2S มีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่าง H กับ S 2 คู่ ดังนั้นในโมเลกุลของ H2S จึงมีพันธะโคเวเลนต์ 2 พันธะ อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันทั้ง 2 คู่เขียนไว้ระหว่างอะตอมของ H กับ S ส่วนอิเล็กตรอนที่เหลือของ S 4 อิเล็กตรอนให้เขียนไว้บนอะตอมของ S

4. สูตรแบบจุดของก๊าซแอมโมเนีย (NH3)

ไนโตรเจนเป็นธาตุหมู่ที่ 5 มีเลขอะตอมเท่ากับ 7

เพราะฉะนั้นมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 , 5

7N จึงมี 5 เวเลนต์อิเล็กตรอน เขียนสูตรแบบจุดได้ดังนี้

เมื่อ N รวมกับ H เป็น NH3เขียนสูตรแบบจุดได้ดังนี้

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

จะเห็นได้ว่าในโมเลกุลของ NH3มีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่าง H กับ N 3 คู่จึงพันธะโคเวเลนต์ 3 พันธะ

5. สูตรแบบจุดของฟอสฟอรัสไตรคลอไรด์ (PCl3)

P มีเลขอะตอมเท่ากับ 15

เพราะฉะนั้น P มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 , 8 , 5

15P จึงมี 5 เวเลนต์อิเล็กตรอน เขียนสูตรแบบจุดได้เป็น

Cl มีเลขอะตอมเท่ากับ 17

เพราะฉะนั้น Cl มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 , 8 , 7

17Cl จึงมี 7 เวเลนต์อิเล็กตรอน เขียนสูตรแบบจุดได้เป็น

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

เมื่อ Cl 3 อะตอม รวมตัวกับ P 1 อะตอม เกิดเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ PCl3จะเขียนสูตรแบบจุดได้ดังนี้

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

ในโมเลกุลของ PCl3 มีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างธาตุ P กับ Cl รวม 3 คู่เกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ 3 พันธะ

ข. สูตรโครงสร้างแบบเส้น

เป็นการเขียนสูตรโครงสร้างของโมเลกุลโคเวเลนต์อีกแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างจากสูตรแบบจุดเล็กน้อย โดยกำหนดให้ใช้เส้นตรง ( - ) แทนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 1 คู่ หรือแทนพันธะโคเวเลนต์ 1 พันธะ ทั้งนี้ให้เขียนไว้ในระหว่างสัญลักษณ์ของธาตุคู่ร่วมพันธะ สำหรับอิเล็กตรอนที่ไม่ใช่อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจะเขียนไว้หรือไม่เขียนก็ได้ (ปกติจะไม่เขียน) สูตรแบบเส้นจึงเป็นการกำหนดขึ้นมาเพื่อให้เขียนสูตรโครงสร้างได้สะดวก และง่ายขึ้น ทั้งนี้เพราะไม่จำเป็นต้องแสดงเวเลนต์อิเล็กตรอนทั้งหมดของธาตุคู่ร่วมพันธะ

  • ให้ใช้เส้นตรง 1 เส้น ( - ) แทนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 1 คู่
  • ให้ใช้เส้นตรง 2 เส้น ( = ) แทนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 2 คู่
  • ให้ใช้เส้นตรง 3 เส้น ( ) แทนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 3 คู่

ตัวอย่างสูตรแบบเส้น

1. สูตรแบบเส้นของก๊าซไฮโดรเจน (H2)

สูตรแบบจุดของ H2คือ H : H

จะเห็นได้ว่า H ทั้งสองอะตอมใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่จึงใช้เส้นตรง 1 เส้นเขียนแทนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ โดยเขียนไว้ระหว่าง H ทั้งสองอะตอม

เพราะฉะนั้นสูตรโครงสร้างแบบเส้นของ H2จึงเป็น H - H

2. สูตรโครงสร้างแบบเส้นของก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (HF)

สูตรแบบจุดของ HF คือ

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

จะเห็นได้ว่าอะตอม H กับ F มีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเพียง 1 คู่ จึงใช้เส้นตรง 1 เส้นแทนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ

เพราะฉะนั้นสูตรแบบเส้นของ HF จึงเป็น H - F

3. สูตรแบบเส้นของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)

สูตรแบบจุดของ H2S คือ

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

จะเห็นได้ว่า H และ S ใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่จึงใช้เส้นตรง 1 เส้นแทนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 1 คู่

ในโมเลกุลของ H2S จึงมี 2 พันธะโคเวเลนต์

เพราะฉะนั้น สูตรแบบเส้นของ H2S คือ H - S – H

4.สูตรแบบเส้นของก๊าซแอมโมเนีย (NH3)

สูตรแบบจุดของ NH3คือ

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

เพราะฉะนั้นสูตรแบบเส้น ของ NH3จึงเป็น

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

5. สูตรแบบเส้นของฟอสฟอรัสไตรคลอไรด์ (PCl3)

สูตรแบบจุดคือ

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

เพราะฉะนั้นเขียนสูตรแบบเส้นได้เป็น

ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

หมายเหตุ

ก. การเขียนสูตรโครงสร้างแสดงพันธะโคเวเลนต์ทั้ง 2 แบบไม่ได้แสดงตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอน

ข. การเขียนสูตรโครงสร้างทั้งสองแบบนี้ ไม่ได้แสดงตำแหน่งของพันธะหรือตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอน รวมทั้งไม่ได้แสดงโครงสร้างของโมเลกุล

ชื่อสารโคเวเลนต์ มีอะไรบ้าง

สูตรโมเลกุล ชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ CO คาร์บอนมอนอกไซด์ CO2 คาร์บอนไดออกไซด์ N2O ไดไนโตรเจนมอนอกไซด์ BF3 โบรอนไตรฟลูออไรด์ SiCl4 ซิลิคอนเตตระคลอไรด์ N2O3 ไดไนโตรเจนไตรออกไซด์ GeH4 เจอร์มาเนียมเตตระไฮไดร์ PCl5 ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์

สารโคเวเลนต์ คืออะไร

-สารประกอบที่อะตอมแต่ละคู่ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เรียกว่าสารโคเวเลนต์ -โมเลกุลของสารที่อะตอมแต่ละคู่ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์เรียกว่าโมเลกุลโคเวเลนต์ 1. การเกิดพันธะโคเวเลนต์ เนื่องจาก พันธะโคเวเลนต์ เกิดจากการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน ซึ่งอาจจะใช้ร่วมกันเพียง 1 คู่ หรือมากกว่า 1 คู่ก็ได้

พันธะโคเวเลนต์มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

- ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ อิเล็กตรอนจะมาจับคู่ใช้ร่วมกันได้ 3 แบบ คือชนิดของพันธะโคเวเลนต์ อิเล็กตรอนจะมาจับคู่ใช้ร่วมกันได้ 3 แบบ คือ พันธะเดี่ยว.
แรงลอนดอน (London forces หรือ dispersion forces) ... .
แรงดึงดูดระหว่างขั้ว (Dipol – dipole attraction) ... .
แรงแวนเดอร์วาลส์ (van der Waals forces).

ข้อใดคือชื่อของสารประกอบ p2o5

Phosphorus pentoxide (ฟอสฟอรัส เพนตอกไซด์)