ความสําคัญของภาวะผู้นํา วิจัย

ผักตบชวา (water hyacinth) คือ ศัตรูหมู่มาร ที่สิงสถิตอยู่ในน้ำ บนพื้นน้ำ มีลูกมีหลานแบบไม่อั้น กระจายตัวเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ ใช้ชีวิตสุดแสนสำราญ ล่องลอยไปขัดขวางทางน้ำไหล ไปรังควานทุกแห่งหนที่มีความชื้น เบียดเสียดเยียดยัดกัน สร้างหายนะให้กับหลายพื้นที่ในโลก

Advertisment

ความสําคัญของภาวะผู้นํา วิจัย
เป็นพืชน้ำล้มลุก ลำต้นอวบน้ำและมีไหล (stolon) ทอดไปตามผิวน้ำแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ผิวลำต้นเรียบมีสีเขียวอ่อนและเข้ม

ก้านใบจะพองออกตรงช่องกลาง ภายในเป็นรูพรุน ช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ แผ่นใบรูปหัวใจ ฐานใบจะเว้าเข้าหาก้านใบ รากมีสีม่วงดำ แตกออกมาจากลำต้นบริเวณข้อ

Advertisement

อึด ทนทาน สามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่จะไม่ทน “น้ำเค็ม” ถ้าน้ำตื้นก็จะหยั่งรากลงดินได้อีกต่างหาก

ราว 50 ประเทศในเขตร้อนชื้น ต้องทำสงครามยืดเยื้อ สู้รบกับผักตบชวาที่น่าเบื่อหน่าย ใช้เงิน ใช้เครื่องมือ มหาศาล

เธอมาจากไหน?…มีข้อมูลสารพัด สารเพ…อาทิ…

Advertisement

ปี พ.ศ.2424 ชาวดัตช์ ที่ปกครองประเทศอินโดนีเซีย (ชวา) ได้นําผักตบชวา ซึ่งขณะนั้นมีปลูกกันเฉพาะในสวนพฤกษชาติในทวีปยุโรปเข้ามายังอินโดนีเซีย ด้วยมีดอกสีอ่อนเป็นช่อตั้งสวยงาม…

เมื่อแรกนําเข้ามาที่ชวา (อินโดนีเซีย) ปลูกเลี้ยงไว้อย่างดีในสวนพฤกษชาติที่เมืองโบกอร์ แต่ต่อจากนั้นไม่นานก็แพร่กระจายไปตามลําน้ำต่างๆ อย่างรวดเร็วปานฟ้าแลบ

นักวิชาการไทย-เทศ สืบค้นข้อมูล ได้ผลออกมาหลากหลายเพื่อหา “ถิ่นกําเนิด” ของผักตบชวา…

ข้อมูลที่น่าเชื่อถือระบุว่า…พ.ศ.2367 นักพฤกษศาสตร์และนายแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ Karl von Martius ได้ไปพบพืชชนิดนี้ ในขณะที่ทําการสํารวจพันธุ์พืชในประเทศบราซิล

ในทวีปอเมริกาใต้…ผักตบชวา ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ ทั้งนี้ เนื่องจากในถิ่นกําเนิดของผักตบชวา มีศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลง โรค และศัตรูอื่นๆ คอยควบคุมการระบาดอยู่แล้ว

แปลว่า…มันมีวงจร เกิด-ตาย ของมันเอง

แต่เมื่อถูกนําออกไปจากถิ่นกําเนิด ซึ่งปราศจากศัตรูธรรมชาติ ผักตบชวาจึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่มีอะไรขัดขวางวงจรชีวิต มีแต่ปัจจัยส่งเสริม แพร่ ขยายพันธุ์

พ.ศ.2444 ผักตบชวาถูกนําเข้ามาในแผ่นดินสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 จากประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม

ไม่รู้ว่าไปไง-มาไง ไม่นานนัก…ผักตบชวา แพร่กระจายไปตามแม่น้ำลําคลอง หนอง บึงทั่วไป และแพร่พันธุ์แบบหยุดไม่อยู่

มีพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ขณะเสด็จประพาสมณฑลปราจีน…เมื่อลงเรือล่องลงไป “คลองท่าถั่ว” แต่ได้ทราบว่าผักตบชวาปิดทางเสียที่สี่แยกเรือเดินเข้าออกไม่ได้…

เวลาน้ำขึ้น-น้ำลง ก็ไม่ไหลลงทะเลได้หมด เพราะน้ำทะเลไหลขึ้นก็กลับลอยขึ้น ส่วนข้อที่ว่ากระบือกินได้นั้น เป็นความจริง แต่กระบือกินแต่ใบ ต้นรากแห้งติดอยู่กับดิน

ครั้นถึงเวลาไถหว่านข้าวในนา…ผักตบชวาที่ตกค้างดันเจริญเร็วก่อนต้นข้าวในนา เบียดเสียดแทรกต้นข้าวลีบไปหมด

ผักตบชวา ทนต่อทุกสภาพอากาศ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วโดยใช้เมล็ดและการแตกหน่อ ในเวลาเพียง 1 เดือน ผักตบชวา 1 ต้น อาจขยายพันธุ์ได้มากถึง 1,000 ต้น ถึงแม้ว่าน้ำจะแห้ง เมล็ดของผักตบชวาก็สามารถพักตัวได้นานถึง 15 ปี และเมื่อได้รับน้ำเพียงพอก็จะแตกหน่อเป็นต้นใหม่ต่อไป

ผักตบชวาเพิ่มจาก 10 ต้น เป็น 6 แสนต้น ภายใน 8 เดือน

เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำของฝายหรือประตูระบายน้ำเนื่องจากผักตบชวาไปลดการไหลของน้ำลงประมาณ 40%

เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น หอยไบธีเนียที่เป็นพาหะนำโรคพยาธิใบไม้ในตับ เป็นที่อยู่อาศัยของลูกน้ำ ยุงลาย

เมื่อแรกเข้ามาในสยาม ยังไม่มีใครรู้จักพิษสง ก็ไม่มีใครใส่ใจ

ต่อมา…ผักตบชวา ได้แพร่ระบาดอย่างรุนแรงในแถบที่ราบลุ่มภาคกลางโดยเฉพาะในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน

เวลาผ่านมา…มลภาวะจากการเกษตรกรรม น้ำเสียจากชุมชนและอุตสาหกรรม น้ำทิ้งจากบ่อปลา และฟาร์มหมู ทําให้ในน้ำมีธาตุอาหารพืชสูง ผักตบชวาเติบโตและแพร่ระบาดแบบก้าวกระโดด

บริเวณแม่น้ำท่าจีน จะมีผักตบชวาไหลลงสู่อ่าวไทย คิดเป็นน้ำหนักสดประมาณวันละประมาณ 2,000 ตัน

การจับ ปู ปลา กุ้ง หอย เพื่อการประมง เพื่อการเลี้ยงชีพก็ทําไม่ได้ แสงสว่างในน้ำลดลง น้ำเน่าเสีย ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ

ส่วนไอ้ที่จมลงใต้น้ำ…จะทับถม ทําให้แม่น้ำ ลำคลองตื้นเขินเร็วกว่าปกติ น้ำไม่ระบาย แล้วตามด้วยน้ำท่วม…

เคยมีการจัดอันดับ “วัชพืชร้ายแรง” 10 อันดับของโลก ซึ่งผักตบชวา จัดเป็นวัชพืชร้ายแรงอันดับที่ 8 ของโลก

ผักตบชวา…เป็นปัญหาของบ้านเมืองนานโขมาแล้วตั้งแต่สมัยแผ่นดินในหลวง ร.5 … ร้ายกาจถึงขนาดต้องทำเป็นกฎหมาย…

มีการตราพระราชบัญญัติ สําหรับกําจัดผักตบชวา พระพุทธศักราช 2456 ในสมัยรัชกาลที่ 6 …ข้อความดังนี้…

“…ผักตบชวา เป็นพันธุ์ไม้ที่ประกอบด้วยโทษ เพราะเหตุที่เกิดและงอกงามรวดเร็วเหลือเกิน มีพันธุ์ในที่ใด ไม่ช้าก็เกิดพืชพันธุ์งอกงามเป็นแพ แผ่เต็มไปในท้องที่นั้น จนเป็นเหตุให้เสียผลประโยชน์การทํานา…

เป็นอันตรายแก่ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ และเป็นความลําบากขัดข้องแก่การเดินเรือในแม่น้ำลําคลองทั่วไป

ในบรรดาท้องที่ซึ่งมีพันธุ์ผักชนิดนี้เกิดขึ้น เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ได้พยายามกําจัดมาหลายปี ก็ยังไม่สําเร็จประโยชน์ได้ดังสมควร เพราะมักมีคนเอาพันธุ์ผักตบชวาพาไปในที่ต่างๆ ไปปลูกเป็นหญ้ากล่ำเลี้ยงปลา

โดยหลงนิยมไปว่าเป็นพันธุ์ผักที่งอกเร็วทันใจบ้าง ผู้หากุ้งปลาสดบรรทุกรถไฟเรือไฟไปเที่ยวจําหน่ายต่างเมือง เอาผักตบชวาปิดปากตะกร้ากันแสงแดด ด้วยเห็นว่าเป็นของหาง่ายบ้าง บางจําพวก ยังไม่รู้จักโทษของผักตบชวา เห็นแต่เป็นไม้มีดอกงามปลูกรักษาง่าย ก็พาเอาไปปลูกไว้ดูเล่น

ผักตบชวาจึงแพร่หลายขึ้นไปทางหัวเมืองข้างเหนือน้ำ ไปเกิดพืชพันธุ์ตามห้วย หนอง ท้องนา แล้วไหลลอยลงมาตามลําแม่น้ำที่กีดขวางทางเรือเดินมากขึ้นทุกที ถ้าทิ้งไว้ช้าอันตรายและความลําบากที่เกิดจากผักตบชวาจะยิ่งมากขึ้น

ดังนั้น…ในการที่จะกําจัดผักตบชวาให้ได้จริง จําจะต้องมีพระราชบัญญัติห้ามปรามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดพาผักตบชวาไปตามท้องที่ต่างๆ และผักตบชวามีอยู่ในที่ของผู้ใดให้เป็นหน้าที่ของผู้นั้นที่จะต้องทําลายเสียให้หมด

แต่การที่จะกําจัดผักตบชวาในชั้นแรกนี้ หัวเมืองมณฑลข้างตอนใต้ทางแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง ผักตบชวายังมีมากนักเหลือกําลังที่ราษฎรจะกําจัดได้โดยลําพัง อย่างมณฑลที่ห่างไกลออกไป ซึ่งยังไม่มีผักตบชวาออกไปถึงหรือยังมีแต่เล็กน้อย

การกําจัดผักตบชวาในมณฑลหัวเมืองตอนใต้ที่กล่าวมาแล้ว จําจะต้องใช้กําลังของรัฐบาลช่วยกําจัดเสียชั้นหนึ่งก่อน ต่อพันธุ์ผักตบชวาเบาบางพอกําลังราษฎรจะกําจัดได้เอง

สาระสําคัญของพระราชบัญญัติสําหรับกําจัดผักตบชวา พระพุทธศักราช 2456 นี้

…ถ้าผักตบชวาเกิดขึ้นหรือมีอยู่ในที่ของผู้ใด ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้อยู่ในที่นั้นจะต้อง “ทําลาย”

และถ้าผักตบชวามีอยู่ในที่ใดมากมายเกินกําลังผู้อยู่ในที่นั้นจะกําจัดได้ ให้เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่เรียกระดมแรงราษฎรช่วยกันกําจัด …ให้ถือว่าการกําจัดผักตบชวาเป็นสาธารณประโยชน์อย่างหนึ่ง และกําหนดวิธีกําจัดผักตบชวาโดยให้เก็บเอาผักตบชวาขึ้นไว้บนบกผึ่งให้แห้ง…แล้วเผาไฟเสีย

หากผู้ใดไม่กระทําตามหน้าที่และคําสั่งดังกล่าว ผู้นั้นมีความผิดฐานลหุโทษ ต้องระวางโทษให้ปรับครั้งหนึ่งเป็นเงินไม่เกิน 10 บาท หรือจําคุกไม่เกิน 7 วัน หรือทั้งปรับและจําด้วยทั้งสองสถาน

นอกจากนี้ หากผู้ใด “พา” ผักตบชวาเข้าไปในเขตท้องที่ซึ่งใช้พระราชบัญญัตินี้ก็ดีปลูกหรือเลี้ยงหรือปล่อยให้ผักตบชวางอกงามในที่ห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ก็ดี หรือเอาผักตบชวาทิ้งลงในแม่น้ำ ลําคลองห้วย หนองใดๆ ก็ดี ผู้นั้นมีความผิดฐานลหุโทษ ต้องระวางโทษให้ปรับครั้งหนึ่ง เป็นเงินไม่เกินกว่า 100 บาท หรือจําคุกไม่เกินเดือนหนึ่ง หรือทั้งปรับและจําด้วยทั้งสองสถาน…

โดยให้เสนาบดีกระทรวงคมนาคม เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและเสนาบดีกระทรวงนครบาล เป็นเจ้าหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เสนาบดีเจ้ากระทรวงที่กล่าวมานี้ มีอํานาจที่จะตั้งกฎข้อบังคับรักษาการตามพระราชบัญญัติ ถ้ากฎข้อบังคับนั้นได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต และประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ถือว่ากฎนั้นเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชบัญญัตินี้

จะเห็นได้ว่า…พระราชบัญญัติฉบับนี้ “เอาจริง” ระบุเอาไว้ชัดเจนว่า การกำจัดผักตบชวานี้ไม่ใช่แค่เอาไปทิ้ง หรือให้สัตว์เลี้ยงกินก็ได้ แต่เอาไปผึ่งบนบกเสียให้แห้ง แล้วต้อง “เผาไฟทิ้ง” เรียกได้ว่า อยู่ร่วมโลกกันไม่ได้…

บรรพบุรุษสยามคิดทำขึ้นมาเมื่อ 100 กว่าปีแล้วนะครับ

มีข้อมูลแทรก เรื่อง ผักตบชวา ขึ้นไปอาละวาดภาคเหนือดังนี้…

…ผักตบชะวาขึ้นไปเชียงใหม่ราว พ.ศ.2451 โดยพญาจัน (บุญยืน) แห่งนครเชียงใหม่ เป็นผู้นำพันธุ์ขึ้นไปทางเรือ ในเวลานั้นผักตบชะวาที่กรุงเทพฯ ยังไม่แพร่หลาย ทราบว่าไปขอแบ่งมาจากบุคคลชั้นสูงในกรุงเทพฯ …ชาวเชียงใหม่เรียกผักตบชะวาว่า “บัวลอย”

ไม่นานนัก…แม่น้ำ ลำคลอง หนองน้ำ ในภาคเหนือ ก็แผ่ซ่านแน่นหนา ครอบคลุมไปด้วย “วายร้าย” สีเขียว

เพื่อนบ้านของไทย… “ทะเลสาบน้ำจืด” ในกัมพูชา ก็ต้องเผชิญกับ “วายร้าย” ที่แผ่ซ่านไปทั่วพื้นน้ำแบบแสนจะลำเค็ญ

อเมริกา ก็ “โชคร้าย” กะเค้าด้วยแบบคาดไม่ถึง

พ.ศ.2427 มีการจัดงาน World Cotton Centennial เจ้าภาพ คือ ญี่ปุ่น ที่มอบผักตบชวาเป็นของที่ระลึกแก่อาคันตุกะที่มาในงาน ผักตบชวาแสนสวย ถูกนำเข้าไปในรัฐหลุยส์เซียน่าในอเมริกา

แล้วหลังจากนั้นไม่นาน…แม่น้ำหลุยส์เซียน่า ก็กลายเป็นถิ่นของผักตบชวา ลอยเกะกะ เต็มแม่น้ำ กีดขวางการเดินเรือ เป็นเรื่องที่นักวิชาการเพิ่งเคยรู้จัก

มะกันชน หาวิธีกำจัดแบบ “เฉียบขาด” ถึงขนาดเอาน้ำมันราดลงบนผักตบชวาพวกนี้แต่ก็ไม่เป็นผล

มันคือ ไอ้จอมเบียดเบียน

ผักตบชวาจะไปแย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก แพผักตบชวาที่ไหลมาตามน้ำจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของศัตรูพืชนานาชนิด เช่น หนูและศัตรูพืชอื่นๆ เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของปลา

ประโยชน์ของพืชชนิดนี้ ก็พอมีนะครับ ในทางวิชาการยืนยัน หากแต่เป็นโทษมากว่าคุณประโยชน์

ผู้เขียน ค้นหางานวิจัย ทดลอง ผลงานของนักวิชาการไทย มีเยอะแยะ สารพัดวิธีการเพื่อ “กำจัด” ผักตบ

ทฤษฎี หลักการอื้ออึงไปหมด รวมถึงการนำไปแปรรูปเป็นของใช้

บ้างก็ยืนยัน จะเอาไปทำเชื้อเพลิง… เอาไปบดผสมกับไอ้โน่นไอ้นี่เพื่อทำเป็นปุ๋ย… มีโครงการสารพัด ที่ทำได้จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง

น่าเสียดายค่าใช้จ่าย ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง แรงงาน งบประมาณมหาศาลที่จะต้องเอาเรือทุ่นไปเก็บ ยกขนขึ้นทิ้งบนฝั่ง มันคือเงินภาษีของประชาชน

บ้างก็ต้องระดมผู้คนลงไปเก็บกู้ เก็บทำลาย แสนจะเหนื่อยยาก

นักวิชาการไทยทดลอง กำจัด-แปรรูป มาให้ประจักษ์หลายสำนัก แล้วก็เลิกรากันไปแบบไทยๆ ไม่มีใครลงมือทำต่อ

มีคนกล่าวแบบอารมณ์ดีว่า…ถ้าผักตบหมดไป โดนคนแย่งเอาไปหมด งบก้อนใหญ่จะหายไปด้วย…

น้ำท่วมในแต่ละปี…เจ้าผักตบ จะเป็นจำเลยที่ทุกคนอ้างถึง แล้วงบประมาณก้อนใหญ่ในการเก็บทำลายก็จะไหลมาเทมา

ในระดับชาติ…น่าจะลองคิดหาวิธีการที่จะทำให้พืชวายร้ายชนิดนี้มีคุณค่าทางพลังงาน เป็นอาหารสัตว์ เป็นวัสดุก่อสร้าง ฯลฯ

เอาจริงเอาจัง แปลงคุณค่าผักตบ ให้ผู้คนทั้งหลาย แย่งกันเก็บ-แย่งกันครอบครอง “ผักตบ” พลังสมองของคนไทยทำได้แน่นอน

คนโบราณเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ชิงชังรังเกียจ ถึงขนาดออกเป็นกฎหมาย มันร้ายกาจ ถึงขนาดต้อง “เผาทิ้ง”

พ.ร.บ.ผักตบชวา พ.ศ.2456 เฮี้ยบ…กำหนดโทษไว้ด้วย

มาวันนี้…ผักตบชวา ยังแน่นหนา ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ลอยหน้าลอยตา ลอยไปมา ลอยข้ามเขต เขี่ยกันให้ไปพ้นเขตตัวเอง

นี่ไม่ใช่แค่การกำจัดผักตบ…แต่มัน คือ การแก้ปัญหาน้ำท่วม แก้ปัญหาน้ำเสีย สร้างความอุดมสมบูรณ์ การจราจรทางน้ำ

ภาวะผู้นํามีความสําคัญอย่างไร

ภาวะความเป็นผู้นำจะทำให้เรารู้หน้าที่ของตัวเอง รู้ว่าอะไรที่เราควรจะทำ และอะไรที่ไม่ควรทำ ในแง่ของหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อตัวเอง คนทำงานที่มีภาวะผู้นำจะรู้จักงานของตัวเองดี โดยไม่จำเป็นต้องให้ใครมาออกคำสั่ง หรือคอยเตรียมงานให้อยู่ตลอดเวลา เพราะเขาสามารทำงานนี้ได้เอง และรู้ว่าต้องทำอย่างไร ตัวเองก็จะไม่รู้สึกว่า ...

ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงมีอะไรบ้าง

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership ) หมายถึง พฤติกรรมที่ผู้นำแสดง ให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการ กระบวนการจัดการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ตาม ปฏิสัมพันธ์ที่ผู้นำ และผู้ตามมีต่อกันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้อง ตระหนักถึงความต้องการของผู้ตามและกระตุ้นผู้ตามให้ ...

ภาวะความเป็นผู้นํา มีอะไรบ้าง

1. มุ่งมั่นในการทำงาน ผู้นำต้องมีพลังในการทำงาน มุ่งมั่นสู่เป้าหมาย เพื่อขับเคลื่อนทีมให้กระตือรือร้นไปพร้อม ๆ กัน.
2. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ... .
3. มอบหมายงานอย่างมีประสิทธิภาพ ... .
4. เป็นผู้ฟังที่ดี ... .
5. มีระบบและระเบียบ ... .
6. มีส่วนร่วมกับทีม ... .
7. เป็นเจ้าของงานและความรับผิดชอบ ... .
8. กล้าหาญและตรงไปตรงมา.

คุณลักษณะของผู้นำทางการศึกษาที่ดีควรเป็นอย่างไร

ผู้นำทางการศึกษา หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถใช้ปัญญาชี้นำ และเป็นต้นแบบที่ด้านการศึกษา 3 ลักษณะความเป็นผู้นำ 1. คุณลักษณะ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการพูด มีบุคลิกลักษณะที่ดี 2. พฤติกรรม มีลักษณะเด่นชัดทางพฤติกรรม เช่น พูดดี, มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นต้น