การซ่อมแซมเสื้อผ้าควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

เสื้อผ้าที่ชำรุดเป็นรอยขาด อาจจะถูกหนามเกี่ยวขาดเป็นรูปปากฉลาม ถูกเตารีดร้อนจัดเป็นรอยไหม้ ก่อนที่เราจะซ่อมแซมรอยขาดเหล่านี้จะต้องตัดรอยขาดนั้นทิ้ง แล้วเปลี่ยนผ้าใหม่เข้าไปแทน เป็นการดัดแปลงแบบใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ควรดูตำแหน่งที่ขาดประกอบการพิจารณาด้วย

2. ออกแบบให้เหมาะสมกับวัยของผู้ใช้

การ นำเสื้อผ้าเก่าหรือเสื้อผ้าชำรุดมาดัดแปลง ควรคำนึงถึงวัยของผู้สวมใส่ด้วย เช่น เสื้อผ้าผู้ใหญ่ จากเดิมเป็นเสื้อคอกลมแขนสั้นธรรมดา เมื่อนำมาดัดแปลงเป็นเสื้อผ้าสำหรับเด็กก็ควรติดลูกไม้ จีบ ระบาย เปลี่ยนแขนทรงกระบอกเป็นแขนพอง ทำโบติดที่คอเสื้อ หรือผูกเอว จะช่วยให้แลดูเหมาะสมกับวัยเด็กมากขึ้น

3. เลือกใช้อุปกรณ์ตกแต่งให้เหมาะกับเนื้อผ้า

ก่อน ที่จะซ่อมแซมหรือดัดแปลงเสื้อผ้า ควรเลือกหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้เหมาะกับเนื้อผ้าที่ชำรุด เพื่อให้ส่วนที่ซ่อมแซมหรือดัดแปลงขึ้นใหม่มีสภาพกลมกลืนกับเสื้อผ้าตัวเดิม มากที่สุด เช่น เลือกกระดุม สีและแบบเดียวกับเม็ดเดิมที่หลุดหายไป ใช้ด้ายสีเดียวกันกับผ้าที่จะซ่อม ใช้เศษผ้าที่มีเส้นใยชนิดเดียวกันมาปะกับรอยผ้าที่ขาด เป็นต้น

4. เตรียมเครื่องมือให้พร้อม

เครื่องมือที่ ใช้ในการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า เช่น เข็ม ด้าย จักร กรรไกร ควรเตรียมไว้ให้พร้อม ตรวจดูให้อยู่ในสภาพดี ใช้งานได้ นำไปจัดวางไว้ใกล้บริเวณที่จะปฏิบัติงาน เพื่อให้หยิบใช้ได้สะดวก และช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น

5. คำนึงถึงความคุ้มค่า

สิ่งสำคัญที่ควรจะนำมาพิจารณาก่อนที่จะซ่อมแซมหรือดัดแปลงเสื้อผ้า คือ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการซ่อมแซมดัดแปลงเสื้อผ้าชิ้นนั้น ๆ คุ้มค่ากับเวลา เงิน แรงงาน ที่ต้องเสียไปหรือไม่ ถ้านำเสื้อผ้าที่ซ่อมแล้วไปใส่เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกใช้ ก็ไม่คุ้มค่า แต่ถ้านำไปใส่อีกนานนับปีถือว่าเป็นการคุ้มค่า นอกจากนี้ยังควรนำสิ่งตกแต่งเสื้อผ้าที่มีอยู่แล้วมาใช้ ไม่ควรซื้อสิ่งใหม่ที่มีราคาแพงก็จะช่วยประหยัดได้อีกทางหนึ่ง

การซ่อมแซมเสื้อผ้าควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง



การซ่อมแซมตะเข็บเสื้อผ้าด้านข้าง

ตะเข็บเสื้อผ้าด้านข้างที่เนื้อผ้าขาดหายไปจะปรากฏบ่อยมากกับนักเรียนที่สวมเสื้อผ้าชุดที่ใช้ในการเรียนวิชาพลานามัย ซึ่งส่วนใหญ่เสื้อลักษณะนี้ จะออกแบบผ้าด้านข้าง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนไหว จึงทำให้เสื้อส่วนที่ผ่ามีโอกาสชำรุดได้มาก ซึ่งถ้ามีความรู้ ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อตัวใหม่ และได้ผลงานที่สวยงามประณีต

๑.) อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน

๑. ด้ายสีเดียวกับผ้าหรือใกล้เคียงกับผ้า

๒. กรรไกรตัดผ้า

๓. เข็มหมุด

๔. ที่เลาะด้าย

๕. ด้ายเนา

๖. เศษผ้าสีใกล้เคียงกับสีเสื้อให้มีขนาดใหญ่กว่ารอยขาด

๗. จักรเย็บผ้าในกรณีที่ซ่อมแซมด้วยจักร

๒.) ขั้นตอนการปฏิบัติ

๑. เย็บปะด้านในตรงส่วนที่เสื้อผ้าขาดหายไปเหมือนกับการซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อที่ขาดหายไป

๒. กลัดเข็มหมุดเพื่อยึดผ้า และเนาผ้าให้ติดกันและเย็บตะเข็บตามรอยเย็บเดิมหรือรอยเนา

๓. รีดแบะตะเข็บและเนาด้านในตามแนวพับเดิม

๔. เย็บรอยพับตามแนวรอยเย็บเดิม

๕. เลาะด้ายเนาออกและรีดให้เรียบ

การเปลี่ยนยางยืด

ยางยืด มีขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดเป็นเมตรหรือแผง ใช้เย็บสอยเข้าไปในขอบแขน ขอบขา ขอบเอวกางเกง หรือในส่วนของเสื้อผ้าที่ต้องการ ยางยืดมีหลายขนาดตั้งแต่เส้นกลมเหมือนลวดจนถึงแผ่นกว่างเป็นนิ้ว มีหน้าที่ใช้สอยต่างๆ กันและมีความแข็งแรงต่างกัน ถ้าเส้นเล็กจะมีกำลังยืดน้อย ถ้าเส้นใหญ่มีกำลังยืดมากและให้ได้ทนทานกว่าในการเปลี่ยนยางยืดที่ชำรุดควรเลือกยางที่มีขนาดเท่าเดิมการเปลี่ยนยางยืดมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

๑. เลาะรอยเย็บที่ของกางเกงออกประมาณ ๓ นิ้ว

๒. ติดยางยืดเส้นใหม่ยาวเท่ากับรอบเอวลบ ๓ นิ้ว

๓. ตัดยางยืดเก่าให้ขาด เลาะและดึงออก

๔. สอดยางยืดใหม่เข้าไป และเย็บปลายให้ติดกันด้วยจักรหรือด้นถอยหลังถี่ๆ ให้แน่น

๕. เนารอยเลาะที่ขอบกางเกงให้เรียบร้อย เย็บด้วยจักรหรือด้นถอยหลังด้วยมือ


การซ่อมแซมเสื้อผ้า

การซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุด เป็นการแก้ไขดัดแปลงเสื้อผ้าให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้เช่น การซ่อมแซมตะเข็บ การซ่อมแซมปลายแขน ขอบขากางเกง ชายเสื้อและกระโปรง การซ่อมแซมเนื้อผ้าขาด การซ่อมแซมเครื่องตกแต่งต่างๆ เช่น ซิป ตะขอ กระดุม เป็นต้น การซ่อมแซมเสื้อผ้ามีความจำเป็นสำหรับครอบครัวเพราะเป็นการช่วยประหยัดรายจ่ายของครอบครัว และช่วยยืดเวลาให้สามารถสวมใส่เสื้อผ้าได้นาน เสื้อผ้าเมื่อใช้ไปนานๆ หลายครั้งอาจชำรุด  และมีข้อบกพร่องในการสวมใส่ เช่น คับ หลวม  ชำรุด  ขาด ซึ่งส่วนที่ชำรุดบ่อย เช่นตะเข็บ ซิป  ตะขอ  เป็นต้น  การตกแต่งเสื้อผ้าเป็นวิธีการที่ทำให้เสื้อผ้าเดิมดูแปลกใหม่ขึ้น  สวยงามขึ้น


        การตกแต่งเสื้อผ้ามีหลักเกณฑ์ดังนี้


๑.             คำนึงถึงผู้ใช้  กล่าวคือ เมื่อซ่อมแซมหรือแก้ไขดัดแปลงเสื้อผ้าแล้ว  ผู้ใช้ยินดีที่สวมใส่หรือไม่

๒.           คำนึงถึงสภาพวัสดุที่ต้องการดัดแปลงโดยพิจารณาว่าเสื้อผ้าเก่าหรือเสื้อผี่ชำรุดมีพอที่จะนำมาซ่อมแซมหรือแก้ไขดัดแปลงใหม่ตามที่ต้องการได้หรือไม่

๓.            คำนึงถึงค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณ  เป็นการพิจารณาว่าเมื่อดำเนินการซ่อมแซมหรือแก้ไขดัดแปลงแล้วจะคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือไม่

๔.            คำนึงถึงเวลา โดยพิจารณาว่าต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใดในการซ่อมแซม และเมื่อซ่อมแซมแล้ว สามารถใช้ต่อไปได้อีกนานหรือคุ้มค่ากับเวลาหรือแรงงานที่เสียไปหรือไม่


๑.๑  การซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อ

                  ในการซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อต้องคำนึงถึงความทนทานต่อการใช้งานบริเวณที่ทำการซ่อมแซมจะต้องเรียบและสวยงาม  โดยให้มองเห็นผ้าส่วนที่ขาดน้อยที่สุด  การเป๋าเสื้อนักเรียนหรือเสื้อที่ใช้เรียนวิชาพลานามัยซึ่งนักเรียนสวมใส่ทุกสัปดาห์จะฉีกขาดได้ง่าย ก่อนการซ่อมแซมต้องพิจารณาว่าเป็นรอยขาดแบบใด  ถ้ารอยตะเข็บด้ายเย็บขาดเพียงอย่างเดียว ก็ทำการซ่อมแซมได้ง่าย โดยการเย็บส่วนที่ขาดให้ติดกับตัวเสื้อ  แต่ถ้าบริเวณที่กระเป๋าขาด  เนื้อผ้าชำรุด  หรือขาดหายไป  จะต้องทำการปะชิ้นที่ขาดให้เรียนร้อยก่อนที่จะเย็บกระเป๋าให้ติดกับตัวเสื้อ ซึ่งมีวิธีการทำ ดังนี้

๑.) อุปกรณ์การปฏิบัติงาน


๑.      ด้ายสีเดียวกับผ้าหรือใกล้เคียงกับผ้า

๒.    กรรไกรตัดผ้า

๓.    เข็มหมุด

๔.    ที่เลาะด้าย

๕.    ด้ายเนา

๖.     เศษผ้าที่มีสีใกล้เคียงกับสีเสื้อและควรมีขนาดใหญ่กว่ารอยด้าย

๗.    จักรเย็บผ้าในกรณีที่ซ่อมแซมด้วยจักร

๒.   ) ขั้นตอนการซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อ


๑.     ตัดเย็บผ้าเป็นรูปสีเหลี่ยมให้มีขนาดใหญ่กว่ารอยขาดและกันลุ่ยริมโดยรอบ

๒.   ตัดเส้นด้ายบริเวณรอยขาดให้เรียบและเลาะเส้นด้ายหลุดลุ่ยที่ปากกระเป๋าให้เรียบร้อย

๓.    เนาเศษผ้าวางทาบด้านผิดและเนา ตามแนวริมที่ขาดและแนวริมเศษผ้าที่ปะ

๔.    เย็บด้านในที่ติดกับรอยลุ่ยโดยวิธีคิทเวิร์ค

๕.    ริมลุ่ย ควรสอยแบบดำน้ำถี่ๆ  ตามรอยเนา

๖.     นำไปรีดให้เรียบ

๗.    ตลบปากกระเป๋า  ทับรอยปะ  และจัดผ้าให้เรียบ

๘.    กลับเข็มหมุดยึดปากกระเป๋าให้ติดกับตัวเสื้อและเนาตามรอยเนวเย็บเดิม

๙.     เย็บตามรอยเนาหรือแนวเส้นเดิม ถ้าเป็นการเย็บด้วยมือ ควรด้นถอยหลังให้ระยะห่างเท่าฝีเข็มของจักรที่เป็นรอยเย็บเดิม

๑๐. เลาะด้ายเนาและตัดด้ายให้เรียบร้อยและรีดให้เรียบ

๑.๒  การซ่อมแซมตะเข็บเสื้อผ้าด้านข้าง

               ตะเข็บเสื้อผ้าด้านข้างที่เนื้อผ้าขาดหายไปจะปรากฏบ่อยมากกับนักเรียนที่สวมเสื้อผ้าชุดที่ใช้ในการเรียนวิชาพลานามัย  ซึ่งส่วนใหญ่เสื้อลักษณะนี้  จะออกแบบผ้าด้านข้าง  เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนไหว จึงทำให้เสื้อส่วนที่ผ่ามีโอกาสชำรุดได้มาก  ซึ่งถ้ามีความรู้ ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อตัวใหม่ และได้ผลงานที่สวยงามประณีต

๑.) อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน


๑.      ด้ายสีเดียวกับผ้าหรือใกล้เคียงกับผ้า

๒.    กรรไกรตัดผ้า

๓.    เข็มหมุด

๔.    ที่เลาะด้าย

๕.    ด้ายเนา

๖.     เศษผ้าสีใกล้เคียงกับสีเสื้อให้มีขนาดใหญ่กว่ารอยขาด

๗.    จักรเย็บผ้าในกรณีที่ซ่อมแซมด้วยจักร



๒.)           ขั้นตอนการปฏิบัติ


๑.      เย็บปะด้านในตรงส่วนที่เสื้อผ้าขาดหายไปเหมือนกับการซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อที่ขาดหายไป

๒.    กลัดเข็มหมุดเพื่อยึดผ้า  และเนาผ้าให้ติดกันและเย็บตะเข็บตามรอยเย็บเดิมหรือรอยเนา

๓.    รีดแบะตะเข็บและเนาด้านในตามแนวพับเดิม

๔.    เย็บรอยพับตามแนวรอยเย็บเดิม

๕.    เลาะด้ายเนาออกและรีดให้เรียบ


๑.๓ การเปลี่ยนยางยืด

             ยางยืด  มีขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดเป็นเมตรหรือแผง  ใช้เย็บสอยเข้าไปในขอบแขน  ขอบขา  ขอบเอวกางเกง  หรือในส่วนของเสื้อผ้าที่ต้องการ  ยางยืดมีหลายขนาดตั้งแต่เส้นกลมเหมือนลวดจนถึงแผ่นกว่างเป็นนิ้ว  มีหน้าที่ใช้สอยต่างๆ  กันและมีความแข็งแรงต่างกัน  ถ้าเส้นเล็กจะมีกำลังยืดน้อย ถ้าเส้นใหญ่มีกำลังยืดมากและให้ได้ทนทานกว่าในการเปลี่ยนยางยืดที่ชำรุดควรเลือกยางที่มีขนาดเท่าเดิมการเปลี่ยนยางยืดมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

๑.      เลาะรอยเย็บที่ของกางเกงออกประมาณ ๓ นิ้ว

๒.    ติดยางยืดเส้นใหม่ยาวเท่ากับรอบเอวลบ ๓ นิ้ว

๓.    ตัดยางยืดเก่าให้ขาด เลาะและดึงออก

๔.    สอดยางยืดใหม่เข้าไป  และเย็บปลายให้ติดกันด้วยจักรหรือด้นถอยหลังถี่ๆ ให้แน่น

๕.    เนารอยเลาะที่ขอบกางเกงให้เรียบร้อย เย็บด้วยจักรหรือด้นถอยหลังด้วยมือ


๒.  การตกแต่งและดัดแปลงเสื้อผ้า

              เสื้อผ้าที่เราสวมใส่มีการล้าสมัยไปตามกาลเวลา  ทำให้ต้องมีวิธีการตกแต่งแปลงเสื้อผ้า เพื่อทำให้เสื้อผ้านั้นดูทันสมัย  ดูแปลกใหม่และสวยงามขึ้น  นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปซื้อเสื้อผ้าตัวใหม่  ซึ่งจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไปตามความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล


๒.๑ การตกแต่งเสื้อผ้า

              การตกแต่งเสื้อผ้าเป็นวิธีการที่ทำให้เสื้อผ้าเดิมดูแปลกใหม่ขึ้น  สวยงามขึ้น การตกแต่งเสื้อผ้ามีหลายวิธี ซึ่งวิธีที่เราสามารถทำได้ง่าย มีดังนี้


                ๑.) การปัก  เป็นการตกแต่งเสื้อผ้าโดยใช้วัสดุต่างๆ มาเย็บบนผ้า  เพื่อให้เกิดลวดลายมีทั้งการปักด้วยไหม  ด้าย  และปักด้วยวัสดุอื่นๆ เช่น เปลือกหอย  กระดูกสัตว์  เมล็ดพืชแห้ง  ลูกปัด เป็นต้น


               ๒.) การปะ  การปะเพื่อการตกแต่ง เป็นการนำผ้าหรือวัสดุอื่นๆ ที่เป็นลวดลายหรอต้องการให้เกิดลวดลายมาวางทับบนเสื้อผ้าและปักริมโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามต้องการ


๓.) การกุ๊น  เป็นการนำผ้าเฉลียงมาเย็บหุ้มริมผ้า เพื่อให้เกิดลวดลาย


๒.๒ การดัดแปลงเสื้อผ้า


การดัดแปลงเสื้อผ้า เป็นการนำเสื้อผ้าที่มีอยู่มาแก้ไขให้ได้รูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถสวมใส่ได้ เป็นการประหยัดรายจ่ายของครอบครัว การดัดแปลงเสื้อผ้ามีหลายรูปแบบ ที่สามารถดัดแปลงได้ง่ายมีดังนี้