ใครเป็นประธานสุขาภิบาลท้องที่

                พ.ศ. 2518  ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518  กำหนดฐานะกรุงเทพมหานคร  เป็นราชการส่วนท้องถิ่นนครหลวง  มีการเลือกตั้งคณะผู้บริหาร  ประกอบด้วย  ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครพร้อมกับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
    กรณีใช้เงินสด, พันธบัตรรัฐบาล,  สลากออมสิน, ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย,  ตั๋วแลกเงินธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว, เช็คธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย  หรือรับรอง และไม่ใช่เช็คลงวันที่ล่วงหน้า, หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย

#อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษผนึกกำลัง
#หวังโค่นบัลลังก์_ริชี่_ซูนัค

ยังคงมีกระแสข่าวความแตกแยกของพรรคอนุรักษ์อังกฤษอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีมาแล้วถึง 3 คน ภายในระยะเวลาแค่ 1 ปี ทแต่ดูเหมือน ริชี ซูนัค นายกรัฐมนตรีเชื้อสายอินเดียคนล่าสุด ก็ยังไม่สามารถคุมเสียงภายในพรรคได้อย่างเต็มร้อย

ล่าสุดมีกระแสการก่อหวอดของสส. ในพรรครัฐบาลอย่างน้อย 50 คน ที่จะร่วมกันคว่ำร่างกฏหมายปฏิรูปการสร้างบ้าน ที่ระบุว่า รัฐบาลจะตั้งเป้าหมายว่าจะต้องสร้างที่อยู่อาศัยให้ได้ถึง 3 แสนหลังต่อปี

ตัวเลข 3 แสนมาจากไหน?

ทางรัฐบาลอังกฤษได้อธิบายว่าได้จากการประเมินความต้องการที่อยู่อาศัยของชาวอังกฤษทั่วประเทศ โดยสภาท้องถิ่นในแต่ละเมือง ที่ชี้ว่าการสร้างที่อยู่อาศัยในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาด และทำให้บ้านมีราคาสูงจนจับต้องได้ยาก

และจากตัวเลขโครงการก่อสร้างบ้านในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2019-20 มีจำนวนบ้านสร้างใหม่ที่ 242,700 หลัง ต่อมาปี 2020 - 21 จำนวนบ้านสร้างใหม่ลดลง เหลือ 216,490 หลัง เพราะเป็นช่วงการระบาดของ Covid-19

ดังนั้น ในปีหน้า และปีต่อๆไป รัฐบาลพรรคอนุรักษ์จึงตั้งเป้าว่าจะต้องสร้างบ้านให้ถึง 3 แสนหลังต่อปีให้ได้ เพื่อให้ชาวอังกฤษได้มีบ้านอยู่ในราคาที่ (อาจจะ) ถูกลง และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจากโครงการก่อสร้างที่มีมากขึ้นทั่วประเทศอย่างแน่นอน ซึ่งเป้าหมายการสร้างให้ถึง 3 แสนหลัง เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อหาร่างกฏหมายยกระดับคุณภาพชีวิต หรือ Levelling Up Bill ที่ตอนนี้ถูกส่งไปพิจารณาในสภาแล้ว

แต่ทว่า มีเสียงคัดค้านดังมาจาก เทเรซา วิลเลิร์ส อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และ กิจการชนบท ว่าการสร้างบ้าน 3 แสนหลังต่อปี เป็นเป้าหมายที่สุดโต่ง และเกินจริง ที่อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตมากกว่า โดยเธอเรียกร้องให้มีการทบทวนตัวเลขเป้าหมายเรื่องนี้อีกครั้ง

เพราะการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จะดูแต่ตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้ เพราะ "ความต้องการที่จะซื้อ" กับ "ความพร้อมในการซื้อ" ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน อีกทั้งรัฐบาลกำลังจะใช้อำนาจรัฐไปกดดันรัฐบาลท้องถิ่น ในการเร่งโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้ได้ตามเป้า ที่อาจไม่ตรงกับความต้องการของผู้ที่จะซื้อในท้องที่จริงๆ และนั่นจะก่อผลเสียด้านทรัพยากรและ เศรษฐกิจในอนาคตได้

และเทเรซา วิลเลิร์ส ก็ไม่ได้ประท้วงแค่ปากเปล่า เธอยังจับมือกับกลุ่ม สส. ลูกพรรคอนุรักษ์ได้กว่า 50 คน ที่จะคัดค้านเรื่องการตั้งเป้า 3 แสนหลังต่อปี ที่จะลงคะแนนเสียงในสภาในวันจันทร์ (29 พฤศจิกายน 2022) ที่จะถึงนี้อีกด้วย

และนับเป็นการก่อขบฏรับน้องใหม่ครั้งแรกในสมัยของ ริชี ซูนัค ที่ต้องไปฝ่าไปให้ได้ แต่อย่างที่เรารู้กัน งานรับน้อง ไม่เคยมีงานเดียวอยู่แล้ว

เพราะล่าสุด ทั้ง บอริส จอห์นสัน และ ลิซ ทรัสส์ อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่ดีๆก็ประกาศผนึกกำลังที่จะยื่นข้อเสนอให้มีการผ่อนคลายกฏหมายการก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังลมบก

ที่อังกฤษมีกฏหมายที่จำกัดการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมบกมาตั้งแต่สมัยอดีตนายกฯ เดวิท แคเมอรอน เนื่องจากมีคำทักท้วงจาก สส. ในพื้นที่ว่า กังหันลมบก ทำลายทัศนียภาพของเมือง ที่ทำให้อังกฤษพัฒนาศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังลมได้ช้ากว่าหลายชาติในยุโรป

แต่วันนี้ ทั้ง บอริส จอห์นสัน กับ ลิซ ทรัสส์ จับมือร่วมกับ สส.ในพรรคอีกจำนวนหนึ่งจะเสนอให้แก้กฏหมายข้อจำกัดการสร้างโรงไฟฟ้าลมบก ซึ่งก็อยู่ในเนื้อหาร่างกฏหมาย Levelling Up Bill เช่นกัน

แม้ว่าประเด็นนี้จะไม่ได้โจมตีนโยบายของ ริชี่ ซูนัค โดยตรง แต่เป็นการแสดงพลังของฐานเสียงภายในพรรค ระหว่างฝ่ายของ ริชี่ ซูนัค และ ฝ่ายของ บอริส จอห์นสัน ซึ่งริชี่ ซูนัค มักถูกโจมตีบ่อยๆว่า เป็นผู้นำที่มีฐานเสียงสนับสนุนของลูกพรรคสู้ขาใหญ่อย่าง บอริส จอห์นสัน ไม่ได้ ทำให้รัฐบาลของเขาขาดเสถียรภาพ

และกลายเป็นกลุ่มก่อคลื่นใต้ดิน 2 ลูกใหญ่ๆ ที่จะมางัดริชี ซูนัค ให้ตกเก้าอี้ นำทีมโดยอดีตผู้นำอังกฤษถึง 2 คน และอดีตรัฐมนตรีอีก 1 คน

นี่ยังไม่นับรวมม็อบพยายาลที่เรียกร้องขอขึ้นค่าแรง 19% ที่ริชี ซูนัค ตอบปฏิเสธแบบหักดิบไปแล้วว่าให้ไม่ได้ และม็อบพยาบาลก็เคาะวันสไตรค์หยุดงานเรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 15 และ 20 ธันวาคนที่จะถึงนี้ กลายเป็นความปั่นป่วนทั้งใน และ นอกสภา ที่หมายเขย่าเก้าอี้ ริชี ซูนัค ให้ได้

รู้สึกว่าช่วงนี้ทำเลบ้านเลขที่ 10 ถนน ดาวนิ่ง รู้สึกจะมีแผ่นดินไหวบ่อยเป็นพิเศษ ใครมาก็อยู่ไม่ค่อยได้นาน ต้องย้ายออกก่อนหมดเทอมตลอดเลยน้า

****************
ติดตามบทความของ "หรรสาระ" เพิ่มเติมได้ที่
Facebook - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
Twitter - @HunsaraByJeans
Blockdit - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
Tiktok - @HunsaraByJeans
แพลทฟอร์มคุณภาพ ไม่ปิดกั้นการมองเห็นเนื้อหา
****************

แหล่งข้อมูล

https://www.theguardian.com/politic...aces-mps-rebellion-over-housebuilding-targets

https://www.indiatoday.in/world/sto...ory-mps-threaten-rebellion-2300730-2022-11-23

https://www.mirror.co.uk/news/politics/boris-johnson-liz-truss-join-28578321

https://www.bbc.com/news/uk-politics-63733149

https://www.wionews.com/world/uk-pm...-rebellion-from-boris-johson-liz-truss-537384

https://finance.yahoo.com/news/truss-johnson-join-rebellion-against-094326033.html

https://www.globalcitizen.org/en/co...mYbftt97hk2ONf3_wj72iJM63WNuDXIxoCpfEQAvD_BwE

https://www.wionews.com/world/rishi...-cent-pay-claim-obviously-unaffordable-537520

 

การขุดพบโครงกระดูกกรรมกรเอเชียที่มาร่วมสร้างทางรถไฟสายมรณะประมาณ 500 ศพ ที่ จ.กาญจนบุรี เมื่อ ปี ค.ศ. 1990 หรือ พ.ศ.2533 (บทความยาวหน่อยแต่อยากให้อ่านให้จบครับ)
ในการรับรู้เรื่องราวทางรถไฟสายมรณะของประชาชนทั่วไปนั้น เราจะมองเห็นแค่ภาพของเชลยศึกชาวตะวันตกที่ผอมเหลือแต่กระดูก ทำงานอย่างหนัก ถูกกระทำด้วยความรุนแรงจากผู้คุมเกาหลีและทหารญี่ปุ่น และหลายคนคิดว่าทางรถไฟนั้นแล้วเสร็จได้เพราะหยาดเหงือแรงกายและชีวิตเชลยศึกตะวันตกเท่านั้น
แต่ที่จริงแล้วมีตัวเลขที่น่าสนใจครับ กรรมกรเอเชีย จากหลายชาติ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย พม่า จีน เวียดนาม ลาว กัมพูชา มลายู ชวา อินโดนิเซีย รวมถึงแรงงานไทยด้วย แรงงานเหล่านี้มีจำนวนกว่า 230,000-250,000 คนเป็นแรงงานในการสร้างทางรถไฟสายมรณะ
ในส่วนของเชลยศึกตะวันตกมีประมาณ 60,000 คน ซึ่งจริงๆแล้วมีจำนวนน้อยกว่ากรรมกรเอเชียถึง 4 เท่าเลยทีเดียว แต่เราเองกลับรับรู้เรื่องราวของกรรมกรเอเชียน้อยมากๆ
จำนวนผู้เสียชีวิตของกรรมกรเอเชียอยู่ที่ประมาณ 90,000-100,000 คน หรือ 40% ของกรรมกรเอเชียทั้งหมด พูดภาษาชาวบ้านคือ ใน100 คนจะมีประมาณ 40 คนที่เสียชีวิต ก็เนื่องด้วยความเป็นอยู่ที่แออัด ขาดการดูแลเรื่องความสะอาด ยาไม่ต้องพูดถึงครับไม่มี อาหารก็ไม่เพียงพอ โรคระบาด
หันกลับมาดูฝ่ายเชลยศึกกันบ้าง จำนวนผู้เสียชีวิตมีประมาณ 13,000 คน หรือ 21% ของเชลยศึกทั้งหมด พูดภาษาชาวบ้านคือใน 100 คนมีเชลยศึกเสียชีวิตประมาณ 21 คน หากเราอ่านหนังสือแล้วพบว่า สภาพความเป็นอยู่ของเชลยศึกแย่ อย่างนู้น อาหารไม่พอ ยาไม่พอ งานหนัก แต่หากมาเจอเรื่องราวของกรรมกรเอเชียแล้วคุณจะรู้เลยว่า เชลยศึกมีสภาพความเป็นอยู่ดีกว่ากรรมกรเอเชียมากครับ
เชลยศึกปรกติจะเป็นทหารที่มีความรู้ในเรื่องของระเบียบวินัยและรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันโรคระบาด ตลอดจนในหน่วยเชลยศึกแต่ละหน่วยมีแพทย์ทหารอยู่ด้วยครับ เพราะฉนั้นแพทย์เหล่านี้ยังพอสามารถให้คำแนะนำหรือสามารถออกแบบดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่ให้เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ รวมถึงการขอแบ่งยารักษาโรคจากญี่ปุ่น เพื่อใช้รักษาเชลยศึกที่มีอาการหนัก ค่ายเชลยศึกมีการจัดการเรื่องความสะอาดที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับค่ายกรรมกร มีการทำค่ายแยกสำหรับผู้ป่วยโรคระบาดต่างๆ และทำการแยกผู้ป่วยออกไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคระบาด และยังมีเรื่องราวอีกมากที่ความเป็นอยู่เชลยศึกนั้นดีกว่ากรรมกรเอเชีย
เพราะฉนั้นกล่าวได้ว่ากำลังแรงงานกรรมกรเอเชียนั้นเป็นแรงงานหลักในการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ก็ดูจะไม่ผิดนะครับ แต่ความเป็นอยู่นั้นลำบากมาก
ขอเข้าเรื่องเลยละกันครับในเรื่องการค้นพบโครงกระดูกจำนวนมากของกรรมกรเอเชียที่บริเวณข้างศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี 2533 หรือ ค.ศ.1990
เริ่มต้นเรื่องมันดูลึกลับและเป็นสิ่งที่ทางวิทยาศาสตร์ ตอบได้ยากครับ เพราะเรื่องมีอยู่ว่า คืนหนึ่งเจ้าของร้านซ่อมจักรยายนต์ที่ชื่อว่า คุณสมปอง ชาววังไทร ได้ฝันเห็นว่าตนเองได้ไปยืนในบริเวณพื้นที่แห่งหนึ่งที่เป็นไร่อ้อย
ในบริเวณไร้อ้อยนั้นมีคนอยู่มากมาย แต่สภาพของผู้คนเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีสภาพผอมโซ หิวโหย เจ็บป่วย และสวมเสื้อผ้าขาดๆ ดูน่าสงสารเวทนา ในความฝันนั้นมีคนเดินเข้ามาบอกว่ามาช่วยปลดปล่อยพวกเขาด้วย ในความฝันคุณสมปองจำได้ว่าบริเวณไร่อ้อยนั้นมีต้นกร่างขนาดใหญ่เป็นจุดสังเกตุ
หลังจากนั้นไม่นาน ทางคุณสมปอง ชาววังไทร ก็พยายามตามหาพื้นที่ตามในฝัน จึงขับรถจักรยานยนต์ตระเวนหา
จนมาถึงหน้าซอยแสงชูโต 14 มีอะไรบางอย่างดลใจให้คุณสมปองหยุดรถ และสอบถามชาวบ้านแถวนั้น คุณสมปองถามว่าในซอยนี้มีที่ฝังศพบ้างไหม ชายชราที่อยู่หน้าปากซอยไม่พูดอะไรเพียงชี้เข้าไปในซอย
คุณสมปองจึงขับรถเข้าไปดูพบว่ามีไร่อ้อย และในนั้นมีต้นกร่างต้นใหญ่ดังที่ตนเองฝันไว้ พื้นที่ตั้งบริเวณนั้นอยู่ห่างจากกำแพงศาลากลางประมาณ 100 เมตร และอยู่ห่างจากถนนแสงชูโตประมาณ 200 เมตร
แต่เมื่อพบแล้วก็ใช่ว่าจะไปทำอะไรได้เลย ทางคุณสมปอง ก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้
ในช่วงเวลานั้นให้มีเหตุประจวบเหมาะ เพราะมีคนในมูลนิธิโพธิภาวนาสงเคราะห์มาติดต่อ จะขอซื้อที่ดินของคุณสมปอง
คุณสมปองจึงได้ใช้โอกาสนี้พูดคุยปรึกษาเรื่องแปลกๆที่ตนฝันถึงและสถานที่ในฝันที่พบ
ทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิดังกล่าวก็ให้คำแนะนำ แล้วคุณสมปองก็ได้ติดต่อขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของที่ดินคือ ครูอนัญญา วัฒนแย้ม
ก่อนลงมือทำการขุดศพขึ้นมา ในเบื้องต้นครูอนัญญาปฏิเสธว่าตนไม่เคยเอาใครไปฝัง แต่เพื่อนบ้านซึ่งเป็นผู้อาวุโสยืนยันว่า ไร่อ้อยแห่งนี้เคยเป็นที่ฝังศพกรรมกรสร้างทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ครูอนัญญาจึงยินยอมเซ็นใบอนุญาตให้ขุดศพได้โดยไม่ขอรับเงินค่าเสียหายในการที่ต้องไถต้นอ้อยออกไปแต่อย่างใด
ในการไถต้นอ้อย รถไถได้รับการสนับสนุนจาก พล.ต.ท. จำรัส มังคลารัตน์ ภายหลังปรับพื้นที่จนเหลือแต่หน้าดินเพื่อรอการขุดโครงกระดูกขึ้นมาด้วยจอบและเสียบ
ก่อนที่จะเริ่มการเข้ามาขุดล้างป่าช้าจากมูลนิธิโพธิภาวนาสงเคราะห์ โดยในการขุดนั้นจะมีการเข้าทรงและร่างทรงจะชี้จุดที่เป็นหลุมศพ มีการปักธงแดง และทำการขุด มีผู้คนเข้าร่วมงานบุญนี้มากมาย
ในวันที่ 15 พ.ย. 1990 วันแรกของการขุดศพไร้ญาตินั้น พบโครงกระดูกจำนวนกว่าร้อยศพ นอนทับกันในหลุม หลายหลุม มีภาชนะแก้วน้ำ ชามข้าวที่เป็นแบบสังกะสีเคลือบจำนวนพอสมควร
ในวันที่ 16 พ.ย.1990 มีการขุดศพไร้ญาติต่อครับ พบโครงกระดูกประมาณ 104 ศพ
ในวันที่ 18 พ.ย.1990 หลังจากที่ข่าวแพร่กระจายออกไปว่ามีการขุดค้นพบโครงกระดูกจำนวนมากอยู่ข้างๆศาลากลาง จังหวัดกาญจนบุรี ทางอธิบดีกรมศิลปากรได้มาตรวจดูพื้นที่การขุด เห็นว่าการขุดแบบนี้อาจจะเป็นการทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์
จึงมีหนังสือไปยังผู้ว่าราชการ จ.กาญจนบุรี ให้มีคำสั่งให้มูลนิธิยุติการขุดชั่วคราว และได้ให้กองโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์นำโดย คุณสถาพร ขวัญยืน เป็นผู้เข้าขุดสำรวจ และมีอาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ เลขาธิการศูนย์วัฒนธรรมราชภัฏกาญจนบุรี (หรือวิทยาลัยครูในสมัยนั้น) เข้าร่วมด้วย
ในวันที่ 20 พ.ย.1990
กองโบราณคดี ได้เริ่มทำการขุดหลุม 2 หลุม เลยจากบริเวณที่มูลนิธิขุดพบศพไปทางใต้ แต่ไม่พบศพ
ในวันที่ 23 พ.ย. 1990
จึงมีการขุดหลุมที่สามใกล้กับบริเวณที่ชาวบ้านขุดพบก่อนหน้านี้
ในหลุมที่ 3 มีการขุด 4 ×5 เมตร พบโครงกระดูก 35 โครง โดยทั้งหมดหันหัวไปทางทิศเหนือใต้ มี 24 โครงหันหัวไปทางเหนือ มี11 โครงหันหัวไปทางใต้ ถูกฝังทับซ้อนกัน สภาพโครงกระดูกผุกร่อนเนื่องจากอยู่ใต้ไร่อ้อยและมีน้ำใต้ดินขังอยู่ โครงกระดูกส่วนใหญ่อยู่ใต้ผิวดินประมาณ 60-70 ซม.
ในจำนวนโครงกระดูก 35 โครง มีหนึ่งโครงกระดูกเป็นของเด็กหญิงอายุไม่เกิน 10 ขวบ เนื่องจากยังมีฟันน้ำนมอยู่ และพร้อมกันนั้นยังพบกำไลข้อมือที่แขนข้างซ้ายของโครงกระดูกนี้
จากการขุดค้นของนักโบราณคดีพบว่ามีลักษณะการขุดหลุมฝังจะขุดหลุมเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้ายาว 2-2.5 เมตร ความกว้างไม่แน่นอน มีการฝังศพสองครั้งในหลุมเดียวกัน กล่าวคือเมื่อฝังศพแรกแล้วก็จะเอาดินกลบลงไปประมาณ 30 ซ.ม.แล้วนำอีกศพมาฝังด้านบนแล้วค่อยเอาดินกลบ
นอกจากการขุดพบโครงกระดูกแล้ว ยังขุดพบข้าวของเครื่องใช้ของผู้ตาย โดยมีทั้งกระบอกน้ำโลหะ บางใบมีตราประทับเขียนแหล่งผลิตที่ ฮ่องกงหรือญี่ปุ่นด้วย บางใบบอกปีผลิตว่าเป็นปี 1939 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แน่นอน
กำไลโลหะที่ข้อมือของโครงกระดูกเด็ก
พบตะกรุดโลหะ 2 ชิ้น และพบเศษเชือกในหูร้อยเชือกของตะกรุด ตะกรุดนั้นพบที่ช่วงสะโพกของโครงกระดูก (คนมัดตะกรุดคาดเอว)
พบบางศพมีฟันเลี่ยมด้วยทอง บางศพพบมีการใส่ฟันปลอม
7 ศพพบว่ามีลักษณะฟันสีดำที่เกิดจากการเคี้ยวหมาก
จากหลักฐานทางโบราณคดีนั้นสอดคล้องกับคำบอกเล่าของผู้สูงอายุว่าในอดีตพื้นที่แถบนี้เป็นค่ายกรรมกรเอเชีย และมีพยานเคยพบเห็นการขุดหลุมฝังศพของกรรมกรเอเชีย (อินเดีย)
โดยคำบอกเล่ามีดังนี้
นาง อุไร บ่อทรัพย์
วัย 65 ปี ชาวบ้านปากแพรก สัมภาษณ์ 21 พ.ย. 2543
เล่าว่าสมัยนั้นตนเอง อายุ 15 ปี ญี่ปุ่นได้เข้ามาในกาญจนบุรี มีการสร้างค่ายกรรมกรเอเชียตั้งตามแนวทางรถไฟจากบ้านเขาดินถึงบ้านบ่อ (บริเวณโรงพยาบาลพหลในปัจจุบัน) กรรมกรเอเชียนั้นมีชีวิตลำบากตื่นแต่เช้าออกไปทำงานอย่างหนัก อาหารไม่พอกิน ยารักษาโรคก็ไม่มี ป่วยเป็นมาลาเลีย บิด อหิวา เสียชีวิตจำนวนมาก เด็กบางคนไม่มีข้าวกินไม่มีนมกินผอมโซ
เคยแอบมองเข้าไปในค่ายกรรมกรเอเชียเห็นการฝังศพของชาวอินเดียหรือพวกกุลีโต้ (กุลีโต้คือคำเรียกที่ทหารญี่ปุ่นใช้เรียกกรรมกรเอเชียหรือพวกกุลี) โดยหลุมจะถูกขุดไว้ก่อน กรรมกรที่เสียชีวิตจะถูกนำมาฝัง มีการจับศพโยนลงไปซ้อน ๆ ทับกัน
และมีการโรยด้วยปูนขาวเพื่อลดกลิ่นเหม็น เนื่องจากหลุมจะยังไม่ถูกกลบในทีเดียวเพราะในหลุมหนึ่งๆ ต้องใช้ทิ้งศพหลายศพ เมื่อได้ปริมาณศพเพียงพอแล้วจึงจะมีการกลบดิน
นายเอี่ยม บ่อทรัพย์ วัย 81 ปี สัมภาษณ์ 20 มีนาคม 2551
ค่ายญี่ปุ่นตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านบ่อ ส่วนค่ายกรรมกรอินเดีย ชวา มลายู อยู่ที่โรงพยาบาลบ้านบ่อ(โรงพยาบาลพหล) นายเอี่ยมเห็นกรรมกรล้มป่วยเป็นจำนวนมาก บางคนเป็นอหิวา บางคนมีแผลตามเนื้อตัวเต็มไปหมด มีผู้เสียชีวิตมากมาย และศพจะถูกนำไปฝังหลังโรงพยาบาลพหล(ในปัจจุบัน)
คำบอกเล่าจากเจ้าอาวาสวัดในแถวบ้านโป่งที่เคยเห็นกรรมกรเอเชียเชื้อสายอินเดียมาลงรถไฟที่สถานีหนองปลาดุกและเดินเท้าไปยัง จังหวัดกาญจนบุรี ในขบวนนั้นมีเด็กและผู้หญิงร่วมเดินทางไปด้วย โดยผุ้หญิงส่วนใหญ่ก็คือภรรยาของกรรมกรชายที่ออกไปทำงาน ผู้หญิงเองก็มีหน้าที่เป็นแม่บ้านและเป็นคนทำอาหาร
Robert Hardie แพทย์ประจำกองทัพอังกฤษที่ตกเป็นเชลยศึกได้กล่าวถึงกรรมกรเอเชียว่า มีกรรมกรชาวจีน มาเลย์ อินเดียทมิฬ จำนวนมากถูกชักชวนให้มาทำการสร้างทางรถไฟสายมรณะ โดยทางญี่ปุ่นอ้างว่า เป็นงานที่ไม่หนักและมีรายได้ดี พวกเขาถูกส่งมายังประเทศไทยโดยทางรถไฟ เมื่อมาถึงบ้านโป่ง ก็มีการเดินเท้าต่อมายังกาญจนบุรี กรรมกรเอเชียนั้นมีจำนวนหลายพันคนและมีการตั้งค่ายตามแนวทางรถไฟหลายค่าย
เราได้ข่าวความน่ากลัวของการตายจากโรคระบาดในหมู่กรรมกรเอเชีย หลายคนป่วยจนพูดแทบไม่ไหว กรรมกรเอเชียบางคนเสียชีวิตในป่าศพขึ้นอืดเน่าไม่ได้รับการฝัง ระบบสุขาภิบาลไม่มี ผู้คนอยู่กันอย่างแออัด ฝูงแมลงวันมีอยู่เต็มไปหมด ที่สำคัญไม่มีการรักษาพยาบาลในค่ายเหล่านี้
Muthammal Palanisamy อดีตครูในประเทศมาเลเซียผู้ที่พยายามรวบรวมเรื่องราวของกรรมกรเอเชียที่รอดชีวิตกลับไปยังมาเลเซียหลังสงคราม เธอได้รวบรวมข้อมูลจากกรรมกรมาเลเซียได้จำนวน 12 คน และเรื่องราวนั้นกำลังรวบรวมและจะเขียนลงบนหนังสือต่อไป โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า กรรมกรเอเชียชาวมาเลย์อินเดียหลายคนพูดตรงกันว่า ทหารญี่ปุ่นมาเชิญชวนให้ไปทำงานสร้างทางรถไฟ โดยให้เหตุผลที่ว่า การสร้างทางรถไฟสายนี้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ และการสร้างทางรถไฟนี้จะช่วยญี่ปุ่นให้ส่งทหารเข้าไปรบกับอังกฤษ และทางรถไฟสายนี้จะช่วยปลดปล่อยอินเดียจากการตกอยู่ภายในอาณานิคมของอังกฤษ นั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวอินเดียทมิฬที่ถูกอังกฤษส่งมาใช้แรงงานในมลายูตัดสินใจไปร่วมสร้างทางรถไฟสายนี้
หลังจากที่มีการขุดพบโครงกระดูกมีการศึกษาพบว่าไม่ได้เป็นศพที่เกี่ยวกับอารยธรรมโบราณก่อนประวัติศาสตร์ ข้อมูลหลังจากนี้ผมคาดการณ์ว่า ทางกรมศิลป์เองก็เลยไม่ได้ทำการสำรวจต่อ และให้ทางมูลนิธิโพธิภาวนาสงเคราะห์เข้ามาขุดศพทั้งที่เหลือออกจากพื้นที่
คำถามตามมาคือแล้วศพตอนนี้ไปอยู่ที่ใดบ้าง
จากการหาข้อมูลมีดังนี้
ส่วนแรก จำนวนมากหลายร้อยศพ
ในเอกสารของมูลนิธิแจ้งว่าขุดได้ 10 วัน ได้โครงกระดูกบรรทุกเต็มรถหกล้อ 1 คัน ผมได้สอบถามไปยังมูลนิธิว่าหลังจากการล้างป่าช้าครั้งนั้นศพของกรรมกรเอเชียที่ขุดได้ อยู่ที่ใด มูลนิธิได้ให้คำตอบว่าในการล้างป่าช้าแต่ละครั้ง จะมีการนำศพกลับไปบำเพ็ญกุศลและทำการฌาปนกิจและนำเถ้ากระดูกไปไว้ในสุสานรวมหรือที่เรียกว่าฮวงซุ้ยรวมของศพไร้ญาติ
ซึ่งจะมีการไหว้ตามพิธีกรรมจีนในช่วงเชงเม้งของทุกปี มีของเซ่นไหว้ครับ สุสานของมูลนิธิอยู่ที่ จ.สระบุรีครับ (ก่อนที่จะมีการเผา จนท.กรมศิลป์ได้ไปตรวจสอบโครงกระดูกที่ มูลนิธิโพธิภาวนาสงเคราะห์ ที่กทม. รวบรวมไว้ เพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติม แต่ก็ยังไม่ได้หลักฐานอะไรมาก เพราะโครงกระดูกต่างๆ ล้วนแล้วแต่ปะปนกันไปหมด จากสุสานอื่นๆที่ทางมูลนิธิได้ไปทำการขุดศพไร้ญาติครับ)
ส่วนที่สองมีการมอบศพให้กับพิพิธภัณฑ์สงครามอักษะและเชลยศึก ที่อยู่ข้างสะพานแม่น้ำแคว ที่จัดแสดงในครอบแก้วจะมีโครงกระดูกกรรมกรเอเชียสองโครง ส่วนอีก 104 โครงนั้นอยู่ด้านล่างลงไปในบ่อปูน รวมที่พิพิธภัณฑ์นี้มี 106 โครงกระดูก
ส่วนสุดท้ายอีก 33 โครงกระดูก ตามที่มีการเขียนไว้ใน international Herald Tribune, New York Times โดย Thomas Fuller วันที่ 11 มีนาคม ปี 2008
Thomas Fuller ได้เดินทางมาที่ประเทศไทยทำข่าวเกี่ยวกับกรรมกรเอเชียที่ร่วมสร้างทางรถไฟสายมรณะ และสัมภาษณ์ อาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ เกี่ยวกับเรื่องรางการของทางรถไฟสานมรณะและเรื่องศพของกรรมกรเอเชีย รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น นางอุไร บ่อทรัพย์ ชาวบ้านที่บ้านอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่ค่ายกรรมกร / นายทองอยู่ ชาลวันกุมภีร์ อดีตกรรมกรเอเชียชาวมาเลเซียที่ยังใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย (ปัจจุบันนี้เสียชีวิตแล้ว)
ในเนื้อข่าวตอนหนึ่งระบุว่า
หลังจากที่มีการขุดพบซากโครงกระดูกกรรมกรเอเชียจำนวนมาก ที่ ปากแพรก กาญจนบุรี อาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ ร้องขอไปยังทางจังหวัดให้มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานหรือสุสานแก่กรรมกรเหล่านี้ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบใดจากหน่วยงานภาครัฐ
ในข่าวยังระบุว่าอาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ ได้ขุดศพกรรมกรเอเชียด้วยทุนทรัพย์ของตนเองและนำโครงกระดูกไปฝากไว้ที่อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จำนวน 33 ศพ เพื่อเก็บรักษา
หลังจากนั้นในปี 2008 อาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ และ Thomas ได้เดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์เพื่อจะขอดูโครงกระดูกที่เคยนำมาฝากไว้ แต่กลับได้รับคำตอบว่า โครงกระดูกเหล่านั้นถูกนำไปขุดหลุมฝังเมื่อสองสามปีก่อนหน้านี้ เหตุผลที่นำโครงกระดูกไปฝังนั้น เนื่องจากห้องเก็บโครงกระดูกมีกลิ่นเหม็นอับและได้รับการร้องเรียนจากเจ้าหน้าที่และแขกผู้มาเยี่ยมชม เจ้าหน้าที่คนหนึ่งจึงได้ขุดหลุมฝังโครงกระดูกจำนวน 33 โครง
ตัวผมเองก็อยากรู้ว่าสิ่งที่นักข่าวเขียนนั้นเป็นจริงหรือไม่อย่างไร จึงได้โทรไปที่อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ มีพี่ จนท.ผู้หญิงท่านหนึ่งรับสายและผมได้สอบถามบุคคลที่มีชื่อในข่าว(ขอสงวนนามนะครับ) ยืนยันว่ามีขุดหลุมฝังศพเหล่านั้นจริง แต่คนที่ขุดฝังเป็นเหมือนกับลูกจ้างชั่วคราวและหลังจากฝังได้ไม่นานก็ลาออกไป และตอนนี้ไม่มีใครทราบว่าหลุมที่ขุดฝังโครงกระดูกกรรมกรเอเชียทั้ง 33 ศพอยู่ที่ใด เพราะเจ้าหน้าที่ในสมัยนั้นเกษียรหมดแล้วบางคนก็เสียชีวิตแล้ว แต่เมื่อกลับมาดูเนื้อหาข่าวในสำนักข่าว New York times ในปี 2008 ยังบอกเพิ่มเติมว่า หลุมที่ฝังโครงกระดูกพวกนั้นอยู่ใกล้กับกองปุ๋ยหมักเขาใช้คำว่า compost heap ซึ่งปัจจุบันคงไม่มีใครรู้อีกนั้นแหละครับเพราะหลายปีแล้ว นั้นหมายความว่า Thomas และอาจารย์วรวุธ รู้ว่าศพ33 ศพฝังที่ใด (แต่ อ.วรวุธ เสียชีวิตแล้วครับ)
ผมไม่ได้มาโจมตีการทำงานของหน่วยงานหรือบุคคลใดนะครับ แค่นำเอาเรื่องราวที่ไปที่มา รวมถึงข้อเท็จจริงมาเผยแพร่ให้คนได้ทราบเท่านั้น เพราะผมเชื่อว่ามีคนอีกมากอยากจะรู้ว่าโครงกระดูกที่ขุดพบนั้นอยู่ที่ใดบ้างก็เท่านั้น
และข้อมูลในหนังสือและเอกสารหลายฉบับ รวมถึงข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ของอาจารย์ วรวุธ เชื่อว่าในพื้นที่บริเวณศาลากลาง โรงพยาบาลพหล ตลอดจน พื้นที่แถวซอย แสงชูโต 14 และรอบข้าง น่าจะยังมีศพหลงเหลืออยู่มากเพราะอดีตเป็นค่ายกรรมกรเอเชีย แต่ก็อย่างว่าแหละครับไม่มีใครอยากที่จะขุดหรือทำอะไร
ข้อมูลการมีอยู่ของค่ายกรรมกรเอเชียของทางไทยนั้นตรงกับที่ผมได้รับจากเพื่อนชาวต่างชาติที่บอกว่า บริเวณศาลากลางและ โรงพยาบาลพหล ในอดีตเป็นค่ายกรรมกรเอเชียเชื้อสายอินเดีย(ชาวทมิฬ) เพราะมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายทางอากาศในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ส่วนตัวผมเองก็เชื่อว่าในพื้นที่บริเวณนั้นก็คงจะมีโครงกระดูกของกรรมกรเอเชียหลงเหลืออยู่ครับ ไม่ได้พูดให้เกิดความแตกตื่น สำหรับคนในพื้นที่นะครับ แต่เพียงต้องการให้รับรู้ประวัติที่มาของพื้นที่ตรงนั้น บางพื้นที่เป็นสุสานของกรรมกรเอเชียที่ฝังตามยังคงไม่มีการขุดค้น
หลังจากที่ผมสำรวจทางรถไฟอย่างจริงจังได้คุยกับชาวบ้านหลายคน ได้รับรู้เรื่องราวมาว่าในอดีตเคยมีชาวบ้านที่อยู่ตามแนวทางรถไฟสายมรณะ ขุดพบโครงกระดูกจำนวนมาก เช่นแถวกุยแหย่ หรือ แถวสถานีถ้ำผี(ก่อนถึงช่องเขาขาด) ต่างมีการขุดพบแต่ไม่เป็นข่าวครับ เพราะพื้นที่ดังกล่าวเมื่อนานมาแล้วเป็นพื้นที่ห่างไกล ไร้คนสนใจ ศพเหล่านั้นถูกขนไปวัด หรือนำไปเผาทำบุญ
สุสานหรือหลุมศพของกรรกรเอเชียนั้นไม่สามารถเทียบกับสุสานของเชลยศึกสัมพันธมิตรได้เลยครับ
สุสานเชลยศึกสัมพันธมิตรดูร่มรื่นสวยงามเป็นระเบียบ ป้ายจารึกบนหลุมศพของเชลยศึกตะวันตกต่างเป็นคำที่สร้างถึงความรักและความภาคภูมิใจการรำลึก แต่สุสานของกรรมกรนั้นอยู่กลางป่าดง ในไร่นาสวนของชาวบ้าน บ้างก็อยู่ในพื้นที่ของประชาชนหรือสถานที่ราชการ ศพต้องนอนในพื้นดินหนาวเย็นไร้ผู้คนสนใจและไร้ตัวตน ไม่มีใครรู้การมีอยู่ของพวกเขา
อย่างที่ผมบอกข้างต้น หนึ่งผมขออุทิศงานเขียนนี้ให้แก่กรรมกรเอเชีย เพื่อให้พวกเขายังคงมีตัวตนอยู่ในความรับรู้ของคนในปัจจุบันซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่เคยรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ สองผมขออุทิศการค้นคว้านี้ให้แก่อาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ผมรักและเคารพมาก อาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ ท่านต้องการให้เกิดพิพิธภัณฑ์หรือสุสานของกรรมกรเอเชีย แต่ก็ไม่สามารถผลักดันให้มันเกิดขึ้นได้ ผมเองอยากขอให้บทความนี้ช่วยส่งสัญญาณไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า เราอย่าได้หลงลืมกรรมกรเอเชียเหล่านี้ ทางรถไฟที่คนไทยได้ใช้สัญจรจากหนองปลาดุกถึงสถานีน้ำตกนั้น ที่คนไทยได้ใช้ทำมาหากินรับนักท่องเที่ยว รายได้จากทางตรงและทางอ้อม แรงงานส่วนใหญ่ที่สร้างก็คือกรรมกรเอเชียครับ ด้วยเหงื่อ แรงกาย ชีวิต หยดน้ำตา ของกรรมกรเอเชีย
แต่สิ่งที่พวกเรารับรู้นั้นมีเพียงว่าเชลยศึกตะวันตกเท่านั้นที่สร้างทางรถไฟสายนี้
การที่จะเวนคืนที่ดินของประชาชนที่อาศัยอยู่แล้วไปทำเป็นสุสานนั้นผมก็ไม่เห็นด้วย แต่ผมอยากเสนอว่าให้เอาดินจากพื้นที่ที่เคยเป็นค่ายหรือสุสานของกรรมกรเอเชียมาครับ แล้วสร้างรูปหล่อหรือรูปปั้นเป็นอนุสรณ์ให้แก่พวกเขาหรือจะเป็นป้ายที่มีข้อความไว้อาลัยรำลึกถึงพวกเขาแล้วเอาดินที่นำมาจากพื้นที่สุสานของกรรมกรเอเชียบรรจุไว้ที่ฐานของอนุสรณ์นั้นครับ ที่ให้เอาดินมาก็เพราะดินนั้นก็คือเนื้อหนัง เส้นผม กระดูกของกรรมกรเอเชียที่ตายไปแล้วถูกย่อยสลายตามกาลเวลาครับ ผมพูดไปเหมือนจะทำเองได้ แต่ผมทำเองไม่ได้ต้องให้ทุกคนช่วยสื่อสารออกไปครับ
เรื่องราวและรูปภาพของกรรมกรเอเชีย ตามลิงค์นี้ครับ
หากใครสนใจเข้ากลุ่มนักสำรวจทางรถไฟสายมรณะ ตามลิงค์เลย https://www.facebook.com/groups/2342060092765924/?ref=share
เอกสารอ้างอิงผมใช้หนังสือพิมพ์ New York times ตามที่ผมเขียนไว้ด้านบน
บทความสุสานสงครามโลกครั้งที่ 2 ในหนังสือศิลปวัฒนธรรมเมื่อกุมภาพันธ์ ปี 2534 ที่เขียนโดย คุณสถาพร ขวัญยืน เจ้าหน้าที่กรมศิลป์ที่ขุดค้นครับ
หนังสือที่เขียนโดยอาจารย์วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ คือ หนังสือสงครามมหาเอเชียบูรพา
และบทความของต่างชาติอีกชุดหนึ่ง
เอกสาร ภูมิเมืองกาญจน์ ย่านปากแพรก เขียนโดย โสมชยา ธนังกุล
Thai Burma railway ทางรถไฟสายมรณะ
__________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

รู้หรือไม่? เยอรมันประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันหนึ่งของยุโรป และ อันดับสี่ของโลก ครั้งหนึ่งเคยประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรงส่งผลให้ค่าเงินมาร์คไร้มูลค่ายิ่งกว่าสกุลเงินของซิมบับเว และ เวเนซูเอลา ในปัจจุบัน
.
หลังพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่1 ในปี 1923 เยอรมันประสบปัญหาเงินเฟ้อขั้นรุนแรง ถึงขั้นที่ประชาชนต้องขนเงินเป็นหมื่นๆล้านมาร์ค ใส่ตระกร้าเพื่อไปจ่ายตลาด
.
เมื่อสงครามโลกครั้งที่1 สิ้นสุดลง อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเยอรมัน(ดอยช์มาร์ค)อยู่ที่ 1USD=4Mark และดิ่งลงไปแตะที่ 1USD = 4.2 trillion Mark
(4.2 ล้านล้านมาร์ค......ล้านสองครั้งนะครับ )
ทำให้เยอรมันต้องพิมพ์ธนบัตรที่มีมูลค่าหน้าธนบัตรสูงลิบ ฉบับละเป็นร้อยเป็นพันล้านมาร์คเข้าสู่ระบบให้ประชาชนใช้จ่ายแทนธนบัตรเดิมที่ไร้มูลค่าลงเรื่อยๆ
.
ในช่วงวิกฤติ ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงมาก ทำให้ราคาสินค้าต่างๆพุ่งขึ้นไม่หยุดแบบวันต่อวัน เงินที่พอจะซื้อขนมปังได้ในวันนี้ อาจจะไม่พอซื้อในวันพรุ่งนี้ก็ได้ ทำให้ห้างร้านต่างๆแน่นไปด้วยผู้คนที่เข้าคิวรอซื้อของ
และยังทำให้สินค้าอื่นๆเช่นบุหรี่ ฯลฯ ถูกใช้เป็นของแลกเปลี่ยนแทนเงินที่ไร้เสถียรภาพจนแทบจะไม่เหลือมูลค่า
ไร้มูลค่าถึงขนาดที่ ปชช.นำธนบัตรมาเผาแทนฟืน เพราะไม้ยังมีมูลค่ามากกว่าธนบัตร
.
ปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรงในครั้งนี้ทำให้เงินเก็บทั้งชีวิตของหลายคนมีค่าพอซื้อไข่ได้แค่แผงเดียว หรือ ขนมปังแถวเดียว ซึ่งในช่วงพีคขนมปังแถวนึงมีราคาสูงถึง 200,000,000,000 มาร์ค (สองแสนล้านมาร์ค)
ส่วนชนชั้นกลางที่กินเงินเดือน แม้ว่าจะมีความพยายามขึ้นเงินเดือนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่ราคาสินค้าที่พุ่งขึ้นไปเป็นรายวัน จะมีราคาสูงกว่าเงินดือนที่ออกแค่เดือนละครั้งอยู่เสมอ
.
สาเหตุของภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงของเยอรมันมาจาก หลังสงครามโลกครั้งที่1 ยุโรปและสหรัฐต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง แต่เยอรมันในฐานะผู้แพ้สงครามฯจะหนักหน่อย เพราะต้องแบกรับค่าปฏิกรสงครามจากสนธิสัญญาแวร์ซาย เท่ากับว่าผลผลิตต่างๆของประเทศส่วนนึงจะกลายเป็นค่าปฎิกรสงครามไปแบบเปล่าๆ
.
สถานการณ์ของเยอรมันที่กำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้ออยู่แล้ว ต้องย่ำแย่ลงไปอีกเมื่อไม่สามารถจ่ายค่าปฎิกรสงครามในรอบปี 1922
ทำให้ฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมส่งกองทัพเข้ายึด Ruhr valley ที่เป็นเขตอุตสาหกรรมหลักของเยอรมัน เพื่อยึดสินค้าที่เยอรมันผลิตได้เป็นค่าปฎิกรสงคราม เพราะไม่เชื่อว่าเยอรมันไม่มีจ่าย แต่ตั้งใจเบี้ยวมากกว่า
.
เยอรมันตอบโต้ด้วยการประกาศชักจูงให้คนงานทั้งหมดหยุดงาน โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินเดือนให้ ซึ่งการจ่ายเงินเดือนนี้ก็เป็นการพิมพ์เงินออกมาจ่ายเอาดื้อๆโดยไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง ซ้ำเติมวิกฤติเงินเฟ้อที่สาหัสอยู่แล้วให้หนักขึ้นไปอีก

(.........สมัยนั้นใช้ยังใช้ระบบมาตรฐานทองคำ (gold standard) ที่ทองคำเป็นสิ่งเดียวที่ถูกนำมาใช้เป็นทุนสำรองฯ
ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สิ้นสุดลงก็ได้เปลี่ยนมาใช้ bretton woods system ซึ่งก็สิ้นสุดลงไปแล้วในปี 1971 เมื่อ ปธน.นิกสัน ประกาศยุติการนำดอลล่าร์สหรัฐมาแลกคืนเป็นทองคำ ทำให้ดอลล่าร์สหรัฐกลายเป็น fiat currency มาจนถึงทุกวันนี้)
bretton woods system ตามลิงค์ด้านล่างนี้

.
ฝรั่งเศสตอบโต้อย่างรุนแรงด้วยการยิงคนงานในโรงงานผลิตเหล็ก และ เทรเทศคนที่ไม่ยอมรับคำสั่งจากฝรั่งเศสออกจาก Ruhr valley
เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 132 คน และ ถูกเนรเทศกว่า 1.5 แสนคน ส่งผลให้เศรษกิจของเยอรมันที่ร่อแร่อยู่แล้วดับสนิท อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
.
.......ความวุ่ยวายของเยอรมันหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่1 ได้ส่งผลให้บุรุษผู้หนึ่งปรากฏตัวขึ้นมาอาสานำพาเยอรมันฝ่าวิกฤติที่กำลังเผชิญอยู่ และชื่อของเค้าจะเป็นที่รู้จักและจดจำไปอีกนาน
https://www.spurlock.illinois.edu/.../1920s.../283
https://www.bbc.co.uk/bitesize/guides/z9y64j6/revision/5
.
*****หมายเหตุ*****

จริงๆแล้ว สหรัฐไม่เห็นด้วยและได้ทักท้วงในการเรียกเก็บค่าปฎิกรสงครามจากเยอรมันมากขนาดนั้น เพราะนอกจากจะก่อความเดือดร้อนให้ประชาชนทั่วไปแล้ว ยังจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังอีกด้วย แต่ฝรั่งเศสดึงดันต้องให้เยอรมันจ่ายให้ได้

(สันนิษฐานว่า ฝรั่งเศสเค้าอาจจะติดใจมาตั้งแต่สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย Franco-Prussian War ที่ไปแพ้ปรัสเซีย อย่างน่าอับอายและเสียดินแดนไปบางส่วน
(ปรัสเซียคือชื่อประเทศที่เป็นแกนกลางของเยอรมันก่อนรวมชาติ)
.
รวมๆแล้วๆเยอรมันต้องจ่ายค่าปฎิกรสงครามมูลค่าเทียบเท่าทองคำ 1แสนตัน และเพิ่งจ่ายหมดไปเมื่อปี 2010
.
ต่อมาก็ปรากฎว่า สหรัฐคาดการณ์ถูก ว่าจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนและสร้างปัญหาตามมา เพราะอีกไม่นานฮิตเลอร์ได้ปรากฎตัวออกมาท่ามกลางความวุ่นวาย และ ความไม่พอใจของชาวเยอรมัน
.
เพราะสถานการณ์ที่ย่ำแย่ของเยอรมันในตอนนั้น พอฮิตเลอร์ปรากฎตัวออกมาชูนโยบาย "ชักดาบ" เลยได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก
.......แล้วก็เป็นฮิตเลอร์ที่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของเยอรมันได้สำเร็จ นำเยอรมันกลับขึ้นไปเป็นหนึ่งในมหาอำนาจยุโรปได้ในเวลาเพียง 6 ปี
.
ความสำเร็จของฮิตเลอร์ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ ไม่ค่อยได้รับการพูดถึง และ ผลพวงที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
(ทั้งนี้ ความสำเร็จและผลงานของฮิตเลอร์ที่มีต่อเยอรมันไม่สามารถนำมาหักล้างสิ่งเลวร้ายที่ฮิตเลอร์ได้ทำลงไปตั้งแต่การก่อสงครามไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวได้)
.
ในช่วงพีค อัตราว่างงานในเยอรมันถึงกับติดลบ ต้องนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่ยุโรปและสหรัฐกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง
(the great depression)
.
พูดได้ว่าเป็นการกู้คืนศักดิ์ศรี และความเป็นอยู่ของชาวเยอรมันที่สูญเสียไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สำเร็จ
(ในส่วนอัตราว่างงาน ฮิตเลอร์มีเทคนิคในการตกแต่งตัวเลขอัตราว่างงานโดยเอาคนว่างงาน อันธพาล ฯลฯ เข้ากองทัพ และสนับสนุนให้ผู้หญิงแต่งงานมีลูก อยู่บ้านเลี้ยงลูก ฯลฯ )
.
ฮิตเลอร์เป็นมังสวิรัติและรักสัตว์ บางคนก็บอกว่าเป็นเพราะเค้ารักสัตว์เลยกลายมาเป็นมังสวิรัติ
เยอรมันภายใต้การนำของฮิตเลอร์ได้ออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ตั้งแต่ช่วงแรกๆที่ครองอำนาจในปี ค.ศ. 1933 ซึ่งเป็นชาติแรกๆในยุโรป ตามหลังเพียงไอร์แลนด์และอังกฤษ แต่เยอรมันมีเนื้อหาที่เข้มงวด ครอบคลุมมากกว่า เช่น กำหนดให้เจ้าของที่ปล่อยปละละเลยสัตว์เลี้ยงมีความผิดทางกฎหมาย, ห้ามทำร้ายสัตว์หรือทำให้สัตว์ตกอยู่ในอันตราย, ห้ามขุนสัตว์ให้อ้วน (เพื่อนำมาฆ่าเป็นอาหาร), ห้ามนำสัตว์มาทดลอง ฯลฯ
.
เป็นยุคที่วงการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ยา และนวัตกรรมต่างๆ เฟื้องฟู ก้าวหน้ามาก เพราะรัฐบาลสนับสนุนทุนการวิจัยพัฒนา และ ด้านอื่นๆอย่างจริงจัง เต็มที่
.
โอลิมปิคที่เยอรมันเป็นเจ้าภาพในปี 1936 เป็นโอลิมปิคครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสด
.
เป็นยุคที่มีการริเริ่มจัดระบบสวัสดิการสังคม การรักษาพยาบาล การคลอดบุตร การลาคลอด ดูแลสิทธิสตรี ต่อต้านสื่อลามก ฯลฯ
.
นโยบายสนับสนุนด้านความบันเทิงให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็น โอเปร่า หนัง โรงละคร ฯลฯ ทำให้ประชาชนทุกส่วนเข้าถึงได้ แทนที่เดิมทีจำกัดไว้สำหรับชนชั้นสูงเพราะมีราคาสูงเกินสำหรับคนทั่วไป
.
โครงการถนนออโต้บาห์น และ รถราคาถูกสำหรับทุกครอบครัว อันเป็นที่มาของรถโฟล์คสวาเกน (โฟล์คเต่า)
โครงการรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ ซึ่งเป็นอะไรที่ล้ำมากในสมัยเมื่อ 80+ ปีก่อน ฯลฯ
.
Walther Funk ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจคนสำคัญของฮิตเลอร์เคยคาดการณ์ไว้แล้วว่า ยุโรปจะต้องรวมกันเข้าเป็นเขตเศรษฐกิจเดียวเหมือนอียูในปัจจุบัน
หาก เยอรมันชนะสงคราม องค์กรที่เหมือนกับอียูก็น่าจะถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยนั้น
.
เพราะความสำเร็จในด้านต่างๆของเยอรมันภายใต้การนำของฮิตเลอร์ (ที่ก็เกิดที่ออสเตรีย)
เมื่อกองทัพเยอรมันเดินทัพเข้าออสเตรีย เลยไม่มีการต่อต้าน แถมประชาชนยังออกมาต้อนรับมอบดอกไม้ให้ทหารเยอรมันอีกด้วย
.
ผลพวงจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้อังกฤษ และ ฝรั่งเศสอ่อนแอลงมาก จนต้องยอมปล่อยอาณานิคมของตนในหลายๆแห่งทั่วโลก
.
ส่งผลให้โซเวียตกลายเป็นมหาอำนาจทัดเทียมกับสหรัฐในเวลาต่อมา ก่อนที่จะล่มสลายในช่วงยุคปี 1990
........และยังทำให้ชาวยิวมีประเทศเป็นของตัวเองเป็นครั้งแรกในรอบสองพันปี จากการขีดพื้นที่บางส่วนของปาเลสไตน์ให้
.
การพิจารณาคดีที่เนิร์นแบร์ค (Nuremberg trials) ยังเป็นการสร้างมาตรฐานให้เหล่าผู้นำที่จะก่อสงคราม ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำโดยการถูกนำตัวขึ้นพิจรณาคดีฯ และ ข้ออ้างที่ว่า ทำตามคำสั่ง ไม่สามารถใช้ลบล้างความผิดได้
.
.....หากฮิตไม่ก่อสงคราม บางทีโลกอาจจะจดจำเค้าในอีกแบบหนึ่ง