ความหมายของรหัส E6013 หมายถึงอะไร

www.cc-supply.com/product detail


อ้างถึง

ลวดเชื่อมไฟฟ้า สำหรับเหล็กเหนียว


ลวดเชื่อมไฟฟ้าเหล็กเหนียว เกรด E6013 เป็นลวดเชื่อมสำหรับการเชื่อมเหล็กเหนียวแผ่นบาง และงานโครงสร้างต่างๆ เช่นงานสร้างเรือ, รถไฟ, ยานยนต์ และงานโครงสร้างอาคารต่างๆ ที่ทำด้วยเหล็กเหนียวที่ทนแรงดึงได้ 60 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว

คุณสมบัติเด่นของลวดเชื่อมแต่ละชนิด

ลวดเชื่อมไฟฟ้า โกเบ KOBE-30 ให้การอาร์คที่แรงและนิ่งเรียบ ทำให้สามารถเชื่อมได้ดีแม้แต่ในท่าเชื่อมแนวตั้งแบบลากลง ซึ่งเป็นท่าเชื่อมที่ค่อนข้างยาก ลวดเชื่อม โกเบ KOBE-30 เหมาะสำหรับการเชื่อมเหล็กเหนียวแผ่นบาง และงานโครงสร้างบางๆ ลวดเชื่อมโกเบ KOBE – 30 เป็นลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ชนิดไตตาเนียสูง

ลวดเชื่อมไฟฟ้า โกเบ RB-26 การอาร์คเป็นลวดเชื่อมโกเบ สำหรับเหล็กเหนียวอีกประเภทหนึ่ง ให้การอาร์คที่นิ่งเรียบ และมีสะเก็ดไฟเชื่อมน้อย (ตรงกันข้ามกับ ลวดเชื่อมโกเบ KOBE-30) จึงเชื่อมได้ง่าย ใช้ได้ดีกับการเชื่อมท่าตั้งแบบลากลง นอกจากนี้ลวดเชื่อมโกเบ ชนิดนี้ยังได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย (มอก.) อีกด้วย ลวดเชื่อมโกเบ RB-26 เป็นลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ชนิดไตตาเนียสูง เหมาะสำหรับการเชื่อมเหล็กแผ่นบางและงานโครงสร้างบางๆ เนื่องจากการซึมลึกที่ไม่สูงมากนัก

ลวดเชื่อมไฟฟ้า ฮุนได 6013 (HYUNDAI 6013 LF) ลวดเชื่อมฮุนได เหมาะกับงานเชื่อมในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลต่างๆ ยานยนต์ และงานโครงสร้างเหล็ก ลวดเชื่อมฮุนได 6013 เป็นลวดเชื่อมชนิดหุ้มฟลักซ์ไททาเนียสูง และยังมีควันน้อยกว่าลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ชนิดไททาเนียทั่วไปประมาณ 20% ให้งานอาร์คคงที่ เกล็ดแนวเชื่อมสวยงาม นอกจากนี้ลวดเชื่อมไฟฟ้าฮุนได ยังใช้กระแสไฟค่อนข้างต่ำกว่าลวดเชื่อมไฟฟ้าเหล็กเหนียวยี่ห้ออื่น ลวดเชื่อมฮุนได 6013 สามารถเชื่อมได้ดีทุกท่าเชื่อม ลวดเชื่อมฮุนได ได้รับการรับรองจากสถาบันต่างๆมากมายเช่น ABS (อเมริกา), KR (เกาหลี), LR (อังกฤษ), BV (ฝรั่งเศส), DNV (เยอรมัน), GL และ NK (ญี่ปุ่น) จึงรับประกันได้ถึงคุณภาพและความสม่ำเสมอของลวดเชื่อมไฟฟ้าฮุนไดทุกเส้น

ลวดเชื่อมไฟฟ้า ยาวาต้า FT-51 ลวดเชื่อมไฟฟ้าชนิดรูไทล์สูง เชื่อมได้ในทุกท่าเชื่อม มีสะเก็ดไฟน้อย ให้แนวเชื่อมที่สวยงาม ลวดเชื่อมยาวาต้า FT-51 ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย จึงถูกใช้กันแพร่หลายสำหรับงานเชื่อมโครงสร้าง ของหน่วยงานรัฐต่างๆ ลวดเชื่อมยาวาต้า FT-51 เหมาะกับการใช้งานเชื่อมแผ่นโครงสร้าง อู่ต่อเรือ เป็นต้น

ลวดเชื่อมไฟฟ้า ฟูจิ FUJII CX-3 เป็นลวดเชื่อมประเภทไททาเนีย ที่ให้สะเก็ดไฟน้อย เหมาะสำหรับการเชื่อมทั่วๆไป เช่น เครื่องมือการเกษตร, โครงหลังคา, โครงสร้างเหล็ก

ลวดเชื่อมไฟฟ้า โอกิ OKI K-26 ให้เปลวไฟอ่อนสม่ำเสมอ ใช้ได้ดีกับท่าเชื่อมแนวตั้งแบบลากลง ลวดเชื่อมโอกิ OKI ให้การซึมลึกดี มีสะเก็ดไฟเชื่อมน้อย เหมาะกับการเชื่อมต่อโลหะแบบหยาบๆ เช่น มุ้งลวดเหล็กดัด โครงสร้างโรงงาน หรืออาคารต่างๆ  ลวดเชื่อมโอกิ OKI มีมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (มอก.)

ลวดเชื่อมไฟฟ้า เมทโทโลเจน METALLOGEN UM 48D เป็นลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์ ที่มีฟลักซ์หุ้มค่อนข้างหนา ให้รอยเชื่อมที่สวยงาม เหมาะสำหรับงานเชื่อมต่อโครงสร้างเหล็ก เครื่องจักรกล และงานโครงสร้างต่างๆ




ลวดเชื่อมไฟฟ้าเหล็กทนแรงดึงสูง E7016


เป็นลวดเชื่อมไฟฟ้าสำหรับงานเชื่อมเหล็กทนแรงดึงสูง เกรด E7016 ที่สามารถทนแรงดึงได้ถึง 70000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เหมาะสำหรับงานต่อเรือ, ก่อสร้างสะพาน, อาคาร และภาชนะทนแรงดันต่างๆ

คุณสมบัติเด่นของลวดเชื่อมแต่ละชนิด

ลวดเชื่อมไฟฟ้า โกเบ LB-52 เป็นลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ชนิดไฮโดรเจนต่ำ เชื่อมได้ดีในทุกท่าเชื่อม แนวเชื่อมมีคุณสมบัติทางกล สามารถผ่านการตรวจสอบด้วยการเอกซ์เรย์ได้ดี นอกจากนี้แนวเชื่อมที่ได้จาก ลวดเชื่อมโกเบ LB-52 ยังต้านทานการแตกร้าวได้ดีเยี่ยมอีกด้วย

ลวดเชื่อมไฟฟ้า โกเบ LH-2000 เป็นลวดเชื่อม Low hydrogen เช่นเดียวกัน เหมาะกับงานเชื่อมรองพื้นก่อนพอกผิวแข็งเพื่อป้องกันการแตกร้าวในงานซ่อมเครื่องจักร ลวดเชื่อมโกเบ KOBE LH-2000 รอยเชื่อมมีความแข็งแรงสูง และยังควบคุมขนาดและรูปร่างของรอยเชื่อมได้ง่าย

ลวดเชื่อมไฟฟ้า ยาวาต้า L-55 เป็นลวดเชื่อมทนแรงดึงสูงอีกชนิด ที่เชื่อมได้ดีในทุกท่า

ลวดเชื่อมไฟฟ้า ยาวาต้า 7018 เป็นลวดเชื่อมไฮโดรเจนต่ำผสมผงเหล็ก ให้คุณสมบัติการเชื่อมที่ดี เชื่อมง่าย แนวเชื่อมที่ได้จากลวดเชื่อมยาวาต้า 7018 ยังคุณสมบัติเชิงกลที่ดีเยี่ยม ต้านทานการแตกร้าวได้ดี

ลวดเชื่อมไฟฟ้า โกเบ LB-52U เป็นลวดเชื่อมสำหรับการเชื่อมยัดไส้ในงานเชื่อมท่อ หรือในรอยเชื่อมต่อชนเหล็กเหนียวกับเหล็กทนแรงดึงสูง ลวดเชื่อม โกเบ LB-52U เป็นลวดเชื่อมที่ใช้กันมากสำหรับการสอบของช่างเชื่อมไฟฟ้า ลวดเชื่อม โกเบ LB-52U ยังให้การอาร์คที่คงที่ เป็นผลให้การเชื่อมแนวยัดไส้ทำได้อย่างง่ายดาย โดยใช้กระแสไฟเชื่อมต่ำๆ นอกจากนี้ ลวดเชื่อมโกเบ KOBE LB-52U ให้รอยเชื่อมที่มีผิวเรียบสวยงาม และเคาะสแล็คออกง่าย

ลวดเชื่อมไฟฟ้า โกเบ LB-52-18 เป็นลวดเชื่อม7018 ลวดเชื่อมเกรดทนแรงดึงสูงเช่นเดียวกัน แต่สามารถเชื่อมด้วยไฟกระแสตรงได้ดีที่สุด ในกลุ่มนี้ ลวดเชื่อมโกเบ KOBE LB-52-18 เป็นลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ชนิดไฮโดรเจนต่ำผสมผงเหล็ก สามารถเชื่อมได้ทุกท่าเชื่อม แนวเชื่อมที่ได้มีคุณสมบัติทางกลที่ใกล้เคียงกับลวดเชื่อมโกเบ KOBE LB-52


เชื่อม และเป็นโลหะประสานรอยต่อของชิ้นงานเชื่อมให้แข็งแรงและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ลวดเชื่อมมีทั้งชนิดที่ใช้ในกระบวนการ

เชื่อมด้วยไฟฟ้า และชนิดที่ใช้กระบวนการเชื่อมด้วยแก๊ส ลักษณะและชนิดของลวดเชื่อมในปัจจุบันที่นิยมใช้กันแบ่งได้เป็น
2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. Electrode หมายถึง ลวดเชื่อมที่ใช้ในกระบวนการเชื่อมด้วยไฟฟ้า ลวดเชื่อมชนิดนี้ทําหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าส่วนมากจะให้กับ

การเชื่อมอาร์ค สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
1.1 Consumable หมายถึง ลวดเชื่อมที่เป็นขั้วไฟฟ้าและเป็นโลหะเติมทั้งสองอย่างลวดเชื่อมชนิดนี้เป็นแบบสิ้นเปลือง เช่น ลวด

เชื่อมของการเชื่อม SMAW
1.2 Non Electrode หมายถึง ลวดเชื่อมที่ไม่เกี่ยวข้องกับขั้วไฟฟ้าอย่างเดียว โดยที่ไม่หลอมละลายไปกับโลหะเชื่อม ลวดเชื่อม

ชนิดนี้จะเป็นแบบไม่สิ้นเปลือง เช่น ลวดเชื่อมของการเชื่อม GTAW , PAW ที่เชื่อมด้วยมือ เป็นต้น
2. Non Electrode หมายถึง ลวดเชื่อมที่ไม่เกี่ยวกับขั้วไฟฟ้า โดยจะใช้สําหรับเป็นโลหะอย่างเดียว สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด

ได้แก่
2.1 Filler Rod หมายถึง ลวดเชื่อมที่เป็นแท่ง เช่น ลวดเชื่อมของการเชื่อมแก๊สเป็นต้น
2.2 Filler Wire หมายถึง ลวดเชื่อมที่เป็นเส้นลวด เช่น ลวดเชื่อมของการเชื่อม PAWที่ทําการเชื่อมโลหะโดยเครื่องจักร เป็นต้น
1. ชนิดของลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์
ลวดเชื่อมไฟฟ้า ที่ใช้สําหรับกระบวนการเชื่อมแบบอาร์คด้วยไฟฟ้า ตามมาตรฐานของAWS จําแนกออกตามชนิดของโลหะที่

เชื่อมได้หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะใช้กับโลหะที่แตกต่างกันออกไป ชนิดที่นิยมใช้กันมากได้แก่
1. AWS-A 5.1 ลวดเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน
2. AWS-A 5.3 ลวดเชื่อมอะลูมิเนียมและอะลูมิเนียมผสม
3. AWS-A 5.4 ลวดเชื่อมเหล็กกล้าโครเมียม และเหล็กกล้าโครเมียม
นิกเกิล หรือลวดเชื่อมสแตนเลส

4. AWS-A 5.5 ลวดเชื่อมเหล็กกล้าผสมต่ำ
5. AWS-A 5.6 ลวดเชื่อมทองแดงและทองแดงผสม
6. AWS-A 5.11 ลวดเชื่อมนิกเกิลและนิกเกิลผสม
7. AWS-A 5.15 ลวดเชื่อมเหล็กหล่อ
2. โครงสร้างของลวดเชื่อมไฟฟ้า
ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์จะมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งจะมีลักษณะโครงสร้างที่เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ซึ่งลักษณะ

โครงสร้าง ดังแสดงในรูปที่ 4.1

ความหมายของรหัส E6013 หมายถึงอะไร

รูปที่ 4.1 แสดงลักษณะโครงสร้างของลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์
3. ลวดเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน ตามมาตรฐาน AWS
ลวดเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนเป็นลวดเชื่อมที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะในงานโครงสร้างทั่วไป มาตรฐานสัญลักษณ์ของลวด

เชื่อมไฟฟ้าของสมาคมกา รเชื่อมสหรัฐอเมริกา (AWS A .1-91) ได้กําหนดเป็นตัวอักษรและตัวเลขดังนี้

ความหมายของรหัส E6013 หมายถึงอะไร

ตัวอย่าง E6011
E (ตัวอักษรตัวหน้า) หมายถึง ลวดเชื่อมไฟฟ้า
60 (เลข 2 ตัวหน้า) หมายถึง 60 x 1,000 = 60,000 มีหน่วยเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI) ซึ่ง60,000 PSI ก็คือ ค่าความต้านทานแรงต่ำสุด
1 (ตัวเลขที่ 3) หมายถึง ท่าเชื่อมที่เหมาะสมกับลวดเชื่อมนั้น ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เลข 1 หมายถึง ท่าราบ ท่าตั้ง ท่าขนานนอน ท่าเหนือศีรษะ
เลข 2 หมายถึง ท่าขนานนอน และท่าราบเท่านั้น (E6020)
เลข 3 หมายถึง ท่าราบเท่านั้น (E6020)
1 (เลขตัวที่ 4,5) หมายถึง คุณสมบัติต่าง ๆ ของลวดเชื่อม ดังรายละเอียดจากตาราง 4.1
(เลข 1 ของตัวเลขที่ 4 หมายถึง ใช้ไฟ AC&DCEP)

ความหมายของรหัส E6013 หมายถึงอะไร

4. ลวดเชื่อมเหล็กกล้าผสมต่ํา ตามมาตรฐาน AWS
มาตรฐานสัญลักษณ์ของลวดเชื่อมไฟฟ้าของสมาคมการเชื่อมสหรัฐอเมริกา (AWS A5.5-81) ได้กําหนดเป็นตัวอักษรและตัวเลขดังนี้

ความหมายของรหัส E6013 หมายถึงอะไร

5. ประเภทของฟลักซ์หุ้ม
ชนิดของวัสดุสารพอกหุ้ม วัสดุสารพอกหุ้มมีหน้าที่ประสารรอยต่อแนวให้ได้ดี ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ที่มีการนําไปใช้งานกันอย่างกว้างขวางคือ
1. สารพอกหุ้มไทเทนียมไดออกไซต์ (ตัวย่อ R) ลวดเชื่อมชนิดใช้สารพอกหุ้มทําจากไทเทเนียมไดออกไซด์ซึ่งเป็นพวกรูไทล์ เป็นชนิดที่นํามาใช้เชื่อมมากที่สุด ทําให้เกิดประกายอาร์คและระยะอาร์คสม่ําเสมอ ประสานรอยต่อแนวได้ดีเหมาะสําหรับเชื่อมเหล็กเหนียวเชื่อมได้ง่าย เชื่อมรอยต่อแผ่นเหล็กบาง ๆ รอยต่อแนวเกิดรอยร้าวได้ง่ายกว่าลวดเชื่อมชนิดสารพอกหุ้มกรดแร่เล็กน้อย เหมาะสําหรับการเชื่อมท่ายาก ๆ ทุกท่าเชื่อม เคาะสแลกเชื่อมออกได้ง่ายให้ความแข็งแรงของแนวเชื่อมปานกลาง สามารถตีแนวเปลี่ยนรูปได้ ไม่เสื่อมคุณสมบัติเมื่อได้รับความชื้น เกล็ดแนวเชื่อมหยาบปานกลางเกล็ดสม่ําเสมอหน้าแนวนูนโค้งเล็กน้อย
2. สารพอกหุ้มด่างหินปูน (ตัวย่อ B) สารพอกหุ้มประกอบด้วยด่างหินปูนและใยหิน เมื่อทําการเชื่อมให้เกิดอาร์ค หินปูนจะถูกเผาไหม้และเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะทําหน้าที่ป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปทําปฏิกิริยากับโลหะในบ่อหลอมละลายหินปูนและใยหินจะรวมตัวกับสารมลทินในเนื้อวัสดุขณะหลอมเหลวเกิดเป็นขี้ตะกรันเหลวเหนียวเกาะผิวหน้างานแน่น และคลุมแนวเชื่อมไว้จนกว่าแนวเชื่อมจะเย็นตัวลง สารดีออกซิเดชั่นทําให้เกิดปฏิกิริยาในเนื้อโลหะ มีผลทําให้แนวเชื่อมมีความแข็งแรงสูง มีอัตราการยืดตัวดีทนต่อแรงกระแทก เนื้อโลหะมีออกซิเจน ไนโตรเจนและไฮโดรเจนน้อยมาก ในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงเรียกลวดเชื่อมสารพอกหุ้มด่างหินปูนว่าเป็นลวดพวกไฮโดรเจนต่ํา (low hydrogen) แนวเชื่อมไม่เกิดรอยร้าว ฉะนั้นจึงเหมาะที่จะใช้เชื่อมงานที่ต้องการแนวเชื่อมหนาและเชื่อมเหล็กที่มีเปอร์เซ็นต์คาร์บอนมากกว่า 0.25 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสําหรับงานที่เตรียมและจับยึดอย่างแน่นหนา เช่นโครงสร้างที่ยึดแน่นยืดหยุ่นไม่ได้ เป็นลวดเชื่อมที่มีคุณสมบัติดีกว่าลวดเชื่อมชนิดอื่น ๆ จึงมีการนิยมใช้ค่อนข้างมาก ข้อเสียของลวดเชื่อมชนิดนี้คือ ดูดความชื้นได้ง่ายทําให้เสื่อมคุณภาพก่อนที่จะเชื่อม ดังนั้นจึงควรนําไปอบที่อุณหภูมิไม่น้อยกว่า 300 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 0.5-1 ชั่วโมงจนกว่าสารพอกหุ้มลวดเชื่อมจะแห้งดี เครื่องเชื่อมที่มีแรงเคลื่อนในขณะที่ไม่มีภาระ 70 ถึง 80 โวลต์ สารพอกหุ้มต้องใช้ส่วนผสมของด่างหินปูนและไทเทเนียม นําไปเชื่อมกับไฟฟ้ากระแสสลับได้ แนวเกล็ดหยาบเกล็ดแนวไม่สม่ําเสมอสันแนวโค้ง เคาะขี้ตะกรันออกยาก
3. สารพอกหุ้มเซลลูโลส (ตัวย่อ C) ลวดเชื่อมชนิดที่ใช้สารพอกหุ้มออแกนิค ซึ่งมีควันมากเมื่อเผาไหม้ ระยะอาร์คสม่ําเสมอดีมาก เหมาะสําหรับการเชื่อมท่าเชื่อมยาก ๆ ใช้เชื่อมท่าตั้งเชื่อมลง ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ ใช้เชื่อมท่อหรือโครงสร้างที่จําเป็นต้องเชื่อมท่าตั้งเชื่อมลง การใช้ลวดเชื่อมชนิดนี้ทําการเชื่อมถ้าเตรียมงานเชื่อมดีสามารถทําการเชื่อมได้โดยไม่ต้อง
มองแนวการหลอมละลายคงที่สม่ําเสมอ กระแสไฟฟ้าที่ใช้คงที่ มีขี้ตะกรันเชื่อมน้อย แต่เนื่องจากมีควันแก๊สมากจึงนําไปใช้งานน้อย
4. สารพอกหุ้มกรดแร่ (ตัวย่อ A) เป็นลวดเชื่อมที่มีสารพอกหุ้มทําจากโลหะหนักประเภทแร่ ซิลิเกด หรือสารดีออกซิเดชั่น โดยเฉพาะพวกเฟอโรแมงกานีส มีอัตราเร็วในการหลอมละลายสูง ลวดเชื่อมหลอมตัวขณะร้อนรวดเร็วมาก ใช้ระยะอาร์คยาวเหมาะสําหรับการเชื่อมเหล็ก เพราะทําการเชื่อมได้ง่ายโดยเฉพาะไม่ควรเชื่อมกับเหล็ก ซึ่งผ่านการหลอมด้วยเตาโทมัส ใช้เชื่อมท่าราบและท่าตั้ง ระยะอาร์ค ควรคุมระยะอาร์ค เหมาะสําหรับเชื่อมงานเร็ว ๆหน้าแนวเชื่อมเรียบ ผิวแนวโค้งเล็กน้อย ความหนาแนวเชื่อมไม่มากเชื่อมแนวยาว ๆ เคาะสแลกเชื่อมออกง่าย แต่นําไปใช้งานน้อยมาก เนื่องจากเกิดรอยร้าวได้ง่าย
5. สารพอกหุ้มออกไซด์ (ตัวย่อ Ox) ลวดเชื่อมชนิดนี้สารพอกหุ้มทําด้วยเหล็กออกไซด์ มีส่วนผสมของแมงกานีสออกไซด์เพียงเล็กน้อย เนื่องจากปฏิกิริยาของสารออกไซด์จึงทําให้เกิดการเผาไหม้ของคาร์บอนและแมงกานีส ฉะนั้นเนื้อวัสดุรอยเชื่อมจึงเกิดรอยร้าวมากกว่าลวดเชื่อมชนิดอื่น ๆ คุณสมบัติทางกลต่ํา แนวเชื่อมมีเกล็ดแนวละเอียด เรียบมัน ใช้เชื่อมทั้งไฟฟ้า
กระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับเหมาะสําหรับเชื่อมท่าราบ ถ้าใช้เชื่อมกับกระแสไฟฟ้าสูงๆ ทําให้สิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้ามาก ปัจจุบันลวดเชื่อมชนิดนี้แทบจะไม่มีผู้ผลิตแล้ว เนื่องจากมีการใช้งานในวงแคบใช้เชื่อมเฉพาะท่าราบเท่านั้น

6. สารพอกหุ้มชนิดพิเศษ (ตัวย่อ S) ลวดเชื่อมชนิดนี้ หมายถึงลวดเชื่อมที่มีสารพอกหุ้มที่ไม่สามารถจัดอยู่ในสารพอกหุ้มข้างต้นได้
6. หน้าที่ของฟลักซ์
1. ป้องกันบรรยากาศภายนอกมารวมตัวกับโลหะแนวเชื่อมขณะทําการเชื่อม
2. ขจัดออกไซด์ และสิ่งสกปรกออกจากน้ําโลหะเชื่อม
3. กลายเป็นสแลกปกคลุมแนวเชื่อมเพื่อป้องกันการรวมตัวของออกซิเจนกับแนวเชื่อม
4. มีธาตุที่ทําให้อาร์คคงที่สม่ําเสมอ
5. มีธาตุผสมช่วยทําให้แนวเชื่อมมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
6. มีผงเหล็ก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลวดเชื่อม
7. ทําให้เชื่อมตําแหน่งท่าต่าง ๆ ได้สะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อม
8. สแลกปกคลุมแนวเชื่อมทําให้แนวเชื่อมเย็นลงอย่างช้า ๆ เป็นผลดีทางโลหะวิทยา
9. ทําให้แนวเชื่อมมีประสิทธิภาพ ได้รูปร่างที่ดี และการซึมลึกสมบูรณ์ถูกต้อง
10. ช่วยลดการกระเด็นของเม็ดโลหะ

7. อิทธิพลของฟลักซ์ต่อคุณภาพแนวเชื่อม
ฟลักซ์หุ้มแกนลวดเชื่อมประเภทต่าง ๆ หลังจากการเชื่อมจะมีผลกับแนวเชื่อมต่างกัน
ดังแสดงในตางรางที่ 4.2

ความหมายของรหัส E6013 หมายถึงอะไร
8. หลักการพิจารณาเลือกลวดเชื่อมไฟฟ้า
การเลือกชนิดของลวดเชื่อม การเลือกลวดเชื่อมที่ถูกต้องกับงาน จะมีความสําคัญเช่นเดียวกับความสําคัญในด้านอื่น ๆ ที่ต้องปฏิบัติสําหรับการเชื่อม ปัจจุบันลวดเชื่อมที่ใช้สําหรับงานเชื่อมมีหลากหลายชนิด หลายยี่ห้อ จําเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ในรายละเอียดเพื่อเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง ดังนี้
1. ความแข็งแรงของชิ้นงาน ก่อนเชื่อมจะต้องรู้คุณสมบัติเชิงกลของโลหะงาน ถ้าเป็นเหล็กกล้าผสมต่ำ ควรเลือกจากค่าความแข็งแรง โดยให้ใกล้เคียงกับโลหะงานมากที่สุด ถ้าเป็นเหล็กกล้าละมุน (เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ) ควรเลือกลวดเชื่อมในกลุ่ม 60xx ซึ่งเป็นลวดเชื่อมที่มีคุณสมบัติเชิงกลใกล้เคียงกับโลหะงาน
2. ส่วนผสมของโลหะชิ้นงาน จะต้องเลือกลวดเชื่อมที่มีส่วนผสม เหมือนกันกับโลหะชิ้นงาน ถ้าเป็นเหล็กกล้าผสมสูง ต้องพิจารณาจากตัวอักษรที่ต่อท้ายสัญลักษณ์ แต่ถ้าเป็นเหล็กกล้าละมุน ควรเลือกลวดเชื่อมในกลุ่ม 60xx
3. ท่าเชื่อม ให้ดูจากสัญลักษณ์ที่กําหนดในลวดเชื่อม เช่น ระบบ AWS จะกําหนดตัวเลขตัวที่ 3 เป็นการบอกถึงตําแหน่งท่าเชื่อมไว้ว่าสามารถเชื่อมได้ในท่าเชื่อมใด
4. ชนิดของกระแสไฟที่ใช้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับกระแสไฟเชื่อม เพราะลวดเชื่อมบางชนิดจะเชื่อมได้ผลดีกับไฟกระแสตรงเท่านั้น หรือบางชนิดจะเชื่อมได้ผลดีกับไฟกระแสสลับเท่านั้น ให้พิจารณาตัวเลขตัวที่ 4 สําหรับมาตรฐาน A.W.S.
5. ลักษณะของแนวต่อ และรอยต่อประชิด เช่น รอยต่อที่ไม่มีการบากหน้างาน ควรเลือกลวดเชื่อมที่มีการอาร์คนิ่มนวล เพราะจะให้การซึมลึกน้อย และยังเหมาะกับงานบางด้วย ส่วนงานหนา จะต้องเลือกลวดเชื่อมที่มีการอาร์ครุนแรง โดยพิจารณาจากตัวเลขตัวที่ 4 สําหรับมาตรฐานA.W.S.
6. ความหนาและรูปร่างของชิ้นงาน ควรเลือกใช้ลวดเชื่อมที่มีความเหนียวสูง กับงานที่มีความหนาและซับซ้อน เพื่อหลีกเลี่ยงการแตกร้าว ได้แก่ ลวดเชื่อมไฮโดรเจนต่ำ ตามมาตรฐานA.W.S. XX15,EXX16, EXX18, EXX28
7. ข้อกําหนดเกี่ยวกับงาน ควรพิจารณาส่วนผสมให้ตรงกับคุณสมบัติ การใช้งานของชิ้นงาน เช่น งานที่รับแรงกระแทก งานเชื่อมที่นําไปใช้งานในที่อุณหภูมิต่ำ หรืออุณหภูมิสูงนอกจาก จะพิจารณาส่วนผสมของลวดเชื่อมแล้ว จะต้องพิจารณาถึงความเหนียวและความต้านทานต่อแรงกระแทก ซึ่งลวดเชื่อมที่เหมาะแก่สภาพการใช้งานดังกล่าว ได้แก่ ลวดไฮโดรเจนต่ำ
8. ข้อกําหนดเกี่ยวกับงาน ควรพิจารณาส่วนผสมให้ตรงกับคุณสมบัติ การใช้งานของชิ้นงาน เช่น งานที่รับแรงกระแทก งานเชื่อมที่นําไปใช้งานในที่อุณหภูมิต่ำหรืออุณหภูมิสูง

ลวดเชื่อม