บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์

บทบาทธนาคารในอดีต

                จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของการก่อตั้งธนาคารแห่งแรกของไทย เมื่อครั้นเป็น บุ๊คคลัภย์ และแบ๊งก์สยามกัมมาจล มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างอิสระทางการเงินและเศรษฐกิจให้กับประเทศ เพื่อการมีเสรีในการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ กับทั้งภายในประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ โดยเริ่มให้บริการ  การรับฝากเงิน ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของประชาชนยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการระดมเงินทุน สำหรับการให้บริการ การให้กู้เงิน เพื่อการกระตุ้นการค้าและเศรษฐกิจภายในประเทศ และ ให้บริการ แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อความสะดวกต่อการค้าขายกับต่างชาติมากยิ่งขึ้น

บทบาทธนาคารในปัจจุบัน

ธนาคารพาณิชย์ (Commercial banks) ถือเป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทสำคัญต่อการระดมทุนและจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจ โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งระดมเงินออมและแหล่งเงินให้กู้ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในระบบการเงิน

บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์

สำหรับประเทศไทย ธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีคำจำกัดความตามพระราชบัญญัติธุรกิจ สถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ กล่าวคือ “การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ”

ธนาคารพาณิชย์ดำเนินธุรกิจหลักที่มีความสำคัญต่อระบบการเงิน ได้แก่

๑. การรับฝากและกู้ยืมเงินจากประชาชน

นอกจากการรับฝากเงินแล้ว ธนาคารพาณิชย์ อาจระดมทุนโดยการกู้ยืมจากประชาชนผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น การออกตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) เป็นต้น

๒. การให้กู้เงิน

ธนาคารพาณิชย์นำเงินทุนโดยเฉพาะส่วนที่ระดมจากผู้ฝากเงินไปให้บุคคลที่มีความต้องการใช้เงินที่กู้ยืมเพื่อนำไปลงทุนหรือใช้อุปโภคบริโภค โดยผู้กู้ตกลงจะชำระคืนเงินต้นรวมถึงดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารพาณิชย์เป็นรายเดือนหรือตามสัญญากู้ยืมที่ตกลงกัน

ประเภทการให้สินเชื่อ

  • สินเชื่อธุรกิจ เช่น OD (วงเงินเบิกเกินบัญชี ) เป็นต้น
  • สินเชื่อรายย่อย เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ เป็นต้น

๓. การลงทุน

ธนาคารพาณิชย์ นำเงินทุนไปลงทุนในตราสารหรือหลักทรัพย์ต่างๆ เช่น ตราสารหนี ตราสารอนุพันธ์ หรือเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น เพื่อแสวงหารายได้และปรับฐานะความเสียงทางการเงินในช่วงเวลาต่างๆ

ในการนี้ธนาคารพาณิชย์จะรับรู้กำไรจากอัตราดอกเบี้ยหรือผลต่างของราคาซื้อและราคาขายของตราสารหรือหลักทรัพย์เหล่านั้น

บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์

๔. การให้บริการทางการเงินอื่นๆ

ธนาคารพาณิชย์ให้ บริการทางการเงินอื่นๆ เพื่อขยายฐานรายได้ของตนเองและอำนวยความ สะดวกในการดำเนินธุรกิจของบุคคลอื่นๆในระบบการเงิน ซึ่งผลตอบแทนที่ได้มักอยู่ในรูปของค่าธรรมเนียม เช่น

ด้วยตระหนักดีว่า "คนและวัฒนธรรม" คือ หัวใจของการขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจ ซึ่งการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพและการมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งภายใต้บริบทการแข่งขันที่รุนแรงและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องพัฒนาแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงการจัดการทั้งด้านการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ความก้าวหน้าในอาชีพ ค่าตอบแทน รวมไปถึงวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในปี 2562 ธนาคารทบทวนและกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่พร้อมรับความท้าทายและโอกาสทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ดังนี้

บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์

การบริการทรัพยากรบุคคลเชิงยุทธศาสตร์

ธนาคารมุ่งสร้างความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างทิศทางการดำเนินธุรกิจและแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล โดยให้ความสำคัญตั้งแต่การสรรหาเชิงรุก การเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรและพนักงานให้เท่าทันความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการบริหารกำลังคนให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการดำเนินการธุรกิจในยุคดิจิทัล เพื่อให้ธนาคารและพนักงานเติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน

บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์

การบริหารการสืบทอดตำแหน่ง


เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพที่ชัดเจนเป็นปัจจัยอันดับต้น ๆ ที่จูงใจให้บุคลากรที่มีศักยภาพอยากทำงานร่วมกับองค์กรในระยะยาว อีกทั้งยังเป็นแรงเสริมประสิทธิภาพในการทำงานสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจด้วย ธนาคารจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการบริหารบุคลากรที่มีศักยภาพ (Talent Management) และการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning) โดยธนาคารมีกรอบการบริหารการสืบทอดตำแหน่งเพื่อรองรับตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อธนาคารทั้งในเชิงยุทธศาสตร์และเชิงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากตำแหน่งเหล่านั้นว่างลง ผ่านกระบวนการบริหารการสืบทอดตำแหน่งอย่างเป็นระบบ โดยการพิจารณาผู้สืบทอดตำแหน่งจะคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นต่อตำแหน่งงานนั้น ๆ ควบคู่ไปกับความเป็นผู้นำและความสอดคล้องระหว่างค่านิยมของบุคลากรและธนาคาร (Culture Fit)

บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์

การบริหารผลการปฏิบัติงาน


เพื่อบริหารและจูงใจให้บุคลากรสร้างสรรค์ผลงานและปรับปรุงการทำงานที่สนับสนุนเป้าหมายองค์กร ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมตามค่านิยมขององค์กร อันจะนำไปสู่การพิจารณาปรับค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรมและแข่งขันได้ การปรับเลื่อนตำแหน่งอย่างเหมาะสม รวมถึงการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารจึงนำระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสากลมาใช้ในการบริหารผลการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคน 

บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์
บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์

การสร้างวัฒนธรรมสู่การขับเคลื่อนศักยภาพองค์กร


วัฒนธรรมองค์กรมิใช่เพียง “คุณค่าหลัก” ที่คนภายในองค์กรยึดถือปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนศักยภาพขององค์กรให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง หากยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ดึงดูดให้คนภายนอกอยากเข้ามาร่วมงานด้วย


ท่ามกลางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ธนาคารได้ประกาศยุทธศาสตร์ SCB Transformation เพื่อปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์และสร้างประสบการณ์ดิจิทัลในรูปแบบใหม่ให้แก่ลูกค้า และด้วยความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้าได้อย่างแท้จริง ในปี 2562 ธนาคารจึงได้ริเริ่มนำแนวคิดวัฒนธรรมองค์กรแห่งความคล่องตัว หรือ Agile Organisation มาใช้ โดยได้ปรับโครงสร้างองค์กรและมุ่งเปลี่ยนวิธีการทำงาน ปลูกฝังวิธีคิดใหม่ ๆ ให้กับพนักงาน โดยยึดคุณค่าหลัก หรือ SCB Core Value 4 ประการ

บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์

วิถีการทำงานรูปแบบใหม่ (New Ways of Work)


ธนาคารมุ่งเสริมการปรับตัวของพนักงานธนาคาร เพื่อรองรับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งต้องเร่งปรับเปลี่ยนกรอบความคิดและกระบวนการทำงานรูปแบบใหม่ โดยธนาคารเตรียมความพร้อมของพนักงานทุกระดับให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพตามแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรใน 4 ด้าน ดังนี้

บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์

วิถีการเรียนรู้รูปแบบใหม่ (New Ways of Learning)


เพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ทุกที่เข้าถึงความรู้ได้ทุกเวลาและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ธนาคารจึงปรับปรุงรูปแบบและปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการฝึกอบรมและส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการเรียนรู้ทั้งแบบ “ผลัก” และ “ดึง” บนแพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคารที่เชื่อมระบบนิเวศการเรียนรู้ ทั่วทั้งองค์กร ซึ่งส่งเสริมให้พนักงานสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็น และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัดบนแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งอนาคต โดยธนาคารมีระบบจัดเก็บข้อมูลและติดตามการเรียนรู้ของพนักงานที่ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการเรียนรู้และนำไปพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์

การส่งเสริมการหมุนเวียนงานภายในองค์กร


ธนาคารให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตในหน้าที่การงานของพนักงานทุกระดับ โดยมีนโยบายสนับสนุนการหมุนเวียนงานภายในองค์กร (Internal Rotation) เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสเรียนรู้และสร้างทักษะใหม่ๆ ข้ามหน่วยงาน ซึ่งเป็นการสร้างความรอบรู้และความสามารถของพนักงานให้สามารถปรับตัวรับกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย อีกทั้งยังช่วยให้ธนาคารสามารถเตรียมอัตรากำลังคนได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เชิงธุรกิจของธนาคารในอนาคต (Strategic Workforce Planning) และเปิดโอกาสให้พนักงานร่วมเติบโตไปกับองค์กรได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อให้การหมุนเวียนและเคลื่อนย้ายพนักงานเป็นอย่างไปอย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารได้ดำ เนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยนำโมเดลคำนวณกำลังคนตามแรงขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของแต่ละหน่วยงาน (Key Manpower Driver) เช่น ยอดขายธุรกิจปริมาณการทำรายการ จำนวนลูกค้า มาปรับใช้ซึ่งทำให้หน่วยงานทราบว่ามีกำลังคนเพียงพอกับปริมาณงานหรือไม่ ตลอดจนสามารถวางแผนทรัพยากรได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ


การสื่อสารและเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานในการหมุนเวียนงานถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ธนาคารได้วางแนวทางและกระบวนการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน โดยธนาคารจะทำการทดสอบเบื้องต้นเพื่อคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพเหมาะสมกับตำแหน่งงาน นำเสนอหลักสูตรฝึกอบรมที่จำเป็นและเกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นๆ ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย จากนั้นพนักงานจะได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งงานก่อนที่จะถูกเวียนย้ายถาวร ทั้งนี้ เมื่อพนักงานได้หมุนเวียนงานในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว ธนาคารจะยังดำเนินการติดตามและนนำเสนอหลักสูตรอบรมที่จำเป็นเพิ่มเติมให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายใหม่ได้อย่างเต็มศักยภาพ

บทบาทหน้าที่ของธนาคารไทยพาณิชย์

การสนับสนุนความหลากหลายภายในองค์กร


ธนาคารให้ความสำคัญต่อการเคารพในหลักสิทธิแรงงานและการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมโดยไม่แบ่งแยกเพศ สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษา โดยกำหนดหลักปฏิบัติดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในจรรยาบรรณธนาคาร พร้อมทั้งสื่อสารให้พนักงานทุกคนรับทราบและปฏิบัติต่อกันด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียม นอกจากนี้ยังให้อิสระแก่พนักงานในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานธนาคารที่ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มสหภาพ ทั้งสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาพนักงานบริหาร สหภาพแรงงานพนักงานทั่วไป และสหภาพแรงงานพนักงานบริการ ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างธนาคารกับพนักงาน โดยมีเจตนารมณ์ที่จะรักษาสิทธิประโยชน์ของสมาชิกและพนักงาน เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม คำนึงถึงประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย

นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเข้าถึงสิทธิอย่างเสมอภาคและเคารพคุณค่าของความแตกต่าง โดยสนับสนุนให้บุคคลทุพพลภาพได้มีโอกาสแสดงความสามารถและนำศักยภาพที่มีอยู่มาสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่น โดยในปี 2563 ธนาคารได้จ้างงานและสนับสนุนโอกาสทางอาชีพให้แก่ผู้ทุพพลภาพ รวมทั้งสิ้น 239 คน ผ่านการดำเนินงานใน 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ การว่าจ้างผู้ทุพพลภาพที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความเหมาะสมกับสายงานต่าง ๆ ของธนาคารเข้ามาเป็นพนักงาน จำนวน 16 คน รวมถึงการผนึกความร่วมมือกับมูลนิธิต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพของผู้ทุพพลภาพจำนวน 223 คน

หน้าที่ที่สําคัญของธนาคารพาณิชย์ คืออะไร

การดําเนินธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ ประกอบด้วย 1. การรับฝากและกู้ยืมเงินจากประชาชน 2. การให้กู้เงิน 3. การลงทุน 4. การให้บริการทางการเงินอื่นๆ เช่น การคํ้าประกันและรับรอง การรับแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ เป็นต้น

ธนาคารไทยพาณิชย์อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานใด

คณะกรรมการกิจการเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (Siam Commercial Bank of Thailand) เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรก ของไทยกิจการของธนาคารเริ่มต้นขึ้นในนาม 'บุคคลัภย์' (Book Club) ในวันที่ 4 ต.ค. พ.ศ. 2447 ก่อตั้งโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เนื่องจากขณะนั้นทรงเชื่อว่า สยามประเทศมีความจำเป็น ต้องมีระบบการเงินธนาคาร เพื่อรองรับการ ...

บทบาทหน้าที่ของธนาคารกลางคืออะไร

ควบคุมปริมาณเงินของประเทศ เป็นนายธนาคารของรัฐบาลและธนาคารของนายธนาคาร ("ผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย") จัดการการเปลี่ยนต่างประเทศและปริมาณทองคำสำรองของประเทศ และทะเบียนหุ้นของรัฐบาล กำกับและดูแลอุตสาหกรรมการธนาคาร