อุปสงค์ที่ใช้กันในทางเศรษฐศาสตร์คืออะไร

เวลาเราฟังนักวิชาการหรือนักเศรษฐศาสตร์ เรามักจะได้ยินคำศัพท์วิชาการอยู่บ่อยๆ อย่างคำว่าอุปสงค์ อุปทาน หรือคำว่า supply , over supply ต่างๆ หลายคนฟังแล้วอาจจะงงๆหน่อยว่า แล้วคำเหล่านี้อย่าง อุปสงค์คืออะไร และมันแปลว่าอะไรกันแน่

ขออธิบายในเชิงวิชาการกันก่อนเลย อุปสงค์คือ ความต้องการซื้อสินค้า และอุปทานคือ ความต้องการขาย ซึ่งสองนี้จะเป็นตัวที่จะได้บอกว่า สินค้านั้นๆจะมีราคา และปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม และถ้าเกิดการซื้อขายกันจะเรียกว่าจุดดุลยภาพ ในทางเศรษฐศาสตร์จะมีกฎอุปสงค์ และกฎอุปทานอยู่ เพื่อใช้เป็นหลักการความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณอยู่

กฎอุปสงค์คือ เราจะซื้อสินค้ามากขึ้นเมื่อราคานั้นต่ำลง และจะซื้อสินค้านั้นน้อยลงเมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น

กฎอุปทานคือ เราจะอยากขายสินค้านั้นเมื่อราคาสินค้านั้นสูงขึ้น และขายสินค้านั้นน้อยลงเมื่อราคานั้นต่ำลง

แต่เราอาจะเคยได้ยินเรื่องของกฎอีก 2 แบบก็คือ อุปสงค์ส่วนเกิน และอุปทานส่วนเกิน ซึ่งความหมายของสองคำนี้ก็คือ อุปสงค์ส่วนเกิน การเกิดขึ้นเมื่อความต้องการสินค้านั้นมีมากเสียจนผู้ผลิต ผลิตสินค้าให้ไม่ทัน และ อุปทานส่วนเกินก็คือผู้ผลิตผลิตออกมามากเสียจนไม่มีคนซื้อเพราะสินค้านั้นไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาดอีกต่อไปแล้ว

รู้จักฟีเจอร์ของเรา สมัครสมาชิก

 

อุปสงค์ที่ใช้กันในทางเศรษฐศาสตร์คืออะไร

ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของอยู่แล้วก็อาจจะสงสัยว่าทำไมเราจึงต้องรู้เรื่องการของอุปสงค์คือะไร อุปทานคืออะไร ซึ่งจริงๆแล้วหลักการเหล่านี้หากเราดูดีๆ เราสามารถเอามาปรับใช้การขายของได้เลย เช่นการวางแผนในเรื่องของราคาทำอย่างไรให้ราคามีจุดดุลยภาพ ที่พ่อค้าแม่ค้าก็อยู่ แล้วลูกค้าก็ได้ราคาที่รับได้ นอกที่เราจะรู้ว่าอุปสงค์อะไรแล้ว จริงๆแล้วยังมีปัจจัยอื่นอีกที่เราต้องมาดูกันก็คือ

1. รายได้ของผู้ซื้อ

ราคานั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุปสงค์ของลูกค้าเรา อย่างที่บอกข้างต้นอุปสงค์คือความต้องการซื้อสินค้า แต่ถ้าหากเศรษฐกิจหรือรายได้ของคนซื้อลดลง จะทำให้สินค้าเรานั้นหากราคาสูงก็จะขายไม่ได้ ลูกค้าก็จะเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาถูกลงมา คุณภาพอาจจะไม่เทียบเท่าแต่ใช้ได้เหมือนกันมาใช้แทน

2. จำนวนผู้ซื้อ

ถ้าให้เห็นภาพง่ายๆเลยก็คือ ความต้องการซื้อหน้ากาก ในช่วงมีโควิด-19 ใหม่ๆ หน้ากากมีจำนวนจำกัด แต่คนต้องการซื้อเยอะมาก ทำให้ราคาของสินค้านั้นสูงตามไปด้วย เมื่อหน้ากากดูแทนที่ด้วยหน้ากากผ้าก็ทำให้ราคาหน้ากากนั้นถูกลง จำนวนผู้ซื้อลดลง ราคาก็จะลดลงตามไปด้วย

3. ราคาสินค้าอื่นๆ

อย่างบางช่วงเราจะเห็นได้ว่า เนื้อหมู เนื้อไก่ หรือแม้กระทั่งไข่ไก่ก็มีราคาขึ้นๆลงๆ สิ่งเหล่านี้เมื่อราคาสูงมาก คนก็จะหันเหไปทานอย่างอื่นแทน เช่นเนื้อปลา เนื้อวัว ที่ราคาไม่สูงเท่า ซึ่งราคาของสินค้าทดแทนก็จะมีผลต่อราคาด้วย

4. วัฒนธรรม

เรียกว่าเป็นปัจจัยภายนอก ค่านิยมที่เปลี่ยนไป อย่างถ้าเราขายสินค้าแฟชั่น ก็ต้องเทรนให้ทันเพื่อไม่ให้สินค้าของเรานั้นค้างสต็อก ต้องตามกระแสให้ทันว่าปัจจุบันโลกนี้ไปทางทิศทางใดบ้าง

ส่วนปัจจัยที่จะกำหนดในส่วนของอุปทานหรือต้นทุนของพ่อค้าแม่ค้า ที่จะนำสินค้าเข้ามาขายก็อาจจะจำเป็นที่ต้องรู้เรื่องของอุปทานด้วย โดยปัจจุบันของอุปทานนั้นก็มีดังนี้

  1. ต้นทุนของสินค้า หลายๆครั้งพ่อค้าแม่ค้าก็จำเป็นที่ต้องขึ้นราคาสินค้าเพื่อนำมาขายเนื่องจากค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ค่าภาษีสินค้านำเข้าต่างๆ
  2. เทคโนโลยีการผลิต หากเราสามารถคิดเทคโนโลยีการผลิตได้ดีขึ้น ถูกลงก็จะทำให้พ่อค้าแม่ค้านั้นขายได้มากขึ้น ผลิตได้มากขึ้น ลูกค้าก็อาจจะได้ราคาที่ตัวเองรับได้
  3. การคาดการณ์ ต้องดูเทรนตลาดว่าจะไปทิศทางไหน เพื่อที่จะได้สั่งผลิตสินค้าได้ถูกต้องตามความต้องการของลูกค้าเรียกว่าตรงกับอุปสงค์ของลูกค้าเลย

จะเห็นได้ว่าจากกล่าวมาข้างต้นไม่ว่าจะเป็นอุปสงค์คืออะไร อุปทานคืออะไร นั้นเกี่ยวกับการค้าขายทั้งสิ้น หากเราสามารถเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ เราก็จะสามารถตั้งราคาและสั่งซื้อสินค้า หรือ จะผลิตสินค้าเข้ามาขายได้ถูกต้องไม่เกินปัญหา ของล้นสต็อก หรือ ปัญหาของขาดตลาดได้

แต่หากพ่อค้าแม่ค้าคนไหน อยากจะรู้ว่าสินค้าชิ้นไหนของตัวเองมีอุปสงค์อุปทานอย่างไร ก็สามารถมาใช้ระบบ Fillgoods ของเราได้ เนื่องจากระบบของเรามีระบบสต็อกที่สามารถสรุปได้ว่า สินค้าไหนเป็นสินค้าขายดี หรือสินค้าไหนหมดแล้ว เพื่อรู้ว่าความต้องการของลูกค้าในช่วงนี้เขาต้องการอะไร จะได้สั่งซื้อหรือผลิตมาตรงใจกับลูกค้า นอกจากนี้เรายังมีระบบเรียกขนส่งเข้ารับสินค้าถึงหน้าบ้านไม่จำเป็นต้องออกไปเสี่ยงโควิด-19 นอกบ้าน เรียกขนส่งเข้ามารับสินค้าได้เลย หากใครสนใจก็สามารถ โทรปรึกษาทีมงาน ฟรี!

1. ความเต็มใจที่จะเสนอขายหรือให้บริการ (willingness) กล่าวคือ ณ ระดับราคาต่างๆ ที่ตลาดกำหนดมาให้ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการมีความยินดีหรือเต็มใจที่จะเสนอขายสินค้าหรือให้บริการตามความต้องการซื้อของผู้บริโภค

2. ความสามารถในการจัดหามาเสนอขายหรือให้บริการ (ability to sell) กล่าวคือ ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการจะต้องจัดหาให้มีสินค้าหรือบริการอย่างเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการซื้อของผู้บริโภค ณ ระดับราคาของตลาดในขณะนั้นๆ (สามารถเสนอขายหรือให้บริการได้)

เมื่อกล่าวถึงคำว่า อุปทาน จะเป็นการมองทางด้านของผู้ผลิตซึ่งตรงข้ามกับอุปสงค์ที่เป็นการมองทางด้านของผู้บริโภค ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ความสัมพันธ์ของราคาสินค้าที่มีต่ออุปทานของสินค้านั้นจะเป็นไปตามกฎของอุปทาน (Law of Supply)

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปทาน


กฎอุปสงค์และกฎอุปทาน อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณสินค้า เมื่อปัจจัยอื่นๆ คงที่ หากปัจจัยอื่นเกิดความเปลี่ยนแปลง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์หรืออุปทาน คือปริมาณอุปสงค์หรือปริมาณอุปทานจะมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงที่ทุกระดับราคา แสดงในแผนภูมิในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์หรืออุปทาน

ปัจจัยกำหนดอุปสงค์สำคัญที่มักกล่าวถึงได้แก่ รายได้ ราคาของสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง รสนิยม ความคาดหวัง จำนวนผู้ซื้อ ในขณะที่ปัจจัยที่กำหนดอุปทานมักกล่าวถึง ต้นทุนปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี ความคาดหวัง และจำนวนผู้ขาย

อุปสงค์ที่ใช้กันในทางเศรษฐศาสตร์คืออะไร



หมายถึง ภาวะที่เกิดจากราคามีความเหมาะสม ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อ เท่ากับปริมาณความต้องการขาย ทำให้สินค้าหมดพอดี หรือมีหลักการดังนี้ คือ ราคาสินค้าจะวิ่งสู่ดุลยภาพเสมอ ถ้าราคาเปลี่ยนปริมาณที่ผู้บริโภคต้องการที่จะซื้อและที่ผู้ผลิตที่ต้องการขายก็จะเปลี่ยนตาม
ถ้าร้าคาสินค้าแพงเกินไป ต่อไปต้องลดลง
ถ้าราคาสินค้าถูกเกินไป ต่อไปต้องแพงขึ้น
โดยกลไกราคา ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นจะมีข้อยกเว้นในการพิจารณา คือ ใช้ไม่ได้กับสินค้าที่เป็นทรัพย์เสรี และสินค้าที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของเก่า เช่น ถ้วยสังคโลก,รถเก่า,พระเครื่อง และวัตถุโบราณ หรือทรัพทย์เสรี ได้แก่ น้ำ ดิน เป็นต้นฯ

ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กลไกราคา (Price Mechanism) เป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมอุปสงค์และอุปทานในตลาดให้เกิดความสมดุล ถ้าอุปสงค์และอุปทานไม่เท่ากันจะมีการปรับตัวจนกระทั่งเกิดสมดุลหรืออุปสงค์เท่ากับอุปทาน ดุลยภาพจะไม่เปลี่ยนแปลงตราบเท่าที่ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์และอุปทานไม่เปลี่ยนแปลง ราคาสินค้า ณ จุดที่อุปสงค์เท่ากับอุปทานเรียกว่า “ราคาดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium Price)” ปริมาณสินค้า ณ จุดนั้นเรียกว่า“ปริมาณดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium Quantity)” และเรียกจุดดังกล่าวว่า “ดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium)

อุปสงค์ในทางเศรษฐศาสตร์ คืออะไร

อุปสงค์ (Demand) หมายถึงปริมาณความต้องการของประชนที่จะซื้อสินค้าและบริการในราคาที่กำหนดและมีความสามารถที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ ได้

อุปสงค์ในทางเศรษฐศาสตร์ มีกี่ชนิด

2.1.3 ชนิดของอุปสงค์มี3 ชนิด จากความหมายของอุปสงค์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ • อุปสงค์ต่อราคา ( Price Demand ) • อุปสงค์ต่อรายได้ ( Income Demand ) • อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นหรืออุปสงค์ไขว้ ( Cross Demand ) อุปสงค์ที่มีความส าคัญมากที่สุด คือ อุปสงค์ต่อราคา (Price demand)

ตัวกําหนดอุปสงค์มีอะไรบ้าง

ปัจจัยก าหนดอุปสงค์ ราคาของสินค้านั้น (ตัวก าหนด โดยตรง) ราคาของสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง • สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน • สินค้าที่ใช้ประกอบกัน • ระดับรายได้ของครัวเรือน • รสนิยมของผู้บริโภค • การโฆษณา • การกระจายได้ • การคาดการณ์ต่อราคาในอนาคต • ฯลฯ ราคาของสินค้า

อุปสงค์ส่วนบุคคลคืออะไร

5) อุปสงค์ส่วนบุคคล (Individual demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคแต่ละคน ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง เช่นถ้าขณะนั้นเสื้อเชิร์ตราคาตัวละ 300 บาท นาย ก.ต้องการซื้อจานวน 2 ตัว นาย ข. ต้องการซื้อ 1 ตัว นาย ค. ต้องการซื้อ 5 ตัว ความต้องการซื้อเสื้อเชิร์ตของนาย ก. หรือนาย ข. หรือนาย ค. เรียกอุปสงค์ของ ...