อาชีพคอมพิวเตอร์ด้านซอฟต์แวร์

เกมมาสเตอร์ (Gamemaster) หรือ จีเอ็ม (GM) เป็นชื่อของตำแหน่งที่รับผิดชอบงานการดูแล และการให้บริการเกมออนไลน์ ที่ต้องมีการติดต่อกับลูกค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งมักมีความสับสนกับ คอลเซ็นเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะงานที่ต้องรับผิดชอบคล้ายคลึงกัน โดยมากส่วนที่แตกต่างกันระหว่างสองตำแหน่งนี้คือเกมมาสเตอร์มักมีความอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับกรณีต่างๆในเกมมากกว่า เช่น มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบตัวละครหน้าที่ในการดูแลการบริการในตัวเกมไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม หรือ การป้องกันการทุจริตของผู้เล่น เป็นต้น ในขณะที่ คอลเซ็นเตอร์นั้นโดยมากมักจะมีหน้าที่ในการติดต่อกับผู้เล่นเป็นตัวกลางที่คอยเชื่อมระหว่างผู้เล่นกับบริษัทผู้ให้บริการเป็นหลักในหลากหลายช่องทาง ได้แก่ การรับสายโทรศัพท์ การตอบคำถามในเวปบอร์ดอย่างไรก็ตามในประเทศไทย บริษัทที่มีการแบ่งหน้าที่ระหว่าง เกมมาสเตอร์ และคอลเซ็นเตอร์อย่างชัดเจนนั้น มีเพียงบริษัทเดียวคือ บริษัท เอเซียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ส่วนบริษัทอื่นๆมักจะรวบเอาหน้าที่ของทั้งสองตำแหน่งไว้ด้วยกัน เพื่อให้ง่ายในการบริหารงาน และประหยัดทรัพยากรบุคคล

นักเขียนโปรแกรม หรือ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) มีหน้าที่หลักคือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักเขียนโปรแกรมสามารถหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญในการโปรแกรมเฉพาะด้าน หรือผู้ที่สามารถเขียนรหัสซอฟต์แวร์ได้หลากหลายข้อมูล

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) คือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์เช่นในการออกแบบ การวางแผนพัฒนา ซึ่งขอบเขตงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรม โดยอาจมีส่วนร่วมในระดับทั้งโครงงาน แทนการดูแลส่วนของชิ้นงาน ซึ่งในกลุ่มนี้อาจรวมถึงโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์

แบล็กแฮต (black hat) หรือ แคร็กเกอร์ (cracker) ผู้ที่ใช้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์ในทางที่ผิด มีลักษณะคล้ายกับแฮกเกอร์ โดยอาจใช้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ตนเอง เช่นใช้ความสามารถในการขโมยข้อมูลสำคัญจากคอมพิวเตอร์ของนาย ก เพื่อนำไปขายให้นาย ข

ผู้ดูแลระบบ หรือ แอดมิน (System administrator, systems administrator หรือ sysadmin) เป็น บุคคลที่ถูกว่าจ้างเพื่อที่จะดูและจัดการระบบหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของผู้ดูแลระบบมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือโครงการ โดยทั่วไปผู้ดูแลมักจะทำหน้าที่ติดตั้ง ตอบคำถาม ดูแลเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่น รวมถึงการวางแผนงาน การดูแล ควบคุมโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ผู้ดูแลอาจมีหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ร่วมไปด้วย ในด้านการเขียนโปรแกรม รวมไปถึงการเตรียมตัว และสอนการใช้งานต่อผู้ใช้ทั่วไป

เว็บมาสเตอร์ (webmaster) คือบุคคลผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบ การพัฒนา การดูแลการตลาด และการบำรุงรักษาเว็บไซต์ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ เว็บมาสเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนหรือจัดการความคิดเห็นของผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ เว็บมาสเตอร์อาจเรียกเป็นอย่างอื่นได้เช่น ผู้ดูแลเว็บไซต์ (website administrator) ผู้สร้างเว็บ ผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ออกแบบเว็บ เป็นต้น

โปรแกรมเมอร์ หรือ นักเขียนโปรแกรมหรือนักพัฒนาซอฟแวร์ มีหน้าที่หลักคือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่นภาษา JAVA, JavaScript, PHP,C#, Python นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ทดสอบรหัสหรือโค้ดเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ทำงานได้ และในกรณีที่เกิดปัญหาจากการทำงานของคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์จะทำการตรวจสอบรหัสที่เกิดข้อผิดพลาดและซ่อมแซมแก้ไขให้ถูกต้อง ปัจจุบันนี้โปรแกรมเมอร์ ยังคงเป็นอาชีพที่ต้องการสูงของตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะในไทยหรือต่างประเทศ เพราะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไอทีและดิจิทัล มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

การเตรียมตัวสู่การประกอบอาชีพ

อาชีพโปรแกรมเมอร์ เป็นตำแหน่งงานที่มีความต้องการของบริษัททั้งภาครัฐและเอกชน โดยอาชีพนี้เป็นอาชีพที่สามารถต่อยอดหรือปรับเปลี่ยนไปสายงานที่ใกล้เคียงได้ เช่น Web Developer, Mobile application, QA Engineer, Software Engineer, นักพัฒนาระบบสารสนเทศ, นักพัฒนาซอฟต์แวร์, นักวิทยาการข้อมูล (Data Science), นักพัฒนาระบบด้านอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things), นักพัฒนาระบบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cybersecurity) นอกจากนี้อาชีพโปรแกรมเมอร์ยังสามารถเริ่มต้นจากการรับเขียนโปรแกรม และเปิดบริษัทเป็นของตนเอง

10 อาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

อาชีพทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์         บุคลากรสามารถปฏิบัติงานร่วมกับเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติ
ดังนี้

        1. คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วสูง

        2. คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างถูกต้องแม่นยำ

        3. คอมพิวเตอร์ช่วยลดต้นทุน

อาีชีพทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
         ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบผังงาน ทั้งทางด้านเครือข่าย และสถาปัตยกรรมภายในของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการผลิต อุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ หรือชิ้นส่วนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)

         ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการทำงานของคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทต่าง ๆ การซ่อมบำรุง คอมพิวเตอร์ ผู้สนใจศึกษาสาขาวิชานี้ ควรเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ผลิตอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในวงการ วิทยาศาสตร์ โดยนำมาปรับเข้ากับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้อย่างกลมกลืน
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer)
         เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาทางคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเปลี่ยนทัศนคติด้านอาชีพ จะเน้นความรู้ด้าน โปรแกรมประยุกต์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมให้เหมาะสมในการใช้เฉพาะหน่วยงานนั้น ๆ

         โดยทั่วไป ภายในหน่วยงาน หรือองค์กรที่มีระบบคอมพิวเตอร์ จะแบ่งบุคลากรเป็น 3 ฝ่าย คือ

          1. ฝ่ายวิเคระห์และออกแบบระบบ

          2. ฝ่ายโปรแกรม

          3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ

1. นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer)
      ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าโปรแกรม ที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System analyst) ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงาน และ ออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้งาน  ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย

3. ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (Database administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล(Database) รวมถึงการออกแบบ บำรุงรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เช่น การกำหนดบัญชีผู้ใช้ การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้

4. ผู้ดูแลและบริหารระบบ (System administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์ การติดตั้งและการปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย

5. ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย (Network administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย

6. ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (Webmaster)  ทำหน้าที่ออกแบบพัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ ให้มีความทันสมัย โดยเฉพะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

7. เจ้าหน้าที่เทคนิค (Technician)  ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในองค์กร

8. นักเขียนเกม (Game maker)  ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้การเขียนเกม คอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย

งานคอมพิวเตอร์ มี อะไร บ้าง

ขอบข่ายของงานอาชีพคอมพิวเตอร์.
1. งานบริการสารสนเทศ ... .
2. งานบริการด้านฮาร์ดแวร์ ... .
3. งานบริการด้านซอฟต์แวร์ ... .
1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน ... .
2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป ... .
1. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ... .
2. บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ ... .
3. ผู้จัดการข้อมูลหรือศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์.

งานบริการด้านซอฟต์แวร์เป็นงานเกี่ยวข้องกับงานใด

3. งานบริการด้านซอฟต์แวร์ เป็นงานบริการทางด้านซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้แก่ การติดตั้งโปรแกรม , การเขียนโปรแกรมและการใช้งานโปรแกรมประยุกต์สำหรับงานต่างๆ การสร้างและพัฒนาเว็บ , การบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์ รวมทั้งการ นำซอฟต์แวร์ประยุกต์ไปใช้งานการประกอบอาชีพต่างๆ

สายงานอาชีพด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ คืออะไร

Software developer หรือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ คือ ผู้ที่ความเชี่ยวชาญในการออกแบบ การวางแผนพัฒนา เน้นในเรื่องของการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาโปรแกรมใดภาษาหนึ่ง รวมไปถึงการบริหารโปรเจกต์และออกแบบฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้กับบริษัทอีกด้วย ซึ่งขอบเขตงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรม โดยอาจมีส่วนร่วมในทั้งโปรเจค มากกว่าดูแลส่วนของชิ้นงาน ซึ่งใน ...

เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ ทําอะไรบ้าง

(๑) ควบคุม ดูแล ติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซม ตรวจสอบการทำงาน แก้ไขปัญหา การใช้งานของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ระบบเครือข่ายสื่อสาร รวมทั้งระบบ สนับสนุนต่าง ๆ เพื่อให้ระบบงานต่าง ๆ สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ๆ (๒) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล ปรับปรุง ดูแล รักษาความปลอดภัย