หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน

  1. ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ
         ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการช่วยให้ นักศึกษาครู /ครู มีความเข้าใจในการการบริหารสถานศึกษาให้สามารถ อยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และสถานศึกษาให้บรรลุตาม พันธกิจ วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลการศึกษาเรื่องการบริหารจัดการ จะส่งผลให้นักศึกษาครู/ครู สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการบริหารจัดการในระดับโรงเรียนโดยนำหลักการว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี   ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า  “ธรรมาภิบาล” ได้แก่ หลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม   หลักความโปร่งใส   หลักการมีส่วนร่วม  หลักความรับผิดชอบ  และหลักความคุ้มค่ามาบูรณาการในการบริหารและจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งใหกับโรงเรียนในฐานะที่เป็นนิติบุคคล   ส่วนในระดับชั้นเรียน ครูใช้ความรู้ในการพัฒนากระบวนการเรียนรูตลอดจนการวัดผลประเมินผล รวมทั้งการวัดปัจจัยเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี และมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ในยุคการศึกษา 4.0 จึงควรมีการนำแนวคิดหลักธรรมาภิบาล มาบูรณาการเขากับการดําเนินงานด้านต่าง ๆ  ของสถานศึกษาซึ่งไดแก  การดำเนินงานด้านวิชาการ  งบประมาณ  บริหารงานบุคคล  และบริหารทั่วไป  และเป้าหมายในการจัดการศึกษาคือทำให้ผู้เรียนเป็นคนดี  เก่ง  และมีความสุข
  1. ภาวะผู้นำทางการศึกษา

         นักศึกษาครูจะต้องเรียนรู้เรื่องภาวะผู้นำในการบริหารจัดการชั้นเรียนเพราะ ครูต้องมีความเป็นผู้นำให้แก่ผู้เรียนภาวะผู้นำของครูในแง่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ครูที่มีความเชียวชาญด้านการเรียนการสอน ใช้บทบาทของผู้นำเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ท่ามกลางครู และครูผู้นำเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนโดยมุ่งเน้นที่ความสำเร็จในการเรียนรู้ของผู้เรียน และเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้เรียน มีความน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้เรียนเลือกที่จะปฏิบัติตาม นักศึกษาครูจะพัฒนาผู้นำในชั้นเรียนคือ จะพัฒนาให้  “เก่งคิด เก่งคน เก่งงาน” ผู้นำที่ดีคือผู้ที่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และกระตุ้นให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยความเต็มใจ การพัฒนาผู้อื่น  เพื่อสร้างให้ลูกสมาชิกเกิดความศรัทธา เชื่อถือและไว้วางใจ เพราะมั่นใจแล้วว่า ความศรัทธา เชื่อถือและไว้วางใจเป็นรากฐานที่สำคัญ ที่จะทำให้เกิดการยอมรับฟังคำชี้แจง และพร้อมที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงตนเอง ตามที่ผู้นำ ให้คำแนะนำปรึกษาอย่างเต็มใจ          ภาวะผู้นำในยุดการศึกษา 4.0 ที่สำคัญคือ ความถ่อมตัว พร้อมรับฟังผู้อื่น การปรับตัว การยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมที่จะรับฟังข้อคิดเห็นต่างๆ นอกจากนี้ผู้นำในยุค 4.0 จะต้องมีพฤติกรรมที่สำคัญอีก3ประการคือ  Hyperawareness ,Making Informed Decisions, Executing at Speed

  1. การคิดอย่างเป็นระบบ

ความคิดเชิงระบบ เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเรียนรู้ของ นักศึกษาครู /ครู เนื่องจากจะทำให้สามารถคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งและมองภาพรวมได้อย่างเป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อย ๆ โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดยทางตรงและโดยทางอ้อม หากมีการคิดเชิงระบบ ครูจะสามารถมองสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนหรือชั้นเรียนได้อย่างเป็นเหตุ และผล กล้าที่จะตัดสินใจ วางแผนนำสู่การแก้ไขปรับปรุงการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โดยนักศึกษาครู/ครู สมารถพัฒนาการคิดเชิงระบบได้ด้วยวิธีการต่างๆดังนี้

  1. ยอมรับตนเองและเปลี่ยนใจตนเองให้ได้ว่าตนคือส่วนประกอบที่สำคัญที่เชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ
  2. ฝึกการมองภาพรวมแทนสิ่งเล็ก ๆ แล้วค่อยมองย้อยกลับ
  3. เข้าใจธรรมชาติของระบบ และทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นระบบสัมพันธ์กัน
  4. มองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อต่อระบบ
  5. มองเห็นวัฏจักรของเหตุปัจจัย และการส่งผลย้อนกลับ
  6. เปิดอิสระในเรื่องการคิด ไม่ตีกรอบ ครอบงำความคิดคนอื่น
  7. ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนเกิดแรงร่วมในการสร้างความสัมพันธ์
  8. ฝึกการแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุแท้ โดยแก้ที่อาการที่ทำให้เกิดปัญหา

   

     4. การทำงานเป็นทีม

นักศึกษาครูต้องเรียนรู้เรื่องการทำงานเป็นทีม เพราะในการบริหารจัดการชั้นเรียนนนั้น ถือได้ว่าการทำงานเป็นทีมมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาในองค์กรนั้นต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน หากการทำงานเป็นทีมขาดประสิทธิภาพ การจัดการในชั้นเรียนนั้นก็จะขาดประสิทธิภาพด้วย และครูควรสอนให้เด็กรู้จักการทำงานเป็นทีมเพราะเด็กจะได้รู้จักการวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน  การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์กรการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานการทำงานเป็น ทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี

การรับรู้ปัญหา เป็นขั้นตอนแรก ในการสร้างทีมงานซึ่งจะใช้ได้กับทีมงานที่เพิ่งแต่งตั้งขึ้นใหม่และทีมงานที่ดำเนินงานมานานแล้ว โดยหัวหน้าทีมหรือสมาชิกจะตระหนักถึงปัญหาและต้องการแก้ไขปัญหาให้หมดไป โดยพยายามหาวิธีการบางอย่างมาแก้ไขปัญหา  การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สมาชิกในทีมจะร่วมกันกำหนดแนวทางในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะได้ข้อเท็จจริงมาทำการวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาและเลือกแนวทางปฏิบัติ โดยสมาชิกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น  การวางแผนปฏิบัติการ สมาชิกในทีมระดมความคิดโดยนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ปัญหามากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาและแผนปฏิบัติการที่รูปธรรม โดยอาจจะต้องขอความร่วมมือและความคิดเห็นจากภายนอกกลุ่มหรือที่ปรึกษาตลอดจนอาจจะรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการศึกษาเพิ่มเติมก่อนที่จะกำหนดแผนที่สมบูรณ์ได้ การดำเนินงาน สมาชิกร่วมมือกันในการนำแผนงานไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม โดยต้องคอยดูแลให้แผนปฏิบัติงานดำเนินไปอย่างราบรื่นและมุ่งสู่เป้าหมายที่ต้องการขณะเดียวกันก็ต้องคอยระวังไม่ให้เกิดปัญหาเพื่อคอยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้ลุกลามเป็นปัญหาใหญ่   การประเมินผลลัพธ์จากการดำเนิน สมาชิกในทีมร่วมกันติดตามตรวจสอบประเมินและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยร่วมใจและระดมความคิดในการประเมินผลการทำงานและประสิทธิภาพของทีมงานว่าการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่จะต้องพัฒนาตนอย่างไร เพื่อให้เป็นทีมงานที่มีประสิทธิภาพที่ต้องการ

  1. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร

การเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมในชั้นเรียน จะสามารถทำให้ ครู จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากครูเกิดความเข้าใจในพฤติกรรม และลักษณะนิสัยของผู้เรียนในชั้นเรียนซึ่งมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นครูจึงสามารถกำหนดวัฒนธรรมในชั้นเรียน ในรูปแบบระเบียบปฏิบัติ หรือ ข้อตกลกในชั้นเรียน ให้ผู้เรียนทุกคนยึดปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน สำหรับวัฒนธรรมในชั้นเรียนที่ดีนั้น ต้องเป็นข้อตกลกในชั้นเรียนที่เกิดจากการร่วมแสดงความคิดเห็น เป็นที่ยอมรับของสมาชิกในห้องเรียนทุกคน และได้ต่างยึดปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

ตัวอย่างค่านิยม หรือ แนวปฏิบัติในชั้นเรียน เช่น

1) นักเรียนต้องร่วมมือร่วมใจกันรักษาความสะอาดของห้องเรียน

2) นักเรียนห้ามนำอาหาร ลูกอม ขนมขบเคี้ยวเข้ามารับประทานในห้องเรียน

3) นักเรียนต้องเข้าเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด

4)นักเรียนห้ามส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนร่วมชั้นเรียน

5) นักเรียนต้องร่วมมือร่วมใจกันรักษาความสะอาดของห้องเรียน

  1. มนุษยสัมพันธ์และการสื่อสารในชั้นเรียน

มนุษย์เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมก็ต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อความมั่นคง ปลอดภัย และเพื่อความอยู่รอด ฯลฯ ซึ่งการติดต่อสื่อสารก็เป็นสิ่งสำคัญในการนำไปสู่การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี การสื่อสารควรมีทักษะในการสื่อเพื่อให้ผู้รับเข้าใจตรงกับผู่สื่อ หากไม่มีทักษะก็อาจจะเกิดปัญหาหลายอย่างตามมา อาทิเช่น การทำงานไม่ตรงเป้าหมาย ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เป็นต้น การอยู่ร่วมกันในองค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวของบุคคลอย่างน้อยสองคนขึ้นไปที่มาอยู่รวมกลุ่มกันอย่างเป็นทางการเพื่อปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ให้ประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ บุคคลต่างก็มีการปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของตน ทั้งนี่การที่จะอยู่ร่วมกันกับสังคมได้จะต้องอาศัยการสื่อสารและการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นที่รักใคร่ของผู้อื่น ดังนั้นคนเป็นครูจะต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ เพราะครูมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน หากครูยังไม่มีทักษะในการสื่อสาร ก็อาจจะทำให้นักเรียนไม่เข้าใจสิ่งที่สอน และหากครูไม่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีก็อาจจะทำให้นักเรียนไม่อยากจะเข้าเรียนในวิชาที่ครูสอน ซึ่งมันจะนำมาสู่ผลกระทบทั้งด้านตัวนักเรียนและตัวครู นอกจากนี้ครูก็จะต้องฝึกทักษะมนุษย์สัมพันธ์และการสื่อสารให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนอยู่ร่วมกับสังคมและทำงานกับผู้อื่นอย่างมีความสุขครูจะต้องยิ้มแย้มทักทายนักเรียน ในทางกลับกันนักเรียนก็ต้องยิ้มแย้มทักทายคุณครู เพื่อแสดงถึงความเป็นกันเอง ครูและนักเรียนจะต้องจำชื่อของอีกฝ่ายได้ และพูดด้วยความจริงใจ. รับฟังความคิดเห็นยังสนใจ มีความเมตตา รู้จักเอาใจใส่ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งถือเป็นการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ให้นักเรียนรู้สึกว่าการเรียนไม่เคร่งเครียดเกินไป เล็กครูก็รู้สึกว่านักเรียนให้ความสนใจและเป็นกันเอง เพื่อให้บรรยากาศของการเรียนเป็นไปอย่างราบรื่นและสนุกสนานการทักทาย การยิ้มแย้ม ให้ความเคารพ การพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ การมีปฏิสัมพันธ์กันในชั้นเรียน เช่น กันที่คุณครูถามแล้วนักเรียนตอบ การที่ครูรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน การที่ครูและนักเรียนพยายามสนใจซึ่งกันและกัน

  1. องค์กรการเรียนรู้

         องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นองค์กรที่สามารถเรียนรู้สร้างองค์ความรู้เพื่อ เพิ่มพูนสมรรถนะที่จะก่อเกิดความก้าวหน้าในการดำเนินกิจการไปสู่เป้าหมายร่วมขององค์การ

Davenport & Prusak ได้ให้นิยามความรู้ว่า “ความรู้คือส่วนผสมที่เลื่อนไหลของประสบการณ์ที่ได้รับการวางโครงร่าง, เป็นคุณค่าต่างๆ, ข้อมูลในเชิงบริบท, และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่ชำนาญการ ซึ่งได้นำเสนอกรอบหรือโครงร่างอันหนึ่งขึ้นมา เพื่อการประเมินและการรวบรวมประสบการณ์และข้อมูลใหม่ ๆ มันให้กำเนิดและถูกประยุกต์ใช้ในใจของบรรดาผู้รู้ทั้งหลาย ในองค์กรต่าง ๆ บ่อยครั้ง มันได้รับการฝังตรึงไม่เพียงอยู่ในเอกสารต่าง ๆ หรือในคลังความรู้เท่านั้น แต่ยังอยู่ในงานประจำ, กระบวนการ, การปฏิบัติ และบรรทัดฐานขององค์กรด้วย” สาเหตุที่นักศึกษาครูหรือครูต้องมีการเรียนรู้เรื่ององค์กรการเรียนรู้หรือสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ เนื่องจากครูเป็นผู้ที่ต้องทำงานในด้านความรู้ ครูต้องศึกษาสร้างฐานองค์ความรู้และสร้างสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างสถานศึกษาให้เป็นสถานที่ ที่ให้ผู้เรียนทุกคนสามารถขยายองค์ความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน

กระบวนการสร้างองค์กรการเรียนรู้/สถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ เป็นอย่างไร

แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

         1. บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)  หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ

    2. แบบแผนทางความคิด (Mental Model)  หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ แสดงถึงวุฒิภาวะ(Emotional Quotient, EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

         3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

     

         4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ

5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็นระบบโดยรวม (Total System) ได้อย่างเข้าใจ แล้วสามารถมองเห็นระบบย่อย (Subsystem) ที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน

  1. การจัดการความรู้ในชั้นเรียน

ครูต้องเรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้ในชั้นเรียน เพราะความรู้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เด็กบางคนมีความรู้มาก บางคนมีความรู้น้อย ครูจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาการจัดการความรู้ในชั้นเรียนเพราะจะได้นำไปจัดการความรู้เวลาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อที่จะได้มีการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพส่วนกระบวนการจัดการความรู้  เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ

1) การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

2) การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5) การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง  อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่เป็นความรู้ฝังลึก  จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7) การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

  1. การวิเคราะห์ระบบการศึกษาและระบบชั้นเรียน

การวิเคราะห์ระบบการศึกษาและระบบชั้นเรียน เป็นการศึกษาวิธีการดำเนินงานของระบบเพื่อความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาระบบนั้น ๆในระบบการศึกษาและระบบชั้นเรียนปัจจุบัน เพื่อออกแบบระบบใหม่ หรือปรับปรุงและแก้ไขระบบงานเดิมให้ดีขึ้น นักศึกษาครู /ครู จึงต้องเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์ระบบการศึกษาและระบบชั้นเรียนเพื่อจะได้ปรับปรุงการบริหารจัดการชั้นเรียน เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ เพิ่มความสามารถในการควบคุมชั้นเรียน และสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21

การวิเคราะห์ระบบการศึกษาและระบบชั้นเรียน มี 8 ขั้นตอนคือ

ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหาที่ควรแก้ไข

ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึงความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ

ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว

และต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ

ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวางและเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ

ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป

ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้นการทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงานให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป

ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข

ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติหรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป

การวิเคราะห์ระบบการศึกษาและระบบชั้นเรียน มีองค์ประกอบสำคัญประกอบด้วย

1.ตัวป้อน ( Input ) หรือ ปัจจัยนำเข้าระบบ คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก

2.กระบวนการ ( Process ) ในระบบการเรียนการสอนก็คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอนอาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริม การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้ ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด ๆ

3.ผลผลิต ( Output )  คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ  สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน ไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีในด้าน พุทธิพิสัย ( Cognitive ) จิตพิสัย ( Affective ) และ ทักษะพิสัย ( Psychomotor )

  1. การบริหารจัดการชั้นเรียนและการควบคุมชั้นเรียน

ในสังคมฐานความรู้ (knowlege based Society) องค์กรใดมีความสามารถจัดการความรู้ (Knowlege Management) ได้อย่างเหมาะสมจะเป็นองค์กรที่มีการดำเนินการไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดการความรู้จึงเป็นเครื่องสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร ดังนั้นครูจำเป็นต้องเรียนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ครูจำเป็นต้องจัดการเรียนรู้ของครูจะต้องอาศัยความรู้และกระบวนการที่เหมาะสมในการจัดการความรู้ซึ่งมีอยู่ทุกที่แม้ในธรรมชาติ โดยจะต้องดำเนินงานร่วมกับนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน และชุมชน ทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติ ผู้นำ ผู้ร่วมมือกระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน จะต้องกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของวิชา กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะ แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง รวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ นำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมา ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริงคุณค่าของกระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน เกิดบรรยากาศในการเรียนที่ดี ส่งผลค่อการเรียนรู้ นักเรียนกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกมากขึ้น เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อครูและนักเรียน นักเรียนสมารถเรียนรู้ได้มากขึ้น

หลักการ แนวคิดการบริหารจัดการในชั้นเรียน มีอะไรบ้าง

1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ 2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ 3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง

การบริหารจัดการในชั้นเรียนคืออะไร

การบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวาง แผนการจัดกิจกรรมให้มีความพร้อมสำหรับการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียน อีกทั้งการเรียนการสอน เป็นไปอย่ามีประสิทธิ์ภาพของการศึกษา โดยจะเน้นการนำเทคโนโลยีใหม่มาเป็นสื่อการเรียนรู้ เพื่อให้ เกิดประสิทธิ์ผลในการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเห็นได้ชัด และ ...

การบริหารจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญอย่างไร

ความสำคัญ ของ การบริหารจัดการชั้นเรียน (Importance of Classroom Management) ที่มีต่อผู้เรียน ดังต่อไปนี้ 1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความอบอุ่นในขณะอยู่ในชั้นเรียน และมีความสุขในขณะที่มีการเรียนการสอน 2. ช่วยให้ส่งเสริมสนับสนุนบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในเวลาเรียนปกติและนอกเวลาเรียน