การคุ้มครองสวัสดิภาพหมายถึงอะไร

Skip to content

  • รู้จักมูลนิธิ
    • ความเป็นมา
    • กรรมการมูลนิธิ
    • รายงานผลการดำเนินงาน
    • ติดต่อเรา
  • กิจกรรมและโครงการ
    • ข่าวสารกิจกรรม
    • โครงการปัจจุบัน
    • โครงการร่วมกับภาคี
    • โครงการเปิดรับบริจาค
  • คลังความรู้
    • กฎหมายเกี่ยวกับเด็ก ครอบครัว / อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก แห่งองค์กรประชาชาติ
    • กระบวนการคุ้มครองเด็ก
    • มาตรฐานขั้นต่ำในการอุปการะเลี้ยงดูเด็ก
    • การป้องกันภัยทางเพศในเด็ก
    • การป้องกันการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก
    • การบําบัดฟื้นฟูเด็กทางร่างกายจิตใจ
    • เทคนิคการเลี้ยงดูเด็ก (How to / Tip)
  • มัลติมีเดีย
    • E-Newsletter
    • สิ่งพิมพ์
    • เสียง
    • วิดีโอ
  • นิทรรศการออนไลน์
    • ศิลปะสร้างสุข
    • ศิลปะกับธรรมชาติ
  • ผู้พิทักษ์เด็ก
    • เรื่องราวผู้พิทักษ์เด็ก
    • กิจกรรมผู้พิทักษ์เด็ก
    • สมัครสมาชิกผู้พิทักษ์เด็ก
  • เรื่องเล่าดีดี
    • เรื่องเล่าของสังคม
    • เรื่องเล่าจากคนทำงาน
    • ผู้ให้การสนับสนุน
  • ร่วมสนับสนุน
    • ร่วมบริจาคเงินออนไลน์
    • ร่วมจัดกิจกรรมระดมทุน
    • ร่วมเป็นอาสาสมัคร
    • แบ่งปันข่าวสาร

เด็ก กลุ่มเป้าหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

เด็ก กลุ่มเป้าหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

“เด็ก” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบุูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิภาวะด้วยการสมรส

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มีเนื้อหาสาระในการดูแลเด็กทุกคน โดยกำหนดให้ผู้ปกครองมีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็ก ตามความในมาตรา 23 ดังนี้

“มาตรา 23 ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู    อบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตน ตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณี และ วัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ”

จากรายละเอียดมาตรฐานขั้นต่ำในกฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการอุปการะเลี้ยงดู  อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ.  2549

โดยทั่วไปเรามักเข้าใจว่า ผู้ปกครอง หมายถึง บิดามารดา แต่พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546  มาตรา 4 กำหนดความหมายของคำว่า “ผู้ปกครอง” ไว้อย่างกว้างครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องทุกคนที่ทำหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูเด็ก

“ ผู้ปกครอง  หมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย ”

สรุปว่า   เด็กปกติทั่วไปเป็นกลุ่มเป้าหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ และเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ

นอกจากพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546   กำหนดให้ผู้ปกครองทำหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม ได้รับการส่งเสริมพัฒนา ปกป้องคุ้มครอง ตามที่กำหนดในมาตรา 23 แล้วยังกำหนดเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ และเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ พ.ศ.2549     กฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด พ.ศ.2549    กฎกระทรวงกำหนดเด็กที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ พ.ศ.2549

* ความหมายของเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด

เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด เป็นเด็กที่อยู่ในสภาพจำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ  แต่ในทางปฏิบัติเด็กกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ  เหตุผลเพราะผู้ปฏิบัติงานบางส่วนยังไม่เข้าใจความหมาย หรือขาดความรู้และทักษะในการทำงานกับเด็กกลุ่มนี้  จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิดเป็นเด็กกลุ่มไหน

“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด”   หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

กฎกระทรวง กำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พ.ศ. 2549

ข้อ 1 เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร  ได้แก่ เด็กที่มีพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ประพฤติตนเกเรหรือข่มเหงรังแกผู้อื่น
(2) มั่วสุมในลักษณะที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น
(3) เล่นการพนันหรือมั่วสุมในวงการพนัน
(4) เสพสุรา สูบบุหรี่ เสพยาเสพติดให้โทษหรือของมึนเมาอย่างอื่น เข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการ
จำหน่ายหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
(5) เข้าไปในสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
(6) ซื้อหรือขายบริการทางเพศ เข้าไปในสถานการค้าประเวณีหรือเกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
(7) ประพฤติตนไปในทางชู้สาว หรือส่อไปในทางลามกอนาจารในที่สาธารณะ
(8) ต่อต้านหรือท้าทายคำสั่งสอนของผู้ปกครองจนผู้ปกครองไม่อาจอบรมสั่งสอนได้
(9) ไม่เข้าเรียนในโรงเรียนหรือสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ

ข้อ 2 เด็กที่ประกอบอาชีพที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี  ได้แก่  เด็กที่ประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้
(1) ขอทานหรือกระทำการส่อไปในทางขอทานโดยลำพังหรือโดยมีผู้บังคับ ชักนำ ยุยงหรือส่งเสริม หรือ
(2)   ประกอบอาชีพหรือกระทำการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดย มิชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี

ข้อ 3  เด็กที่คบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีได้แก่ เด็กที่คบหาสมาคมกับบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลหรือกลุ่มคนที่รวมตัวกันมั่วสุม เพื่อก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น หรือกระทำการอันขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือ
(2) บุคคลที่ประกอบอาชีพที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี

ข้อ 4 เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ได้แก่ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่ ดังต่อไปนี้
(1) อาศัยอยู่กับบุคคลที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษหรือให้บริการทางเพศ
(2) เร่ร่อนไปตามสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่มีที่พักอาศัยเป็นหลักแหล่งที่แน่นอน หรือ
(3) ถูกทอดทิ้งหรือถูกปล่อยปละละเลยให้อยู่ในสภาพแวดล้อมอันอาจชักนำไปในทางเสียหาย

สรุป

“ เด็ก”  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546   หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส  กฎหมายฉบับนี้ กำหนดหลักการปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใดให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ  นอกจากพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546   กำหนดเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ และเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในกฎกระทรวงหลายฉบับ ประชาชนทั่วไปส่วนมากไม่ทราบรายละเอียดเหล่านี้ส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนา ไม่ได้รับการสงเคราะห์หรือไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

Page load link

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด

วิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพคืออะไร

การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหมายถึง เป็นการ ให้ความคุ้มครองเด็ก ที่ถูกทําทารุณกรรม ให้ได้รับความ ปลอดภัย จากภยันตราย เช่น เด็กที่ถูกทําร้ายร่างกายและ จิตใจ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกหน่วงเหนี่ยวกักขัง ไม่ว่า จากผู้อื่นหรือบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว และให้ความ คุ้มครองเด็กที่มีความประพฤติไม่สมควร เด็กที่มี พฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระ ...

คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ มีอะไรบ้าง

คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ หมายถึง คดี ๒ ประเภท คือ ๑.คดีร้องขอให้ศาลคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรง ในครอบครัวตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระท าด้วยความ รุนแรงในครอบครัว ๒.คดีร้องขอให้ศาลคุ้มครองสวัสดิภาพในกรณีที่มีการปฏิบัติต่อเด็ก โดยมิชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก