รัชกาลที่ 1 มี เมีย กี่ คน

ช่วงนี้คนไทยกำลังสนใจเกี่ยวกับพระภรรยาของพระมหากษัตริย์ มีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้กันแพร่หลาย ซึ่งหนึ่งข้อมูลที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ ลำดับชั้นพระภรรยาของพระมหากษัตริย์ โดยมีการใช้คำว่า “พระภรรยาเจ้า” อธิบายลำดับขั้นพระภรรยาทุกขั้น ซึ่งเป็นการใช้คำที่ไม่ตรงตามความหมายของคำว่า “พระภรรยาเจ้า” ในประวัติศาสตร์

ข้อมูลในประวัติศาสตร์คือ คำว่า “ภรรยาเจ้า” เป็นคำที่มีในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งหมายถึงพระภรรยาของพระเจ้าแผ่นดินที่มีชาติกำเนิดเป็น “หม่อมเจ้า” ขึ้นไป พูดให้เข้าใจง่ายคือพระภรรยาที่เป็นเจ้ามาตั้งแต่กำเนิด ไม่ได้นับพระภรรยาที่เป็นสามัญชน และมีข้อยกเว้นพิเศษกรณีที่ไม่ใช่เจ้าในราชวงศ์จักรี แต่เป็นเจ้าในราชวงศ์อื่น เช่น เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งชาติกำเนิดเป็นเจ้าในราชวงศ์ฝ่ายเหนือแห่งเชียงใหม่

  • “ประธานใหญ่โตโยต้าญี่ปุ่น” มาทำอะไรในเมืองไทยเกือบ 2 สัปดาห์? 
  • พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
  • รู้จัก Dawn–AI Avatars แอปพลิเคชั่น ที่ดาราใช้แปลงร่างเป็นอวตาร

นอกจากกฎเกณฑ์ดังที่กล่าวไปแล้ว พระภรรยาเจ้ายังแบ่งเป็นพระภรรยาเจ้าชั้น “ลูกหลวง” หมายถึงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน และพระภรรยาเจ้า “ชั้นหลานหลวง” คือเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าแผ่นดิน

พระฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า

ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยพระฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้าแต่เดิมซึ่งรับพื้นฐานมาจากลัทธิฮินดู มี 4 ขั้น ดังนี้

1. พระอัครมเหสี

2. พระมเหสี

3. พระราชเทวี

4. พระอัครชายา

พระอิสริยยศของพระอัครมเหสี

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มนำเอาแบบอย่างที่จะสถาปนาพระอิสริยยศของพระอัครมเหสีในความหมายแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในประเทศไทยอย่างมีกฎเกณฑ์ ซี่งในสมัยรัชกาลที่ 5 พระฐานันดรศักดิ์พระมเหสีเทวีมีทั้งหมด 5 ลำดับ คือ

1. พระบรมราชินีนาถ

Advertisement

2. พระบรมราชเทวี

3. พระราชเทวี

4. พระอัครชายาเธอ

5. พระราชชายา

ส่วนพระสนมเอกและพระสนมเป็นพระภรรยาที่มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน ไม่ได้นับว่าเป็น “พระภรรยาเจ้า” มี 2 ลำดับขั้น ได้แก่

1. พระสนมเอก ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าคุณพระ, เจ้าคุณจอมมารดา, เจ้าจอมพระ

2. พระสนม ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าจอมมารดา, เจ้าจอม, จอมมารดา

พระภรรยาเจ้า 9 พระองค์ในรัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระภรรยาเจ้า 9 พระองค์ เรียงลำดับตามปี พ.ศ.ที่ทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรสหรือพระราชธิดา ดังนี้

1. พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี (ชั้นลูกหลวง ทรงเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4)

2. พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (ชั้นหลานหลวง ทรงเป็นหลานปู่ในรัชกาลที่ 3)

3. พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค (ชั้นหลานหลวง ทรงเป็นหลานปู่ในรัชกาลที่ 3)

4. พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี (ชั้นลูกหลวง ทรงเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4)

5. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (ชั้นลูกหลวง ทรงเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4)

6. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (ชั้นลูกหลวง ทรงเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4)

7. สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (ชั้นลูกหลวง ทรงเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4)

8. พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ (ชั้นหลานหลวง ทรงเป็นหลานปู่ในรัชกาลที่ 3)

9. เจ้าดารารัศมี พระราชชายา (ไม่ได้ทรงเป็นมั้ง “ลูกหลวง” หรือ “หลานหลวง” แต่ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์แห่งนครเชียงใหม่)

ส่วนการใช้คำว่า “พระภรรยาเจ้า” ในยุคปัจุบันที่หลายแหล่งข้อมูลนับรวมพระภรรยาของพระมหากษัตริย์ทุกขั้น รวมถึงพระสนมเอกและพระสนมนั้น สันนิษฐานว่าคงจะเกิดจากความเข้าใจว่า “เจ้า” ที่อยู่ในคำว่า “พระภรรยาเจ้า” หมายถึงพระภรรยาของเจ้าผู้เป็นพระสวามี แต่ในประวัติศาสตร์ คำว่า “เจ้า” ที่อยู่ในคำว่า “พระภรรยาเจ้า” หมายถึงพระภรรยาเองที่มีชาติกำเนิดเป็นเจ้า

———-

เรียบเรียงจาก : หนังสือ “พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้า ในรัชกาลที่ 5” เขียนโดย นายแพทย์จิรวัฒน์ อุตตมะกุล ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 โดยสำนักพิมพ์มติชน

ก่อนออกเดินทางไปท่องอัมพวา จ.สมุทรสงคราม ถิ่นพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่ง “มติชนอคาเดมี” จัดทริปสุดหฤหรรษ์ขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมี “อาจารย์ปรีดี พิศภูมิวิถี” ผู้เชี่ยวชาญช่ำชองประวัติศาสตร์ไทยทั้งเรื่องไพร่เรื่องเจ้า ทำหน้าที่เป็นวิทยากรพาทัวร์ตลอดทั้งวัน ใครยังไม่ได้จองไปร่วมแจมด้วยก็ต้องรีบแล้ว เพราะการไปทริปครั้งนี้ “อาจารย์ปรีดี” มีเกร็ดประวัติศาสตร์มันๆ มาเล่าสู่กันฟัง…

อย่างเรื่องของ “สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี” พระบรมราชินีพระองค์แรกของจักรีวงศ์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสตรี “ขี้หึงเป็นที่สุด” ประวัติศาสตร์มีบันทึกไว้ว่าทรงเคยใช้ “ดุ้นแสม” ฟาดศรีษะ “เจ้าคุณแว่น” พระสนมเอกในรัชกาลที่ 1 จนเลือดอาบมาแล้วเพราะความขี้หึง  สมเด็จพระอมรินทราฯ มีพระนามเดิมว่า “นาค” พระราชสมภพเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2280 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นธิดาของคุณทอง ณ บางช้าง และคุณสั้น (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระรูปศิริโสภาคยมหานาคนารี) เป็นคหบดีเชื้อสายมอญ มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 10 คน ทุกคนล้วนได้รับพระราชทานยศเป็น “เจ้าคุณ” ทั้งนั้น

ที่กล่าวถึง “อัมพวา” เป็น “ถิ่นพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ก็เนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งสมรสกับ “คุณนาค” หรือสมเด็จพระอมรินทราฯ ผู้มีพื้นเพบ้านเดิมเป็นคนอัมพวา แขวงบางช้าง หรือตำบลบางช้างในปัจจุบัน  ในสมัยโบราณ “แขวงบางช้าง” เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่มีความเจริญในด้านการทำสวน ปลูกพืชผักผลไม้ และในเรื่องของการค้าขาย มีหลักฐานเชื่อได้ว่าในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  แขวงบางช้างมีตลาดค้าขายเรียกว่า “ตลาดบางช้าง” นายตลาดเป็นหญิงชื่อน้อย มีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวแก้วผลึก นายตลาดผู้นี้อยู่ในตระกูลเศรษฐีบางช้าง ซึ่งต่อมาเป็นราชนิกุล “ณ บางช้าง”

ก่อนหน้าที่สมเด็จพระอมรินทราฯ จะก้าวสู่การเป็นพระบรมราชินีพระองค์แรกแห่งจักรีวงศ์นั้น  เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2303 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โปรดเกล้าฯ ให้นายทองด้วง (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี  ซึ่งเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ต่อมาหลวงยกกระบัตรได้แต่งงานกับ “คุณนาค” บุตรีคหบดีบางช้าง และได้ย้ายบ้านไปอยู่หลังวัดจุฬามณี ต่อมาเมื่อไฟไหม้บ้าน จึงได้ย้ายไปอยู่ที่หลังวัดอัมพวันเจติยาราม อีก 3 ปี

รัชกาลที่ 1 มี เมีย กี่ คน
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (ภาพจาก : วิกิพีเดีย)

พ.ศ. 2310 เมื่อพม่ายกทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยาแตก หลวงยกกระบัตรตัดสินใจอพยพครอบครัวเข้าไปอยู่ในป่าลึก ในระหว่างนี้ ท่านแก้ว (สมเด็จกรมพระศรีสุดารักษ์) พี่สาวของหลวงยกกระบัตร ได้คลอดบุตรหญิงคนหนึ่งตั้งชื่อว่า “บุญรอด” (ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 2) ครั้งเมื่อพระยาวชิรปราการรวบรวมกำลังขับไล่พม่าออกไปหมดแล้ว ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าตากสิน หลวงยกกระบัตรจึงได้อพยพครอบครัวกลับภูมิลำเนาเดิม  ในช่วงนี้เองคุณนาคได้คลอดบุตรคนที่ 4 เป็นชายชื่อ “ฉิม” ซึ่งต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  หลังจากนั้นหลวงยกกระบัตรได้กลับเข้ารับราชการอยู่กับพระเจ้าตากสิน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา กระทั่งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต้นราชวงศ์จักรี

เรื่องของสมเด็จพระอมรินทราฯ ในหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คของสำนักพิมพ์มติชน ฉบับพิเศษชื่อว่า “ลูกแก้วเมียขวัญ” เขียนโดย “ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย” เนื้อหากล่าวถึงสมเด็จพระอินทราบรมราชินี ว่า ทรงเป็นสตรีที่มีความรู้สึกว่าไม่มีสิ่งใดในโลกนี้จะทดแทนความรักได้  การพบรักระหว่างหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี และคุณนาคนั้น ประหนึ่งนิยายโรแมนติก เล่ากันว่าคุณนาคเป็นสตรีที่มีรูปโฉมงดงาม กระทั่งสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ให้ทหารมหาดเล็กไปนำตัวเพื่อมาเป็นสนมนางใน แต่บิดาคุณนาคหวงลูกสาวไม่อยากให้เข้าวังเป็นนางใน จึงไปขอร้องให้บิดาของหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี กราบบังคมทูลว่าได้หมั้นหมายกับลูกชายไว้แล้ว

รัชกาลที่ 1 มี เมีย กี่ คน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ภาพจาก : วิกิพีเดีย)

ขณะที่อีกกระแสเล่าว่าทั้งหลวงยกกระบัตรและคุณนาค พบรักกันตามครรลองของคนหนุ่มสาวทั่วไป  กล่าวคือคุณนาค แม้จะเกิดในตระกูลคหบดี แต่ก็ต้องทำงานหลักตามอาชีพ ไม่ว่าลอกท้องร่อง วิดน้ำ พรวนดิน ดายหญ้า ขึ้นต้นหมากรากไม้เก็บผล หรือแจวเรือพายเรือ การเป็นหญิงขยันขันแข็งทำงานนี่เอง วันหนึ่งคุณนาคกำลังปีนขึ้นเก็บผลไม้บนต้นไม้ในสวนริมคลอง เกิดอุบัติเหตุพลัดตกลงมาบาดเจ็บจุกเสียดอยู่โคนต้น ก็ให้บังเอิญหลวงยกกระบัตรหนุ่มมีอันต้องนั่งเรือผ่านมาพบเห็นเหตุการณ์ เข้าพอดีจึงได้ช่วยเหลือ เป็นต้นเหตุของความสัมพันธ์ที่สานต่อมาเป็นความรักและได้แต่งงานในที่สุด

หลังแต่งงาน ศึกสงครามในบ้านเมืองยังไม่สงบ ฝ่ายชายต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษามาตุภูมิ ส่วนฝ่ายหญิงก็ยังคงทำงานบ้าน งานสวน ดังเดิม  กระทั่งปลายกรุงศรีอยุธยา สภาพบ้านเมืองแตกสลายยับเยินเปลี่ยนวิถีชีวิตจิตใจของผู้คนโดยสิ้นเชิง  หลวงยกกระบัตรตัดสินใจอพยพครอบครัวเดินทางเข้ากรุงธนบุรี เพื่อสมทบกับพระยาตากกู้บ้านฟื้นเมือง การเดินทางจากสมุทรสงครามมายังกรุงธนบุรีสมัยนั้น โดยทางเรือตามคลองสามสิบสองคด เพื่อมาออกแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างทางมีเหตุการณ์พิสูจน์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของสองสามีภรรยา และอุปนิสัยสุขุมเยือกเย็นของหลวงยกกระบัตร  ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เล่าไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้

ว่า…  ระหว่างเดินทาง เจ้าคุณชูโต ซึ่งเป็นพี่ชายของคุณนาค ร่วมเดินทางไปเพื่อกอบกู้บ้านเมืองด้วยกันนั้น กำลังเคร่งเครียดกับสถานการณ์บ้านเมือง มีใจอันร้อนรน เมื่อมองเห็นสองสามีภรรยานั่งพูดจาเล่นหัว หัวเราะหัวใคร่กันอยู่กลางลำเรือ ก็เกิดโมโหเดือดกล่าวหาน้องสาวน้องเขย ว่า “…ไม่รู้จักกาละเทศะ บ้านเมืองเป็นกลียุค บ้านแตกสาแหรกขาดถึงป่านนี้แล้ว ยังมานั่งหยอกล้อกันอยู่ได้ คนเช่นนี้ไฉนจะไปกู้บ้านกู้เมืองได้สำเร็จ…” มิใไยที่สองสามีภรรยาจะชี้แจงให้ฟังว่าระยะทางที่จะไปยังอยู่อีกไกล การศึกสงครามข้างหน้ายังมีอีกมาก เมื่อยังไม่ได้เผชิญหน้าก็ควรทำจิตใจและร่างกายให้สบาย จะได้มีกำลังใจไว้ต่อสู้กับข้าศึก

เจ้าคุณชูโตเอาแต่เกรี้ยวกราด ไม่ยอมฟังเหตุผล ขอแยกตัวไปตามลำพัง ด้วยคำทิ้งท้ายว่า “…เมื่อรักสุขรักสบายก็จงไปด้วยกันแต่สองคนผัวเมียเถิด เราจะแยกทางไปแต่ตัว จะไปแก้แค้นทดแทนอ้ายพม่าข้าศึกให้ได้…”ว่าแล้วก็กระโดดขึ้นฝั่งและหายสาบสูญไปแต่บัดนั้น  ส่วนหลวงยกกระบัตรได้ใช้ความสุขุมเยือกเย็นรับราชการเป็นทหารกล้า ในกองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินจนเป็นที่ประจักษ์ และเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ ได้ตำแหน่งสูงสุด คือสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

สำหรับคุณนาคนั้นตลอดชีวิตในช่วงต่อมายังคงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท แม้ภัยสงครามจะผ่านไปและฐานะความเป็นอยู่ของคุณนาคเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นท่านผู้หญิงของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เล่ากันว่าตลอดพระชนมชีพของท่าน จะต้องเตรียมเสบียงอาหาร ซึ่งประกอบด้วยอาหารแห้งนานาชนิดใส่ไว้ในกระจาด 2 ใบ พร้อมสาแหรกและไม้คานวางไว้ข้างๆ ตัว เพื่อสะดวกต่อการหยิบฉวย และพระกระยาหารที่ประกอบขึ้น แม้ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งพระราชินีแล้ว ยังคงเป็นพวกอาหารที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานๆ ไม่ว่าจะเป็นผักดองหรือของเค็มต่างๆ

มีเสียงร่ำลือกันว่าอุปนิสัยอย่างหนึ่งของคุณนาค คือ ขี้หึงเป็นที่สุด จนมีคำเปรียบเทียบติดปาก “มเหสีขี้หึงเหมือนหนึ่งเสือ” ความขี้หึงของสมเด็จพระอมรินทราฯ เท่าที่ปรากฏเป็นเรื่องราวคือครั้งที่ท่านหึง คุณนวล น้องสาวของท่าน ซึ่งกำลังเป็นสาวเกรงว่าจะเป็นที่ต้องตาของท่านเจ้าคุณสามี จึงทรงหาโอกาสสนับสนุนให้คุณนาวลสมรสกับ นายบุนนาค ต้นสกุล บุนนาค ซึ่งกำลังเป็นพ่อหม้ายตำแหน่งทนายหน้าหอของเจ้าคุณสามี มีผลให้สกุลบุนนาคเกี่ยวพันกับราชวงศ์จักรสืบมา

อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระอมรินทราฯ ไม่อาจทรงยึดอดีตให้คงอยู่ สิ่งที่กาลเวลานำมาและเป็นเหตุให้ชีวิตในครอบครัวต้องเปลี่ยนแปลงก็คือ สาวชาวเวียงจันทน์ ชื่อ “คุณแว่น”  ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกพากลับมาด้วยเมื่อครั้งยกทัพไปตีเวีงจันทน์ เล่ากันว่าท่านผู้หญิงนาคทำใจรับการมีสตรีอื่นมาร่วมสามีด้วยไม่ได้ ลุแก่โทสะถึงขั้นใช้ดุ้นแสมฟาดหัวสตรีที่เป็นส่วนเกิน เหตุการณ์ครั้งนั้นร้ายแรงขนาดที่ท่านเจ้าพระยาใช้ดาบเงื้อง่าจะฟันคุณนาค ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองขาดสะบั้นลง เพราะนับแต่นั้นมา ทั้งสองก็แยกกันอยู่ และมิกลับมาคืนดีกันอีกเลย

แม้เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็ไม่ทรงยกย่องสถาปนาพระอิสริยยศแก่คุณหญิงนาคแต่อย่างใด คุณหญิงนาคก็คงเป็นคุณหญิงนาคตามเดิม มีชีวิตปกติสุขแบบคนสามัญชนทั่วไป

รัชกาลที่ 1 มี เมีย กี่ คน
ภาพนักแสดง จากละครเรื่อง ศรีอโยธยา ธีรภัทร์ สัจจกุล กับบทบาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สาวิกา ไชยเดช รับบทเป็น สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

มีบ้างที่จะเข้าไปยังพระบรมมหาราชวังเพื่อเยี่ยมพระราชธิดาสองพระองค์ของท่านเป็นครั้งคราว แต่ก็กลับก่อนประตูวังจะปิดในตอนพลบค่ำทุกครั้งไป  เมื่อ “พ่อฉิม” พระราชโอรสองค์ใหญ่ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว ทรงสถาปนาคุณหญิงนาคขึ้นเป็น “สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนี” คนทั่วไปจึงเปลี่ยนสรรพนามจาก “คุณหญิง” มาเป็น “สมเด็จพระพันปี” แทน ตั้งแต่นั้นมา  และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเฉลิมพระนามาภิไธยใหม่เป็น “สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี”

สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริพระชนมายุได้ 89 พรรษา พระบรมศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ และโปรดให้สร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ขึ้นถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง แล้วนำพระบรมอัฐิไปประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง

สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เป็นพระราชินีเพียงพระองค์เดียวที่ไม่ได้มาประทับที่พระราชวังหลวง เพราะความหึงหวงต่อพระสวามีของพระองค์

รัชกาลที่ 1 มี ลูก กี่ คน

พ.ศ. 2325 อาณาประชาราษฏร์ กราบทูลเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ 6 เมษายน 2325 อยู่ในราชสมบัติ 27 ปี เสด็จสวรรคต 7 กันยายน 2352 รวมพระชนมายุ 73 พรรษา ครองราชย์ นาน 28 ปี มีโอรสธิดารวม 42 พระองค์

รัชการที่1 สมรสกับใคร

เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมรสกับคุณนาค ธิดาของคหบดีใหญ่ในตระกูลบางช้าง (ดู ณ บางช้าง) โดยมีพระราชโอรสสองพระองค์หนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง เมืองราชบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสงคราม) ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์ แม้จะมิได้โปรดให้สถาปนายกย่องขึ้นเป็น ...

ร.ไหนมีเมียเยอะที่สุด

จากจำนวนพระมเหสีเทวี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ที่มีมากถึง 152 ท่าน คงทำให้หลายคนเกิดคำถามชวนสงสัยในใจว่า เมื่อพระองค์ต้องเสด็จประพาสยุโรป เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาอารยประเทศครั้งแรก พ.ศ.2440 ซึ่งต้องไกลจากบ้านเป็นเวลาหลายเดือนนั้น ใครคือ 'เมีย' ที่พระพุทธเจ้าหลวง 'คิดถึง' มากที่สุด

รัชกาลที่ 1 ทรงพระนามว่าอย่างไร

รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ขึ้นครองราชย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สิ้นสุดการครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352) รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย