จุดเด่นของ smart contract ประกอบด้วย

Smart Contract คืออะไร? และมีการทำงานอย่างไร?

Smart Contract คือสัญญาอัจฉริยะถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกช่วงปี ค.ศ. 1990 ด้วยแนวคิดของ Nick Szabo และต่อมาจึงถูกนำไปใช้กับคริปโทเคอร์เรนซีและเทคโนโลยีบล็อกเชน ด้วยการเขียนโค้ดเพื่อระบุข้อตกลงระหว่างบุคคล ใกล้เคียงกับสัญญาบนโลกแห่งความเป็นจริง แต่ถูกสร้างเป็นรูปแบบดิจิทัล ที่สะดวก ปลอดภัย โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยปราศจากตัวกลาง Smart Contract เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นบนโลกของคริปโทเคอร์เรนซี ในปี ค.ศ. 2015 เมื่อผู้ใช้สามารถสร้าง Smart Contract เป็นของตัวเองบนเครือข่ายบล็อกเชนของ Ethereum ก่อให้เกิดการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันกระจายศูนย์ (dApps) หรือโทเคนต่าง ๆ นั่นเอง 

เมื่อคริปโทเคอร์เรนซีในปัจจุบัน ไม่ได้มีจุดเด่นแค่เพียงการรักษามูลค่าทางการเงิน (Store of Value) หรือความสะดวกในการโอนมูลค่าระหว่างบุคคล แต่สามารถสร้าง Smart Contract ได้ จะเป็นอย่างไร มาดูไปพร้อม ๆ กันได้เลย

ประโยชน์และการทำงานของ Smart Contract คืออะไร?

การทำงานของ Smart Contract คือการทำสัญญาระหว่างบุคคลที่มีการจัดเก็บสำเนาของชุดสัญญานั้น ๆ ไว้ภายในบล็อกเชน หากเทียบกับสัญญาปกติ การมีนักกฎหมายหรือตัวกลางที่คอยร่างสัญญานั้น จะช่วยป้องกันการฉ้อโกงได้ เพราะผู้ทำสัญญาได้มีการลงนามร่วมเพื่อปกป้องสิทธิ์ของกันและกัน

ทว่า สัญญาอัจฉริยะ เมื่อผู้ทำสัญญาสามารถบรรลุเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้ ระบบก็จะอนุมัติรางวัลที่ได้ระบุไว้ภายในสัญญา ซึ่ง Smart Contract สามารถร่างขึ้นด้วยโค้ดหรือภาษาโปรแกรม (Programming Language) บนบล็อกเชนที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละเครือข่าย เช่น Solidity บน Ethereum, Haskell บน Cardano, หรือ Rust บน Polkadot เป็นต้น

ข้อดีและข้อเสียของ Smart Contract

Smart Contract คือสัญญาที่จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล และสามารถทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ เพราะระบบมีการทำงานแบบอัตโนมัติเมื่อผู้ทำสัญญาบรรลุเงื่อนไขที่ถูกระบุไว้ ระบบก็จะทำงานต่อทันทีตามที่ได้ถูกกำหนดไว้

ในแง่ของความปลอดภัย Smart Contract คือสัญญาที่ถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชนถือว่ามีทั้งความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และโปร่งใส อันเป็นจุดเด่นของเทคโนโลยีดังกล่าว ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบสัญญาได้เสมอ ช่วยให้ป้องกันการทุจริตได้อย่างง่ายดาย เพราะสำเนาของสัญญาก็ถูกจัดเก็บไว้ในบล็อกเชน ที่ไม่สามารถแก้ไขเนื้อหาภายในได้เลย

มากไปกว่านั้น เมื่อ Smart Contract คือโปรแกรมที่ทำงานโดยอัตโนมัติ สัญญาอัจฉริยะสามารถออกแบบหรือปรับแต่งได้ตามความต้องการเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้ผู้ทำสัญญาไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง และลดโอกาสเกิดความผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ได้อีกด้วย

ในแง่ของการทำงานของสัญญาอัจฉริยะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพไปพร้อม ๆ กัน แต่ผู้สร้างสัญญาจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างการทำงานอย่างรอบคอบและระมัดระวัง เพื่อป้องกันปัญหาของสัญญาที่เรียกง่าย ๆ ว่า บั๊ก (Bug) ที่อาจก่อให้เกิดการสูญหายของสินทรัพย์และมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถืออีกด้วย

Smart Contract สร้างการใช้งานหรือการประยุกต์ใช้ร่วมกับอะไรได้บ้าง?

สำหรับการใช้งานบนโลกดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซี Smart Contract คือหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดการใช้งาน (Use Cases) ต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น DeFi (Decentralizaed Finance) ที่ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่เข้ามาตั้งแต่ยุคแรก ๆ และได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก โดยสังเกตจาก Total Value Locked (TVL) ที่ถือเป็นมูลค่าของสินทรัพย์ที่ถูกฝากไว้ภายในแพลตฟอร์ม ซึ่งเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ อย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนั้น การใช้งาน Smart Contract คือสัญญาที่ถูกสร้างขึ้นโดยนักพัฒนา และระบบสามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง ตราบใดที่ผู้ใช้ได้บรรลุเงื่อนไขภายในสัญญา ซึ่งนอกเหนือจาก DeFi แล้วก็ยังมี GameFi ที่เป็นการประยุกต์การเงินแบบใหม่ร่วมกับเกมให้ผู้เล่นสามารถเพลิดเพลินไปกับการเล่นเกมและยังสามารถสร้างรายได้จริง ระหว่างการเล่นได้อีกด้วย!

NFT หรือ Non-Fungible Token คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ซึ่ง NFT สามารถเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นผลงานทางศิลปะ ผลงานดนตรี วิดีโอ ที่ดินในโลกแห่งความเป็นจริง และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้มีการทำงานของ Smart Contract อยู่เบื้องหลังทั้งหมด

สรุป

Smart Contract คือสัญญาในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติเมื่อบรรลุเงื่อนไขที่ถูกระบุไว้ เมื่อนำ Smart Contract มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้เกิดเป็นแอปพลิเคชันที่อยู่บนบล็อกเชน หรือ dApps, DeFi, NFT และการใช้บล็อกเชนที่เปิดกว้างมากขึ้นนั่นเอง

อ้างอิง:

IBM, Investopedia, Finematics, Ethereum

ในช่วงนี้หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “Smart Contract” กันอยู่บ่อยครั้ง แต่ยังไม่รู้ถึงความหมาย และบทบาทหน้าที่อย่างแท้จริง วันนี้ “Token X” บริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ซึ่งเราเป็นผู้ให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Blockchain จะพาผู้อ่านทุกท่านมาร่วมเจาะลึกไปกับ Smart Contract หรือ ‘สัญญาอัจฉริยะ’ ที่เป็นชุดโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นด้วยข้อตกลงที่ถูกกำหนดขึ้นมาก่อนระหว่างคู่สัญญา เพื่อนำไปเขียนเป็นเงื่อนไขของโปรแกรม 

จุดเด่นของ Smart Contract คือมันจะถูกเขียนลงบน Blockchain และเมื่อมี Transaction ที่ตรงตามเงื่อนไข ตัวสัญญาก็จะทำ (Execute) สิ่งที่เขียนไว้ตาม Contract และถูกตรวจสอบความถูกต้องด้วย Blockchain ดังนั้น การนำ Smart Contract มาใช้ จึงได้รับผลดีจากคุณสมบัติของ Blockchain ด้วย ซึ่งก็ คือ ความโปร่งใส่ สามารถตรวจสอบได้ และเมื่อถูกนำมาใช้แล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือถูกทำลายได้

ปกติการทำธุรกรรมใด ๆ จะมีธนาคารเป็นตัวกลางในการจัดการและตรวจสอบการทำธุรกรรมต่างๆ แต่หากนำ Smart Contract มาใช้ ก็จะสามารถทำในสิ่งที่ธนาคารทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางเพราะเป็นระบบ Decentralized  

ด้วยความสามารถของ Smart Contract จึงสามารถทำในสิ่งที่เป็นรูทีน (Routine) ได้แบบอัตโนมัติ ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้มีหลายฝ่ายที่เริ่มก้าวเข้าสู่การทำ dApps (Decentralized Application) เพราะมีความมั่นคงและปลอดภัยทางด้านข้อมูล นั่นเอง

การใช้งาน Smart Contract กับวงการเกม

NFT Gaming ถูกพูดว่าเป็นอนาคตของ Crypto โดยในช่วงที่ผ่านมา มีหลายเกมที่พัฒนาขึ้นมาให้อยู่ในรูปแบบ dApps มีการนำ Smart Contract มาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเกม ซึ่งจากเดิม เกมจะเป็นไปในรูปแบบ Pay to Play ที่ผู้เล่นต้องเติมเงินให้กับเกมนั้นเพื่อซื้อ Item บางชนิด ซึ่งหากวันหนึ่งผู้เล่นเลิกเล่นเกมนั้นไป เงินที่เติมไปนั้นก็จะหมดมูลค่าทันที 

แต่ปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมเกมได้มีแนวคิดแบบ Play to Earn (เกมที่เล่นแล้วได้เงิน) โดยผู้เล่นจะถือว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงของ Item ในเกมนั้น ในรูปแบบของ NFT หากเลิกเล่นเกมนั้นไปก็สามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้

การใช้งาน Smart Contract ในหน่วยงานรัฐ

ในบางประเทศได้มีการนำเอา Blockchain และ Smart Contract มาช่วยในการทำงานของภาครัฐ ช่วยให้สามารถ ลดปริมาณการใช้กระดาษ ลดกระบวนการตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ลดการทุจริตในการทำงาน เพราะประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐได้อย่างโปร่งใส เพราะอย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไปในตอนต้น การติดตามการฉีดวัคซีนเป็นตัวอย่างหนึ่งของการนำ Smart Contract มาใช้ในวงการแพทย์ โดยการบันทึกข้อมูลการฉีดวัคซีนลงบน Blockchain จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบการฉีดวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งใน Smart Contract อาจจะมีการระบุเงื่อนไขต่างๆ เช่น การได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆ ทางการแพทย์

การใช้งาน Smart Contract ร่วมกับ AI

นอกจากนี้หากนำเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ มาประยุกต์ใช้ จะทำให้ Smart Contract มีความรู้และสามารถตัดสินใจได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ ยิ่ง AI ได้รับข้อมูลมากเท่าไร การประมวลผลก็จะยิ่งมีความแม่นยำขึ้น 

โดย AI สามารถเรียนรู้การเจรจาครั้งก่อนหน้า และสามารถหาข้อตกลงที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ การนำ AI มาตรวจสอบ Smart Contract ที่เคยเขียนไปก่อนหน้านั้นจะสามารถทำให้ตัวแปรบางตัวที่ถูกมองข้าม นำมาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาใหม่

AI และ Blockchain หากนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน แต่ละเทคโนโลยีจะช่วยส่งเสริมการทำงานของกันและกัน  AI จำเป็นจะต้องมีข้อมูลในการเรียนรู้และประมวลผล โดยข้อมูลที่นำมาเรียนรู้นั้นจำเป็นจะต้องเป็นข้อมูลที่ปลอดภัย และเชื่อถือได้ 

ดังนั้นข้อมูลใน Blockchain จึงถือว่าเป็นฐานข้อมูลที่เหมาะสมในการที่ให้ AI นำไปใช้ และ AI เองก็สามารถช่วยให้ Smart Contract ฉลาดขึ้นได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น AI และ Blockchain ต่างก็ใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาค่อนข้างสูง แต่หากสามารถพัฒนา Smart Contract ให้มีความสามารถในการตอบสนองและตัดสินใจได้อย่างมนุษย์ ก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าและมีการนำไปใช้มากขึ้น

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า Smart Contract สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม ปัจจุบันได้มีหลายบริษัททำ Application ในรูปแบบ dAapps มากขึ้น มีการออก Token เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ ทำให้ผู้คนค่อยๆคุ้นชินและรู้จักเทคโนโลยี Blockchain ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหาก Blockchain และ Smart Contract มีการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากเท่าไร การพูดถึง Blockchain และ Smart Contract ก็จะไม่ใช่เพียงแค่ศัพท์ของคนเฉพาะกลุ่ม แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ สามารถปรับตัว และหาทางใช้ประโยชน์จากมันได้

Smart Contract มีลักษณะเฉพาะแบบใด

Smart Contract หมายถึง กระบวนการทางดิจิทัล ที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมโดยอัตโนมัติไว้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง อย่างเช่น ธนาคาร ซึ่งการสร้าง Smart Contract ที่เป็นระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะมีการตกลงกันก่อนหน้านี้ ถึงขั้นตอน กลไก ในการทำรายการธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งการพัฒนานี้ส่งผลกระทบต่อ ...

Smart Contract มีอะไรบ้าง

Smart Contract (สมาร์ตคอนแทรค) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ถูกเก็บไว้ในรูปของบล็อกเชนอีเธอเรียม โดยตัวสมาร์ตคอนแทรคนี้ สามารถนำไปใช้งานได้โดยใส่เหรียญอีเธอเรียมเข้าไปในตัวสัญญานั้น ๆ นอกจากนั้นแล้ว สมาร์ตคอนแทรคจะมีการระบุกฎระเบียบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายไว้ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการแลกเปลี่ยนเอกสาร ...

บล็อกเซนกับสัญญาอัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกันหรือแตกต่างกันอย่างไร

บล็อกเชน (Blockchain) ไม่เพียงเป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์ (Bitcoin) แต่ยังใช้ในการบันทึกข้อตกลงของสัญญาที่ดำเนินการโดยใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมจัดการ ซึ่ง เรียกว่า “สัญญาอัจฉริยะ” (Smart Contract) การทำงานของสัญญาอัจฉริยะเกิดจากการเขียนโค้ด คอมพิวเตอร์ที่ระบุเงื่อนไขให้สัญญามีผลต่อเมื่อมี ...

ข้อใดเป็นกลุ่มเหรียญแบบ Smart Contract

2. กลุ่มสัญญาอัจฉริยะ (Smart contract) เช่น Ethereum (ETH), Cardano (ADA), Polkadot (DOT), Kusama (KSM) ฯลฯ จุดเด่นของเหรียญกลุ่มนี้คือการเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่สามารถใช้ Smart contract ได้ ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (Dapp) รวมถึง DeFi ขึ้นบนเครือข่ายเหล่านี้