สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน ภาษาอังกฤษ

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน ภาษาอังกฤษ

Lazudi รวบรวมคำศัพท์น่ารู้ในวงการอสังหาริมทรัพย์มาฝากทุกคน เพื่อให้เข้าใจและเวลาเจอคำศัพท์เหล่านี้จะได้ไม่ต้องมัวนึกว่ามันแปลว่าอะไรกันนะ ไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีคำว่าอะไรบ้าง

1. Amenities : สิ่งอำนวยความสะดวก ในวงการอสังหาฯ มักหมายรวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า ร้านค้า สถานีรถไฟฟ้า ที่ใกล้กับโครงการนั้น ๆ ด้วย

2. Agent : ตัวแทนอสังหาฯ ที่สามารถดูแลและจัดการทั้งการซื้อ เช่า ขายอสังหาฯ

3. Agency Agreement : สัญญาว่าจ้างนายหน้าเพื่อฝากปล่อยเช่า-ขายต่อ

4. Appraisal Price : ราคาประเมินที่ดินหรือห้องชุดโดยกรมธนารักษ์

5. As-built Drawing : แบบก่อสร้างตามจริง เมื่อโอนบ้านหรือคอนโดแล้ว โครงการจะส่งมอบไฟล์แบบสร้างจริงนี้ให้ลูกค้า

6. All Expenses : ค่าใช้จ่ายวันโอนทั้งหมด คือ ค่าส่วนกลาง ค่ากองทุน ค่าธรรมเนียมโอน ค่ามิเตอร์และเงินประกันไฟฟ้า

7. After Sales Service : บริการหลังการขาย มีระยะเวลาตามการรับประกัน

8. Advance : ล่วงหน้า มักใช้กับการเช่าอสังหา ห้องชุด เช่น ค่าเช่าล่วงหน้า 1 เดือน = 1 Month Advance

9. Architecture : ผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรม

10. Buyer : ผู้ซื้ออสังหาฯ

11. Built-in : เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตขึ้นใหม่และติดตั้งให้พอดีกับพื้นที่ห้อง มีรูปแบบและดีไซน์ที่กำหนดได้เอง

12. Bare Shell : ห้องขายเปล่าจากโครงการ ไม่มีการตกแต่งภายใน

13 Building Manager : ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ทำหน้าที่บริหารโครงการ ดูแลทรัพย์สิน และอำนวยความสะดวกแก่เจ้าของร่วม

14. Condominium : อาคารชุด หรือคอนโดมิเนียม

15. CBD (Central Business District) : ย่านศูนย์กลางธุรกิจ

16. Co-owner : เจ้าของร่วม ภายหลังโอนกรรมสิทธิ์คอนโดแล้ว เจ้าของห้องจะมีสถานะเป็นเจ้าของในอาคารชุดนั้นร่วมกัน

17. Custom Made : เฟอร์นิเจอร์ออกแบบและสั่งผลิตมาเฉพาะ

18. Capital Gain : อัตราส่วนต่างของกำไรที่ได้จากการขายต่ออสังหาฯ วัดเป็น %

19. Credit Advice : หนังสือแจ้งยอดเงินที่โอนจากต่างประเทศเข้าบัญชี โดยผู้ซื้อต่างชาติต้องโอนเงินเข้าบัญชีของโครงการเพื่อซื้อคอนโด

20. Commission : ค่าตอบแทนนายหน้า โดยจ่ายให้กับนายหน้าอสังหาฯ เมื่อดำเนินการปล่อยเช่า ขายต่อได้สำเร็จลุล่วง

21. Common Area : พื้นที่อำนวยความสะดวกส่วนกลาง ซึ่งเจ้าของร่วมทุกคนสามารถใช้บริการร่วมกันได้ เช่น สระว่ายน้ำ

22. Common Area Fee : ค่าส่วนกลาง ซึ่งเจ้าของร่วมทุกคนมีหน้าที่ชำระ เพื่อใช้จ่ายค่าบริหารพื้นที่และบุคลากรในโครงการ

23. Contractor : ผู้รับเหมา

24. Developer : ผู้พัฒนาหรือบริษัทประกอบการโครงการอสังหาริมทรัพย์

25. Demand : ความต้องการซื้อในตลาดอสังหาฯ

26. Down Payment : ค่างวดรายเดือน

27. Defect : รายการแก้ไขซ่อมแซมในห้องชุด

28. Deposit : เงินมัดจำ มักใช้กับการเช่าอสังหา ห้องชุด เช่น ค่ามัดจำห้อง 2 เดือน = 2 Month Deposit

29. Occupancy Rate : อัตราการเข้าอยู่ของอสังหานั้น ๆ 

30. EIA (Environmental Impact Assessment Report ) : รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางโครงการต้องยื่นรายงานต่อหน่วยงานรัฐ เพื่อประกอบการขออนุมัติพัฒนาโครงการ

31. Exchange Transfer : การโอนเงินต่างประเทศโดยการแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยผู้ซื้อต่างชาติต้องโอนเงินเข้าบัญชีของโครงการเพื่อซื้อคอนโด

32. Electricity Meter and Deposit : เงินค่ามิเตอร์และประกันไฟฟ้า

33. Floor Plan : แบบผังแต่ละชั้นขายของโครงการในมุมมองแนวราบ เพื่อดูภาพรวมของจำนวนห้อง ตำแหน่ง ทิศ รูปแบบห้อง

34. Freehold : โครงการบนที่ดินที่ไม่ติดสัญญาเช่า ผู้ซื้อสามารถถือครองกรรมสิทธิ์บนโฉนดที่ดินนั้นได้

35. Fully Fitted Unit : ห้องชุดที่ได้รับการตกแต่งแค่บางส่วน เช่น ชุดครัว สุขภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศ

36. Fully Furnished : ห้องชุดที่ได้รับการตกแต่ง มีเฟอร์พร้อมอยู่

37. Floor to ceiling : ความสูงจากพื้นถึงฝ้าในห้องชุด

38. Floor to floor : ความสูงจากพื้นถึงพื้นบนชั้นถัดไปในห้องชุด

39. Facade : ลักษณะภายนอกอาคาร

40. Final Payment : เงินงวดสุดท้าย

41. Foreigner Quota : สัดส่วนผู้ซื้อชาวต่างชาติ ที่ถือครองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดในโครงการ ต้องมีจำนวนไม่เกิน 49%

42. Fire Insurance : ประกันอัคคีภัยหรือประกันภัยอาคาร ที่นิติบุคคลต้องทำโดยเจ้าของร่วมต้องชำระค่าประกันร่วมกันทุกปี

43. High Rise : คอนโดอาคารสูง มีพื้นที่รวมกว่า 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือสูงกว่าประมาณ 20 ชั้นขั้นไป

44.. Home Loan : สินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยธนาคารเป็นผู้ปล่อยกู้สินเชื่อ

45. Home Automation : เทคโนโลยีระบบดูแลบ้านอัจฉริยะ

46. Hassle Free Investment : ระบบการบริหารและดูแลการลงทุนแบบครบวงจร โดยผู้พัฒนาโครงการ

47. Investment : การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

48. Investor : นักลงทุน

49. Installment : ค่างวดรายเดือน เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าห้องชุด

50. Inspection : การตรวจรับมอบห้องชุด

51. Interior Design : การตกแต่งห้องชุด

52. Interior Designer : ผู้ออกแบบตกแต่งภายใน

53. Juristic Person Condominium : นิติบุคคลอาคารชุดโดยบริษัทจัดการนิติบุคคลและบริหารอาคาร

54. Key Box : กล่องกุญแจ รับมอบหลังโอนกรรมสิทธิ์คอนโด ภายในจะมีคู่มือ กุญแจ Mail Box การ์ด รีโมทแอร์ เป็นต้น

55. Key Card : บัตรผ่านเข้าออกโครงการหรือเข้าห้อง

56. Location : ทำเลที่ตั้งโครงการ

57. Low Rise : คอนโดอาคารเตี้ย ไม่เกิน 23 เมตรหรือประมาณ 8 ชั้น

58. Loan Interest : ดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อบ้าน

59. Leasehold : โครงการบนที่ดินที่ติดสัญญาเช่าระยะยาว ผู้ซื้อไม่สามารถถือครองกรรมสิทธิ์บนโฉนดที่ดินนั้นได้

60. Lease Agreement : สัญญาเช่าระหว่างเจ้าของห้องชุดและผู้เช่าห้องชุด เพื่อตกลงเงื่อนไขการเช่าอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

61. Lessee : ผู้เช่า

62. Lessor : ผู้ให้เช่า

63. Landscape Designer : ผู้ออกแบบสวนหรือพื้นที่ภายนอกอาคาร

64. Mock Up room : ห้องตัวอย่าง

65. MRR ( Minimum Retail Rate) : อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย

66. MLR (Minimum Loan Rate): อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา

67. Mortgage Fee : ค่าจดจำนองหรือค่าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ คำนวนจาก 1% ของวงเงินกู้สินเชื่อ

68. Main Contractor : ผู้รับเหมาหลักของโครงการ

69.  Ownership Transfer : การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์

70. : Property Fund : กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์

71. REIT (Real Estate Investment Trust) : กองทรัพย์สิน ที่จัดตั้งและบริหารงานโดย บลจ. มาดูแลและช่วยเหลือในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์

72. Property : สินทรัพย์ในอสังหาริมทรัพย์

73. Project : ชื่อเรียกชื่อของโครงการ คอนโดมิเนียม หรือหมู่บ้านนั้น

74. Promotion : การส่งเสริมการตลาด

75. Prime Location : ทำเลที่มีศักยภาพ ส่วนใหญ่เป็นทำเลในเมือง ติดแนวรถไฟฟ้า

76. Pre-approve : การยื่นขออนุมัติสินเชื่อล่วงหน้า เพื่อประเมินศักยภาพการกู้ของผู้จะกู้ยืม

77. Pre-sales : การเปิดรับจองและขายคอนโดช่วงแรกก่อนเปิดขายจริง มีราคาถูกกว่าปกติและเริ่มขายก่อนการก่อสร้างโครงการ

78. Project Progress : รายงานความคืบหน้าโครงการที่อยู่ในระหว่างก่อสร้าง โดยผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้จัดทำส่งให้เจ้าของห้องชุด

79. Penalty : เบี้ยปรับ ดอกเบี้ย ในกรณีผิดสัญญาระหว่างกัน

80. Power of Attorney : หนังสือมอบอำนาจ กรณีมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ใช้ในการติดต่อราชการ เช่น การโอนกรรมสิทธิ์

81. Pet-Friendly : นโยบายของโครงการที่อนุญาตให้เจ้าของห้องชุดเลี้ยงสัตว์ได้

82. Personal Income Tax : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ชำระเมื่อขายต่อคอนโดที่สำนักงานที่ดิน

83. Quotation : ใบเสนอราคาห้องชุด

84. Real Estate : อสังหาริมทรัพย์

85. Resales : การขายต่อ

86. Rent : การปล่อยเช่า ค่าเช่า

87. Rental Yield : อัตราผลตอบแทนจากการปล่อยเช่า มักมีหน่วยวัดเป็น %

88. Sales : การขาย

89. Sales Office : สำนักงานขาย

90. Seller : ผู้ขาย

91. Sales and Purchase Agreement : สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด หรือ สัญญาซื้อขายห้องชุด

92. Supply : ความต้องการขายหรือให้เช่า หมายถึงจำนวนโครงการที่พักอาศัยที่มีรองรับในตลาด

93. Signing Contract Payment : ค่าทำสัญญา ชำระ ณ วันทำสัญญา

94. Specification : รายละเอียดหรือส่วนประกอบภายในห้องชุดและอาคาร ระบุขนาดและยี่ห้อ

95. Sinking Fund : ค่ากองทุน ชำระแก่นิติบุคคลอาคารชุด

96. Stamp Duty : ค่าอากรแสตมป์ ชำระเมื่อขายต่อคอนโดที่สำนักงานที่ดิน

97. Specific Business Tax : ภาษีธุรกิจเฉพาะ ชำระเมื่อขายต่อคอนโดที่สำนักงานที่ดิน

98. Space Planning : การจัดสรรพื้นที่ใช้สอย ในห้องชุดหรือในพื้นที่ส่วนกลาง

98. Tenant : ผู้เช่า

99. Title Deed : โฉนด

100. Transfer Fee : ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ชำระเมื่อเกิดการโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน

95. Telegraphic Transfer (T/T) : วิธีโอนเงินจากต่างประเทศ ที่ธนาคารไทยยอมรับเพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติ

96. Unit : ห้องชุด

97. Unit Layout : แบบผังห้องชุดในมุมมองแนวราบ เพื่อดูภาพรวมของห้อง ตำแหน่ง ทิศ รูปแบบ

98. Under Construction : โครงการอยู่ระหว่างก่อสร้าง

99. VIP Day : กิจกรรมการเปิดขายโครงการใหม่ รอบพิเศษเฉพาะลูกค้าระดับ VIP

100. Warranty : การรับประกันงานสถาปัตยกรรมและงานระบบ ทั้งในห้องชุดและโครงการ

หากผู้อ่านสนใจซื้อ ฝากขาย หรือเช่าอสังหาทั้งในกรุงเทพฯ หรือทำเลจังหวัดที่มีศักยภาพในประเทศไทย สามารถติดต่อ Lazudi ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้ เรามีทีมพร้อมช่วยเหลือที่มากด้วยประสบการณ์และเชี่ยวชาญ

YouTube : http://bit.ly/2NB3Xxr

Twitter : @Lazudiofficial

Instagram : https://www.instagram.com/lazudi_th/

Facebook : https://www.facebook.com/lazudi 

LINE@ : @lazudi

เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ ที่นี่

สัญญาจะซื้อจะขาย ทำตอนไหน

สัญญาจะซื้อจะขาย” เป็นสัญญาที่ทำในตอนเริ่มต้นที่จะตกลงซื้อขายทรัพย์สิน เช่น การซื้อบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัยนั้น ก่อนจะมีการซื้อขายกันจริง ๆ ก็จำเป็นต้องมีการวางมัดจำก่อน หรือก็คือต้องมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อจับจองสิทธิ์ในการซื้อบ้านหรือคอนโดที่สนใจก่อน

สัญญาจะซื้อจะขายต้องมีอะไรบ้าง

สัญญาจะซื้อจะขายนั้นจะประกอบไปด้วย 10 ส่วน ได้แก่ รายละเอียดการจัดทำสัญญา รายละเอียดของคู่สัญญา รายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ ราคาขายและรายละเอียดการชำระเงิน รายละเอียดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ รายละเอียดการส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การโอนสิทธิและคำรับรองของผู้จะขาย การผิดสัญญาการระงับสัญญา ข้อตกลงและเงื่อนไขอื่น ๆ และ ...

สัญญาจะซื้อจะขาย มีแบบไหม

สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบเอาไว้ เพียงแค่คู่สัญญาตกลงโดยถูกต้องตรงกันว่าจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ในภายหน้าก็มีผลเกิดเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ซึ่งเจตนาดังกล่าวเป็นเจตนาสำคัญในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งนี้ ควรมีรายละเอียดในการซื้อขายภายในสัญญาด้วย

สัญญาจะซื้อจะขายต้องทำกี่ฉบับ

การทำสัญญาจะซื้อจะขาย 2 ฉบับ หรือการซื้อขาย 2 สัญญาที่ประกอบด้วย สัญญาฉบับซื้อจริง กับสัญญาฉบับยื่นกู้ ซึ่งสัญญาจะซื้อจะขาย 2 ฉบับนี้ นอกจากจะมีเรื่องของราคาที่เราตกลงทำการซื้อขายกันอยู่แล้ว ยังมีราคาอื่นๆที่มีผลต่อการยื่นกู้อีกด้วย เราไปทำความเข้าใจกับราคาที่ว่าเหล่านั้นกันก่อนว่ามีอะไรบ้าง