สาเหตุปัญหาภัยแล้งในทวีปแอฟริกา

Dr. Youba Sokona, Malian รองประธานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกล่าวว่า นักวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสถาบันต่างๆในแอฟริกา มักไม่ได้รับคำปรึกษาจากผู้กำหนดนโยบายหรือรัฐบาลในทวีปนี้ การวิจัยและแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ของพวกเขานั้นถูกเก็บไว้นานเกินไปและแทบไม่เคยได้มีโอกาสนำมันเข้าสู่การอภิปรายนโยบายเลย และแนวทางที่กระจัดกระจายนี้ยังส่งผลจ่อนโยบายของรัฐบาลด้วย กระทรวงต่างๆมักจะดำเนินตามแนวคิดของผู้บริจาคที่แตกต่างกันไป โดยไม่ได้ประสานงานทางการเมืองระดับสูงอย่างเป็นระบบ และมันกำลังนำไปสู่ปัญหาที่ละน้อยๆ ดังนั้นผู้บริจาคจึงไม่ควรกำหนดนโยบายแต่ต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น พูดง่ายๆว่าจะทำตามใจตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้วย เพราะนี่อาจจะเป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับแอฟริกาก็ได้ที่จะได้คิดอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับวิธีพพัฒนาและการจัดการ เพราะสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายไม่รอใคร ต้องลงมือทำได้แล้ว

การปล่อยมลพิษต้องเพิ่มขึ้นก่อน

งงล่ะสิ ทำไมต้องเพิ่มการปล่อยมลพิษ ศาสตราจารย์ Chukwumerije Okereke จากไนจีเรีย ผู้ทำงานธรรมาภิบาลสภาพภูมิอากาศและนักวิชาการด้านการพัฒนาระหว่างประเทศกล่าวว่า แม้ว่าจะมีผลกระทบในวงกว้างขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแอฟริกา แต่ประเทศที่สนับสนุนก็จะได้รับการปรับปรุงให้น้อยที่สุด กล่าวคือ พันธมิตรระหว่างประเทศมุ่งเน้นไปที่การป้องกันหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3 เท่าในการจัดการเรื่องนี้

ฉันทามติทั่วโลกดูเหมือนจะสมดุลโดยเน้นไปที่การกำจัดก๊าซเรือนกระจกผ่านพืชหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ สิ่งนี้ได้ละเลยการพัฒนาครั้งใหญ่และท้าทายด้านพลังงานที่แอฟริกาต้องเผชิญ และแน่นอนว่าการปล่อยมลพิษจากทวีปอาจต้องเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะเวลาอันใกล้นี้ก่อนที่จะตกดิ่งลงมา

ดูเหมือนว่าประเทศร่ำรวยหลายแห่งคาดหวังว่าแอฟริกาจะก้าวกระโดดไปสู่เทคโนโลยีสะอาดเพื่อการผลิตพลังงาน แต่ก็ไม่ค่อยกระตือรือร้นด้านการลงทุนตามขนาดที่จำเป็นเพื่อให้มันเกิดขึ้นจริง แม้ว่าแอฟริกาจะทำข้อตกลงในการลดการพึ่งพาถ่านหินได้อย่างมีขั้นมีตอนและเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้วก็ตาม

ประเทศในแอฟริกาที่อุดมไปด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลและจำเป็นต้องรู้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงต้องสร้างสถาบันและนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสีเขียว ซึ่งมีตัวอย่างให้ดูแล้วในรวันดาและเอธิโอเปีย แต่ก็ยังต้องดำเนินการอีกมากมายในการกำกับดูแลที่ยังไม่ดีพอ

ต้องใช้เงินทุน ไม่ใช่เงินกู้

Dr. Christopher Trisos จากแอฟริกาใต้ ผู้ริเริ่มโครงการด้านสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแอฟริกาใต้กล่าว่า หลายประเทศพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนอย่างมาก นั่นคือ ไฟฟ้าพลังงานน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟ แต่ภัยแล้งเมื่อเร็วๆนี้ เช่น เอลนีโญในปี 2015-2016 ทำให้เกิดการขาดแคลนไฟฟ้าเป็นวงกว้าง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในอนาคตจะสามารถลดกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำได้อย่างมากในลุ่มน้ำสำคัญของแอฟริกา และจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมที่มีการจ้างงานคนจำนวนมาก

การจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียสจะช่วยลดความเสียหายต่ออนาคตการดำรงชีวิต สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจและระบบนิเวศของแอฟริกาเป็นอย่างมาก เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับที่ลึกขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศที่มีการปล่อยมลพิษสูงนอกจากแอฟริกา

คุณภาพของการเงินก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันส่วนใหญ่มีการจัดหาเงินให้กู้ยืมมากกว่าการให้เงินช่วยเหลือ ซึ่งหมายความว่าประเทศต่างๆที่ทำประโยชน์ได้เพียงเล็กน้อยและก่อให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะกลายเป็นหนี้บุญคุณต่อประเทศที่ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สาเหตุปัญหาภัยแล้งในทวีปแอฟริกา

ผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย

Dr. Kgaugelo Chiloane ผู้ก่อตั้ง KEC Environmental Solutions ชาวแอฟริกากล่าวว่า ชุมชนชาวแอฟริกาที่อ่อนแอและยากจนต้องการความช่วยเหลือในการปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่เสียงของพวกเขาต้องได้รับการรับฟังด้วย พวกเขามีความรู้และความเชี่ยวชาญแบบดั้งเดิมมากมายบนผืนดินที่ถูกละเลย นโยบายมักถูกนำไปใช้โดยชุมชนไม่ได้ไปมีส่วนร่วม ผู้ที่ก่อมลพิษควรชดใช้ด้วยเงินทุนที่จะเอามาแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น บริษัทที่ปล่อยคาร์บอนขนาดใหญ่ ควรรับผิดชอบและชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นในฐานะผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ เนื่องจากเราปล่อยให้พวกเขาสร้างผลกำไรมานานหลายทศวรรษ

ก่อนหน้านี้แอฟริกาประสบกับปัญหาภัยแล้งรุนแรง ทำให้รัฐบาลต้องขนส่งอาหารที่จำเป็นมาให้คนในแต่ละพื้นที่เพื่อประทังความหิวโหย เด็กและสตรีมีครรภ์มีภาวะขาดสารอาหาร หลายประเทศในแอฟริกาจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตรและพลังงานไฟฟ้า แต่ต้องขาดแคลนไป ทำให้ผู้คนหารายได้ไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อแรงงานหลายพันคนและผู้ประกอบการอีกหลายเจ้า ซึ่งสามารถอ่านบทความภัยแล้งในเคนย่าต่อได้ที่ ประเทศเคนย่าน่าห่วง โดนภัยแล้งโจมตี สัตว์ล้มตาย คนนับล้านขาดสารอาหาร

80-90% ของภัยธรรมชาติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น มีทั้งอุทกภัยและภัยแล้งเป็นตัวการสำคัญ ดังนั้นจึงอย่าแปลกใจว่าในขณะที่อุทกภัยถล่มหลายพื้นที่ในปากีสถาน แต่วิกฤต “ภัยแล้ง” ก็กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้เช่นกัน นั่นหมายความว่าสภาพอากาศสุดขั้วที่นำไปสู่ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยภัยแล้งมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า ความเสี่ยงของการเกิดภัยแล้งทางการเกษตรและระบบนิเวศมีโอกาสเกิดขึ้นเกือบ 2.4 เท่าภายใต้ภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นที่ระดับ 2 องศาเซลเซียส นี่จึงปัญหาใหญ่ที่สร้างความหนักอกให้กับผู้นำทุกประเทศในโลกในการที่จะต้องหาทางรับมือและแก้ไขอย่างเร่งด่วน
สาเหตุปัญหาภัยแล้งในทวีปแอฟริกา
อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้พื้นที่แห้งแล้งอยู่แล้วแห้งแล้งยิ่งขึ้นส่วนบริเวณที่เปียกชื้นอยู่แล้วก็ยิ่งเปียกชื้นขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในพื้นที่แห้งแล้งนั้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น น้ำจะระเหยเร็วขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งหรือทำให้เกิดฤดูแล้งยาวนานขึ้น ระหว่าง 80-90% ของภัยพิบัติที่บันทึกไว้ทั้งหมดจากภัยธรรมชาติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากน้ำท่วม ภัยแล้ง พายุหมุนเขตร้อน คลื่นความร้อน และพายุรุนแรง
ในขณะที่แม่น้ำและทะเลสาบหลายแห่งทั่วโลกกำลังแห้งผากและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ก็ว่างเปล่ามากขึ้น ทางตอนเหนือของอิตาลีกำลังเผชิญกับภัยแล้งครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 70 ปี  เป็นเหตุให้รัฐบาลอิตาลีประกาศภาวะฉุกเฉินใน 5 ภูมิภาคในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประมาณหนึ่งในสามของประชากรอิตาลี (17 ล้านคน) อาศัยอยู่รอบๆ แม่น้ำโปซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของอิตาลี และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งที่สำคัญตลอดระยะเวลาประวัติศาสตร์อันยาวนานของแดนมักกะโรนี ได้รับผลกระทบ
ด้านฝรั่งเศสก็กำลังประสบกับภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกในปี 2501 ตามการระบุของนายกรัฐมนตรีเอลิซาเบธ บอร์น เป็นเหตุให้มีการจำกัดการใช้น้ำในหลายพื้นที่ของประเทศ และคาดว่าการเก็บเกี่ยวข้าวโพดจะลดลงเกือบ 20% จากปี 2564
เช่นเดียวกับสุกรและวัวควายมากกว่าครึ่งของประเทศ ขณะที่มากกว่า 43% ของรัฐในสหรัฐอเมริกา กำลังประสบกับภัยแล้ง
ความแห้งแล้งอย่างยิ่งยวดนี้ได้เผยให้เห็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทอดตัวสงบนิ่งอยู่ใต้ผืนน้ำมาช้านาน ขณะเดียวกันก็มีการค้นพบครั้งใหม่เกิดขึ้นเช่นกัน
สาเหตุปัญหาภัยแล้งในทวีปแอฟริกา
เมื่อภัยแล้งมาเยือน เผยให้เห็นซากอารยธรรมโบราณและหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการฆาตกรรม
ในสเปน เช็ก อิตาลี อิรัก และจีน สถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน โดยบางแห่งมีอายุย้อนไปถึงสมัยจักรวรรดิโรมันหรือแม้แต่ยุคสำริด นักโบราณคดีพยายามใช้ประโยชน์จากภัยแล้งเช่นในกรณีของโบราณสถานเคมุเนในอิรัก ส่วนในแคว้นกาลิเซียและคาตาโลเนียของสเปน และเฮสส์ของเยอรมนี ก็นำไปสู่การค้นพบใหม่ๆ เมื่อแหล่งกักเก็บน้ำได้ระบายออกจากหมู่บ้านที่ถูกทิ้งร้าง ขณะที่การค้นพบใหม่ที่น่าจะเป็นการค้นพบที่เก่าแก่ที่สุดในห้วงเวลาใกล้เคียงกันนี้ก็คือ การพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ซึ่งมีอายุประมาณ 113 ล้านปี โผล่ขึ้นมาจากก้นแม่น้ำที่แห้งแล้งในอุทยานไดโนเสาร์ วัลเล่ย์ สเตท พาร์ค ที่เท็กซัส สหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ในปี 2565 สหรัฐอเมริกายังพบศพหลายศพ ในเดือนพฤษภาคม กรกฎาคม และสิงหาคม เมื่อระดับน้ำในทะเลสาบมี้ดลดลง ซากศพหนึ่งถูกระบุว่าเป็นเหยื่อคดีฆาตกรรมที่อาจเชื่อมโยงกับความรุนแรงของมาเฟียในลาสเวกัสในปี 2493-2503 ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการค้นพบที่น่าสะพรึงกลัวอีกอย่างหนึ่งคือสิ่งที่เรียกว่า “หินแห่งความหิวโหย” ซึ่งมองเห็นได้อีกครั้งในท้องแม่น้ำเอลเบใกล้เมืองเดซินในเช็ก
หินแห่งความหิวโหยเป็นสถานที่สำคัญทางอุทกวิทยา ที่พบได้ทั่วไปในยุโรปกลาง ทำหน้าที่เป็นอนุสรณ์และการเตือนความอดอยากและถูกสร้างขึ้นในเยอรมนี และในการตั้งถิ่นฐานของชาวเยอรมันที่แพร่ชาติพันธุ์ทั่วยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 15-19 หินเหล่านี้ซึ่งมีจำนวนมาก จะมีการแกะสลักข้อความหรืองานศิลปะอื่นๆ สลักบนหิน มันถูกสร้างขึ้นหลังจากวิกฤตความหิวโหย อันเป็นผลกระทบเนื่องมาจากการปะทุของภูเขาไฟแทมโบรา
“ถ้าคุณเห็นฉัน คุณจะร้องไห้” นี่คือจารึกบนหินแห่งความหิวโหยที่ผุดพรายขึ้นมาจากแม่น้ำเอลเบบ่งบอกถึงความแห้งแล้งที่รุนแรงและความอดอยากที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องเตือนใจถึงพลังและความน่ากลัวของภัยพิบัติทางธรรมชาติ
สาเหตุปัญหาภัยแล้งในทวีปแอฟริกา
สาเหตุปัญหาภัยแล้งในทวีปแอฟริกา
ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดที่ Statista รวบรวมพบว่า ประเทศที่มีความเสี่ยงจากภัยแล้งมากที่สุดในปี 2563 คือ โซมาเลีย โดยประเทศที่มีความเสี่ยงมากที่สุดหลายแห่งอยู่ในทวีปแอฟริกา รวมทั้งซิมบับเว จิบูตี และแอฟริกาใต้ โดยภัยแล้งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ การเกษตร เศรษฐกิจ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
มีการประเมินจาก WHO ว่ามีผู้คนประมาณ 55 ล้านคนทั่วโลก ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเป็นประจำทุกปี และภัยแล้งถือเป็นอันตรายร้ายแรงที่สุดต่อปศุสัตว์และพืชผลในเกือบทุกภูมิภาคของโลก ไม่เพียงเท่านี้ ภัยแล้งยังคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคและนำไปสู่การสูญเสียชีวิต
ผลกระทบต่อสุขภาพจากภัยแล้งเกิดขึ้นทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากการขาดแคลนอาหาร รวมถึงการขาดสารอาหารรอง เช่น โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงของโรคติดเชื้อ เช่น อหิวาตกโรค ท้องร่วง และปอดบวม อันเนื่องมาจากภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลัน การขาดน้ำและการสุขาภิบาล ตลอดจนเกิดความเครียดที่มาจากจิตใจและสังคม และความผิดปกติทางสุขภาพจิต

สาเหตุปัญหาภัยแล้งในทวีปแอฟริกา

ขณะเดียวกัน ภัยแล้วยังทำให้เกิดการหยุดชะงักของบริการสุขภาพในท้องถิ่น เนื่องจากการขาดแคลนน้ำประปา การสูญเสียกำลังซื้อ การอพยพ และ/หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขถูกบังคับให้ออกจากพื้นที่
ภัยแล้งที่รุนแรงยังส่งผลต่อคุณภาพอากาศโดยทำให้มีโอกาสเกิดไฟป่าและพายุฝุ่นมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคปอดอยู่แล้ว เช่น โรคหอบหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคหัวใจ
นอกจากนี้ ยังเป็นปัจจัยเร่งเร้าให้เกิดการการอพยพครั้งใหญ่ การขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ ส่งผลกระทบต่อ 40% ของประชากรโลก และคาดจะมีประชากรราว 700 ล้านคนทั่วโลก มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นผู้พลัดถิ่นจากภัยแล้ง ภายในปี 2573
หากผู้นำและรัฐบาลประเทศต่างๆ ยังนิ่งนอนใจหรือไม่มีทางออกที่ดีพอสำหรับปัญหาภัยแล้ง หายนะที่เปรียบเสมือนภัยเงียบนี้จะค่อยๆ คืบคลานมาเยือนและจู่โจมชีวิตของพวกเราทุกคนบนโลกใบนี้

ที่มา :

  • Droughts are getting worse around the world, here’s why and what needs to be done
  • Drought
  • What Droughts Have Revealed

 

Post Views: 613

  • TAGS
  • ClimateChange
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ภัยแล้ง
  • วิกฤตโลก

Previous articleฤาจะสิ้นแนวคิดเบรตตั้นวูด…เมื่อดอลลาร์กำลังมุ่งไปสู่ความล่มสลาย (ตอนที่ 2)

Next articleฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึง ‘กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม’ ต้นแบบแบรนด์ธุรกิจนวัตกรรมไทย คิดค้นโดยคนไทย 100%

สาเหตุปัญหาภัยแล้งในทวีปแอฟริกา

Atthasit Mueanmart

อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์ เรียนและทำงานด้านสื่อสารมวลชนมาโดยตลอด หลังจากจบวารสารศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ม.ธรรมศาสตร์ ประสบการณ์ในการขีดๆ เขียนๆ ด้านธุรกิจ การตลาด และไลฟ์สไตล์ นานกว่า 17 ปี สนใจเรื่องแบรนด์ กลยุทธ์การตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนเทรนด์ และข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก พอๆ กับแฟชั่น และเสพติดการท่องเที่ยวแบบ Solo Traveller

ภัยแล้งในแอฟริกา เกิดจากอะไร

ในแต่ละปี แอฟริกาประสบปัญหาภัย แล้งจากภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์ เรือนกระจก ทำให้ขาดแคลนน้ำเพื่อ การเกษตร จึงส่งผลต่อการขาดแคลน อาหารสำหรับประชากรด้วย พ.ศ. 2558 ปรากฏการณ์ เอลนีลโญ่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะ แห้งแล้งที่เลวร้ายที่สุดของภูมิภาคนี้ใน รอบ 35 ปีภัยแล้งได้กระทบต่อคนราว 41 ล้านคนในประเทศต่างๆ รวมทั้ง โมซัมบิก มา ดา ...

เพราะเหตุใดทวีปแอฟริกาถึงมี แต่ความแห้งแล้ง

ช่วงเวลาที่ทวีปแอฟริกานั้นมีความชุ่มชื้นมากที่สุดเกิดขึ้นเมื่อ 16,000 - 6,000 ปีก่อน จนกระทั่งโลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับการเอียงของแกนโลกจาก 24.14 องศาเป็น 23.45 องศา ส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และมรสุมไม่อาจเดินทางมายังซาฮาราได้ดังเดิม จึงนำมาสู่ความแห้งแล้งในปัจจุบัน ซึ่งนี่คือทฤษฎีปัจจุบันที่เชื่อว่าน่าจะ ...

ทวีปแอฟริกาประสบปัญหาอะไรบ้าง

ทวีปแอฟริกามีสภาพภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาและทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายในหลายพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์แบบร่อนเร่ ปริมาณฝนไม่เพียงพอ มีการทำการเกษตรที่ผิดวิธี ทำให้ดินเสื่อมสภาพ ประชาชนจึงเข้ามาใช้พื้นที่ป่าไม้ทำเกษตรกรรม และมีการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน และปัญหาอื่น ๆ

ผลกระทบสำคัญที่สุดจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกาคือข้อใด *

ปัญหานี้ไม่เพียงจะส่งผลต่อมนุษย์ แต่ยังรวมถึงสัตว์จำนวนมาก ทั้งสัตว์ป่าและปศุสัตว์ของชาวบ้าน ที่พากันล้มตายเพราะไม่มีอาหารและน้ำให้ดื่มกิน โลกเผชิญวันอากาศร้อนทะลุ 50 องศาเพิ่มขึ้น 2 เท่าในรอบ 4 ทศวรรษ ประชากรโลกต้องอพยพหนีอากาศร้อนเหมือนทะเลทรายในอีก 500 ปี