ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด

ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อตายลงซากก็ถูก ทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอน นักธรณีวิทยา ใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานบอกกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของ พื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งสามารถบอกถึงสภาพแวดล้อมในอดีตว่าเป็นบนบก หรอในทะเล เป็นต้น นอกจากนั้นซากดึกดำบรรพ์ ยัง สามารถบอกช่วงอายุของหินชนิดอื่นที่เกิดอยู่ร่วมกับหินตะกอนเหล่านั้นได้ด้วย

ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (index fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอย่างเห็นได้ชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป ได้แก่ ไทรโลไบต์ แกรพโตไลต์ ฟิวซูลินิด เป็นต้น การพบซากดึกดำบรรพ์ไทโลไบต์ในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ทำให้นักธรณี วิทยาบอกได้ว่าหินทรายแดงนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 570 – 505 ล้านปี หรือการพบซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิดในหินปูน ที่บริเวณจังหวัดสระบุรี ก็ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่าหินปูนนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 286 – 245 ล้านปี เป็นต้น

ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในหินตะกอน ลักษณะที่ปรากฏเป็นซากซึ่งเดิมจะเป็นโครงร่างส่วนที่แข็งของ สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ โดยทั่วไปพืชและสัตว์จะเปลี่ยนสภาพเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้ต้องมีโครงร่างที่แข็ง เพราะสารละลายของ แร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ แคลไซต์ โดโลไมต์ ซิลิกา และสารประกอบเหล็กบางชนิด เช่น ฮีมาไทต์ แทรกซึมประสานเข้าไปใน ช่องว่างของซากสิ่งมีชีวิตนั้นได้ ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตนั้นทนทานต่อการผุพัง กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังคงสภาพเกือบ เหมือนเดิมและถูกฝังในชั้นตะกอนทันที เพราะการฝังกลบอย่างรวดเร็วทำให้ซากสิ่งมีชีวิตสามารถชะลอการสลายตัว ซึ่ง วัสดุที่ฝังกลบซากขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้น เช่น ซากของสัตว์ทะเลเรามักจะพบมากกว่า สัตว์ชนิดอื่นเนื่องจากซากสัตว์จะจมลงสู่ท้องทะเล ถูกโคลนและตะกอนเม็ดละเอียดในน้ำสะสมตัวทับถมอยู่ตอนบน ตะกอน ละเอียดจะทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเสียหายน้อยที่สุด ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์ที่เกิดในน้ำทะเล เช่น ในหินปูน หินดินดาน มักจะ เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังคงรูปได้สมบูรณ์ เช่น ซากดึกดำบรรพ์จำพวกหอยตะเกียงและปะการังในหินปูน

ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด

ซากดึกดำบรรพ์ของปะการังในชั้นหินปูน พบที่อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

ประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์ทั้งที่เป็นสัตว์และพืชหลายชนิดในชั้นหินตามภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ไดโนเสาร์ซึ่งเป็น สัตว์เลื้อยคลาน พบครั้งแรกที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นไดโนเสาร์ประเภทเดินสี่เท้า กินพืชเป็นอาหาร คอและ หางยาว ได้รับการตั้งชื่อว่า “ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” ต่อมาพบไดโนเสาร์อีกหลายชนิดทั้งที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และที่จังหวัดชัยภูมิ สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี และนครราชสีมา จะเห็นว่าแหล่งซากไดโนเสาร์ของ ประเทศไทยส่วนมากจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในชั้นหินทราย หินทรายแป้ง ซึ่งเป็นหินอยู่ในยุคไทรแอสสิก ตอนปลายถึงยุคครีเตเชียสตอนกลาง หรือตั้งแต่ 200 100 ล้านปีที่ผ่านมา ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นพืชที่เคยพบใน ประเทศไทย ได้แก่ ใบไม้ ละอองเรณู สปอร์ สาหร่ายทะเลและไม้กลายเป็นหิน เป็นต้น

ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด

ส่วนลำตัวและสะโพก ของซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ชนิดกินพืชที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

นักธรณีวิทยาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ และจัดหมวดหมู่ตามอายุ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและสภาพ แวดล้อมตามกาลเวลาที่ค้นพบ จนในที่สุดสามารถสรุปเป็นตารางธรณีกาล

นอกจากนี้ร่องรอยบางอย่างของสิ่งมีชีวิตที่พิมพ์รอยอยู่ในตะกอนที่แข็งตัวเป็นหินก็เป็นซากดึกดำบรรพ์ได้ เช่น รอย เท้าของสัตว์ รอยเปลือกหอย เมื่อสัตว์เหล่านี้ทิ้งรอยซึ่งเปรียบเสมือนแม่พิมพ์ไว้ กาลเวลาต่อมาแร่ธาตุต่าง ๆ จะมาอุดรอย เหมือนหล่อแบบไว้ จึงกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ที่ภูหลวง จังหวัดเลย และที่ภูแฝก จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น

ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด

         ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบเทียบกับตารางธรณีกาล

จะเห็นว่าซากดึกดำบรรพ์เป็นส่วนที่เหลือของสัตว์และพืช ซึ่งส่วนมากจะกลายเป็นหิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมใน การเกิดซากนั้น เช่น ช้างแมมมอธที่ล้มตายลงในธารน้ำแข็งจะไม่กลายเป็นหิน ยังคงสภาพเดิมเพราะถูกแช่แข็งมานาน หรือซากแมลงที่ถูกอัดตามธรรมชาติอยู่ในยางไม้หรืออำพัน ถึงแม้จะไม่กลายเป็นหิน แต่ก็จัดเป็นซากดึกดำบรรพ์เช่นกัน หินตะกอนเป็นหินที่สามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ได้ดี หินภูเขาไฟบางชนิดก็อาจจะพบซากดึกดำบรรพ์ได้เช่นกันแต่ไม่ มากและโดเด่นเหมือนหินตะกอน

        ข้อมูลส่วนหนึ่งของซากดึกดำบรรพ์ที่ได้เสนอมาจะเป็นเหมือนแนวทางในการสืบค้นศึกษาหารายละเอียดต่อไป สำหรับผู้ที่สนใจในวิชาการแขนงนี้ ความจริงแล้วซากดึกดำบรรพ์เป็นสิ่งที่หายาก มีซากดึกดำบรรพ์ไม่กี่ชนิดที่หาได้ง่าย และพบเป็นจำนวนมาก ซากดึกดำบรรพ์จึงควรเป็นสมบัติของชาติของแผ่นดิน ไม่ควรที่จะเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัว เพราะซากเหล่านี้บอกกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่และซากหนึ่งชิ้นก็เป็นหนึ่งเดียวในโลก การอนุรักษ์ การเก็บรักษา จึงควรอยู่ในความดูแลของผู้รู้ที่มีจริยธรรม มีความสำนึกเล็งเห็นถึงประโยชน์ของชาติบ้านเมืองมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น รวมทั้งสถาบันและหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ก็ควรจะตื่นตัวและให้ความสนใจต่อเรื่องเหล่านี้มากขึ้น

จากการค้นพบ ซากดึกดำบรรพ์ ล่าสุดในประเทศไทย กลายเป็นกระแสไปทั่วโลกออนไลน์ ปลุกกระแสวงการบรรพชีวินในประเทศไทยขึ้นอีกครั้ง

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ “ฟอสซิล” (Fossil) คือ หินที่เก็บรักษาซากสิ่งมีชีวิตโบราณหรือร่องรอยของการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ แบคทีเรีย ส่วนของละอองเกสร หรือแม้แต่รอยเท้าต่าง ๆ ซึ่งถูกแปรสภาพและเก็บรักษาไว้ด้วยกระบวนการทางธรรมชาติในชั้นหินใต้เปลือกโลก ก่อนจะกลายมาเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยาที่สำคัญให้เราได้ทำการศึกษาและทำความเข้าใจต่อโลกและสิ่งมีชีวิตในอดีต

ซากสิ่งมีชีวิตจะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 1 หมื่นปีขึ้นไป ดังนั้น ซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกขุดพบสามารถแสดงร่องรอยของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่บรมยุคอาร์เคียน (Archean Eon) เมื่อเกือบ 4 พันล้านปีก่อนเรื่อยมาจนถึงยุคสมัยโฮโลซีน (Holocene Epoch) ซึ่งเป็นยุคสมัยของเรา

ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากเทอร์โรซอร์ชนิด Pterodactylus kochi

ซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดที่เคยถูกขุดพบ คือ ซากของสาหร่ายโบราณที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรเมื่อราว 3 พันล้านปีก่อน สำหรับประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณีเป็นหน่วยงานหลักที่ศึกษาและรับผิดชอบเรื่องซากดึกดำบรรพ์ ที่ผ่านมาค้นพบซากฟอสซิลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ทางบรรพชีวินวิทยา ทั้งซากดึกดำบรรพ์ของพืชและสัตว์

จากข่าวล่าสุดในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา รายงานพบซากดึกดำบรรพ์ของ “ไครนอยด์” (Crinoid) หรือพลับพลึงทะเล สัตว์ทะเลโบราณในมหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic era) ที่มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 250 ถึง 285 ล้านปีก่อน มีรูปร่างคล้ายพืช และมีลักษณะใกล้เคียงกับสัตว์ในตระกูลดาวทะเลและเม่นทะเลในปัจจุบัน

ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว

เมื่อเจ้าหน้าที่จากกรมทรัพยากรธรณีลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า “เป็นพื้นที่เกษตรกรรมทำสวนปาล์ม มีหินปูนที่พบซากดึกดำบรรพ์กระจายในพื้นที่ แต่มีจำนวนไม่มาก และไม่หนาแน่น จึงยังไม่เข้าหลักเกณฑ์เกณฑ์ 6 ข้อตามกฎหมายที่จะต้องกันพื้นที่ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ซากดึกดำบรรพ์ หรือประกาศเป็นเขตศึกษาวิจัย  แต่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ รวมทั้งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชนท้องถิ่นต่อไปได้” นางธัญธร โทนรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และจัดการซากดึกดำบรรพ์ กองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี กล่าวและเสริมว่า “ซากดึกดำบรรพ์ถือเป็นสมบัติของชาติ การซื้อขายต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ”

ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ไครนอยด์ ชนิด Proisocrinus ruberrimus ที่พบได้ในทะเล

คำว่า ฟอสซิล (Fossil) มาจากภาษาละติน หมายถึง ถูกขุดขึ้นมา

กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์ (Fossilization)

การเกิดซากดึกดำบรรพ์เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ยากยิ่ง เนื่องจากซากของสิ่งมีชีวิต เมื่อตายไป จะต้องถูกเก็บรักษาไว้ โดยไม่ถูกย่อยสลายภายในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น ซากของมันต้องถูกปกคลุมด้วยเศษหิน ดินตะกอน ลาวาหรือแม้แต่น้ำมันดิน (Tar) อย่างรวดเร็ว ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตถูกเก็บรักษาไว้ใต้ชั้นหินได้เป็นอย่างดี ดังนั้น โดยส่วนมาก ซากดึกดำบรรพ์ที่มีสภาพสมบูรณ์ มักเกิดขึ้นบนพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ ในท้องทะเลสาบและมหาสมุทร เนื่องจากมีตะกอนขนาดเล็กสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ซากฟอสซิลไม่ถูกทำลายและเก็บรักษาไว้ในชั้นหินได้เป็นอย่างดี

กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ

  1. กระบวนการแทรกซึมของแร่ธาตุ (Permineralization) เกิดขึ้นเมื่อซากสิ่งมีชีวิตถูกทับถมภายใต้ดินตะกอนเป็นเวลานาน ทำให้แร่ธาตุในตะกอนเหล่านี้ แทรกซึมเข้าไปภายในช่องว่างของร่างกาย ทั้งในเนื้อและกระดูกของสิ่งมีชีวิต
  2. กระบวนการกลายเป็นหิน (Petrification) เกิดขึ้นจากการที่สารอินทรีย์ภายในซากของสิ่งมีชีวิตถูกแทนที่ด้วยสารละลายซิลิกา (Silica) หรือสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate) ซึ่งยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ชะลอการย่อยสลายทางธรรมชาติ ทำให้สามารถคงสภาพของโครงร่างสิ่งมีชีวิตไว้ได้ โดยไม่เกิดการสูญสลาย
ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ภาพจำลองกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์

ดังนั้น ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่ จะปรากฏให้เห็นเพียงส่วนที่เป็นโครงร่างแข็งและกระดูก เนื่องจากส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อมักเกิดการย่อยสลายไปก่อนตามกาลเวลา และโดยทั่วไป ซากพืชซากสัตว์จะคงสภาพเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่สมบูรณ์ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างของร่างกาย เนื่องจากโครงร่างแข็งส่วนใหญ่มีองค์ประกอบของสารละลายจากแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลไซต์ โดโลไมต์ ซิลิกาและฮีมาไทต์ ซึ่งช่วยทำให้ซากสิ่งมีชีวิตทนทานต่อการสึกกร่อนและผุพัง

นอกจากนี้ ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์สมบูรณ์ เช่น สภาพอากาศ กระแสน้ำ ปริมาณตะกอน ซึ่งซากดึกดำบรรพ์ที่เกิดในมหาสมุทร หรือถูกทับถมอยู่ในชั้นหินปูนและหินดินดาน มักกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด

ประเภททั้ง 4 ของซากดึกดำบรรพ์

  1. ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ทะเลที่มีชีวิตอยู่ในยุคก่อนยุคแคมเบรียน (Cambrian Period) เช่น ฟองน้ำ (Sponge) ปะการัง (Coral) ไทรโลไบต์ (Trilobite) แอมโมไนต์ (Ammonite) ไครนอยด์ (Crinoid) และหอยกาบคู่ (Pelecypod) รวมไปถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่บนบกอย่างเช่นแมลงชนิดต่าง ๆ

ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากดึกดำบรรพ์ของปะการัง
  1. ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

กลุ่มสัตว์ที่มีแกนกระดูกช่วยพยุงร่างกาย เป็นกลุ่มสัตว์วิวัฒนาการสูง ได้แก่ ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตั้งแต่ปลายยุคแคมเบรียนจนถึงปัจจุบัน ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบบสมบูรณ์นั้นหาได้ยาก ส่วนมากพบเพียงชิ้นส่วนของร่างกาย เช่น กระดูก หัวกะโหลก และฟันของสัตว์

ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากของฟันสัตว์
  1. ซากดึกดำบรรพ์ของพืช

เป็นซากของพืชในยุคแรกเริ่ม อย่างเช่น พวกสาหร่าย ซึ่งดำรงอาศัยอยู่บนโลกตั้งแต่ยุคพรีแคมเบรียน ซากดึกดำบรรพ์ของพืชส่วนใหญ่ มักพบในรูปของไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน ฟอสซิลของสปอร์และละอองเรณู นอกจากนี้ ยังพบรอยพิมพ์ซากใบไม้ที่ประทับอยู่ในหินดินดานหรือหินทรายได้อีกด้วย

  1. ร่องรอยสัตว์ดึกดำบรรพ์

ร่องรอยที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสัตว์และถูกประทับไว้ในชั้นหิน ซึ่งแตกต่างจากซากฟอสซิลประเภทอื่น ๆ เนื่องจากไม่ใช่ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต แต่การศึกษาร่องรอยเหล่านี้ สามารถทำให้เกิดความเข้าใจต่อเรื่องราวของโลกและพฤติกรรมของสัตว์ในอดีตได้เช่นกัน

ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
รอยเท้าไดโนเสาร์บนอุทยานแห่งชาติภูแฝก

ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์

จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้มนุษย์สามารถศึกษาและทำความเข้าใจต่อโลกที่เราอาศัยอยู่ได้ในหลากหลายด้าน ทั้งในส่วนของการบ่งบอกอายุและลำดับของชั้นหิน รวมไปถึงจุดกำเนิด การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ทำให้เราสามารถเข้าใจถึงกฎเกณฑ์การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ทั้งที่สูญพันธุ์ไปแล้วและที่ยังดำรงอาศัยอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการทำความเข้าใจต่อสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกหรือการแปรสัณฐานของแผ่นธรณีภาค (Plate tectonic) ในอดีตอีกด้วย

ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด
ซากดึกดําบรรพ์จะพบในหินประเภทใดเพราะเหตุใด

นอกจากนี้ ซากดึกดำบรรพ์ยังมีส่วนช่วยในการบ่งบอกแหล่งแร่ที่สำคัญและทรัพยากรธรรมชาติบางชนิด เช่น แหล่งปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศอีกด้วย

สืบค้นข้อมูล : คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ
เรียบเรียง : ณภัทรดนัย


ข้อมูลอ้างอิง

National Geographic Society – https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/fossil/

กรมทรัพยากรธรณี – http://www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/dmr_web/n_more_news.php?filename=ti2din1d

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) – https://www.scimath.org/article-technology/item/8400-2018-06-01-02-52-44

สามารถพบซากดึกดําบรรพ์ในหินชนิดใด

ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อตายซากจะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอน ซากดึกดำบรรพ์สามารถพบได้ตามชั้นหินตะกอนเป็นส่วนใหญ่ เพราะหินตะกอนเป็นหินที่สามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ได้ดีกว่าหินชนิดอื่น

ซากดึกดําบรรพ์ที่พบในชั้นหินใดที่มีอายุมากที่สุดเพราะเหตุใด

ซากดึกดำบรรพ์จะพบมากในหินชั้นหรือหินตะกอน นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณอายุของซากดึกดำบรรพ์ได้จากอายุของชั้นหิน ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในหินชั้นล่างย่อมมีอายุมากกว่าซากที่พบในหินชั้นบน และเมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างแล้วซากดึกดำบรรพ์ในหินชั้นบนจะมีความซับซ้อนและมีโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันมากกว่า

ซากดึกดําบรรพ์พบที่ไหน

แหล่งซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ... .
สุสานหอยแหลมโพธิ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดกระบี่ ... .
แหล่งซากดึกดำบรรพ์ปลา บ้านหนองปลา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ... .
แหล่งไม้กลายเป็นหิน อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ... .
แหล่งซากหอยนางรมยักษ์ วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี.

ซากดึกดําบรรพ์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

การจำแนกประเภทของซากดึกดำบรรพ์.
ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ... .
ซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลัง ... .
ซากดึกดำบรรพ์พืช ... .
ร่องรอยสัตว์ดึกดำบรรพ์.