พลานาเรียมีการย่อยอาหารอย่างไร

เป็นการสลายโมเลกุลอาหารให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ จากนั้นลำเลียงผ่านกระแสเลือดและระบบน้ำเหลืองไปเซลล์ต่างๆในร่างกาย

รูปแบบการย่อยอาหารของสัตว์

  1. การย่อยอาหารภายในเซลล์ (Intracellular Digestion)
  • พบเฉพาะในไฟลัม Porifera (ฟองน้ำ) และ Cnidaria (ไฮดรา)
  • นำอาหารเข้าสู่เซลล์โยวิธีเอนโดไซโทซิส แล้ว Lysosome จะมาย่อยสลายให้ได้อนุภาคขนาดเล็ก
  • กากอาหารที่ย่อยไม่ได้ จะถูกส่งออกนอกเซลล์
  1. การย่อยอาหารภายนอกเซลล์ (Extracellular Digestion)
  • พบในสิ่งมีชีวิที่มีระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ไฟลัม Cnidaria ไปจนถึงไฟลัมสัตว์ชั้นสูง Chordata
  • สัตว์จะปล่อยน้ำย่อยหรือเอนไซม์ไปย่อยอาหารภายนอกเซลล์ แล้วค่อยดูดซึมอนุภคขนาดเล็กกลับเข้าสู่เซลล์
  • ส่วนที่ย่อยไม่ได้ เป็นการอาหารไม่มีการดูดซึม
  • นอกจากนี้ยังพบในพวกผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer) เช่น เห็ด,ราและแบคทีเรียบางชนิด

การย่อยอาหารในสัตว์ชั้นสูง แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การย่อยเชิงกล (Machanical digestion) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เช่นการใช้ฟันเคี้ยวอาหาร
  2. การย่อยเชิงเคมี (Chemical digestion) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทำให้อาหารมีโมเลกุลเล็กลง โดยอาศัยเอนไซม์มาช่วยในการย่อย

ระบบทางเดินอาหารของสิ่งมีชีวิต แบ่งเป็น 2 แบบ

  1. ทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (Incomplete digestion) มีช่องทางเดินอาหารช่องเดียว ซึ่งเป็นทั้งปากและทหารหนัก
  2. ทางเดินอาหารสมบูรณ์ (Complete digestion) มีปากเป็นทางเข้าของอาหาร มีทวารหนักเป็นทางออกของอาหาร

การย่อยอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่สัตว์

  1. โพรโทซัว เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
  • อะมีบา  นำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยวิธี Phagocytosis โดยการยื่นส่วนของเท้าเทียมออกไปโอบล้อมอาหารทำให้อาหารเข้าในเซลล์ และจะอยู่ในถุงอาหารซึ่งจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์จากไลโซโซมกลายเป็นโมเลกุลเล็กส่วนที่เหลือจากการย่อยจะถูกขับออกเป็นกากอาหาร
    พลานาเรียมีการย่อยอาหารอย่างไร
  • พารามีเซียม ใช้ขนโบกอาหารเข้าสู่ร่องปากซึ่งเว้าเข้าไปในเซลล์เรียก Pinocytosis ส่วนอาหารที่เข้าไปในเซลล์จะอยู่ในถุงอาหาร ซึ่งจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ไลโซโซม จนได้เป็นโมเลกุลเล็กจนเซลล์สามารถใช้ในกระบวนการหายใจได้
    พลานาเรียมีการย่อยอาหารอย่างไร
  • ยูกลีนา ปกติจะสร้างอาหารเองแต่ถ้าสภาวะไม่เหมาะสมจะดำรงชีวิตแบบ Heterotroph นอกจากนี้ยังดำรงชีวิตด้วยการย่อยสารอาหารที่มีอยู่รอบตัวแล้วส่งเข้าร่องปาก โดยจะรับอาหาร 2 วิธี วิธีแรก ดูดเอาอินทรียสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ อีกวิธี ใช้ช่องบริเวณรอบๆโคนเฟลเจลลัม ซึ่งที่ปลายบนช่องน้ำจะมีปากเปิดอยู่ โดยอาหารที่ลอยอยู่ในน้ำจะผ่านเข้าช่องแล้วส่งเข้าภายในเซลล์

พลานาเรียมีการย่อยอาหารอย่างไร

  1. ราและแบคทีเรีย ดำรงชีพโดยเป็นผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศโดยเซลล์จะหลั่งเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารภายนอกเซลล์ เช่น อะไมเลส , โปรทิเอส , ไลเพส แล้วดูดซึมอาหารที่ย่อยเข้าสู่เซลล์ เช่น เห็ดราที่ขึ้นตามขอนไม้

การย่อยอาหารของสัตว์ที่ยังไม่มีทางเดินอาหารและมีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์

  1. ฟองน้ำ (P.Porifera)ใช้ Collar cells ที่ผนังลำตัวโบกพัดดักจับอาหารเข้าสู่เซลล์ และใช้เซลล์ Amoebocyte ทำหน้าที่ย่อยอาหารและขนส่งอาหารภายในเซลล์
  2. ไฮดรา (P.Cnidaria) มีการย่อยทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์ โดยใช้เข็มพิษ (Nematocyst) ที่อยู่บริเวณหนวด ปล่อยทิษทำร้ายเหยื่อแล้วจับเข้าสู่ปากผ่านเข้าสู่ช่องกลางลำตัวซึ่งเป็นส่วนของทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ มีเซลล์ Gastrodermis อยู่ที่ผนังลำตัว ทำหน้าที่การย่อยอาหาร ดังนี้
  • ย่อยอาหารภายในเซลล์ เกิดจากภายในช่อง Gastrovascular Cavity มีเซลล์ต่อมซึ่งเป็นเซลล์ขนาดเล็กทำหน้าที่สร้างย่อยส่งออกไปย่อยอาหาร ส่วนกากอาหารที่ย่อยไม่ได้จะถูกขับออกมาทางปาก
  • ย่อยอาหารภายในเซลล์ เป็นแบบ Phagocytosis เกิดจากเซลล์ย่อยอาหารที่ส่วนปลายมีแฟลกเจลลัมทำหน้าที่จับอาหารที่มีขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์ และสามารถสร้าง food vacuole ได้เช่นเดียวกับอะมีบา
  1. หนอนตัวแบน (P. Platyhelminthes) ส่วนใหญ่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ที่พัฒนากว่า Cnidaria
  • พลานาเรีย ทางเดินอาหารแยกเป็นแฉกและ และแต่ละแฉกจะมีแขนงแตกย่อยออกไปอีก เรียกว่า Diverticulum มีปากอยู่กลางลำตัว และต่อจากปากเป็นคอหอย เป็นงวงที่ยื่นออกมา เรียกว่า Probocis ซึ่งมีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีหน้าที่จับอาหารเข้าสู่ปาก โดยกากอาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะถูกขับออกทางช่องปาก
  • พยาธิใบไม้ มีทางเดินอาหารคล้ายพลานาเรีย แต่ทางเดินอาหารส่วนลำไส้ไม่แตกกิ่งก้านสาขามีลักษณะคล้ายคล้ายอักษรรูปตัววาย (Y-shape) ทางเดินอาหารประกอบด้วยปากปุ่มดูดโดยปากจะดูดกินอาหาร
  • พยาธิตัวตืด ไม่มีทางเดินอาหาร แต่สามารถดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วของ Host โดยตรงผ่านวิธีการแพร่
    พลานาเรียมีการย่อยอาหารอย่างไร

การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์

  1. ไส้เดือนดิน (P. Annelida) มีทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ ดังนี้

ปาก → คอหอย → หลอดอาหาร → กระเพาะพักอาหาร → กึ๋น → ลำไส้→  ทวารหนัก

  1. แมลง (P. Arthropoda)

ปาก →คอหอย →หลอดอาหาร →กระเพาะพักอาหาร→ กึ๋น →กระเพาะอาหาร→ ลำไส้  →ไส้ตรง →ทวารหนัก

  1. สัตว์เคี้ยวเอื้อง (P. Chordata) เช่น วัว ควาย แตกต่างจากคนที่มีบริเวณพักอาหารเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยเซลล์ลูโลส โดยกระเพาะอาหารของวัวแบ่งเป็น 4 ส่วนแต่ที่จริงแล้วคือ หลอดอาหารขนาดใหญ่ 3 ส่วน กระเพาะจริง 1 ส่วน ดังนี้
  • รูเมน เป็นส่วนของหลอดอาหารที่ขยายตัว มีแบคทีเรียและโพรโทซัวช่วยย่อยสลายเซลล์ลูโลส
  • เรติคิวลัม เป็นส่วนของหลอดอาหารที่ขยายตัว ทำหน้าที่บดและผสมอาหาร
  • โอมาซัม เป็นส่วนของหลอดอาหารที่ขยายตัว ทำหน้าที่บดและผสมอาหาร
  • อะโบมาซัม เป็นส่วนกระเพาะแท้จริง เพราะมีการสร้างเอนไซม์และหลั่งเอนไซม์เพื่อย่อยอาหาร
    พลานาเรียมีการย่อยอาหารอย่างไร
    Jpeg

การย่อยอาหารของคน

คนมีทางเดินอาหารสมบูรณ์ แบ่งเป็น 2 ส่วน

  1. อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร เรียงลำดับดังนี้
    ปาก → คอหอย→หลอดอาหาร→กระเพาะอาหาร→ลำไส้เล็ก→ลำไส้ใหญ่→ไส้ตรง→ทวารหนัก
  2. อวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร แต่ไม่ใช่ทางเดินอาหาร
  • ต่อมน้ำลาย
  • ถุงน้ำดี
  • ตับ
  • ตับอ่อน

การย่อยอาหารในปาก

  1. ลิ้น มีปุ่มเล็กๆจำนวนมาก เรียก แพพิลลี ทำหน้าที่รับรสอาหาร ช่วยคลุกเคล้าอาหารให้ผสมกับน้ำลาย ช่วยในการกลืนอาหารและช่วยให้การพูดชัดเจน
  2. ฟัน ทำหน้าที่ ตัด ฉีก เคี้ยว และบดอาหารให้ขนาดเล็ก ฟันของคนมี 2 ชุดคือ
  • ฟันน้ำนม มี 20 ซี่ เริ่มขึ้นตอนอายุ 6 เดือน ครบตอนอายุ 2 ปี
  • ฟันแท้ มี 32 ซี่ เริ่มขึ้นเมื่อฟันน้ำนมซี่แรกหักหลุดไป จะขึ้นครบหรือเกือบครบตอนอายุ 21 ปี ฟันแท้แบ่งได้เป็น ฟันตัด 8 ซี่ ฟันฉีกหรือฟันเคี้ยว 4 ซี่ ฟันกรามเล็กหรือฟันบด 8 ซี่ ฟันกราม 12 ซี่
    พลานาเรียมีการย่อยอาหารอย่างไร
  1. น้ำลาย มีลักษณะเป็นของเหลวแบ่งได้ 2 ชนิด
  • ชนิดใส มีน้ำย่อยอะไมเลสหรือไทยาลิน ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้เป็น เดกตรินซ์ ซึ่งเป็นแป้งที่มีโมเลกุลขนาดเล็กลง
  • ชนิดเหนียว ช่วยให้การคลุกเคล้าอาหารผสมกับน้ำย่อยได้ดี สะดวกต่อการกลืนอาหาร
  1. ต่อมน้ำลาย ส้รางน้ำลายได้วันละ 1-1.5 ลิร ส่งออกทางท่อน้ำลายไปสู่ช่องปากมี 3 คู่
  • ต่อข้างกกหู สร้างน้ำลายชนิดใสอย่างเดียว ผลิตประมาณ 25% ของน้ำลายทั้งหมด
  • ต่อมขากรรไกร สร้างทั้งน้ำลายชนิดใสและเหนียว ผลิตประมาณ 70% ของน้ำลายทั้งหมด
  • ต่อมใต้ลิ้น สร้างทั้งน้ำลายชนิดใสและเหนียว ผลิตประมาณ 5% ของน้ำลายทั้งหมด
  1. น้ำเมือก มีหน้าที่หล่อลื่นอาหารเพื่อให้กลืนได้สะดวก
    พลานาเรียมีการย่อยอาหารอย่างไร

คอหอย

เป็นบริเวณที่ติดต่อกับรูจมูกด้านในท่อยูเสเชียน จากหูส่วนกลาง ปาก กล่องเสียง และหลอดอาหารบริเวณคอหอยมีต่อมน้ำเหลือง 3 คู่ เรียก ต่อมทอนซิล เป็นด่านสกัดกั้นให้เชื้อโรคผ่านเข้าสู่หลอดอาหารและกล่องเสียง

หลอดอาหาร

เป็นหลอดที่ต่อจากคอหอยจนถึงกระเพาะอาหาร อยู่ด้านหลังหลอดลม ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ไม่มีต่อมสร้างน้ำย่อย มีแต่การย่อยเชิงกลคือบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารจากบนลงล่าง

การย่อยในกระเพาะอาหาร

  1. โครงสร้างของกระเพาะอาหาร แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือส่วนต้นอยู่ใกล้หัวใจ ส่วนกลางเป็นส่วนที่กระพุ่งใหญ่สุดและส่วนท้ายเป็นส่วนปลายสุดของกระเพาะ
  2. หน้าที่ของกระเพาะอาหาร
  • กักเก็บและคลุกเคล้าอาหารนาน 3-4 ชม.
  • หลั่งสารเมือกเคลือบผนังกระเพาะป้องกันการถูกย่อยโดยน้ำย่อยในกระเพาะ
  • หลั่งน้ำย่อยหลายชนิด คือ ไลเปส โพรเรนนิน เปปซิโนเจน
  • หลั่งกรดไฮโดรคลอริก เมื่อมีอาหารโปรตีนลงไป เพื่อเปลี่ยนสภาพในกระเพาะให้เป็นกรดให้เหมาะสมกับสภาพที่น้ำย่อยจะทำงานได้และยังเปลี่ยนน้ำย่อยจากรูปที่ไม่ทำงานให้ทำงาน
  • ทำการดูดซึมสารต่างๆ เป็นแห่งแรก
  1. การย่อยโปรตีนในกระเพาะอาหาร

การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก

การย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่นี่ เป็นการย่อยขั้นสุดท้าย ซึ่งอาศัยเอนไซม์จากลำไส้เล็กและตับอ่อน ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน

  1. โครงสร้างขอลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะยาวสุดในร่างกาย แบ่งเป็น 3 ตอน
  • ตอนต้น (ดูโอดีนัม) ต่อจากกระเพาะอาหารลักษณะเป็นรูปตัวยูเป็นแหล่งย่อยอาหารที่สำคัญที่สุด
  • ตอนกลาง (เจจูนัม) เป็นบริเวณที่พบการดูดซึมอาหารที่ถูกย่อยแล้วมากที่สุด
  • ตอนท้าย (ไอเลียม) เป็นบริเวณที่มีการย่อยและดูดซึมอาหารที่เหลืออยู่
  1. เอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้าง ส่วนใหญ่ทำหน้าที่ได้ดีในสภาวะที่เป็นเบส
เอนไซม์จากลำไส้เล็กสารที่ย่อยผลที่ได้เปปติเดสเปปไทด์กรดอะมิโนไลเปสไขมันกรดไขมันและ
กลีเซอรอลมอลเทสน้ำตาลมอลโทสกลูโคส 2 โมเลกุลซูเครสน้ำตาลทราย(ซูโครส)กลูโคสและฟรักโตสแลกโทสน้ำตาลแลกโทสกลูโคสและกาแลกโทสเอนเทอโรไคเนสกระตุ้นทริปซิโนเจนจากตับอ่อนให้เป็นทริปซิน
  1. อวัยวะที่ย่อยอาหารโดยส่งสารมาที่ลำไส้เล็ก
  • ตับ สร้างน้ำดีที่มีสีเขียวและมีรสขมเป็นเบสลดความเป็นกรดของอาหาร มำหน้าที่ทำให้ไขมันแตกตัวเป็นเม็ดเล็กๆ
  • ตับอ่อน หลั่งโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต เป็นเบสเปลี่ยนอาหารที่เป็นกรดเป็นกลางหรือเบสอ่อน นอกจากนี้ยังหลั่งเอนไซม์ที่พร้อมใช้งานสามารถย่อยสารต่างๆได้เลย กับเอนไซม์ที่ยังไม่พร้อมใช้งานสำหรับย่อยโปรตีน
เอนไซม์พร้อมใช้งาน
จากตับอ่อนสารที่ถูกย่อยผลที่ได้อะไมเลสแป้ง/ไกลโคเจน
/เดกซ์ตรินน้ำตาลมอลโทสไลเปสไขมันกรดไขมันและ
กลีเซอรอลทริปซิโนเจนเอนเทอโรไคเนสทริปซินไคโมทริปซิโนเจนทริปซินไคโมทริปซินโพรคาร์บอกซิเพปทิเดสทริปซินคาร์บอกซิเพปทิเดส

ลำไส้ใหญ่

มีแค่การดูดซึมเท่านั้น

  1. โครงสร้างของลำไส้ใหญ่ เป็นท่อต่อจากลำไส้เล็ก เป็นรูปตัวยูกลับหัว แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
  • ซีกัม ยาวประมาณ 1 นิ้ว มีไส้ติงติดอยู่
  • โคลอน เป็นส่วนที่ยาวสุดในลำไส้ใหญ่
  • ลำไส้ตรง ยาวประมาณ 5 นิ้ว
  • ทวารหนัก ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว
  1. หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ คือ ดูดซีมน้ำ วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ

การดูดซึมอาหาร

เป็การนำอาหารทโมเลกุลเล็กๆที่ผ่านการย่อยแล้วผ่านหนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปสู่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย

พลานาเรียและไฮดรามีวิธีการกินอาหารแตกต่างกันอย่างไร

วิธีการกินอาหารของพลานาเรียแตกต่างจากไฮดราอย่างไร พลานาเรียยื่นคอหอยออกจากปากมาดูดอาหารเข้าสู่ทางเดินอาหาร ส่วนไฮดราจะใช้ เทนทาเคิลจับเหยื่อแล้วส่งเข้าปากเพื่อเข้าสู่ช่องภายในลำ ตัว

พลานาเรียมีวิธีการกินอาหารอย่างไร

พลานาเรีย ใช้คอหอย (pharynx) ซึ่งมีลักษณะคล้ายงวงที่ยืดหดได้อยู่ในช่องปาก ทําหน้าที่ ดูดอาหาร อาหารของพลานาเรียจึงมีขนาดเล็กเท่าที่จะผ่านช่องปากเข้าได้ อาหารจะถูกย่อยใน ทางเดินอาหาร และถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ ส่วนกากอาหารจะออกทางปากเช่นเดียวกับไฮดรา

พลานาเรีย มีทางเดินอาหารแบบไหน

พลานาเรีย ทางเดินอาหารของพลานาเรียเป็นแบบ 3 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแตกแขนงย่อยออกไปอีกเรียกว่า ไดเวอร์ทิคิวลัม (Diverticulum) ปากอยู่บริเวณกลางลำตัว ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) มีลักษณะคล้ายงวงยาวหรือโพเบอซิส (Probosis) มีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีหน้าที่จับอาหารเข้าสู่ปาก กากอาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้ว ...

หนอนตัวแบนมีลักษณะทางเดินอาหารและการย่อยอาหารอย่างไร

มีระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ คือ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก ท่อทางเดินอาหารมีลักษณะปลายตันและมีการแตกแขนง เพื่อลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ขณะที่หนอนตัวแบนบางชนิด เช่น พยาธิตัวตืด ไม่มีกระทั่งช่องทางเดินอาหาร แต่อาศัยการแพร่ของสารอาหารเข้าสู่ร่างกายโดยตรง