ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ คืองานศิลปะที่ได้เริ่มทำก่อนกันมาก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการบันทึกเรื่องราวที่เรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยนับตั้งแต่ ยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 15,000-10,000 มานั้น มนุษย์ได้เขียนภาพสี และขูดขีดบนผนังถ้ำและเพิงผา เป็นภาพสัตว์ การล่าสัตว์และภาพลวดลายเรขาคณิต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงออกเกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวัน และแสดงความสามารถในการล่าสัตว์

ภาพเหล่านี้มักระบายด้วยถ่านไม้ และสีที่ผสมกับไขมันสัตว์ พบได้ทั่วไปในประเทศฝรั่งเศสและภาคเหนือของสเปน ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ ถ้ำลาสโกซ์ ในฝรั่งเศส ถ้ำอัลตามิรา ในสเปน งานศิลปะในยุคเก่าไม่มีเพียงแต่การเขียนภาพเท่านั้น ยังมีการปั้นรูปด้วยดินเหนียว หรือแกะสลักบนกระดูก เขาสัตว์ และงาช้าง

เรื่องราวที่นิยมทำกันได้แก่เรื่อง การล่าสัตว์ หรือบางก็มีรูปคน เป็นรูปสตรี ซึ่งอาจมีความหมายถึงการให้กำเนิดเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับชนเผ่า

ศิลปะยุคอียิปต์ (Egypt Art)

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปะอียิปต์ ( 2650 ปีก่อน พ.ศ. – พ.ศ. 510) ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมส่วนมากจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะ

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปะยุคคลาสสิก (Classical Art)

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์
          ศิลปะยุคคลาสสิก (Classical Art)ศิลปะกรีก (500 ปีก่อน พ.ศ. – พ.ศ. 440) ชาวกรีกมีความเชื่อว่า “มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง” ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐาน ทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ และไม่มี ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธี ฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต์

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปะโรมันโบราณ (RomanArt)

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปะเคลติก (ภาษาอังกฤษ: Celtic art) เกี่ยวข้องกับชนที่เรียกว่า “เคลต์” ผู้พูดภาษา “ภาษากลุ่มเคลติก” ในทวีปยุโรป เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคกลางและต่อมา รวมทั้งงานของชนโบราณที่เราไม่ทราบภาษาพูดแต่มีวัฒนธรรมและลักษณะคล้ายคลึงที่ทำให้สรุปได้ว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับชนเค้ลท์ และยังรวมถึงยุคฟื้นฟูศิลปะเคลติกจนถึงปัจจุบันซึ่งชนเค้ลท์สมัยใหม่พยายามอนุรักษ์เพื่อความรักษาความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

ศิลปะเคลติก เป็นศิลปะตกแต่ง, หลีกเลี่ยงการใช้เส้นตรงและไม่ค่อยใช้ความสมมาตร และมิได้พยายามเลียนแบบธรรมชาติหรือจินตนิยมของธรรมชาติซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะคลาสสิก เท่าที่เข้าใจกันจะเป็นศิลปะที่ซับซ้อนไปด้วยสัญลักษณ์ มีลักษณะหลายแบบและมักจะผสมลักษณะของวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าไปด้วย ตัวอย่างที่เห็นคือการใช้ลายสอดประสานซ้อนบนและล่าง (over-and-under interlacing) ซึ่งนำมาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 6 หลังจากที่ลักษณะนี้เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วโดยชาวเจอร์มานิค

ศิลปะเคลติกแบ่งเป็นสามสมัย สมัยแรกเป็นศิลปะแผ่นดินใหญ่ยุโรปในสมัยยุคเหล็กซึ่งเกี่ยวกับศิลปะของวัฒนธรรมลาเทเนอ ซึ่งมีอิทธิพลมาจากศิลปะท้องถิ่น ศิลปะคลาสสิก และอาจจะมาจากศิลปะตะวันออกที่มาทางเมดิเตอร์เรเนียน สมัยที่สองเป็นสมัยยุคเหล็กในอังกฤษ และ ไอร์แลนด์ ซึ่งมีอิทธิพลมาจากศิลปะแผ่นดินใหญ่ยุโรปผสมกับศิลปะท้องถิ่นต่างๆ สมัยที่สามเป็นสมัยเคลติก “เรอเนซองส์” เมื่อต้นยุคกลางที่ไอร์แลนด์ และบางส่วนของอังกฤษหรือที่เรียกว่า “ศิลปะเกาะ” ซึ่งมาจากคำว่า “เกาะ” ในภาษาละติน สมัยที่สามเป็นรากฐานของ “ศิลปะเคลติกฟื้นฟู” ที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19

ศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนยุคแรก คือศิลปะที่สร้างโดยผู้นับถือคริสต์ศาสนาหรือโดยผู้ได้รับการอุปถัมภ์จากผู้นับถือคริสต์ศาสนาที่เริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 100 จนถึงราวปี ค.ศ. 500 ก่อนหน้าปี ค.ศ. 100 ไม่มีหลักฐานทางศิลปะที่หลงเหลือให้เห็นที่จะเรียกได้ว่าเป็นศิลปะหรือสถาปัตยกรรมของผู้นับถือคริสต์ศาสนาได้อย่างแท้จริง หลังจากปี ค.ศ. 500 ศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะของศิลปกรรมแบบไบแซนไทน์

ศิลปะไบแซนไทน์ หมายถึงศิลปะของรัฐที่นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ซึ่งอยู่ในระยะเวลาเดียวกับอาณาจักรไบแซนไทน์แต่มิได้เป็นอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ เช่น ประเทศบัลแกเรีย เซอร์เบีย หรือรุส รวมทั้งศิลปะของรัฐอาณาจักรเวนิส และราชอาณาจักรซิซิลี ศิลปะของผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันมักจะเรียกว่า ศิลปะหลังไบแซนไทน์ ศิลปะไบแซนไทน์บางลักษณะที่เริ่มจากอาณาจักรไบแซนไทน์โดยเฉพาะการเขียนภาพแบบที่เรียกว่า รูปสัญลักษณ์ (icon) และสถาปัตยกรรมการสร้างศาสนสถานยังคงทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศกรีซ ประเทศรัสเซีย และบางประเทศที่อยู่ในเครืออีสเติร์นออร์โธด็อกซ์

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art)

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์

หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12] ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง

ศิลปะกอทิก (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาในการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอทิกนานาชาติ ศิลปะกอทิกนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะ[สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา] ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร

ศิลปะกอธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส) มหาวิหารนัวยง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารล็อง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารอามีแย็ง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์ (อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ) เป็นต้น มุขด้านตะวันออกของวิหาร Chartres Cathedral (ราว ค.ศ. 1145) รูปปั้นประกอบสถาปัตยกรรมนี้เป็นประติมากรรมศิลปะกอทิกตอนต้น ซึ่งแสดงวิวัฒนาการในรูปแบบเป็นแบบอย่างแก่ประติมากรรุ่นต่อมาศิลปะกอทิกเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า”กอธิค” เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนปลายของอิตาลี เรียกรูปแบบของศิลปะ ที่เกิดในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นผลงานของพวกกอท แฟรงก์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซัน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ ประการสำคัญ เป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมันและถึงพร้อมด้านศิลปวิทยาการ ดังนั้นถ้อยสำเนียงหรือนัยยะ ที่ใช้เรียกว่า “ศิลปะกอทิก” จึงเป็นการเรียกขานที่บ่งบอกไปในทางเย้ยหยันมากกว่าการชื่นชม เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าศิลปะแบบกรีก–โรมัน ที่มีกฎเกณท์ชัดเจน ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้รื้อฟื้นกลับมาปรับใช้ในยุคสมัยของตน จนเรียกชื่อยุคว่าเรอเนซองค์ หรือฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึงย้อนกลับไปรื้อฟื้นศิลปวิทยาการแบบกรีก-โรมันขึ้นมาอีกนั้น จึงยิ่งส่งผลให้มองศิลปกรรมอันเกิดจากฝีมือของผู้ทำลายอาณาจักรโรมันยิ่งดูไร้คุณค่าไร้รสนิยมยิ่งขึ้น จนนักวิจารณ์บางคนในยุคเรอเนซองส์ใช้คำกล่าวหาศิลปะกอธิคค่อนข้างรุนแรงว่าเป็นศิลปะที่ “ไร้รสนิยม” และ”วิตถาร”

อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวยุโรปทั่วไปนอกจากอิตาลีแล้ว มักจะเรียกศิลปกรรมกอธิคอย่างยอมรับมากกว่าจะดูแคลน โดยพวกเขาจะเรียกศิลปะกลุ่มนี้เป็นภาษาละตินว่า Opus Modernum หรืองานสมัยใหม่ ศิลปกรรมกอทิกเป็นศิลปะที่มีคุณค่าในตนเองอีกลักษณะรูปแบบหนึ่งของโลก ส่งผลต่อกระแสการหวนกลับไปสู่การชื่นชมและสร้างงานศิลปกรรมกอธิคอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 ทั้งในยุโรปและอเมริกา จนกลายเป็นยุคที่เรียกว่า Gothic Revival

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (ฝรั่งเศส: Renaissance; อิตาลี: Il Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14

บารอก (ฝรั่งเศส: Baroque) หรือบาโรก เป็นสมัยหนึ่งของศิลปะตะวันตกซึ่งเริ่มประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า บาโรกเป็นลักษณะของ ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม นาฏศิลป์ และดนตรี ถ้ากล่าวถึงดนตรีแบบบารอกก็จะหมายถึงสมัยสุดท้ายของเคาน์เตอร์พ็อยต์ (Counterpoint) ที่กล่างวถึงความสัมพันธ์ของการเล่นระหว่างเสียงหรือเครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดที่อาจจะสะท้อนกันและกัน แต่คนละระดับเสียง หรือบางครั้งก็อาจจะสลับเสียงสะท้อน หรือไม่อีกทีก็อาจจะย้อนแก่นสาร (reversing theme) ของดนตรีชิ้นนั้นไปเลย ยุคบารอกรุ่งเรืองขึ้นมาด้วยการสนับสนุนจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก ระหว่างการประชุมสภาสังคายนาแห่งเทรนต์ เมื่อปี ค.ศ. 1545-1563 ประเด็นหนึ่งที่มีการถกเถียงกันที่นั่นก็คือเรื่องความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและศาสนา ทางที่ประชุมตกลงกันว่าศิลปะควรจะสิ่งที่สื่อสารเรื่องศาสนาโดยใช้วิธีจูงใจและสะเทือนอารมณ์ผู้ดูโดยตรง ในขณะเดียวกันอภิชน (Aristocracy) สมัยนั้นก็เห็นว่าแบบบารอกเป็นศิลปะที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ดู เป็นศิลปะที่แสดงความถึงความมีอำนาจของเจ้าของ วังแบบบาโรกจะสร้างต่อเนี่องกัน (sequence) จากห้องพักรอ (anterooms) ถึงบันไดใหญ่ (grand staircases) ไปจนถึงห้องรับรองใหญ่ (reception rooms) แต่ละตอนก็เพิ่มความโอ่อ่าขึ้นตามลำดับ รายละเอียดตกแต่งหรูหราและอลังการเช่นนี้เป็นลักษณะของศิลปะสมัยนี้ ลักษณะเช่นนี้ครอบคลุมศิลปะทุกแขนง ศิลปินบาโรกจะนิยมใช้รายละเอียดใกล้เคียงกัน (repeated and varied patterns) ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ๆละครั้งจะค่อยๆแปรเปลี่ยนลวดลายไปทีละเล็กละน้อย ลักษณะของศิลปะแบบบาโรกที่เด่นและแตกต่างจากสมัยอื่นคือ จะออกไปทางที่เรียกกันว่าอลังการ จะเต็มไปด้วยลวดลายประดิดประดอย สีจัด หน้าตารูปปั้นจะไม่จงใจให้เหมือนจริงแต่จะเป็นหน้าอิ่มเอิบเหมือนเทพ

คำว่า Baroque เป็นภาษาฝรั่งเศสซึ่งสันนิษฐานกันว่ามาจากคำว่า barroco ในภาษาโปรตุเกสโบราณซึ่งหมายถึงหอยมุกที่มีรูปร่างอ่อนไหวม้วนไปมา แต่ที่มาในภาษาอังกฤษไม่ทราบแน่ว่ามาจากภาษาใดหรือจะมาจากแหล่งอื่น[2] คำว่าบาโรกเองนอกจากจะหมายถึงศิลปะที่รุ่งเรืองระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 18 แล้วก็ยังหมายถึงความโอ่อ่าที่เต็มไปด้วยรายละเอียด บางครั้งคำนี้อาจจะพูดถึงศิลปะที่มีการตกแต่งจนค่อนข้างจะไปทางอลังการ

ศิลปโรโคโค (อังกฤษ: Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า “ศิลปแบบหลุยส์ที่ 14″ (Louis XIV Style) ศิลปโรโคโคเริ่มพัฒนามาจากศิลปฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโคโคจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก

คำว่าโรโคโคมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโคโคจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนตัวของใบไม้เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโคโคเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโคโคก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก

ศิลปะยุคฟื้นฟู

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปะฟื้นฟูคลาสสิก (อังกฤษ: Neoclassicism, Neo-classicism) เป็นชื่อที่ใช้สำหรับขบวนการทางวัฒนธรรมของศิลปะการตกแต่ง, ทัศนศิลป์, วรรณคดี, การละคร, ดนตรี และสถาปัตยกรรมที่มาจากศิลปะคลาสสิกและวัฒนธรรมซึ่งส่วนใหญ่มาจากกรีกโบราณ หรือ โรมันโบราณ) ขบวนการเหล่านี้มีความนิยมระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 19

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค (อังกฤษ: Neo-Gothic architecture หรือ Gothic Revival architecture) หรีอ สถาปัตยกรรมวิคตอเรีย (Victorian architecture) เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี ค.ศ. 1840 ที่อังกฤษ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ที่นิยมและสนใจสถาปัตยกรรมกอธิคใหม่พยายามฟื้นฟูสถาปัตยกรรมยุคกลาง ซึ่งต่างจากสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกโรมันที่เป็นที่นิยมกันในสมัยนั้น ความนิยมนี้เผยแพร่ไปทั่วสหราชอาณาจักร ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกา กล่าวกันว่าจำนวนสิ่งก่อสร้างแบบฟื้นฟูกอธิคจะมากกว่าสิ่งก่อสร้างแบบกอธิคต้นฉบับเสียด้วยซ้ำ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคได้รับแรงสนับสนุนจากยุคกลางวิทยาซึ่งมีรากฐานมาจากการอยู่รอดของสิ่งที่เป็นกอธิค ทางด้านวรรณคดีสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคและ Romanticism ทำให้เกิดนวนิยายลักษณะกอธิค เช่นเรื่อง “ปราสาทโอทรันโท” โดยฮอเรส วอลโพล เมื่อค.ศ. 1764 หรือ โคลง “Idylls of the King” โดยอัลเฟรด เทนนิสสัน ซึ่งใช้แนวใหม่ในหัวเรื่องพระเจ้าอาเธอร์ที่มาจากยุคกลาง ในวรรณคดีเยอรมนีก็เช่นเดียวกัน[1]

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอเนซองส์ หรือบางครั้งก็เรียกสั้นๆ ว่า ฟื้นฟูเรอเนซองส์ หรือ เรอเนซองส์ใหม่ (อังกฤษ: Renaissance Revival architecture หรือ Neo-Renaissance) คือลักษณะสถาปัตยกรรมที่รวมลักษณะต่างๆ ของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ไม่เชิงกรีก (ดูบทความ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก) หรือ กอธิค

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์

(ดูบทความ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค) แต่เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกอิตาลีต่างๆ ตามความหมายอย่างกว้างๆ ของสถาปนิกและนักวิพากษ์ “สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์” ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มิได้ใช้แต่เพียงสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ที่เริ่มขึ้นในฟลอเรนซ์และตอนกลางของอิตาลีของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่เป็นเครื่องมือในการแสดงออกของลัทธิมนุษยนิยม แต่ยังรวมไปถึงลักษณะสถาปัตยกรรมที่มารู้จักกันว่าแมนเนอริสม์ และ บาโรก นอกจากนั้นลักษณะของตนเองก็ยังปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในคริสต์ศตวรรษที่ 19: “เรอเนซองส์ใหม่” ตามความหมายของผู้ร่วมสมัยจึงหมายถึงสิ่งก่อสร้างที่เป็น “แบบอิตาลี” (Italianate) หรือสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะบาโรกฝรั่งเศสเข้าไปผสม (สถาปัตยกรรมจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง)ลักษณะอันเป็นที่ต่างกันของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอเนซองส์ในบริเวณต่างๆ ของยุโรป โดยเฉพาะในฝรั่งเศสและอิตาลีเป็นการเพิ่มอุปสรรคในการบ่งลักษณะของสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอเนซองส์ยิ่งขึ้นไปอีก ที่จะเห็นได้จากคฤหาสน์วอลลาทันฮอลล์ในอังกฤษ[1] วังพิตติในอิตาลี, พระราชวังชองบอร์ดในฝรั่งเศส และ วังฟาเซต์ในรัสเซีย — ซี่งต่างก็จัดอยู่ในกลุ่ม “สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์” — ที่ต่างก็มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันออกไปแม้ว่าจะจัดว่าเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันก็ตาม

ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism Art) เป็นคำที่คิดขึ้นโดยศิลปินและนักวิจารณ์ศิลปะชาวอังกฤษโรเจอร์ ฟราย (Roger Fry) ในปี ค.ศ. 1910 เพื่อบรรยายศิลปะที่วิวัฒนาการขึ้นในฝรั่งเศสหลังสมัยเอดัวร์ มาแน จิตรกรอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังยังคงสร้างงานศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ แต่ไม่ยอมรับความจำกัดของศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ จิตรกรสมัยหลังจะเลือกใช้สีจัด เขียนสีหนา ฝีแปรงที่เด่นชัดและวาดภาพจากของจริง และมักจะเน้นรูปทรงเชิงเรขาคณิตเพื่อจะบิดเบือนจากการแสดงออก นอกจากนั้นการใช้สีก็จะเป็นสีที่ไม่เป็นธรรมชาติและจะขึ้นอยู่กับสีจิตรกรต้องการจะใช้ อิมเพรสชันนิซึมใหม่ หรือ ลัทธิประทับใจใหม่ (อังกฤษ: Neo-impressionism) เป็นคำที่เริ่มใช้โดยนักวิพากษ์ศิลปะชาวฝรั่งเศสชื่อเฟลิกซ์ เฟเนอง ในปี ค.ศ. 1886 ในการบรรยายขบวนการทางศิลปะที่ก่อตั้งขึ้นโดยฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา (Georges Seurat) งานชิ้นเอกของเซอรา “บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต” เป็นงานชิ้นแรกที่เป็นการเริ่มขบวนการของแนวคิดทางศิลปะดังว่าเมื่อตั้งแสดงเป็นครั้งแรกในนิทรรศการแสดงศิลปะของสมาคมศิลปินอิสระแห่งปารีส[2] ในช่วงเดียวกันนี้เป็นช่วงเริ่มต้นของยุคใหม่ของฝรั่งเศสที่จิตรกรหลายคนพยายามแสวงหาวิธีใหม่ในการแสดงออก ผู้ที่ดำเนินตามอิมเพรสชันนิซึมใหม่โดยเฉพาะจะนิยมวาดภาพฉากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง และภูมิทัศน์และทิวทัศน์ทะเล จิตรกรอิมเพรสชันนิสม์ใหม่จะใช้การตีความหมายของเส้นและลายเชิงวิทยาศาสตร์ในการเขียนภาพ[3]จิตรกรกลุ่มนี้มักจะกล่าวถึงเทคนิคการผสานจุดสีเพราะเป็นลักษณะการเขียนภาพในช่วงแรกของอิมเพรสชันนิซึมใหม่

ศิลปะสมัยใหม่ (Modern art)

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์
ศิลปะสมัยใหม่ เป็นคำที่ใช้เรียกการสร้างงานศิลปะตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงประมาณคริสต์ทศวรรษ 1970 (สำหรับการสร้างงานศิลปะเมื่อไม่นานมานี้ มักจะเรียกว่า ศิลปะร่วมสมัย หรือ ศิลปะหลังสมัยใหม่) โดยการเป็นงานที่มีลักษณะเป็นสากล และเป็นแบบอย่างของแต่ละบุคคลมากว่าที่จะเป็นแบบอย่างศิลปะแห่งแคว้นซึ่งเป็นแบบที่มีความแตกต่างกันจนยากที่จะกล่าวอย่างผิวเผินได้ วัสดุและเทคนิคใหม่ ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งผลผลิตของเครื่องจักรกลได้สะท้อนไปสู่งานศิลปะทำให้รูปแบบของศิลปะมีความหลายหลายมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ความรู้ทางด้านจิตวิทยาและฟิสิกส์ได้จัดแจงรูปแบบความคิดของศิลปินที่มีต่อมนุษย์ และโลกทางกายภาพขึ้นใหม่อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถที่จะอธิบายให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ได้ แม้ว่าแนวโน้มศิลปะหลาย ๆ แบบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 25 จะได้พยายามลดคุณค่าแบบอย่างศิลปะส่วนตนไปบ้าง แต่แนวโน้มที่แพร่หลายไปนี้ก็เน้นหนักที่ความคิดริเริ่มเป็นสำคัญ ลักษณะสำคัญของงานศิลปะสมัยใหม่ จึงเป็นปฏิกิริยาที่ศิลปินแต่ละคนแสดงออกต่อโลกรอบตัว การค้นหาอาณาจักรความฝันเฟื่องของแต่ละคน การสร้างโลกทัศน์ใหม่ของตัวเองจากวัสดุและเทคนิควิธีการที่แปลกใหม่ไปจากเดิม เหล่านี้เป็นลักษณะสำคัญของงานจิตรกรรม ประติมากรรมแห่งพุทธศตวรรษที่ 25 แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความสนใจในศิลปวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมและได้รับอิทธิพลจากศิลปะในแบบดั้งเดิมอีกด้วยศิลปะสมัยใหม่ โดยสรุป จึงเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปินแต่ละคนเน้นความเป็นตัวของตัวเองของศิลปินแต่ละกลุ่มซึ่งมีมากมายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็มีแนวคิดเทคนิค วิธีการที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย บ้างก็ สะท้อนสภาพสังคม บ้างก็ แสดงมุมมองบางอย่างที่แตกต่างออกไป บ้างก็ แสดงภาวะทางจิตของศิลปินและกลุ่มชน บ้างก็ แสดงความประทับใจในความงามตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการนำเอาวัสดุอุปกรณ์แบบใหม่ ๆ รวมถึงเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในการสร้างสรรค์งานมากขึ้น การบริโภค หรือการสนับสนุนงานศิลปะ ไม่จำกัดอยู่ที่ชนชั้นสูง ขุนนาง หรือผู้ร่ำรวยอย่างแต่ก่อนเท่านั้น แต่ยังตอบสนองต่อประชาชนทั่วไปอีกด้วย ไม่เพียงแต่รูปแบบที่หลากหลายทางศิลปะเท่านั้นที่เกิดขึ้น รูปแบบศิลปะสมัยดั้งเดิมก็ยังได้รับความนิยมและสืบทอดต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบันด้วย

ศิลปะร่วมสมัย (Contemporary art)

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์
ศิลปะร่วมสมัย หมายถึง การนำแนวคิดของลัทธิศิลปะสมัยเก่ากลับมาใช้ใหม่ โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่องราวหรือลวดลายบางส่วนให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์ แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของลักษณะแนวความคิด รูปร่างรูปทรง ขั้นตอน หรือ วิธีการสร้างงานศิลปะตามยุคสมัยหรือลัทธิเดิม ดังเช่น การนำลวดลายหรูหราจากศิลปะโรโคโคมาดัดแปลงใช้เป็นลวดลายกระดาษ ลายผ้า ฯลฯ การวาดภาพวิวทิวทัศน์กรุงเทพฯ ยามเย็นโดยใช้การแต้มสีเหมือนศิลปะลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ เป็นต้น

ทัศนศิลป์ตะวันตก

ศิลปะตะวันตกยุคก่อนประวัติศาสตร์
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากเว็บเหล่านี้ครับ ^^  

https://pupa300838.wordpress.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%81/

ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก มีอะไรบ้าง

ศิลปะตะวันตก.
ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-historic Art).
ศิลปะยุคอียิปต์ (Egypt Art).
ศิลปะยุคคลาสสิก (Classical Art) ... .
ศิลปะเคลติก (Celtic art).
ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (Early Christian art and architecture).
ศิลปะไบเซนไทน์ (Byzentine Art).
ศิลปะโรมาเนสก์ หรือ ศิลปะนอร์มัน (ภาษาอังกฤษ: Romanesque art).
ศิลปะกอธิค (Gothic Art).

ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกแบ่งออกเป็นกี่ยุค

1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic) 2. ยุคโบราณ (Ancient Age) 3. ยุคกลาง (Middle Age) 4. ยุคใหม่ (Modern Age)

ถ้ำใดคาดว่าเป็นที่อยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของศิลปะตะวันตก

ถ้ำลัสโก” เชื่อว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยโบราณมาก่อน เนื่องจากมีการค้นพบอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โคมไฟหินทราย และเตาผิง ที่ใช้ไขมันสัตว์เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งการค้นพบสิ่งของเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์รู้จักวิธีก่อไฟเพื่อใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตมาอย่างช้านานแล้ว นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีภาพวาดอายุประมาณ 15,000 ปี ก่อน ...

ข้อใดคือศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ คืองานศิลปะที่ได้เริ่มทำก่อนกันมาก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการบันทึกเรื่องราวที่เรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยนับตั้งแต่ ยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 15,000-10,000 มานั้น มนุษย์ได้เขียนภาพสี และขูดขีดบนผนังถ้ำและเพิงผา เป็นภาพสัตว์ การล่า ...