ศูนย์ ศึกษา การ พัฒนา พิกุล ทอง อัน เนื่อง มา จาก พระ ราชดำริ จังหวัด นราธิวาส ดินเปรี้ยว จัด

    “...ให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง และพัฒนาดินอินทรีย์และดินที่มีปัญหาอื่นๆ ในพื้นที่พรุ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรรวมทั้งแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนา ทั้งทางด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และการเกษตรอุตสาหกรรมที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ภาคใต้ เพื่อให้เป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จให้พื้นที่อื่นๆ...”

    พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2524

ศูนย์ ศึกษา การ พัฒนา พิกุล ทอง อัน เนื่อง มา จาก พระ ราชดำริ จังหวัด นราธิวาส ดินเปรี้ยว จัด

    เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2525 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย แสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภูมิสังคมของท้องถิ่น และเป็นสถานที่ที่นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน ใช้แลกเปลี่ยน สื่อสาร และถ่ายทอดความรู้ เป็นแบบจำลองของพื้นที่ที่มีการพัฒนาแบบผสมผสานทุกสาขาในลักษณะสหวิทยา และมีการบริหารที่เป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน มีการประสานการดำเนินงานที่มีเอกภาพ เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในลักษณะของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”รวมทั้งนำผลสำเร็จของโครงการฯ ขยายผลไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป โดยได้กำหนดแผนการศึกษาดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 4 แผนงาน ได้แก่ 1) แผนงานศึกษา ทดลองวิจัย ตามแนวพระราชดำริ 2) แผนงานขยายผลการพัฒนา 3) แผนงานฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 4) แผนงานบริหารจัดการ

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง

    2. เพื่อศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย และ สำรวจ หาข้อมูลเกี่ยวกับป่าไม้ในป่าพรุ และป่าอื่นๆ ในพื้นที่ภาคใต้ มาใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนที่อยู่อาศัยรอบๆ ป่าพรุ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

    3. เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าพรุพรุ และป่าอื่นๆ ในพื้นที่ภาคใต้ให้คงอยู่ตลอดไป

    4. เพื่อสาธิตและเผยแพร่งานด้านการประโยชน์ไม้และของป่าพรุในป่าพรุพรุ และป่าอื่นๆในพื้นที่ภาคใต้ต่อสู่สาธารณชน

    5. เพื่อผลิตกล้าไม้ แจกจ่ายสู่ราษฎร นำไปปลูกขยายผลในพื้นที่ของราษฎร

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ศูนย์ ศึกษา การ พัฒนา พิกุล ทอง อัน เนื่อง มา จาก พระ ราชดำริ จังหวัด นราธิวาส ดินเปรี้ยว จัด

    ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ระหว่างบ้านพิกุลทอง และบ้านโคกสยา ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ประกอบด้วยพื้นที่ดำเนินการ ดังนี้

    1. พื้นที่บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เนื้อที่ 1,740 ไร่ เป็นที่ตั้งอาคารสำนักงาน แปลงทดลองในที่ลุ่ม บนที่ดอนสวนยางเขาสำนัก และอ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน

    2. พื้นที่พรุในจังหวัด เนื้อที่ 261,860 ไร่ แบ่งป่าพรุ 3 เขต คือ เขตสงวน , เขตอนุรักษ์ และเขตพัฒนา

    3. พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ได้รับการส่งเสริมด้านการเกษตรและพัฒนาอาชีพให้สามารถ พึ่งตนเองได้

    4. ศูนย์สาขา 4 สาขา คือ โครงการสวนยางตันหยง เนื้อที่ 15.8 ไร่ , โครงการพัฒนาหมู่บ้านปีแนมูดอ เนื้อที่ 135 ไร่ , โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์เกษตรมูโนะ เนื้อที่ 1,500 ไร่ , โครงการหมู่บ้านโคกอิฐ - โคกใน และบ้านยูโย เนื้อที่ 30,065 ไร่

    5. พื้นที่ที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการ

ผลการดำเนินงาน

    ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินงานในลักษณะผสมผสานตามแนวพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่เดือดร้อนจากสภาพปัญหาต่างๆ ให้ใช้ประโยชน์จากที่ทำกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวทางที่ได้รับพระราชทานพระราชดำริไว้ดังนี้

    1. การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย

        เพื่อศึกษา และพัฒนาดินในพื้นที่พรุ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและด้านอื่นๆ ตลอดจนการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การเกษตรอุตสาหกรรม หาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เป็นแนวทางและตัวอย่างของผลสำเร็จให้แก่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป รวมทั้งเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฏิบัติและเกษตรกรมาผสมผสานทางวิชาการถ่ายทอดประสบการณ์

    2. การพัฒนาแบบผสมผสาน

        ผลสำเร็จที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้า ทดลอง ภายในศูนย์ฯ นำไปขยายผลเพื่อการพัฒนา โดยจัดทำในรูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่พื้นที่ของเกษตรกรในลักษณะการพัฒนาแบบผสมผสานกันทั้งด้านความรู้ การดำเนินงาน และการบริหารอย่างเป็นระบบ

    3. ประสานงานระหว่างส่วนราชการ

         เป็นการประสานงาน ประสานแผนการบริหารจัดการระหว่างกรม กอง และส่วนราชการให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยยึดกรอบในการปฏิบัติงาน ตามแผนแม่บทโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยบางหน่วยงานดำเนินงานมาตลอดตั้งแต่เริ่มโครงการ บางหน่วยสิ้นสุดภาระกิจไปแล้ว และบางหน่วยเพิ่งเข้ามาร่วมงานใหม่

    4. ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ

        เป็นศูนย์รวมของการศึกษา ทดลอง และสาธิตที่ได้รับผลสำเร็จในทุกๆ ด้าน ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการแกล้งดิน อันเป็นรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด การเกษตรทฤษฎีใหม่ การปรับปรุงน้ำเปรี้ยว นิทรรศการป่าพรุ การเลี้ยงสัตว์แบบพื้นบ้าน เป็นต้น

ศูนย์ ศึกษา การ พัฒนา พิกุล ทอง อัน เนื่อง มา จาก พระ ราชดำริ จังหวัด นราธิวาส ดินเปรี้ยว จัด

ประโยชน์ที่ได้รับ

    1. ศึกษาหาแนวทางการปลูกและฟื้นฟูสภาพป่าพรุที่เสื่อมโทรม

    2. เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ แหล่งเก็บเมล็ดพันธุ์ และ แหล่งค้นคว้าทางวิชาการป่าไม้

    3. ขยายผลงานการวิจัย ไปสาธิตขยายผล ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ที่เป็นสภาพป่าพรุ

    4. ให้มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางของการวิจัย ค้นคว้า บริการ และถ่ายทอดความรู้ ด้านป่าพรุ สู่ประชาชนนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และ ผู้สนใจ

    5. ดำเนินการศึกษาทดลองวิจัย การฟื้นฟูและบำรุงรักษาพื้นที่ป่าพรุ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ การส่งเสริมใช่ประโยชน์จากป่า และพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ

 อ้างอิง :

  • สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
  • Thai PBS