การบริหารสำนักงาน สมัยใหม่

คลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก
        นับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน กระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านการเมือง เศรษกิจ และสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่ารุนแรง รวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงสามศตวรรษที่ผ่านมา จากสังคมเกษตรเข้าสู่อุตสาหกรรม และเข้าสู่เทคโนโลยีข่าวสารข้อมูลในปัจจุบัน
       ยุคเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นสังคมแบบดั้งเดิม การผลิตด้าน
การเกษตร เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พึ่งพาธรรมชาติ สังคมเรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นยุคอดีตจนก่อนการ ปฎิวัติอุตสาหกรรม
       ยุคอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนาไปสุ่เครื่องจักรกล มาใช้
เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้พลังการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น เป็นยุคสามทศวรรษก่อนปัจจุบัน
      ยุคเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์
โทรสารติดต่อทั่วโลก เป็นยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจนคนในสังคมปรับตัวไม่ทันกกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน
      ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ซึ่งส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์

- โลกไร้พรมแดน - เศรษฐกิจเสรี - ธุรกิจข้ามชาติ - หมู่บ้านโลก

             ปรากฎการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขององค์กรจากองค์กรขนาดใหญ่เป็นองค์กรขนาดเล็ก ลดขั้นตอนการทำงานลดเอกสารที่ใช้ ลดจำนวนบุคลากร มีการแข่งขันขององค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

 วิวัฒนาการทางการบริหาร การบริหารงานขององค์กรในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการปรับ เปลี่ยนหลักทฤษฎีการบริหารมาตามลำดับ ดังนี้

ยุคก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Adam Smith จัดแบ่งโครงสร้างหน้าที่การแบ่งงานกันทำและปรัชญา Big is Beautiful มีองค์กรและการผลิตขนาดใหญ่ ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดตลาดสินค้าและบริการ 

ยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Kai Zen Demming Philosophy QC Circle ปรัชญาทางการบริหารมุ่งสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการ ตลอดจนการตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อนำไปสู่การแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงาน

ยุคหลังปี คศ. 1980 ทฤษฎีการบริหารงานที่นำมาใช้ คือ Total Quality Management ISO 9000 Business Process Reengineering ปรัชญาการทำงานมุ่งไปสู่การสร้างสรรค์ประสิทธิภาพการทำงานทุกขั้นตอน การควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการตามมาตรฐานที่กำหนด การผลิตที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการรื้อปรับระบบการทำงานใหม่ของระบบธุรกิจ เอกชน

 แนวคิดการรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ ที่ไม่สนใจการทำงานแบบเดิมที่ผ่านมา เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดผลงานเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เพื่อเพิ่มผลผลิตลดเวลา ลดขั้นตอน ลดเอกสาร และลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ซึ่งระบบธุรกิจเอกชนนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและเริ่มต้นนำมาใช้ในระบบราชการ

ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ

         1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)

         2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่(Redesign)

         3. การเสริมเทคโนโลยี(Retool)

         4. การฝึกอบรมบุคลากร(Retrain)

            การนำแนวคิดการรื้อปรับระบบมาใช้ในระบบราชการเพื่อมุ่งปรับเปลี่ยนทันคติผู้ปฎิบัติงานใหม่ ปรับลดขั้นตอนการทำงานลงเสริมการทำงานและปรับสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม สะดวกในการทำงานซึ่งเป็นมิติใหม่ของการทำงานการให้บริการของหน่วยราชการ ตัวอย่าง

การให้บริการฝากถอนเงินของธนาคาร(แบบเดิม)

·  การฝากถอนเงินผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอน

·  มีพนักงานหลายคน แบ่งหน้าที่ ฝาก ถอน ตรวจสอบ อนุมัติ ผ่านพนักงานหลายคน

·  ใช้เวลานานในการฝากถอน

·  ระบบการตรวจสอบด้วยเอกสาร 

 การใก้บริการฝากถอนเงินของธนาคาร(แบบใหม่)

·  การฝากถอนเงินมีขั้นตอนลดลง

·  มีพนักงานคนเดียวทำหลายหน้าที่ ฝากถอนตรวจสอบ อนุมัติด้วยพนักงานคนเดียวกันใช้เวลาลดลง

·  มีการมอบอำนาจ พัฒนาบุคลากร

·  มีระบบการตรวจสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์

ความแตกต่างระหว่างแนวคิด Reengineering กับ Automation

- Reengineering เป็นการคิดค้นกระบวนการทำงานใหม่ทั้งระบบองค์การและนำระบบคอมพิวเตอร์มาปรับใช้กับกระบวนการทำงานใหม่ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที ประสิทธิภาพสูงหน่วยงานราชการส่วนใหญ่ มักจะเป็นการนำแนวคิด Automation โดยนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้กับกระบวนการทำงานเดิม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การทำงานรวดเร็วมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น

¨การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลง(Management Of Change)

 วิสัยทัศน์(VISION) การบริหารงานในอนาคตจำเป็นต้องกำหนดทิศทางขององค์กร ในอนาคต โดยพิจารณาจากสภาพที่เป็นจริง สถานการณ์ลูกค้า เพื่อมุ่งถึงเป้าหมายในอนาคต วิสัยทัศน์ ประกอบด้วย

- เป้าหมายในอนาคต - สภาพที่เป็นจริง - ลูกค้า ผู้รับบริการ - สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม

          ปัจจุบันลูกค้าเป็นผู้กำหนดชะตากรรมขององค์การการผลิตสินค้า และบริการเปลี่ยนจากการผลิตจำนวนมากเป็นการผลิตตามความต้องการลูกค้า ผู้บริโภค ลูกค้าจึงมีความสำคัญต่อการอยู่รอดขององค์การ การบริหารงานยุคใหม่ จึงมุ่งสนองตอบต่อลูกค้าเป็นสำคัญ ( Customer Oriented )

 พันธกิจ(MISSION) เป็นภารกิจหรือแนวทางนำไปสู่วิสัยทัศน์ เป็นกิจกรรมหลักที่ทำให้วิสัยทัศน์บรรลุผล องค์ประกอบของพันธกิจ

- ทำอะไร (WHAT) เป้าหมายคืออะไร - ใครเป็นคนทำ (WHO) ผู้รับผิดชอบคือใคร

- ทำอย่างไร (HOW) ให้บรรลุวัตถุประสงค์

       ดังนั้น พันธกิจอาจกำหนดไว้หลานด้าน เพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ (เป้าหมายหลัก) ที่กำหนดไว้

* ผลสำฤทธิ์ ( Result) การประเมินผลการทำงานจะประเมินผลสัมฤทธิ์ โดยประเมินทั้งผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)

- ผลผลิต (Output) เป็นผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากโครงการ เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการผลิตสินค้าและบริการ

- ผลลัพธ์ (Outcome) เป็นผลกระทบของโครงการ อาจเป็นผลด้านนามธรรมและส่งผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการโดยตรง

ตัวอย่าง

            โครงการสร้างภาชนะเก็บน้ำ อ่างเก็บน้ำ ผลผลิตได้แก่ ภาชนะ หรือ อ่างเก็บน้ำ ผลลัพธ์ต้องดูว่าประชาชนใช้ภาชนะเก็บน้ำหรือไม่ ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำหรือไม่ คุณภาพของน้ำเป็นอย่างไร สาเหตุที่ประชาชนไม่นิยมบริโภคน้ำฝนขากภาชนะ เก็บน้ำ หรือไม่ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นการพิจารณาผลลัพธ์

ดังนั้น การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการ วิธีการที่ทำให้ บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดและประเมินผลการดำเนินการที่ผ่านมาว่าบรรลุผลตามเป้าหมายหรือไม่ ซึ่งได้แก่การกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจ และผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน ซึ่งจะทำงานไปวันๆ ไร้จุดหมายทิศทาง ดังเช่นอดีตที่ผ่านมาอีกไม่ได้

¨การปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานใหม่ (Paradigm Shiff)

·  การปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานใหม่ เป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ วิธีคิด วิธีทำงานของคน
และหน่วยงานใหม่ เพื่อสร้างสรรค์บรรยายกาศการทำงานมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน

- การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ปฎิบัติงาน ให้มีความเต็มใจในการให้บริการด้วยอัธยาศัยไมตรี มองผู้มาติดต่อเป็นลูกค้า ที่ต้องให้บริการด้วยความสะดวกรวดเร็ว ปรับทัศนคติการทำงานที่ปกป้องตนเอง มาเป็นการทำงานเพื่อมุ่งผลสำเร็จของงานการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ ของผู้ปฎิบัติงาน จะเป็นการสร้างสรรค์การทำงานให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีความภูมิใจต่องานที่รับผิดชอบ ตลอดจนลูกค้าหรือประชาชนที่มาคิดต่อเกิดความพอใจ ประทับใจในการให้บริการ ควรปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงานใหม่ ดังนี้

·  มองประชาชนผู้มาขอรับบริการ หรือผู้มาติดต่อราชการ เป็นลูกค้า

·  เปลี่ยนการทำงานที่ยึดเบียบปฎิบัติกฎเกณฑ์เคร่งครัดเป็นการทำงานที่ยืดหยุ่นมุ่งผลสำเร็จของงาน

·  ปรับลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ใช้เอกสารใช้เวลามาก ให้มีขั้นตอนน้อยลง ใช้เอกสารและเวลาน้อยลงเท่าที่ไม่ขัดต่อระเบียบ

·  การมอบอำนาจในการทำงาน (Delegation) การมอบอำนาจในการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานผู้ปฎิบัติงาน จะเป็นผลให้

·  เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน

·  ตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็ว

·  ลดข้อจำกัดการทำงาน

  เพิ่มผลผลิตมากขึ้น

·  การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

·  เพิ่มขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฎิบัติงาน

·  การจัดสำนักงาน จัดสภาพภูมิทัศน์ เป็นแนวคิดการจัดสภานที่ทำงาน และสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงานให้เอื้ออำนวยต่อการทำงาน

         แนวความคิดในการจัดสำนักงาน และจัดสภาพภูมิทัศน์สมัยใหม่ ประกอบด้วย 

 ·  สำนักงานไร้กระดาษ ลดการใช้เอกสาร มีระบบการจัดเก็บเอกสารที่ทันสมัย 

 ·  สถานที่ทำงาน สะอาด สวยงาม มีบรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการทำงาน 

 ·  สร้างทีมงาน(Process Team) จัดสถานที่ทำงานเอื้ออำนวยต่อการทำงานเป็นทีม จัดโต๊ะทำงานหันหน้าเข้าหากันเป็นลักษณะการทำงานปรึกษาหารือสถานที่ประชุมสัมมนา 

 ·  จัดระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Automation Work Flow) นำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้ มีระบบโทรศัพท์คอมพิวเตอร์ มาใช้ในการทำงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว 

 ·  การจัดสำนักงานไร้กระดาษ (Paperless Office)

                แนวทางการดำเนินการสู่สำนักงานไร้กระดาษ เป็นการลดการใช้กระดาษ การจัดเก็บเอกสารและการทำลายเอกสารซึ่งการดำเนินการสู่สำนักงานไร้กระดาษ มีดังนี้

·  ปรับปรุงระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร ลดเอกสารได้ร้อยละ 40 โดยจำกัดพื้นที่ จัดเก็บและทำลาย
ระเบียบคำสั่ง วินัย/มาตรฐาน ฯลฯ

·  ปิดประกาศหรือแจ้งเวียนแทนการแจกจ่ายเอกสาร

·  ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ลดเอกสารได้ร้อยละ 40 ด้วยระบบจัดเก็บเอกสาร Save in Diskettes Filing System

¨การบริหารงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามแนวทางการบริหารยุคใหม่

* การเปลี่ยนแปลงบทบาทองค์กร การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลงองค์กรจำเป็นต้องปรับบทบาทให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

* การแบ่งงานตามหน้าที่ (Function) เปลี่ยนไปสู่การทำงานหลายด้าน(Multi-Function) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่ผู้ปฎิบัติงานสามารถทำงานได้หลายหน้าที่

* ถูกควบคุม (Control) เปลี่ยนไปสู่การเพิ่มอำนาจ การบริหารงานเปลี่ยนจากเน้นการควบคุมเป็นการให้อิสระในการทำงานแก่ผู้ปฎิบัติงานมีการตรวจสอบควบคุมน้อยลง

* การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลง เป็นการปรับเปลี่ยนการบริหาร หรือทำงานแบบเดิม ไปสู่การบริหารงาแบบใหม่ โดยการปรับเปลี่ยนสู่การบริหารงานยุคใหม่ ประกอบด้วยเงื่อนไข ดังนี้

          * สร้างกระบวนการทำงานใหม่

          * นำเทคโนโลยีมาใช้

         * สร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่

         * วิเคราะห์ลูกค้าและสถานการณ์

         * มอบอำนาจการตัดสินใจ

         ขั้นตอนการดำเนินการสู่การบริหารงานยุคใหม่ นอกจากการดำเนินการตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ยังมีขั้นตอนการดำเนินการสู่การบริหารยุคใหม่ ประกอบด้วย

         * สร้างวิสัยทัศน์การบริหารงาน (VISION) กำหนดเป้าหมายในการบริหารงาน การทำงาน

          * กำหนดพันธกิจ(MISSION) กำหนดแนวทาง ภารหน้าที่ เพื่อบรรลุผลตามเป้าหมาย

           * กำหนดผลลัพธ์ (OUTCOME) พิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบริหารงาน การทำงาน

           * สร้างตัวชี้วัด(INDICATOR) เพื่อวัดผลที่เกิดขึ้นตอบสนองต่อเป้าหมายเพียงใด ตัวชี้วัดควรวัดในเชิงรูปธรรมได้

            * วัดผลสัมฤทธิ์ เป็นการตรวจสอบผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงทบทวน ขั้นตอนการดำเนินการทำงานของนักบริหารยุคใหม่