Safety ความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน กับ เครื่องจักร

Safety ความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน กับ เครื่องจักร

  • Safety ความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน กับ เครื่องจักร

เผยแพร่เมื่อ 15/07/2564...,
เขียนโดย อาจารย์ชวินทร มัยยะภักดี
               คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...,

เรื่อง 6 ขั้นตอนการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัย 

          การปฏิบัติงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัย

                    1. ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตหรือผ่านการอบรมความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

                    2. มีระเบียบปฏิบัติ ขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันมิให้ได้รับอันตรายจากเครื่องจักร และต้องปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและเคร่งครัด

                    3. ในบริเวณที่มีการติดตั้ง การซ่อมแซม หรือการตรวจสอบเครื่องจักรหรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร ต้องติดป้ายแสดง ใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ์ป้องกันมิให้เครื่องจักรทำงาน

                    4. ตรวจสอบเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีและปลอดภัย

                    5. พื้นบริเวณรอบเครื่องจักรต้องอยู่ในลักษณะที่ปลอดภัย          

                    6. ต้องบำรุงรักษาและดูแลเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่สามารถป้องกันอันตรายได้

          ตรวจสอบความพร้อมของการ์ดหรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายของเครื่องจักรก่อนเริ่มงานทุกครั้ง

                    - สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามที่กำหนดทุกครั้งที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร  เช่น ถุงมือ แว่นตานิรภัย ที่อุดหูลดเสียง เป็นต้น

                    - หากพบว่าเครื่องจักรทำงานผิดปกติ ให้หยุดทำงาน และแจ้งหัวหน้างานเพื่อประสานงานช่างเทคนิคทำการแก้ไขเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ห้ามแก้ไขเองเด็ดขาด

Visitors: 261,318

เราได้ยินข่าวหรือได้รับข้อมูลรายงานผลการสอบสวนอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานกับเครื่องจักรกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ละเหตุการณ์ล้วนแล้วแต่ส่งผลถึงความสูญเสียกับร่างกายและชีวิต ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็มักจะมาจากการกระทำของผู้ปฏิบัติงานเองหรือเกิดจากการขาดความรู้ ทักษะ ความชำนาญและความเข้าใจในการทำงานกับเครื่องจักรหรือมาจากสภาพของเครื่องจักรที่มีการแก้ไข ดัดแปลงส่วนความปลอดภัยออกไปหรือมีสภาพที่ชำรุดขาดการตรวจสอบบำรุงรักษา ขาดระบบการจัดการหรือมาตรการสำหรับใช้ในการควบคุมการทำงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัยและที่สำคัญขาดบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงที่จะควบคุม กำกับดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรอย่างชัดเจน

ดังนั้นเรามารู้จักและทำความเข้าใจกับนิยาม ของคำว่าเครื่องจักรตามที่กฎหมายกำหนดกันดีกว่า

    “เครื่องจักร”หมายความว่า สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับก่อกำเนิดพลังงานเปลี่ยนหรือแปลงสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้อเพลิง ลม ก๊าซ ไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น และหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์ ล้อตุนกำลัง รอก สายพาน เพลา เฟือง หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งเครื่องมือกล

    “เครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร” หมายความว่า ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบหรือติดตั้งไว้บริเวณที่อาจเป็นอันตรายของเครื่องจักร เพื่อช่วยป้องกันอันตรายแก่บุคคลที่ควบคุมหรืออยู่ในบริเวณใกล้เคียง

    “เครื่องปั๊มโลหะ” หมายความว่า เครื่องจักรที่ใช้สำหรับการปั๊มหรือวัสดุอื่น

     “รถยก”หมายความว่า รถที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้สำหรับการยกหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของ

     “ลิฟต์” หมายความว่า เครื่องจักรที่ใช้บรรทุกผู้โดยสารขึ้นลงตามแนวดิ่ง

     “เครื่องมือกล” หมายความว่า เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานทางกลเพื่อเป็นการทุนแรงหรือทดแทนการใช้กำลังของผู้ปฏิบัติงาน โดยอาศัยพลังงานจากไฟฟ้า เครื่องยนต์และต้นกำลังอื่นๆ ปกติจะมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยสองมือ ใช้สำหรับเปลี่ยนหรือแปรรูปวัสดุด้วยการตัด เจียร เฉือน กัด ขัดหรืออัดขึ้นรูปมีใช้งานมากในโรงงานแปรรูปไม้ โรงงานซ่อมสร้างเครื่องจักรและโรงกลึงทั่วไป

 

 แนวทางการดำเนินการจัดการด้านความปลอดภัยที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับ ควบคุม จัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรดังนี้

 

1. จัดทำคู่มือหรือขั้นตอนการดำเนินงานและวิธีการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรแต่ละชนิดอย่างปลอดภัย ตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบก่อนใช้งาน ขั้นตอนการควบคุมการเดินเครื่องจักร ขั้นตอนการดำเนินเกี่ยวกับการหยุดซ่อม หรือแก้ไขเหตุขัดข้องของเครื่องจักร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

 2. มีแผนการตรวจสอบ บำรุงรักษาเครื่องจักรและจัดให้มีผู้ชำนาญการที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตามสาขาวิศวกรรมควบคุม

3. จัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรตามชนิด ประเภทและลักษณะการทำงานของเครื่องจักร

4. จัดให้มีการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับเครื่องจักร

 5. จัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ชนิดพิเศษสำหรับป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร (Lock out Tag out)

6. จัดให้มีการออกแบบ ติดตั้งและตรวจสอบระบบไฟฟ้าและระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้าและรวมถึงการต่อกับระบบสายดิน

 7. จัดให้มีการออกแบบอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติสำหรับเครื่องจักรชนิดอัตโนมัติ ต้องมีสีเครื่องหมายปิด-เปิด ที่สวิตช์อัตโนมัติตามหลักสากลและมีเครื่องป้องกันมิให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดกระทบสวิตช์ อันเป็นเหตุให้เครื่องจักรทำงาน

 8. จัดให้ผู้ปฏิบัติงานใช้และสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลขณะที่ทำงานกับเครื่องจักร

9. จัดให้มีบริเวณพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานกับเครื่องจักรมีสภาพที่ปลอดภัย

 10. จัดให้มีการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรที่มีการถ่ายทอดพลังงานโดยใช้เพลา สายพาน รอก เครื่องอุปกรณ์ ล้อตุนกำลังต้องมีตะแกรงหรือที่ครอบปิดคลุมส่วนที่หมุนได้และส่วนส่งถ่ายกำลังให้มิดชิด ถ้าส่วนที่หมุนได้หรือส่วนส่งถ่ายกำลังสูงกว่าสองเมตร ต้องมีรั้วหรือตะแกรงสูงไม่น้อยกว่าสองเมตรกั้นล้อมมิให้บุคคล เข้าไปได้ในขณะเครื่องจักรกำลังทำงาน

 11. ห้ามดัดแปลง แก้ไข หรือปล่อยให้ผู้ปฏิบัติงานเปลี่ยนแปลงสมรรถนะของเครื่องจักรหรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร เว้นแต่ได้รับการรับรองจากวิศวกร และเก็บผลการรับรองไว้ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้

12. สำหรับการประกอบ การทดสอบ การใช้ การซ่อมบำรุง และการตรวจสอบเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อื่นที่นำมาใช้กับเครื่องจักร ต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะหรือคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ หากไม่มีรายละเอียดคุณลักษณะหรือคู่มือการใช้งานดังกล่าว ผู้ปฏิบัติงานต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะหรือคู่มือการใช้งานที่วิศวกรได้กำหนดขึ้นเป็นเอกสาร


ที่มา : www.npc-se.co.th 15 ก.ค. 2552