การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา ppt

การบริหารงานบุคคล

มนุษย์ คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์การ องค์การประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก คือบุคคลในองค์การ ถึงแม้จะมีเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยอย่างไรก็ตาม ถ้าบุคคลในองค์การขาดความรู้ความสามารถก็ไม่อาจใช้ประโยชน์จากเครื่องมือที่ทันสมัยนั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารงานบุคคล ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มตั้งแต่การวางแผนกำลังคน จนกระทั่งถึงการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานขององค์การในที่สุด

ความหมายของการบริหารงานบุคคล

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปัจจัยพื้นฐานของการประกอบธุรกิจ 5M’sคือ คน วัตถุดิบ เครื่องจักร เงินทุน และการบริหาร จะเห็นได้ว่าคนเป็นองค์ประกอบประเภทหนึ่งที่ทุกองค์การต้องให้ความสำคัญ องค์การใดมีคนที่ดีคุณภาพย่อมจะนำพาให้องค์การนั้นไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมประสิทธิภาพ

ความสำคัญของการบริหารงานบุคคล

  • บุคคลในองค์การ เปรียบเสมือนชิ้นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้ ดังนั้นจึงควรศึกษาความสำคัญของการบริหารงานบุคคลซึ่งแยกเป็นประเด็นสำคัญๆได้ดังนี้

-ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่สังคม สังคมประกอบขึ้นจากกลุ่มบุคคลเล็กๆ มารวมกันถ้าแต่ละกลุ่มมีความมั่นคงย่อมส่งผลให้สังคมเกิดความมั่นคงเช่นกัน

-ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศชาติ ถ้าบุคลากรของทุกองค์การเป็นผู้มีความสามารถ

หน้าที่การบริหารงานบุคคล Personal Functional

การบริหารงานบุคคล คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรภายในองค์การเริ่มตั้งแต่การวางแผนกำลังคน การพัฒนประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการสร้างแรงจูงใจด้านต่างๆ เพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจพิจารณาขอบเขตของงานด้านบริหารงานบุคคลได้แก่

      • การวางแผนกำลังคน Personnel Planning
      • การสรรหาและการคัดเลือก Finding and Selectiong

      • การจัดบุคคลเข้าทำงาน Recruitment
      • การปฐมนิเทศ Orientation
      • การพัฒนาและฝึกอบรม Training and Development
      • การเลื่อนชั้นและการโยกย้าย Transfer and Promotion
      • การสร้างแรงจูงใจ Motivationการจัดการด้านสวัสดิการ Welfare
      • การพ้นจากงาน working Leave
      • แรงงานสัมพันธ์ Labor Relation

การวางแผนกำลังคน การดำเนินธุรกิจย่อมจะมีบางช่วงเวลาที่ต้องใช้กำลังคนมาก บางช่วงใช้กำลังคนมากก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้ากำลังคนน้อยก็ทำให้งานภายในองค์การเกิดความเสียหายได้เช่นกัน

การวางแผนกำลังงานจะต้องมีการวิเคราะห์งาน เพื่อให้ทราบถึงการจัดหมวดหมู่ของงานและการประเมินผล การวิเคราะห์งาน Job Analysis

  • 1. คำบรรยายลักษณะงาน JOB Descriptionเป็นข้อกำหนดหน้าที่ของงานในด้านต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงขอบเขตของงานด้านนั้น โดยจะมีรายละเอียดดังนี้
    • หน้าที่รับผิดชอบ
    • กิจกรรมที่ต้องทำ
    • ขอบเขตความรับผิดชอบ
    • หน่วยงานที่ต้องติดต่อ

2. คุณสมบัติของพนักงาน Job Specification เป็นการ

กำหนดคุณสมบัติของพนักงานที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ให้

สอดคล้องกับงานที่จะต้องรับผิดชอบเช่น

  • 3. การจัดหมวดหมู่ของงาน Job Classification คือ การจัดการเกี่ยวกับงานให้เป็นระบบ งานใดมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ ในลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกัน ก็สามารถจัดให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน
  • 4. การประเมินผลงาน Job Evaluation ภายหลังจากการจัดการเกี่ยวกับงานในประเด็นต่าง ๆ แล้วจะต้องมีการประเมินผลของงาน เพื่อใช้เป็นการกำหนดค่าตอบแทนรวมถึงการจัดสวัสดิการด้านต่างๆ ให้เหมาะสม

  • อายุ
  • การศึกษา
  • สายตา
  • บุคลิกภาพ
  • ส่วนสูง
  • น้ำหนักตัว
  • สถานภาพ

คิดดีและมีเมตตาต่อกันนะคะ

การสรรหาการคัดเลือก

การสรรหาบุคลากร เพื่อเข้ามาร่วมงานกับองค์การ ผู้รับผิดชอบจะต้องมีการหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลที่ต้องการอ่าน จากนั้นจึงดำเนินการขั้นตอนต่อไปสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ

2.1 การสรรหาจากภายในองค์การ คือ เมื่อองค์การมีความต้องการพนักงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับต่างๆไม่จำเป็นต้องประกาศรับสมัครบุคคลภายนอกเสมอไปทั้งนี้เพราะบุคลากรภายในองค์การบางคนอาจมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอยู่แล้วก็ได้ ซึ่งการสรรหาบุคลากรภายในกิจการมีข้อดีในด้านขวัญและกำลังใจ

2.2 การสรรหาจากภายนอกกิจการ ตำแหน่งงานบางประเภท มีความจำเป็นที่จะต้องหาจากแหล่งภายนอก เพราะมีบุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกว่าภายใน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ที่องค์การจะได้รับในด้านของความหลากหลายด้านความคิดสร้างสรรค์จากบุคคลภายนอก แหล่งกำลังคนภายนอกที่สำคัญได้แก่

2.2.1 สำนักจัดหางานของรัฐบาล

หน่วยงานของรัฐบาลจะได้รับเงินสนับสนุนจากภาษีอากรให้บริการโดยไม่คิดบริการจากผู้สมัครและนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างต้องการจะใช้บริการของสำนักงานจัดหางานของรัฐบาลแล้วนายจ้างจะต้องแจ้งให้สำนักจัดหางานทราบถึงคุณสมบัติอย่างต่ำของผู้สมัครงานที่นายจ้างต้องการ

2.2.2 สำนักจัดหางานของเอกชน

หน้าที่ของสำนักงานจัดหางานของเอกชนจะเหมือนกับสำนักจัดหางานของรัฐบาลแล้ว นายจ้างจะต้องแจ้งให้สำนักจัดหางานทราบถึงคุณสมบัติอย่างต่ำของผู้สมัครงานที่นายจ้างต้องการ

2.2.3 ผู้สมัครงานที่ไม่ได้ถูกเสาะหาโดยธุรกิจ

บุคคลบางคนอาจจะสมัครงานกับธุรกิจ โดยที่ธุรกิจไม่ได้ทำการเสาะหาดังนั้นถ้าหากว่าธุรกิจต้องการผู้สมัครงานประเภทนี้แล้ว บริษัทจะต้องพยามสร้างชื่อเสียงที่ดีภายในสังคม นอกจากนี้บริษัทควรจะมีแผนกบุคคลที่หาได้ง่ายเมื่อผู้สมัครงานประเภทนี้เข้าไปภายในอาคารของบริษัท

2.2.4 การโฆษณา

ธุรกิจอาจจะใช้ทั้งหนังสือพิมพ์รายวันและวารสารต่างๆ ด้วยการซื้อเนื้อที่ของหนังสือเหล่านี้ในการโฆษณา

2.2.5 สหภาพแรงงาน

      • ในกรณีที่นายจ้างต้องการพวกช่างต่างๆ อาจจะเป็นช่างไฟฟ้า ช่างทาสีและช่างไม้นั้น นายจ้างอาจจะทำการเสาะหาได้จากสหภาพแรงงานของอาชีพเหล่านี้

2.2.6 สถาบันการศึกษา

      • ในแต่ละปีบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่ไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และโรงเรียนวิชาชีพ เพื่อทำการสัมภาษณ์นักเรียนหรือนักศึกษา
      • กำลังจะสำเร็จการศึกษาเพื่อรับเข้าทำงานที่บริษัท สถาบันการศึกษาอาจจะมีศูนย์กลางจัดหางานอยู่ภายในสถาบันแล้ว โดยเป็นตัวเชื่อมระหว่างธุรกิจและนักศึกษา

2.2.7 การแนะนำโดยพนักงาน

บริษัทบางแห่งจะสนับสนุนให้พนักงานของบริษัแนะนำบุคคลที่พวกเขาเห็นว่าบริษัทควรจะรับเข้าทำงาน การปิดประกาศและการประชุมที่จัดโดยผู้จัดการบุคคลมักจะใช้สำหรับความมุ่งหมายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น คือ พนักงานของบริษัทอาจจะแนะนำบุคคลใดๆ ที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมที่เป็นเพื่อนของพวกเขาเข้าทำงานได้

  • การคัดเลือก

เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากการสรรหาบุคลากร แบ่งออกเป็น 2ระบบ ใหญ่ๆ คือ การบริหารบุคคลระบบคุณธรรม Merit system และการบริหารบุคคลระบบอุปถัมภ์ Patronage System

ระบบคุณธรรม มี4 ประการคือ

หลักความมั่นคง

ความเสมอภาค

หลักความสามารถ

หลักความเป็นกลาง

ทางการเมือง

สรุป summary

องค์การจะเดินไปสู่ความล้มเหลวหรือความสำเร็จได้นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญคือ การบริหารงานบุคคล องค์การใดมีการบริหารงานบุคคลที่ดีย่อมจะเกิดประโยชน์สะท้อนกลับให้เกิดความมั่นคงและความสำเร็จซึ่งสรุปความสำคัญของการบริหารงานบุคคลได้ดังนี้

-ช่วยส่งเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงาน

-ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่องค์การ

-ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่สังคม

-ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศชาติ เป็นต้น

จบการนำ เสนอ