ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีหรือไม่

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีหรือไม่

11 Sepจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

Posted at 11:39h in All, บัญชีภาษีพื้นฐาน by admin_pnk

จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point)

ความรับผิดสำหรับการขายสินค้า

  • มาตรา 78 (1)(2)(3)(4) หรือ (5)
  • มาตรา 78/3 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 189

ความรับผิดสำหรับการให้บริการ

  • มาตรา 78/1 (1)(2)(3) หรือ (4)
  • มาตรา 78/3 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 18

ความรับผิดสำหรับการนำเข้า

  • มาตรา 78/2

https://www.rd.go.th/publish/5205.0.html

Tax point

การขายสินค้า

กิจกรรม VAT

ความรับผิดในการเสีย VAT

ขายเสร็จเด็ดขาด, สัญญาจะขาย

เมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่ ได้โอนกรรม สิทธิ์ /รับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนการส่งมอบ

เช่าซื้อ/ขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ

ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่ได้รับชำระราคา /ออกใบกำกับภาษีก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด

การฝากขายที่เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประกาศอธิบดี (ฉบับที่ 8)

เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า เว้นแต่

- ตัวแทนโอนกรรมสิทธิ์ / รับชาระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า

- ตัวแทนนำสินค้าไปใช้

การส่งออก

เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร

การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา สินค้าที่ไม่มีรูปร่าง

เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อน  รับชำระราคา

การขายสินค้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ

เมื่อนำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ

กรณีจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่ค่าตอบแทน

เมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบสินค้า

กรณีนำสินค้าไปใช้ในกิจการอื่น

เมื่อนำไปใช้

กรณีมีสินค้า/ทรัพย์สินในวันเลิกกิจการหรือขอถอนหรือถูกเพิกถอนทะเบียน

เมื่อเลิกกิจการหรือเมื่อขอถอนหรือถูกเพิกถอนทะเบียน แล้วแต่กรณี

กรณีสินค้าขาดจากรายงาน

เมื่อตรวจพบ

กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่เคยเสีย VAT อัตรา 0 %

เมื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้า

Tax point

การให้บริการ

กิจกรรม VAT

ความรับผิดในการเสีย VAT

การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน


เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกากับภาษีก่อนรับชำระราคา

การให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทน 

เมื่อมีการใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนใช้ฯ

การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และใช้บริการนั้นในประเทศไทย

เมื่อชำระราคาค่าบริการ (ผู้จ่ายเงินต้องนาส่ง VAT 7% โดยยื่นแบบ ภ.พ.36 ตามมาตรา 83/6 (2))

การให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ

เมื่อนำเงินออกจากเครื่อง

การรับชำระค่าบริการด้วยบัตรเครดิต

เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต

กรณีรับโอนสิทธิในบริการที่เคยเสีย VAT อัตรา 0 %

เมื่อชำระค่าบริการ

Tax point

การนำเข้า

กิจกรรม VAT

ความรับผิดในการเสีย VAT

การนำเข้าสินค้าทุกกรณี

เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร

กรณีผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า

เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

ที่มา : เอกสาร “ภาษีมูลค่าเพิ่มและ ภาษีซื้อต้องห้าม” http://download.rd.go.th/fileadmin/download/insight_pasi/PasiBan.pdf

Post Views: 1,536

Share

Print page

       4.9 㹡óռ���Сͺ������Թ������ͷ�Ѿ���Թ������Сͺ��������㹡�û�Сͺ�Ԩ��� � �ѹ����դ���觶͹����¹��Ť���������� � �ѹ������Ѻ�駡���ԡ�͹����¹������Ť������ ���ش�Ѻ�Դ(Tax Point)�Դ�����������Ѻ�駤���觶͹�������Ѻ�駡���ԡ�͹����¹������Ť������ ���������Ѻ͹حҵ����͡㺡ӡѺ����,�����˹��,�Ŵ˹�� �������繡�ê��Ǥ��� �����Ҩ���ش��Сͺ�Ԩ��� ����ҵ�� 78