คุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง

          คอมพิวเตอร์เป็นทั้งเครื่องมือและเป้าหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ เช่น ใช้ในการขโมยเงิน รายชื่อลูกค้า ข้อมูลส่วนตัว หมายเลขบัตรเครดิต และอื่นๆ ส่วนคอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นเป้าหมายของการก่ออาชญากรรม เช่น แฮกเกอร์เข้าไปก่อกวน ทำลายระบบของผู้อื่น

10.8 จริยธรรม(Ethics) ของการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

          8.1 คำจำกัดความของจริยธรรม
จริยธรรม (Ethics) หมายถึง แนวทางของการประพฤติที่ดี เป็นความประพฤติหรือกิริยาที่ควรปฏิบัติ ที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
จริยธรรมของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง แนวทางประพฤติที่ดีที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใช้เป็นแนวทางในการประพฤติ ปฏิบัติ 

8.2 จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การพิจารณาคุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแบ่งเป็น 4 ประเด็น ประกอบด้วย
8.2.1 ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) 
หมายถึง สิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับ ผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
1) การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่อง คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
2) การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
                             3) การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
                             4) การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น 
เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรระวังการให้ข้อมูลโดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์เป็นต้น
                   8.2.2 ความถูกต้อง (Information Accuracy) 
หมายถึง ความถูกต้องของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตนเองด้วย
                   8.2.3 ความเป็นเจ้าของ (Information Property) 
สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้นโดยในการคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด
8.2.4 การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) 
ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว

          8.3 อาชญากรรมและอาชญากรคอมพิวเตอร์
อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการก่ออาชญากรรมและกระทำความผิดนั้น สามารถจำแนกอาชญากรเป็นกลุ่มได้ดังนี้
          1)  มือใหม่หรือมือสมัครเล่น เป็นพวกที่อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะไม่ใช่ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย
                   2) พวกจิตวิปริต เป็นพวกผิดปกติ มีลักษณะนิสัยที่ชอบความรุนแรง
3) ร่วมมือกันกระทำความผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ ๆ
                   4) มืออาชีพ
                   5) หัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์
                   6) บ้าลัทธิ จะกระทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรง
                    7) แคร็กเกอร์ Cracker คือบุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลด้วยเจตนาร้าย cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่างน้อยทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ hacker มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ
                   8) แฮกเกอร์ Hacker หมายถึงผู้ที่มีความสนใจอย่างแรงกล้าในการทำงานอันลึกลับซับซ้อนของการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใดๆ ก็ตาม ส่วนมากแล้ว hacker จะเป็นโปรแกรมเมอร์
                   9) อาชญากรที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เช่น พยายามขโมยบัตร ATM เป็นต้น

  • ก่อนหน้า
  • กลับหน้าหลัก

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (บัญญัติ 10 ประการ).
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อก่ออาชญากรรมหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น.
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการผู้อื่น.
ไม่ทำการสอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูไฟล์ของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต.
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร.
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ.

การมีจริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันควรปฏิบัติอย่างไร

1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น 2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น 4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

ข้อใดคือทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม

คุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ.
ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ.
ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง.
ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต.
ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต.
ไม่ทำลายข้อมูล.
ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต.

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศมีกี่ประเด็น

υ จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะ ตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย υ 1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) υ 2.ความถูกต้อง (Accuracy) υ 3.ความเป็นเจ้าของ (Property) υ 4.การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง การมีจริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันควรปฏิบัติอย่างไร ข้อใดคือทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศมีกี่ประเด็น จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีอะไรบ้าง การกระทําเช่นใดบ้างที่เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีคุณธรรม จริยธรรม คุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่าง นักเรียนคิดว่าจะปฏิบัติตนอย่างไรในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม