คุณธรรม จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ มีอะไรบ้าง

  • หน้าหลัก
  • The Leading Greenovation Group
    • ภาพรวมธุรกิจ
    • ธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน
    • ธุรกิจการตลาด
    • ธุรกิจพลังงานไฟฟ้าสีเขียว
    • ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
    • ธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ
    • สถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ
  • เกี่ยวกับเรา
    • เกี่ยวกับบริษัท
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมองค์กร
    • เหตุการณ์สำคัญ
    • รางวัลและเกียรติประวัติ
    • แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี / รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report)
    • โครงสร้างการถือหุ้นและธุรกิจ
    • โครงสร้างการจัดการ
    • คณะกรรมการบริษัทและคณะอนุกรรมการ
    • ผู้บริหาร
  • การกำกับดูแลกิจการ
    • นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • รายงานการกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • นโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
    • การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
    • ช่องทางการแจ้งเบาะแส
    • เอกสารสำคัญ
  • การพัฒนาความยั่งยืน
    • บางจากและความยั่งยืน
    • กลยุทธ์และการพัฒนาความยั่งยืน
    • บางจากฯ และความยั่งยืน
    • กรอบแนวคิดและนโยบายด้านความยั่งยืน
    • บางจากฯ และผู้มีส่วนได้เสีย
    • การบูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN SDGs)
    • องค์กรสมาชิก
    • สรุปภาพรวมการดำเนินงาน
    • มิติด้านเศรษฐกิจ
    • มิติด้านสิ่งแวดล้อม
    • มิติด้านสังคม
    • รายงานการพัฒนาความยั่งยืน
    • กิจกรรมเพื่อสังคม
  • นักลงทุนสัมพันธ์
    • หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
    • ผลการดำเนินงาน
    • ข้อมูลราคาหลักทรัพย์
    • ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้น
    • ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้นกู้
    • เอกสารเผยแพร่
    • ข่าวและกิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์
    • สอบถามข้อมูล
  • ร่วมงานกับเรา
  • ข่าวและกิจกรรม
    • หน้ารวมข่าว
    • ข่าวสารบริษัท
    • Everlasting Economy
    • บางจากหลากมุมมอง
    • มัลติมีเดีย
  • ติดต่อเรา
  1. การกำกับดูแลกิจการ
  2. จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ

จรรยาบรรณธุรกิจ

บริษัทฯ มีเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดมั่นกฎหมาย คุณธรรมจริยธรรม บริหารงานด้วยความโปร่งใส และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

แนวปฏิบัติ

1. การเคารพกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ ให้ความสำคัญและยึดมั่นการปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งบังคับใช้กับการดำเนินธุรกิจในทุกประเทศ โดยพนักงานให้ความเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดจนขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีและวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งเคารพหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายและมาตรฐานสากล

2. การต่อต้านคอร์รัปชันทุกรูปแบบ

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชันทุกรูปแบบ และปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชัน (หมวดที่ 4) อย่างเคร่งครัด รวมถึงจัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงและตรวจสอบ ตลอดจนสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

3. การจัดให้มีคุณธรรมและจริยธรรมในทุกระดับขององค์กร

คุณธรรมและจริยธรรมเป็นปัจจัยสำคัญของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ เป็น ธรรมเนียมปฏิบัติในทุกระดับขององค์กร ตั้งแต่กรรมการจนถึงพนักงาน เนื่องจากคณะกรรมการบริษัทตระหนักดีว่าองค์กรที่ปราศจากคุณธรรมและจริยธรรม ไม่สามารถดำรงความยั่งยืนอยู่ในธุรกิจได้

4. ความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบสอดคล้องกับสังคม สิ่งแวดล้อม และประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงมุ่งมั่นปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทั้งผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า เจ้าหนี้ ภาครัฐ และเพื่อนบ้านรอบโรงกลั่น ให้สอดคล้องกับความต้องการแต่ละกลุ่ม

5. ความมุ่งมั่นในความเป็นเลิศ

บริษัทฯ มุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานสู่ความเป็นเลิศในการบริหารจัดการตามแนวทางของมาตรฐานสากล ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอย่างเต็มกำลังความสามารถอย่างถูกต้องโปร่งใสเพื่อให้เกิดผลในทางที่ดีที่สุด รวมถึงผลักดันความใฝ่รู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่อยู่เสมอ

6. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

การบริหารงาน การบันทึกบัญชี การจัดทำรายงานทางการเงิน ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐานสากล รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใส ผ่านช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย มีความเท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือ

จรรยาบรรณพนักงาน

พนักงานปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ เพื่อประสิทธิภาพ และการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

แนวปฏิบัติ

1. การปฏิบัติตนของพนักงาน

  1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ เอาใจใส่ และเคร่งครัดต่อการดำเนินกิจกรรมทั้งปวงที่จะเสริมสร้างคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ
  2. ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ เป้าหมายและแผนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยงบประมาณที่ได้รับอนุมัติอย่างเคร่งครัด
  3. ไม่ประกอบกิจการหรือเข้าร่วมในกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทฯ ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ตนหรือผู้อื่น เว้นแต่จะได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายตรวจสอบภายในรับทราบและได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ประกอบกิจการนั้นได้

2. การปฏิบัติต่อพนักงานอื่น

  1. เคารพสิทธิผู้อื่น และไม่กล่าวร้ายต่อผู้อื่นโดยปราศจากข้อมูลความจริง
  2. พึงงดเว้นการให้ของขวัญแก่ผู้บังคับบัญชาหรือรับของขวัญจากผู้ใต้บังคับบัญชา
  3. ผู้บังคับบัญชาพึงปฏิบัติตนให้เป็นที่เคารพนับถือของพนักงาน และพนักงานไม่พึงกระทำการอันแสดงถึงความไม่เคารพนับถือผู้บังคับบัญชา
  4. ร่วมสร้างและรักษาบรรยากาศแห่งความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในหมู่พนักงาน

3. หน้าที่เฉพาะผู้บริหาร

  1. การไปดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่น หรือตำแหน่งอื่นใดในองค์กรธุรกิจของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทก่อน และผู้บริหารตั้งแต่ผู้อำนวยการขึ้นไปจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ก่อน เว้นแต่การไปดำรงตำแหน่งกรรมการผู้แทนในบริษัทร่วมทุนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท
  2. ผู้บริหาร1 ที่มีความประสงค์ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ต้องแจ้งความประสงค์ให้ฝ่ายตรวจสอบภายในทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน เพื่อรายงานในที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทราบทุกไตรมาส
  3. ผู้บริหาร ต้องรายงานการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัทฯ ของตน คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมถึง นิติบุคคลซึ่งบุคคลข้างต้นเป็นผู้ถือหุ้นเกินร้อยละ 30 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคล ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกเดือน และต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบโดยมิชักช้า เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้
    • ตนหรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องมีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย
    • ตนหรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องถือหุ้นหรือหุ้นกู้ในบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย
  4. ผู้บริหารต้องงดซื้อขายหลักทรัพย์ก่อนการประกาศแจ้งข่าวงบการเงินอย่างน้อย 1 เดือน และหลังการประกาศแจ้งข่าวงบการเงินอย่างน้อย 3 วัน

4. การรับหรือให้ประโยชน์

ไม่เรียก ไม่รับ หรือยินยอมจะรับ รวมถึงให้ หรือเสนอจะให้สิ่งที่ไม่เหมาะสม เช่น เงิน สิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดกับลูกค้า คู่ค้า ผู้รับเหมา ผู้แทนจำหน่าย ผู้ขายสินค้าและบริการให้บริษัทฯ หรือบุคคลอื่นใดที่ทำธุรกิจกับบริษัทฯ

5. การเลี้ยงรับรอง ของขวัญ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

  1. ไม่พึงรับหรือให้การเลี้ยงรับรอง ค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกินความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลที่ทำธุรกิจกับบริษัทฯ
  2. ไม่รับของขวัญหรือสิ่งของอื่นใดไม่ว่ามูลค่าเท่าใดในทุกโอกาส กรณีได้รับของขวัญหรือสิ่งของอื่นใดและไม่สามารถส่งคืนได้ให้นำส่งแก่ส่วนพัฒนาประสิทธิภาพสำนักงานของบริษัทฯ เพื่อการกุศลหรือสาธารณประโยชน์ต่อไป (ตามแนวปฏิบัติ No Gift Policy)

6. การจัดทำรายงานและงบการเงิน

ลงรายการบัญชี จัดทำรายงานและงบการเงิน ต้องถูกต้องตรงกับรายการที่เกิดขึ้นจริงตามมาตรฐานการบัญชีที่ยอมรับทั่วไป การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน เป็นปัจจุบัน และสามารถตรวจสอบได้

7. การรักษาชื่อเสียงของบริษัทฯ

หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ อันอาจกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ หรือสร้างความเสียหายแก่บริษัทฯ รวมถึงพึงรักษาเกียรติและประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่ยอมรับในสังคม

8. การรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯ

ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่นำไปใช้เพื่อการอื่นนอกเหนือจากธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงต้องเคารพทรัพย์สินของผู้อื่น

“ทรัพย์สิน” หมายถึง ทรัพย์สินทั้งที่มีตัวตน และไม่มีตัวตน เช่น สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยี ความรู้ทางวิชาการ เอกสารสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนข้อมูลที่เป็นความลับที่ไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน อาทิ แผนธุรกิจ ประมาณการทางการเงิน ข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคล

9. การไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

  1. รักษาและคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ รวมถึงเคารพและไม่ละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น
  2. ไม่นำทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลอันเป็นความลับของบริษัทฯ คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำไปใช้ด้วยวิธีการใดๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  3. รายงานต่อผู้บังคับบัญชาเมื่อพบเห็นการกระทำที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรืออาจนำไปสู่การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรือการกระทำที่อาจก่อให้เกิดข้อพิพาทใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ หรือของบุคคลอื่น

10. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. ปฏิบัติตามกฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด
  2. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์และการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการทำงานและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง

11. การใช้ข้อมูลภายใน

  1. เก็บรักษาและจัดให้บุคคลที่ได้รับข้อมูล เก็บรักษาข้อมูลความลับและข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ (Market Sensitive Information) โดยมีวิธีในการเข้าถึงที่เหมาะสมและไม่เปิดเผยให้กับพนักงานหรือบุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  2. ไม่ใช้ข้อมูลภายใน ข้อมูลอันเป็นความลับของบริษัทฯ หรือบริษัทในเครือ เช่น แผนงาน รายได้ มติ การคาดคะเนทางธุรกิจ ผลงานจากการทดลองค้นคว้า การประมูลราคา เป็นต้น ซึ่งทำให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหายหรือไม่ก็ตาม เพื่อประโยชน์ของตนหรือบุคคลอื่นในการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ หรือหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น หรือเพื่อประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ

12. ความขัดแย้งทางประโยชน์

พนักงานไม่พึงกระทำการใดๆ อันเป็นการขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ ซึ่งรวมถึงการมีกิจกรรมหรือการกระทำอันอาจทำให้บริษัทฯ เสียผลประโยชน์หรือได้รับประโยชน์น้อยกว่าที่ควรหรือแบ่งผลประโยชน์จากบริษัทฯ

  1. การแข่งขันกับบริษัทฯ
    พนักงานไม่พึงประกอบการ ดำเนินการ หรือลงทุนใดๆ อันเป็นการแข่งขัน หรืออาจเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทฯ
  2. การแสวงหาประโยชน์จากกิจการส่วนตัวกับบริษัทฯ
    พนักงานทุกคนควรจะเปิดเผยธุรกิจหรือกิจการที่ประกอบขึ้นเป็นส่วนตัว หรือกับครอบครัว หรือญาติ พี่น้อง หรือผู้อยู่ในอุปการะ มีผลประโยชน์อันจะมีผลกระทบให้เกิดการขัดผลประโยชน์ทางธุรกิจได้ เช่น
    • ร่วมลงทุนหรือมีผลประโยชน์กับคู่ค้าที่ประกอบธุรกิจกับบริษัทฯ
    • ดำรงตำแหน่งใด หรือแม้แต่เป็นที่ปรึกษาของคู่ค้าที่ทำธุรกิจกับบริษัท หรือลูกค้าของบริษัทฯ
    • ทำการค้าสินค้าหรือบริการกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยโดยตรง หรือทำการผ่านผู้อื่น
  3. พนักงานพึงละเว้นการถือหุ้นในกิจการคู่แข่งของบริษัทฯ หากทำให้พนักงานกระทำการ หรือละเว้นการกระทำการที่ควรทำตามหน้าที่ หรือมีผลกระทบต่องานในหน้าที่ ในกรณีที่พนักงานได้หุ้นนั้นมาก่อนการเป็นพนักงาน หรือก่อนที่บริษัทฯ จะเข้าไปทำธุรกิจนั้น หรือได้มาโดยทางมรดก พนักงานต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ

13. การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน

พนักงานทุกคนมีหน้าที่แจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนเมื่อพบเห็นเบาะแสการกระทำผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ หรือพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของบุคคลในองค์กร ทั้งจากพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอื่น รวมถึงรายงานทางการเงินที่ไม่ถูกต้อง หรือระบบควบคุมภายใน ที่บกพร่อง

จรรยาบรรณการจัดหาพัสดุ

เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อและจัดจ้างเป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และรักษาภาพพจน์ที่ดีของบริษัทฯ ไว้อย่างต่อเนื่อง จึงกำหนดหลักเกณฑ์อันเกี่ยวกับจรรยาบรรณของการจัดซื้อและจัดจ้าง เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทั้งบริษัทฯ ไว้

แนวปฏิบัติ

1. การรับของขวัญ การรับเลี้ยง และการให้ความชอบพอเป็นพิเศษ

  1. การรับของขวัญหรือของกำนัล
    ไม่รับของขวัญหรือสิ่งของอื่นใดไม่ว่ามูลค่าเท่าใดในทุกโอกาส กรณีได้รับของขวัญหรือสิ่งของอื่นใดและไม่สามารถส่งคืนได้ ให้นำส่งส่วนพัฒนาประสิทธิภาพสำนักงานของบริษัทฯ เพื่อการกุศลหรือสาธารณประโยชน์ต่อไป (ตามแนวปฏิบัติ No Gift Policy)
  2. การรับเลี้ยง
    การรับเลี้ยงให้พิจารณาถึงความเหมาะสมและควรหลีกเลี่ยงหากไม่จำเป็น ในกรณีที่จำเป็น ควรจะผลัดกันออกค่าใช้จ่าย
  3. การให้ความชอบพอเป็นพิเศษ
    ละเว้นการทำความสนิทชิดชอบกับผู้ค้ารายหนึ่งรายใด จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นคิดไปว่าน่าจะเกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะทำให้ผู้ค้ารายอื่นเกิดความเข้าใจผิด และไม่ต้องการร่วมทำการค้ากับบริษัทฯ จนทำให้บริษัทฯ เสียภาพลักษณ์ได้

2. ความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดซื้อและจัดจ้าง

  1. การจัดซื้อ ไม่ควรดำเนินการจากการเจาะจงข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือพยายามเลือกคุณลักษณะที่โน้มเอียงไปทางผลิตภัณฑ์นั้นๆ อย่างจงใจ นอกจากจะมีเหตุผลสนับสนุนอย่างเพียงพอและมีความจำเป็นเท่านั้น
  2. การเชิญผู้เข้าร่วมเสนอราคาควรจะต้องเลือกสรรผู้ค้าที่ดี และสนใจต่อการประมูลนั้นๆ การเชิญผู้ค้าที่เพียงเพื่อให้ครบจำนวนตามระเบียบโดยไม่คำนึงถึงความสามารถในการปฏิบัติตามข้อผูกพัน จะทำให้การจัดหาขาดคุณภาพ และขาดความยุติธรรมทั้งต่อบริษัทฯ และต่อผู้ค้าที่ดีรายอื่นๆ ด้วย
  3. ผู้ค้าทุกรายจะต้องได้รับรายละเอียด ข้อมูลและเงื่อนไขต่างๆ โดยเสมอภาคอย่างเดียวกัน ซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีอธิบายด้วยวาจา ต้องยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร
  4. ในกรณีที่ทำการประมูลแล้วไม่ตัดสินใจซื้อหรือจ้าง ควรจะบอกกล่าวให้ผู้ค้าทราบ และถ้ามีการประมูลครั้งต่อไป ผู้ที่เสนอรายเดิมจะต้องได้รับโอกาสเท่าๆ กันด้วย

3. การปฏิบัติตนต่อคู่ค้า

  1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ควรจะเป็นในรูปของการสร้างความมั่นใจต่อกันด้วยความสุจริตและความยุติธรรม พึงปฏิบัติต่อกันอย่างสุภาพชน
  2. ระเบียบปฏิบัติและวิธีการต่างๆ ที่บริษัทฯ กำหนดขึ้นจะต้องแสดงให้ผู้ค้าทราบทันทีนับแต่ผู้ค้าสมัครเข้ามาเป็นผู้ค้ากับบริษัทฯ และแจ้งให้ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
  3. การตรวจรับพัสดุ หรือตรวจรับงาน ตลอดจนขั้นตอนการจ่ายเงิน ควรกระทำอย่างรวดเร็วรัดกุมและให้ความยุติธรรมกับผู้ค้า ผู้ที่จงใจทำให้เกิดความล่าช้าเป็นการปฏิบัติผิดจรรยาบรรณเช่นกัน
  4. ละเว้นการช่วยผู้ค้าที่ทำงานบริษัทฯ ด้วยการกระทำใดๆ อันเป็นการช่วยให้ไม่ต้องเสียภาษีที่พึงจะเสียให้กับรัฐ

4. ลำดับการเลือกซื้อสินค้า

  1. ควรพิจารณาผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ซึ่งนอกจากเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศแล้วยังสามารถลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อีกด้วย
  2. ไม่ควรซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ใดๆ จากผู้ผลิตอื่น หากบริษัทฯ และบริษัทในเครือผลิตได้และ มีจำหน่ายอยู่ในตลาด ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่น มีอุปสรรคในเรื่องการมีจำหน่าย ณ จุดที่ต้องการ หรือมีคุณลักษณะเฉพาะที่จำเป็น หรือให้ประโยชน์มากกว่า

จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจมีอะไรบ้าง

นักธุรกิจสามารถปฏิบัติตามจริยธรรมดังกล่าว ดังต่อไปนี้ พึงมีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงาน รับผิดชอบงานตามขอบเขตหน้าที่ของตนเอง มีความขยันหมั่นเพียร มีวินัย ทำงานอย่างเต็มความสามารถ พึงรักษาและรับผิดชอบ ในการใช้ทรัพย์สินนายจ้างให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่และดูแลรักษาไม่ให้เสื่อมเสียหรือสูญเสีย

คุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจมีความสำคัญอย่างไร

1. ช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสมต่อลูกค้า ลูกจ้าง พนักงานตลอดจนมีมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบในงานของตน 2. ช่วยส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและบริการให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้ใจได้ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

จริยธรรมนักธุรกิจต่อพนักงานคืออะไรบ้าง

ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพและให้ความเคารพต่อความเป็นปัจเจกชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้ความเป็นธรรม ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อพนักงาน และเอาใจใส่ต่อสวัสดิการของพนักงาน ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานอยู่เสมอ

คุณธรรมที่ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจมีอะไรบ้าง

คุณธรรมที่ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ ความไว้วางใจเชื่อในพฤติกรรมของผู้อื่น ขาดการหวาดระแวง การควบคุมตนเองดำเนินการอย่างมีคุณธรรมด้วยตนเอง ความเห็นอกเห็นใจสามารถคาดคะเนความต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง