พลังของภาษาคืออะไร มีอะไรบ้าง

พลังของภาษาคืออะไร มีอะไรบ้าง

ยอมรับได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่เราจะพูดภาษา "พ่อขุนราม" กับเพื่อนๆ ของเรา หรือไม่ก็พี่น้องที่สนิทชิดเชื้อ ..ในที่รโหฐาน!! เนื่องจากเป็นอารมณ์ของความสนุกสนาน ผ่อนคลาย และแสดงออกถึงความรักความเป็นกันเอง
    แต่เวลาอยู่ในสาธารณสถาน หรือต้องอยู่ในสังคมที่เรารู้จักเป็นการผิวเผิน อีกทั้งอยู่ในพื้นที่ของผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งที่เรารู้จักและไม่รู้จักก็ตาม เราก็จะรักษามารยาทในการสื่อสารพูดคุย เพื่อมิให้เกิดบรรยากาศอึดอัด และดูเหมือนเป็นคนขาดการอบรมสั่งสอน และไร้ซึ่งการศึกษาว่าด้วยมารยาทในการเข้าสังคม
    ไม่ใช่ fake สร้างภาพ หรือเสแสร้ง ดัดจริตหรอกนะ แต่มันคือพื้นฐานของการรู้จักแยกแยะความถูกความผิด ความควรมิควร เคารพในความเป็นมนุษย์ของทุกผู้ทุกนาม อีกทั้งการคำนึงถึงกาลเทศะ
    โดยเฉพาะคนที่ได้รับการศึกษาย่อมถูกคาดหวังว่า จะต้องตระหนักรู้ถึงพลังของการใช้ภาษา และในทางตรงกันข้าม เมื่อระดับปัญญาชนใช้ภาษาหยาบคาย ถ่อย เถื่อน ในการสื่อสารในโลกสาธารณะ ก็จะถูกประณาม และถูกตั้งคำถามว่า ..ไปถึงจุดนี้กันได้อย่างไร?!? โดยไม่สะทกสะท้อนใจเลยหรือกับสุภาษิตที่เราได้รับการสั่งสอนมาต่อๆ กันว่า ..กิริยาส่อภาษา วาจาส่อสกุล ...
    คนรุ่นใหม่ที่ไม่เห็นด้วยกับมนุษย์ป้า ก็ไม่คิดว่าจะเสียเวลาไปคะคานตะแบงขีดผิดขีดถูกด้วยหรอกนะ แต่อยากจะให้เปิดหูเปิดตากันบ้างว่า ตอนนี้ในสหรัฐอเมริกา ประเทศที่คนยุคใหม่เชิดชูเป็นต้นแบบของประชาธิปไตยนั้น เขากำลังจะมีการแก้ไขกฎหมายอันว่าเกี่ยวกับการใช้ภาษาที่ไปทำร้ายผู้คนในสังคม นั่นคือ การกำหนดโทษคนที่สนุกกับการใช้ภาษารุนแรง "บูลลี่" ชาวบ้านในโลกโซเชียล
    ดังนั้น ความกังวลของมนุษย์ป้าที่เด็กๆ เห็นว่าล้าหลังอยู่ในกะลาแลนด์นั้น ขอบอกว่าเป็นปัญหาระดับชาตินะจ๊ะ ขนาดสหรัฐอเมริกาจะเขียนกฎหมายใหม่เพราะตระหนักถึง Harmful Language กันเลยทีเดียว..ปัญหาของภาษาถ่อยเถื่อน หยาบคาย เป็นเรื่องเล่นๆ ที่ไหนกันล่ะ.

"ป้าเอง"  

*** เกมประลองใจ 1 ในกิจกรรม จาก "การเดินทางบนเกาะปลาวาฬ กระบวนการทำงานสุขภาพจิตในโรงเรียน โดย สสส. ***

  • เล่นเกมเสร็จแต่ละข้อชวนคุยถึงเหตุผลว่าทำไมถึงรู้สึกอย่างนั้น ทำไมเขาถึงทายความรู้สึกเพื่อนถูก/ไม่ถูก
  • สลายคู่ ให้นักเรียนได้อยู่กับตัวเอง สร้างข้อตกลงร่วมกัน "สร้างพื้นที่ปลอดภัย ที่เราจะสามารถร่วมกันแบ่งปันความรู้สึก ความคิด คำพูดร่วมกันได้ โดยที่ไม่ต้องกลัวว่าจะมีใครนำไปพูดต่อ ไปล้อเลียน หรือสร้างความไม่สบายใจหลังจากนี้"

เมื่อทุกคนยอมรับ ก็เริ่มกันได้เลย

  • "ประโยคไหนทำร้ายติดใจเรามากที่สุด" ให้นักเรียนเขียนใส่ post it สีแรก และเก็บไว้
  • เลือกจับคู่กับคนที่สบายใจในการเล่าเรื่องราว ชวนพูดคุยกับคู่ของเรา 3 ประเด็น คือ ประโยคอะไร ใครเป็นคนพูด และเรารู้สึกอย่างไรเมื่อได้ยินประโยคนั้น
  • แบ่งปันเรื่องราวในกลุ่มใหญ่ (ความยากคือการสร้างบรรยากาศให้ทุกคนอยากแชร์เรื่องราวของตัวเอง บางห้องมีคนอยากแบ่งปันจำนวนมาก บางห้องไม่มีเลย ครูจะต้องไม่บังคับให้นักเรียนรู้สึกลำบากใจ หากตอนนี้นักเรียนยังรู้สึกว่ายังไม่ปลอดภัยที่จะพูดตอนนี้ อาจจะไปจับคู่ จับกลุ่มคุยกับเพื่อนนอกรอบก็ได้เหมือนกัน)

  • กลับไปจับคู่เดิมช่วยกันวิเคราะห์จุดประสงค์ที่แฝงไว้ภายใต้ข้อความที่ทำร้ายจิตใจของเรา (คิดไม่ออกให้เพื่อนช่วยคิด)
  • สุดท้าย แจก post it อีกสีหนึ่ง
  • ชวนให้นักเรียนเปลี่ยนคำพูดจากกระดาษสีแรก เป็นคำพูดใหม่ที่ให้พลังบวก เจตนาเดิม (ตามที่วิเคราะห์) เขียนใส่ post it อีกสีหนึ่ง

  • ได้คำพูดที่ส่งพลังบวกแล้ว ชวนนักเรียนเก็บไว้ในที่ที่เปิดเจอได้บ่อย ๆ กระเป๋าสตางค์ กล่องดินสอ หนังสือหรือสมุดที่ต้องเปิดทุกวัน
  • ส่วนคำพูดที่ทำร้ายจิตใจ ชวนฉีก ขยำ บีบ แล้วทิ้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้ (กล่อง ถังขยะ อะไรก็ได้)
  • ล้อมวง reflection รู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ผ่านมา ได้เรียนรู้อะไรกันบ้าง
คำพูดเพียงคำเดียวอาจส่งผลให้ผู้ฟังรู้สึกดีหรือแย่ก็เป็นไปได้ นั่นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่แต่ละคนเคยประสบพบเจอมา จึงเป็นที่มาของการออกแบบกิจกรรมเรื่อง "พลังของภาษา" ในคาบนี้

นักเรียนไม่ได้เห็นแค่พลังของภาษาที่ส่งผ่านออกมาผ่านตัวอักษรหรือเสียงเท่านั้น มันยังทำให้พวกเขาได้อยู่กับตัวเอง และเราในฐานะครู ได้รู้จักเขามากขึ้นด้วย

เรื่องที่อ่านเป็นสารคดีเกี่ยวกับพลังของภาษา ให้ข้อคิดว่าความหมายของคำ นอกจากจะสื่อถึงสิ่งต่างๆ แล้ว ยังสื่อไปถึงความรู้สึก ความคิด ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี และสิ่งที่สังคมสั่งสมกันมาด้วย ภาษามีพลังอำนาจต่อจิตใจของคนเรา มีอิทธิพลทำให้พฤติกรรมของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปได้ การกระทำใด ถ้ามีคนบอกว่าดี ผู้ทำก็จะรู้สึกเป็นสุข หากมีผู้ติ ว่า หรือวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ดี ก็จะทำให้ใจคอห่อเหี่ยว เศร้าสร้อย ไม่เป็นสุข คำพูดของคนมีพลังสร้างอารมณ์ให้รัก ชอบ เกลียด หรือเคียดแค้นได้ ท่านจึงสอนให้รู้จักใช้คำพูด ถ้าพูดดีก็จะทำให้คนรัก ทำให้คนเมตตา หรือพูดให้คนคิดดี คิดช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้อภัยกัน สามัคคีกัน ถ้าพูดไม่ดี คำพูดนั้นก็อาจทำลายตนได้จึงต้องคิดก่อนพูด คิดให้ดีว่าคำที่จะพูดออกไปนั้นจะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียแก่ตนหรือสังคมหรือไม่ คิดดีแล้วพูดดี ผลก็จะออกมาดี ถ้าพูดโดยไม่คิด ผลเสียก็อาจเกิดขึ้นได้ จึงมีคำกล่าวว่า “ก่อนพูด เราเป็นนายคำพูด เมื่อพูดแล้ว คำพูดเป็นนายเรา”

พลังภาษา คือ อำนาจของภาษา ภาษาทำให้คนเราสื่อสารกันได้ บอกเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดให้กันได้ คนจึงเรียนรู้สิ่งต่างๆ จนสามารถพัฒนาตนและสังคม สามารถประดิษฐ์สิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งสวยงามต่างๆ ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่คนเรียนรู้จากสังคม มีพ่อแม่สอน มีครูสอน มีสื่อมวลชนและสังคมสอน คนเรียนรู้ภาษาจากทุกคนและจากทุกสิ่งรอบตัว ภาษาทำให้คนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นผู้สร้างสังคมด้วย ภาษาบอกให้คนต้องทำอย่างนี้ ไม่ทำอย่างนั้น ต้องพูดอย่างนี้ ไม่พูดอย่างนั้น ไปจนถึงว่าให้คิดอย่างนั้นๆ รู้สึกอย่างนั้นๆ คนอยู่ในสังคมใดก็ต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องไปกับสังคมนั้น ภาษาจึงมีอำนาจบังคับให้คนเราต้องปฏิบัติตามสังคม ต้องเป็นหรือไม่เป็นอย่างใดตามความต้องการของสังคม

การใช้ภาษาในสังคมหนึ่งๆ เกี่ยวพันกับวัฒนธรรมของคนในสังคมนั้น ในภาษาไทยการเลือกใช้คำใดคำหนึ่งต้องคำนึงถึงวัฒนธรรม การมีสัมมาคารวะการเคารพสถานที่ การเข้าใจสถานการณ์และอื่นๆ ในภาษาไทย เราใช้คำว่า “ถือ” เป็นคำอธิบายว่าต้องใช้ภาษาแบบใดและไม่ใช้ภาษาแบบใด พูดอย่างใดเหมาะ อย่างใดไม่เหมาะ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของวัฒนธรรมซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับเหตุผลไม่เกี่ยวกับความจริง หลักธรรมชาติ หรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ เลยก็ได้
การถือสิ่งทีเป็นมงคลหรืออัปมงคลที่เกี่ยวข้องกับภาษามีตัวอย่างอยู่มาก เช่น ในการตั้งชื่อ การปลูกต้นไม้ การทำพิธีเกี่ยวกับการเกิด การแต่งงาน การขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ ต้องใช้สิ่งที่เป็นมงคล ชื่อของคนไทยไม่ได้เป็นเพียงคำเรียกเพื่อให้เป็นที่หมายถึงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่ชื่อนั้นต้องมีคำแปลที่หมายถึงสิ่งที่ดีมีค่า งดงาม มีอำนาจ ใหญ่โต น่ารัก ชอบใจ มีธรรมะสูงส่ง ฯลฯ ชื่อต้องฟังเพราะ ไม่พ้องเสียงกับคำที่หมายถึงสิ่งที่ไม่ดี ไม่พ้องกับชื่อคนที่ไม่ดีในประวัติศาสตร์หรือในวรรณคดี เป็นต้น ส่วนต้นไม้ที่จะปลูกในบ้านก็จะเลือกต้นไม้ ที่มีชื่อใกล้เคียงกับคำที่มีความหมายดีที่ชอบใจทั้งนั้น เช่น พุทธรักษา ดาวเรือง ทองพันชั่น วาสนา มะยม (มีเสียงพ้องกับ นิยม) ขนุน (มีเสียงพ้องกับ เกื้อหนุน)

ภาษาสะท้อนความคิดความเป็นตัวตนของคน คนที่มีจิตใจดี ภาษาที่ใช้ก็จะเป็นภาษาสร้างสรรค์ ภาษาก่อประโยชน์ ภาษาสร้างคนดี เป็นวาจาสุจริต ทำให้คนที่ได้ฟังได้อ่านมีความสุข ประกอบกรรมดี สร้างประโยชน์ให้สังคมมนุษย์ ถ้าคนที่ใช้ภาษาเป็นคนที่มีจิตใจไม่ดี ภาษาที่ใช้ก็จะเป็นไปในทางทำลาย สร้างความเดือดร้อน เป็นวาจาทุจริตทำให้คนรอบข้างเป็นทุกข์ และสังคมเสื่อมสลาย ภาษาจึงสามารถสร้างสรรค์หรือทำลายสังคมมนุษย์ได้ เมื่อคนเราเรียนรู้ว่าภาษาสามารถบังคับหรือทำให้คนทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้ คนที่มีความสามารถใช้ภาษาได้ดังใจ ควบคุมภาษาได้ จึงใช้ประโยชน์จากภาษา นำภาษามาใช้เป็นเครื่องมือ ทำให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ตนต้องการ

เมื่อเข้าใจว่าภาษามีพลัง อาจโน้มน้าวจิตใจหรือความคิดของผู้ฟังให้คล้อยตามได้ การรับภาษา ฟังภาษาที่ผู้อื่นพูดมาจึงต้องใช้วิจารณญาณพิจารณาไตร่ตรองว่า คำพูดนั้นถูกต้องตามทำนองคลองธรรมดีหรือไม่ เป็นคำพูดที่สร้างสรรค์ ก่อให้เกิดความสุข ความรักใคร่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันของสังคมหรือไม่ หรือเป็นคำพูดที่หลอกลวง ไม่สมเหตุสมผล ไม่สมควรเชื่อ การพิจารณาคำพูดของผู้อื่นด้วยเหตุผลและจิตใจที่เป็นธรรม จะทำให้เรารู้เล่ห์ทันคนและดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขได้

พลังของภาษามีด้านใดบ้าง

ภาษาช่วยธำรงสังคม ภาษาใช้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้สังคมธำรงอยู่ได้.
ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล การใช้สำนวนภาษาของแต่ละคนแสดงถึงลักษณะเฉพาะตน.
ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา ภาษาถ่ายทอดความรู้และพัฒนาความคิด ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ.
ภาษาช่วยกำหนดเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต.
ภาษาช่วยจรรโลงใจ เช่น บทเพลง นิทาน นิยาย คำอวยพร.

พลังทางภาษาหมายถึงอะไร

พลังภาษา คือ อำนาจของภาษา ภาษาทำให้คนเราสื่อสารกันได้ บอก เรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดให้กันได้ คนจึงเรียนรู้สิ่งต่างๆ จนสามารถพัฒนาตน และสังคม สามารถประดิษฐ์สิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งสวยงามต่างๆ ภาษา เป็นวัฒนธรรมที่คนเรียนรู้จากสังคม มีพ่อแม่สอน มีครูสอน มีสื่อมวลชนและ สังคมสอน คนเรียนรู้ภาษาจากทุกคนและจากทุกสิ่งรอบตัว ...

ทำไมภาษาจึงเป็นพลัง

ภาษาช่วยให้มนุษย์เกิดการพัฒนา โดยใช้ภาษาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การอภิปรายโต้แย้งเพื่อนไปสู่ผลสรุป มนุษย์ใช้ภาษาในการเรียนรู้ จดบันทึกความรู้ แสวงหาความรู้ และช่วยจรรโลงใจด้วยการอ่านบทกลอน ร้องเพลง ภาษาจึงมีพลังในตนเอง เพราะภาษาประกอบด้วยเสียงและความหมาย การใช้ภาษา ถ้อยคำ จึงทำให้เกิดความรู้สึกต่อผู้รับสาร เช่นเกิด ...

อะไรคือแก่นของคำว่าภาษามีพลัง

พลังภาษามนุษย์ย่อมหมายถึง ภาษาเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอำนาจและมีอิทธิพลต่อมนุษย์ ภาษาเป็นสมบัติของมนุษย์ เป็นเครื่องมือช่วยให้มนุษย์มีพลังในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดสิ่งที่คิดค้นและประดิษฐ์ได้ไปสู่คนรุ่นต่อไปโดยไม่ต้องมาตั้งต้นใหม่ พลังภาษาช่วยให้เกิดสิ่งต่อไปนี้