การใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัวจะนำมาใช้ในภาวะเศรษฐกิจใด

ผู้ดูแลเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง นอกจากรัฐบาลแล้วยังมีธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) ของประเทศนั้นๆ อีกด้วย ฉะนั้นแล้วเราจะได้ยิน "นโยบายการคลัง" รัฐบาลเป็นผู้ควบคุม หรือ "นโยบายการเงิน" ธนาคารกลางเป็นผู้ควบคุมจากในข่าวบ่อยๆ ซึ่งวันนี้จะมาพูดถึง นโยบายการเงินกันครับ

นโยบายการเงิน คือ มาตรการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) เป็นผู้ควบคุมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจภายในประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดนั้น ธนาคารกลางจะประกาศนโยบายทางการเงินออกมา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป โดยนโยบายการเงินหลักๆแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
  2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด

โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในเวลาที่ต่างกัน ยกตัวอย่างในช่วงเศรษฐกิจซบเซา ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย" เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด หรือกล่าวคือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่าง การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย 

  1. การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เปรียบเสมือนการลดดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวลดลงอาจนำมาสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วยเช่นกัน ฉะนั้นหากเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง จะส่งผลให้สนับสนุนภาคการลงทุนมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการจ้างงานมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น 
  2. การซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนน้อยจนเกินไปหรือเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการบริโภคลดลง ฉะนั้นธนาคารกลางจะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการนำเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ผ่านการซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล ซึ่งจะทำให้เอกชนหรือรัฐบาลได้รับเงินจากการขายพันธบัตรให้กับธนาคารกลาง ทำให้เอกชนหรือรัฐบาลสามารถนำเงินมาใช้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ และจะส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนและบริโภคตามลำดับ
  3. การปรับลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินฝากจากประชาชนเข้ามา ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งไว้ตามกฎหมาย ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไป ตัวอย่างเช่น หากอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 10% หมายความว่า ทุกๆ การฝากเงิน 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จะต้องเก็บสำรองไว้ 10 บาท ในขณะที่อีก 90 บาท ธนาคารสามารถนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ ฉะนั้น หากมีการประกาศลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ จะทำให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

กลับกันหากประเทศกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบเข้มงวด" ซึ่งการดำเนินการจะตรงข้ามกับตัวอย่างด้านบน ตัวอย่างเช่น ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย, ขายพันธบัตรเพื่อดึงออกจากระบบเศรษฐกิจ หรือเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

จากตัวอย่างดังกล่าว เป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารกลางสามารถเข้ามาแทรกแซงได้ ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบใด ซึ่งการใช้นโยบายเหล่านี้ใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป จะเห็นได้ว่า นโยบายการเงิน เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต้องพิจารณาการใช้นโยบายให้ดี เพราะจะกระทบเศรษฐกิจออกเป็นวงกว้าง

                 รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร หมายถึง รายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่น รายได้ เก็บ จากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟ การไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้ จากค่าธรรมเนียม จดทะเบียน การออกใบอนุญาตต่าง ๆ                  รายได้จากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และรายได้ค่าปรับดอกเบี้ย เงินกู้ รายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทำได้หลายวิธี เช่น การใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว ได้แก่ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล  ลดภาษี หรือการใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว เช่น การเพิ่มปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ ลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้ real GDP เพิ่มขึ้น สำหรับการอัดฉีดเงิน 3.16 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล เป็นวิธีหนึ่งของการใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว  สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนี้ นอกจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ซึ่งยกระดับเป็นสงครามค่าเงิน คู่ขัดแย้งอีกคู่หนึ่ง คือ ญี่ปุ่น กับเกาหลีใต้ และยังมีเหตุการณ์ประท้วงยืดเยื้อในฮ่องกง สำหรับประเทศไทยเองก็มีปัญหาภัยแล้งที่แผ่กว้างไปทั่วประเทศ ทำให้นาข้าว อาทิเช่น นาข้าวในพื้นที่ภาคอีสาน แห้งตายเป็นจำนวนมาก ชาวนาไม่มีข้าวแม้แต่จะเก็บเอาไว้กินเอง เกษตรกรอื่น ๆ ก็ประสบปัญหาภัยแล้งเช่นเดียวกัน อยู่ในสภาพหมดตัวไปตาม ๆ กัน  นอกจากปัญหาภัยแล้วก็ยังมีปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง  

แนวโน้มไตรมาส 2 – 3 ของปี 2562 หนี้ครัวเรือนไทยอาจจะเพิ่มเป็น 80% ของ GDP เนื่องจากการก่อหนี้ต่าง ๆ ยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลที่เติบโตสูงขึ้นมาก ในขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว  หนี้ครัวเรือนที่น่าเป็นห่วง มี 3 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ช่วงอายุ 25 – 30 ปี  50% ของกลุ่มนี้ มีหนี้คงค้างเฉลี่ยอยู่ที่ 423,000 บาทต่อหัว

2) กลุ่มคนเกษียณอายุแล้ว พบว่า 20% ของกลุ่มนี้ มีหนี้คงค้างเฉลี่ย 400,000 บาทต่อหัว

3) กลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อของระบบสถาบันการเงิน จึงต้องไปกู้หนี้นอกระบบ

นอกจากนี้ประเทศไทยมีปัญหาอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น  เนื่องมาจากภาคธุรกิจตัดสินใจลดต้นทุน ด้วยการเลิกจ้างพนักงาน  รวมถึงลดชั่วโมงการทำงานโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม และเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง  ภาคธุรกิจอุตสาหกรมในยุคใหม่ หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรม การหันมาใช้ระบบอัตโนมัติ และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี รวมทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภค และผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไป การนำเครื่องมือทาง digital มาใช้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคน

ธนาคารไทยพาณิชย์ลดประมาณการเศรษฐกิจ ปี 2019 เหลือ 3.1% การส่งออกจะติดลบ การชะลอตัวของการท่องเที่ยว และการลงทุนภาคเอกชนลดลง ทำให้ GDP ขยายตัวเพียง 2.7%

สภาวะเศรษฐกิจไทยโตช้ากว่ากลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน และมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำให้เกิดปัญหา รวยกระจุก จนกระจาย  ภาคการท่องเที่ยวของไทยถือว่าเป็นภาคบริการที่สำคัญที่สุด สร้างรายได้มากกว่า 10% ของ GDP ขณะนี้นักท่องเที่ยวจีนลดลง เนื่องจากค่าเงินบาทแข็ง

ความจำเป็นของการอัดฉีดเงิน 3.16 แสน

ถ้ารัฐบาลไม่ออกมาตรการอะไรเลย เศรษฐกิจไทยอาจจะขยายตัวเพียง 2.7% มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้เงิน 3.16 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการ ช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตร และการส่งออก ประกอบกับการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ การท่องเที่ยว และการลงทุนภาคเอกชน มาตรการดังกล่าวมานี้ จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.4 – 0.5% รัฐบาลจึงมั่นใจว่า ปี 2562 นี้ เศรษฐกิจน่าจะขยายตัวถึง 3%

ทางด้านพรรคฝ่ายค้านวิเคราะห์ว่า รัฐบาลแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เนื่องจากการส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจะยิ่งทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น  ประชาชนต้องการที่จะลดภาระหนี้สินมากกว่าการไปเที่ยว รัฐบาลควรจะนำเงินไปพัฒนาสภาพของสถานที่ท่องเที่ยว การเดินทางให้สะดวก ปลอดภัย พัฒนาเทคโนโลยี และ application ใหม่ ๆ และพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวจะได้ประโยชน์มากกว่า  การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการให้ประชาชนใช้จ่ายเงิน สุดท้ายแล้ว เงินจะตกไปอยู่กับเจ้าของธุรกิจรายใหญ่ ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชาชนเพิ่มมากขึ้น