Block chain คืออะไร มีการนํามาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง

ในบทความก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึง Cryptocurrency ซึ่งใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการจัดเก็บ และยืนยันการทำธุรกรรมต่าง ๆ ในวันนี้เราจะมาพูดถึง Blockchain ว่ามันคืออะไรกัน

Blockchain เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาและสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโลกเป็นอย่างมาก มันถูกสร้างขึ้นในปี 2008 โดยคนที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ซึ่งจนถึงทุกวันนี้เราก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า Satoshi Nakamoto เป็นใครและปัจจุบันกำลังทำอะไรอยู่

เทคโนโลยี Blockchain หากอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ลองนึกภาพว่ามันเป็นเสมือนโซ่ที่สร้างขึ้นเพื่อกระจายข้อมูลเก็บไว้ในชิ้นส่วนโซ่ที่ต่อกัน ข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้เรียกได้ว่า Blockchain โดยเริ่มแรกถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างสกุลเงินดิจิทัล (Digital Currency) เช่น Bitcoin อย่างไรก็ตามในตอนนี้เทคโนโลยี Blockchain ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับสกุลเงินดิจิทัลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ณ ปัจจุบันวงการอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้นำศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจของตนอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลที่อยู่บน Blockchain ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และฐานข้อมูลของ Blockchain ไม่ได้ถูกเก็บไว้ในที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หมายความว่าข้อมูลที่ถูกบันทึกบน Blockchain จะถูกเปิดเผยเป็นสาธารณะและสามารถถูกเข้ามาตรวจสอบได้ ข้อมูลเหล่านี้ไม่มีส่วนกลางเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมและปกป้อง ดังนั้นแฮ็กเกอร์จะไม่สามารถเข้ามาแฮ็กข้อมูลนี้ได้เนื่องจากไม่มีจุดศูนย์กลางให้โจมตี นั่นหมายความว่าหากพวกเขาต้องการแฮ็กเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้น พวกเขาต้องโจมตีฐานข้อมูลที่ถูกกระจายออกไปทั้งหมดในเวลาพร้อมกัน ซึ่งเป็นไปได้ยากมากถ้าเครือข่ายนั้น ๆ ใหญ่มากพอ

จากความโปร่งใสและความปลอดภัยของข้อมูล และการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการลดคนกลาง ปัจจุบัน Blockchain จึงได้ถูกนำมาใช้ในหลาย ๆ รูปแบบในหลายอุตสาหกรรม ไม่จำกัดเพียงแค่เงินดิจิตอลเพียงอย่างเดียว

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ – ในหลายๆ ประเทศ เช่น สาธารณรัฐมอลตา ประเทศอังกฤษ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีการนำ Blockchain มาเก็บข้อมูลแทนโฉนด (Land Registry) หรือการนำ Blockchain มาช่วยในการแบ่งการเป็นเจ้าของ (Asset Tokenization)

ธุรกิจโรงพยาบาล – โครงการ Medrec ของทาง MIT หรือ SimplyVital นำ Blockchain มาเก็บข้อมูลการรักษาของคนไข้ เพิ่มความโปร่งใส และความปลอดภัย ซึ่งใน เมืองไทยก็จะมีโครงการ Block M.D. ของบริษัท Smart Contract Thailand ที่ทำเรื่องนี้ หรือ FarmaTrust การนำ Blockchain มาช่วยตรวจสอบที่มาของยาแต่ละชนิดป้องกันการปลอมแปลง

ธุรกิจค้าปลีก – Walmart ได้มีโครงการนำข้อมูลอาหารที่ขายมาเก็บเพื่อดูสายการผลิตจากโรงงานมาถึงชั้นวางของหรือ Singapore Airline ก็ได้นำ Blockchain มาใช้บน loyalty point KrisFlyer เพิ่มความน่าเชื่อถือและสามารแลกเปลี่ยนกันได้

ธุรกิจพลังงาน – Power Ledger ธุรกิจ Startup จากออสเตรเลียก็ได้ขยายมาที่เมืองไทยเพื่อพัฒนาการซื้อขายพลังงานแบบ Peer to peer โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain หรือ WePower บริษัทจาก Estonia ก็ทำเรื่องคล้าย ๆ กันแต่เน้นไปทางพลังงานทดแทนเป็นหลัก

ธุรกิจการศึกษา – MIT Media Lab และสาธารณรัฐมอลตา ได้มีการออกปริญญาบัตร Certificate และ
Transcript บนเทคโนโลยี Blockchain เรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ Blockchain ในอีกหลายเรื่อง เช่น การจดสิทธิบัตร การท่า E-voting การตรวจสอบ การทำดิจิทัลไอดีแทนบัตรประชาชน ซึ่งการใช้งานเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนสำหรับการใช้เทคโนโลยี Blockchain ในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพว่า Blockchain ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและจะค่อย ๆ เข้ามาในชีวิตของเรามากขึ้น

จากกระแสสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ที่ราคาพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้เทคโนโลยี Blcokchain ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการลงทุนและการนำมาปรับใช้ประโยชน์กับธุรกิจ โดยในบทความนี้ KATALYST จะไขข้อสงสัยว่า Blockchain คืออะไร และเทคโนโลยีจะส่งผลต่อธุรกิจอย่างไรในอนาคต

Blockchain คืออะไร

Blockchain คือ เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล (Data Structure) ที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายผ่านการเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกจะส่งต่อข้อมูลไปยังทุกคนในเครือข่าย ซึ่งยากต่อการปลอมแปลงข้อมูล เพราะทุกคนจะรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ส่งผลให้ Blockchain เป็นเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง

Block chain คืออะไร มีการนํามาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง

Blockchain เกี่ยวข้องอะไรกับสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)

ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมาสกุลเงินดิจิทัลได้รับความสนใจจากผู้คนมากยิ่งขึ้น จากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ทั้ง Bitcoin และ Ethereum ซึ่งมีหลายปัจจัยมารองรับทั้งค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงหรือการกว้านซื้อจากนักลงทุนสถาบัน

สิ่งที่เชื่อมต่อระหว่างสกุลเงินดิจิทัลกับ Blockchain คือ พื้นฐานของระบบที่ต้องเข้ารหัสผ่านคอมพิวเตอร์ โดยไม่รวมข้อมูลไว้ที่ใดที่หนึ่ง แต่จะกระจายข้อมูลไปยังเครือข่ายต่างๆ โดยทุกข้อมูลจะเชื่อมโยงกันทั้งระบบ

Blockchain เข้ามามีบทบาทในการเพิ่มความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ครอบครองสกุลเงินดิจิทัล ทั้งจำนวนเงินและจำนวนครั้งในการโอน โดยกระจายข้อมูลไปให้ทุกคนในเครือข่ายรับรู้ถึงประวัติการทำธุรกรรม ส่งผลให้สกุลเงินดิจิทัลมีความโปร่งใส และปลอดภัยต่อการถูกปลอมแปลงข้อมูล

Blockchain ทำอะไรได้บ้างนอกจากเรื่องสกุลเงินดิจิทัล

ในปัจจุบัน Blockchain ถูกใช้งานในหลายอุตสาหกรรม ด้วยคุณสมบัติที่สามารถจัดเก็บและเชื่อมโยง ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ สำหรับตัวอย่างธุรกิจที่เริ่มนำ Blockchain มาใช้งานมีดังนี้

ธุรกิจการเงิน
สำหรับธุรกิจการเงินกับ Blockchain สามารถนำมาต่อยอดในกระบวนการทำงาน ทั้งการเสริมความปลอดภัยในด้านการจัดเก็บข้อมูล และช่วยลดขั้นตอนในการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยทางธนาคาร ReiseBank AG ในประเทศเยอรมนี ได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาช่วยในการโอนเงินข้ามประเทศ ซึ่งลดระยะเวลาจาก 1-3 วัน เหลือเพียง 20 วินาทีเท่านั้น

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
Blockchain เข้ามาพัฒนาและสร้างโอกาสในการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งด้านการทำ Smart Contract ที่ช่วยตรวจสอบข้อมูลและลดตัวกลางในการทำสัญญา ไปจนถึงการเปลี่ยนรูปแบบการซื้อขาย แปลงสินทรัพย์เป็น Token และซื้อขายผ่านระบบ ICO (Inital Coin Offering) ซึ่งเป็นระบบการระดมทุนแบบดิจิทัล โดยเสนอซื้อขาย Token ผ่านระบบ Blockchain

ตัวอย่างการใช้งานจริง Elevated Returns บริษัทจัดการสินทรัพย์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการทำ Tokenization Real Estate Assest ด้วยการเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์เป็น Token โดยเริ่มต้นจากโครงการขายรีสอร์ตที่รัฐโคโลราโด (Colorado) ด้วยมูลค่ากว่า 18 ล้านอีเธอเรียม (Ethereum) หรือประมาณ 7 แสนล้านบาท

ธุรกิจการแพทย์
ในด้านธุรกิจการแพทย์ Blockchain เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการข้อมูล ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายประวัติคนไข้ ทำให้การส่งต่อการรักษา (Refer) สะดวกมากยิ่งขึ้น หรือการสอนหุ่นยนต์กู้ภัย ที่สามารถสอนหุ่นยนต์เพียงตัวเดียว แต่สามารถใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการกระจายความรู้ไปสู่หุ่นยนต์ตัวอื่นๆ ได้ ทำให้ลดระยะเวลาการป้อนคำสั่งให้กับหุ่นยนต์ทุกตัว

ตัวอย่างการใช้ Blockchain ในธุรกิจการแพทย์จริง เช่น Patientory สตาร์ทอัพสายสุขภาพนำ Blockchain มาใช้ในการเก็บข้อมูลสำคัญทางการแพทย์ของผู้ป่วย หรือ Farmatrust สตาร์ทอัพจากลอนดอนที่ใช้ Blockchain ในการตรวจสอบที่มาของยาแต่ละชนิด เพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลของยา และเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

วิธีการนำ Blockchain มาใช้ในการพัฒนาธุรกิจ

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าธุรกิจขนาดใหญ่หลายเจ้า เริ่มหันมาใช้ Blockchain ในการดำเนินงาน ซึ่งแท้จริงแล้ว Blockchain ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่จำกัดเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่สามารถปรับใช้กับธุรกิจทั่วไปได้ด้วย โดยตัวอย่างการใช้งาน Blockchain ในธุรกิจมีดังนี้

1. พัฒนารูปแบบการทำสัญญา

Blockchain สามารถนำมาปรับใช้ในการทำสัญญาระหว่างธุรกิจ ผ่านการทำ Smart Contract หรือสัญญาดิจิทัล โดยสัญญาดังกล่าวจะเป็นรูปแบบที่สามารถดำเนินงานได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง นอกจากนี้ Smart Contract ยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรพนักงานในการตรวจสอบเอกสาร โดยข้อมูลจะถูกตรวจสอบผ่านเครือข่าย ทำให้ลดระยะเวลาและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

Block chain คืออะไร มีการนํามาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง

2. ลดระยะเวลาและต้นทุนในการทำธุรกรรมทางการเงิน

ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเป็นเวลานาน และต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับตัวกลางอย่างธนาคารหรือสถาบันทางการเงินทำให้ต้นทุนในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น หากปรับมาใช้ Blockchain ในการทำธุรกรรมทางการเงิน ด้วยระบบ Peer to Peer ที่ไม่ต้องผ่านตัวกลาง จะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าว นอกจากนี้ Blockchain ยังสามารถบันทึกและติดตามที่มาของเงินได้อีกด้วย ทำให้ลดขั้นตอนการตรวจสอบที่มาของเงิน ช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลาและต้นทุนในการทำธุรกรรม

3. รู้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้ามากขึ้น

ในอนาคตที่มีแนวโน้มการใช้งาน Blockchain มากขึ้น โดยในการทำธุรกรรม ผู้คนจะมี Digital ID ของตัวเอง และ Digital ID นี้เอง จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทราบพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมที่เกิดจาก Blockchain ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นพฤติกรรมลูกค้าที่พบจึงเป็นพฤติกรรมที่แท้จริง

การที่เราทราบข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริง ทำให้เราสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งด้านการตลาดไปจนถึงการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น

Summary

Blockchain คือ หนึ่งในเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเข้ามาช่วยและอาจเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ เช่นเดียวกับ API และ Big Data โดย Blockchain นำมาซึ่งโอกาสทั้งในด้านการลดระยะเวลาและต้นทุน ไปจนถึงการทำการตลาด โดยในปัจจุบันมีหลายธุรกิจที่เริ่มนำ Blockchain มาใช้งาน ซึ่งผลลัพธ์ก็พิสูจน์แล้วว่า Blockchain สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้จริง ทั้งนี้ไม่ใช่แค่ธุรกิจรายใหญ่เท่านั้น แต่ Startup ก็สามารถนำ Blockhain เข้ามาใช้ในการพัฒนา Product & Service ได้เช่นเดียวกัน

Blockchain นํามาใช้อย่างไร

การประยุกต์ใช้ Blockchain ยกตัวอย่างเช่น งานด้านธุรกรรมหรือสัญญา เช่น การเงินโดยสามารถใช้งานแทนเอกสารในรูปแบบเดิมๆได้เลย ปลอดภัย และลดค่าใช้จ่าย และในอุตสาหกรรมประกันภัย Blockchain จะเข้ามาช่วยเพิ่มความโปร่งใสและป้องกันปัญหาการทุจริตในวงการประกันภัย

Blockchain สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในด้านใด

1. ลดข้อผิดพลาด ทำให้ Human error ลดลง เมื่อข้อมูลอยู่ใน Smart contracts. 2. มีการทำธุรกรรมและบันทึกผลได้แบบ Real time. 3. ลดเวลา ในการทำธุรกรรมการตรวจสอบ 4. ระบบตรวจสอบการทำธุรกรรมมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีบล็อก เชน (Blockchain Technology) คืออะไร และใช้งานเกี่ยวกับด้านใด

Blockchain คือเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง เมื่อมีการอัปเดตข้อมูลใด ๆ สำเนาข้อมูลในฐาน ...

Blockchain คืออะไร มีหลักการทํางานอย่างไร

Blockchain คือวิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง นึกภาพง่าย ๆ ว่า พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวม ๆ กันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั้นเอง