บล็อกเชนกับสัญญาอัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกันหรือแตกต่างกันอย่างไร

Blockchain (บล็อกเชน) คืออะไร และสำคัญอย่างไร

โดยปกติแล้วเรามักต้องพึ่งพิงบุคคลที่สามมาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม ถ้าเราเคยทำธุรกรรมออนไลน์ จะเห็นว่า มักจะต้องมีคำที่ระบุว่า Secured by หรือ Protected by ตามด้วยชื่อตัวกลางนั้น

การมาของบล็อกเชนมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งประโยชน์ของมันคือมันเป็นเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ทีนี้ธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ก็จะสามารถทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น ประหยัดขึ้น รวดเร็วขึ้น ถึงแม้สองคนจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วยความมั่นใจ

การทำงานของ Blockchain

บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆคนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆคน โดยที่รู้ว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน มันจะเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูล

Smart contract คือ

มันคือข้อตกลงต่างๆ ซึ่งถูกฝังไว้ในโค้ดคอมพิวเตอร์ และโค้ดนั้นจะจัดการตามข้อตกลงโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามเงื่อนไขในสัญญา

ตัวอย่างเช่น : ตู้กดน้ำ

Smart Contract เปรียบเสมือนตู้กดน้ำ เราใส่เงินไปจำนวนหนึ่งที่พอกับราคาของน้ำที่เราจะต้องการจะซื้อ ตู้กดน้ำก็จะปล่อยเครื่องดื่มนั้นออกมาให้เรา และจะเก็บเงินจำนวนนั้นไป ถ้าเงินนั้นเกิน ก็ทอนกลับมาให้เรา หรือถ้าเราใส่เงินยังไม่พอ ตู้น้ำก็จะยังไม่ให้เครื่องดื่มกับเรา และเรายังเลือกที่จะขอเงินคืนได้โดยการกดปุ่ม เมื่อถึงเวลามันจะดีดเหรียญคืนออกมาให้เรา

พอจะเห็นภาพเปรียบเทียบไปแล้ว

จะยกตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง อย่างเช่น อพาร์ทเมนต์อัจฉริยะ

สมมติมีอพาร์ทเมนต์ไฮเทคอยู่ที่หนึ่ง ประตูทุกๆบานในอพาร์ทเมนต์เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเพื่อรับข้อมูลได้ว่าจะยอมให้ผู้พักอาศัยที่มีคีย์การ์ดที่ถูกต้องถึงจะผ่านเข้าห้องไปได้ และผู้อยู่อาศัยแต่ละคนจะต้องมีคีย์การ์ด หรืออาจะเป็นแอปมือถือที่เอาไว้ใช้กับประตูเพื่อเข้าห้อง พอถึงวันที่ต้องจ่ายค่าเช่า ผู้อยู่อาศัยสามารถทำการโอนบิทคอยน์หรือสกุลเงินอื่นๆไปที่ address ที่กำหนดไว้ของแต่ละห้อง ตัวโค้ด Smart Contract ที่ดูแลเรื่องนี้จะทำการตรวจสอบว่า มีเงินเข้ามาเป็นจำนวนนี้ ซึ่งถูกต้องตามจำนวนที่ต้องจ่าย ตัวบล็อกเชนก็จะบันทึกการจ่ายครั้งนี้ไว้ และประตูก็จะยังสามารถูกเปิดด้วยคีย์การ์ดนั้นอยู่ แต่ถ้าจ่ายเงินช้ากว่ากำหนด Smart Contract ก็จะทำงานในวันสุดท้ายที่ต้องจ่ายเงิน และสั่งล็อคห้องที่ค้างชำระ ไม่ให้ใช้คีย์การ์ดของลูกค้าในการเข้าห้องได้ บล็อกเชนและ Smart Contract เข้ามาช่วยลดภาระหน้าที่ของผู้ดูแลอพาร์ทเมนต์นี้ เขาแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลยด้วยซ้ำ

ปัญหาของ Smart Contract

Smart Contract นำเสนอนวัตกรรมใหม่ที่สุดโต่งมากๆ อาจจะมากกว่าบิทคอยน์ซะด้วยซ้ำ เพราะเราไม่ได้แค่แลกเงินกันผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว เรากำลังแลกเอกสาร แลกตัวตน แลกทรัพย์สิน เรียกได้ว่า แทบจะแลกเปลี่ยนกันได้เกือบทุกอย่าง และการแลกเปลี่ยนนี้ก็โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ด้วย แต่ถ้าเกิดว่าโค้ดใน Smart Contract มันมีปัญหาล่ะ? ถ้าเกิดสมมติจ่ายตังพอแล้ว แต่ Smart Contract ไม่ทำงาน ถ้าเป็นคนทั่วไป เราคงไปฟ้องศาลได้ แต่นี่เราคงฟ้องอะไรกับระบบบล็อกเชนไม่ได้ แล้วถ้าความผิดพลาดทำให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สินมหาศาลหรือถึงขั้นเสียชีวิตล่ะ? รัฐบาลจะจัดการการใช้ Smart Contract อย่างไรไม่ให้เป็นผลเสียกับประชาชน? คำถามและอุปสรรคมากมายเหล่านี้ กำลังรอการถูกแก้ไขเพื่อให้ Smart Contract เป็นจริง

Proof of work คือ

การแข่งขันเพื่อหาแฮชที่สามารถทำเงินได้และต้องใช้กำลังในการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ หรือเรียกในภาษาบ้านๆก็คือ การขุดบิทคอยน์นั้นเอง หากมีใครคนใดคนหนึ่งหาเจอก็จะถือว่าเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่านักขุดคนนั้นได้ทำผลงาน และ สมควรที่จะได้รับรางวัล ยิ่งใครมี ฮาร์ดแวร์ หรือ ทรัพยากรในการขุดมาก คนนั้นก็จะได้มาก และอาจใช้พลังงานมากไปด้วย

proof of work ไม่เพียงแต่ถูกใช้บน blockchain ของ Bitcoin เท่านั้น แต่ยังถูกใช้ในเหรียญยอดนิยมอย่าง Ethereum และเหรียญอื่นๆหลายๆเหรียญ และ proof of work นั้นยังถูกแบ่งแยกย่อยไปอีกหลายๆแบบ และมีฟังก์ชันที่แตกต่างกัน

Proof of stake คือ

มันก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งอัลกอริทึ่ม ที่จุดมุ่งหมายนั้นก็ยังคงเหมือนกับ proof of work แต่ขั้นตอนในการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้นแตกต่าง โดยใน Proof of stake นั้นการขุดถูกกำหนดโดย “ความรวย” ง่ายๆคือ ใครมีเหรียญมากกว่า คนนั้นก็จะได้มากกว่า มันก็เหมือนกับซื้อหวย ยิ่งซื้อมากก็มีโอกาสถูกรางวัลมาก ในวงการเรียกคนพวกนี้ว่า นักตีเหล็ก

ข้อแตกต่างระหว่าง Proof of work กับ Proof of stake

สิ่งที่แตกต่างกัน คือ Proof of work โดยปกติแล้วรางวัลจะถูกมอบให้ผ่านการขุด และในการขุดก็ใช้ ทรัพยากรมากกว่า ส่วน Proof of stake นั้นจะถูกกำหนดโดย “ความรวย” ของผู้ถือเหรียญ Proof of Stake ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาแพงๆรวมถึงไฟฟ้าจำนวนมหาศาล เนื่องจากตัวแปรที่จะทำให้พวกเขาได้รายได้มากขึ้นคือจำนวนเหรียญที่พวกเขามี

51% Attack

“การโจมตี 51 เปอร์เซ็นต์” บนเครือข่ายนักขุดเหรียญคริปโตคืออะไร?

มีการโจมตีชนิดหนึ่งที่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จัก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีการโจมตีตัวนี้เกิดขึ้นแม้แต่ครั้งเดียว แต่อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน โดยการโจมตีดังกล่าวมีชื่อว่า “การโจมตี 51 เปอร์เซ็นต์”

หากจะอธิบายให้เข้าใจว่ามันคืออะไร ต้องรู้จักกับ hash power ก่อน ซึ่งในเครือข่ายของการขุดเหรียญ

คริปโตนั้น จะมีนักขุดที่ใช้ทั้งเครื่อง ASIC และการ์ดจอในการขุดเหรียญที่ใช้อัลกอริทึมแบบ Proof of work

คนที่มีเครื่องมากกว่าย่อมมีกำลังขุดมากกว่า และผู้ที่มีกำลังขุดมากกว่าย่อมได้เปรียบมากกว่าในการกุมความเป็นไปของเครือข่าย Blockchain ดังนั้น การโจมตี 51 เปอร์เซ็นต์หมายถึงการที่กลุ่มนักขุดเหรียญกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ควบคุมพลัง hash ในการขุดของ Blockchain นั้นไว้มากกว่า 51% และใช้อำนาจนั้นในทางที่ไม่ดี

ปัญหาก็คือ อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน และในอีกหลายๆปีที่จะถึงนี้เหรียญคริปโตอย่าง Bitcoin และ Ethereum นั้นจะเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายมาก ดังนั้นถ้าหากมีเหตุการณ์การโจมตีที่ว่านี้เกิดขึ้นจริง มันอาจจะเป็นหายนะของผู้ใช้ทั้งโลกเลยก็ได้

สำหรับ Bitcoin นั้นอาจสรุปได้ว่าปัจจุบันมันยังห่างไกลจากการโจมตี 51 เปอร์เซ็นต์อยู่มาก โดยหากเรามองแผนภูมิส่วนแบ่งการตลาดของ mining pool ในรูปนี้เราจะเห็นว่ายังไม่มี pool ไหนที่สามารถควบคุมกำลังขุดได้เกิน 30% เลยสักราย แต่อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน การที่มันยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีวันเกิดเสมอไป

ที่มาของข้อมูล : https://siamblockchain.com/2017/06/08/smart-contract-คืออะไร/

ที่มาของข้อมูล : https://siamblockchain.com/2017/07/07/51-percent-attack/

ที่มาของข้อมูล : https://siamblockchain.com/2017/08/13/proof-of-work-vs-proof-of-stake/

ที่มาของข้อมูล : https://techsauce.co/technology/blockchain/understand-blockchain-in-5-minutes/

บล็อกเชนกับสัญญาอัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกันหรือต่างกันอย่างไรอธิบาย

บล็อกเชน (Blockchain) ไม่เพียงเป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์ (Bitcoin) แต่ยังใช้ในการบันทึกข้อตกลงของสัญญาที่ดำเนินการโดยใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมจัดการ ซึ่ง เรียกว่า “สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) การทำงานของสัญญาอัจฉริยะเกิดจากการเขียนโค้ด คอมพิวเตอร์ที่ระบุเงื่อนไขให้สัญญามีผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์ ...

Blockchain กับ Smart Contract มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

Smart Contract เกิดมาจาก Nick Szabo ที่เป็นผู้เสนอไอเดียว่า Blockchain สามารถใช้ในการบันทึกข้อตกลงของสัญญาที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง หรือใช้พนักงานในการมานั่งตรวจสอบเอกสาร โดยทุกอย่างให้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมจัดการ และการ Hack ข้อมูลทำได้ยาก

บล็อกเชนมีการนำมาใช้ในธุรกิจอะไรบ้าง

รวม 20 ภาคธุรกิจกับการนำ Blockchain มาใช้พร้อมกรณีศึกษา.
1. การเงินการธนาคาร.
2. ระบบการชำระและโอนเงิน.
3. Cybersecurity..
4. สถาบันการศึกษา.
5. Voting..
6. ระบบการเช่าและซื้อขายรถ.
7. Networking และ IoT..
8. งานวิจัยและคาดการณ์ (Forecasting).

บล็อกเชนกับบิทคอยน์มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

- Block chain คือ ไฟล์ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลการฝากถอนเงินของทุกๆคน - Bitcoin คือ ธนบัตร หากเป็นธนาคาร ธนาคารจะบันทึกข้อมูลคุณไว้ในระบบของธนาคาร แต่ว่าระบบของ Bitcoin จะถูกบันทึกไว้ในระบบชื่อว่า “Block Chain” ซึ่ง Block Chain จะมีข้อมูลของทุกรายการธุรกรรม ที่เคยเกิดขึ้นทั้งหมด