ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

                 ระบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำให้ฝ่ายบริหาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิเคราะห์ขององค์การ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและสารสนเทศสำหรับการงานแผนและตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง แต่ระบบ TPS มีการจัดการข้อมูลสำหรับงานประจำวัน มีกระบวนการใช้ระบบที่สอดคล้องกับขั้นตอนการปฏิบัติงานและกฎเกณฑ์การทำงานที่ชัดเจน และระบบ DSS จะให้สารสนเทศเพื่อควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานและสรุปผลการดำเนินงานและช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในปัญญาแบบโครงสร้างได้

ระบบการทำงานในอดีตมีการใช้ระบบสารสนเทศช่วยจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพไม่แน่นอน ไม่มีความสะดวก และมีคามยุ่งยากในการใช้งาน ปัจจุบันจึงได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาในการจัดการระบบสารสนเทศในองค์กรมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ

ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ

กระบวนการรวบรวม บันทึก ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุมการทำงาน และ ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริม การทางานในทุกด้าน เช่น ระบบสารสนเทศที่ใช้ส่งเสริมการทำงานในด้าน อุตสาหกรรม สามารถ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบบสารสนเทศการ จัดการวัตถุดิบและระบบ สารสนเทศการจัดการ ผลผลิต แบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่ใช้ประมวลผลหรือ สร้างสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ CPU เครื่องพิมพ์

2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตาม ความต้องการของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

3. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information) คือ ข้อเท็จจริง ต่างๆทั้งที่ผ่านการประมวลผลและยังไม่ผ่านการประมวลผล อยู่ในรูปของ ตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ ฯลฯ

4. บุคลากร (Peopleware) คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 ระดับคือ นักวิเคราะห์ระบบโปรแกรมเมอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและผู้ใช้

5. กระบวนการทำงาน (Procedure) คือ ขั้นตอนการทางานเพื่อให้ได้สารสนเทศ ตามที่ต้องการ เช่น การสมัครสมาชิก การเข้ารหัส ฯลฯ

5.1 การนำเข้า (Input) เป็นการนาข้อมูลและสารสนเทศต่างๆที่ได้ จากการรวบรวมเข้าสู่ระบบ

5.2 การประมวลผล(Process) เป็นการนาข้อมูลที่ได้ไปประมวลผล ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยการเรียงลาดับ การคำนวณ ฯลฯ

5.3 การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการ ประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการเพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ

5.4 การจัดเก็บ (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศ ทั้งหมดที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้ระบบสารสนเทศสามารถนำมาใช้ได้ใหม่ในอนาคต

ดังนั้น ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ช่วยในการจัดการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่มี ความซับซ้อน ซึ่งมีการตอบสนองหรือโต้ตอบกับผู้ใช้งาน ปัญหาที่แก้ไขด้วย DSS จะเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนหรือข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลาซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหา ได้ด้วยสารสนเทศเพื่อประมวลผลรายการธุรกรรม (TPS : Transaction Processing System) ทั่วไป ตัวอย่างการใช้งาน DSS เช่น เมื่อเจ้าของกิจการต้องการปรับปรุงเครื่องจักร สาหรับผลิตปลากระป๋อง เจ้าของกิจการจะต้องนาเข้าข้อมูลต่างๆลงใน DSS เพื่อประมวลผลตามแบบจาลองที่สร้างไว้ว่าจะเกิดความคุ้มค่าหรือไม่ จากนั้นเจ้าของกิจการจึงจะตัดสินใจว่าควรจะซื้อเครื่องจักรใหม่ ซ่อมแซม เครื่องจักรเก่า หรือเลื่อนการดาเนินการออกไปก่อนเพราะไม่เกิดความคุ้มค่า ในการลงทุน

สรุป

การตัดสินใจของผู้บริหารมีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ความมั่งคง และพัฒนาการขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารจะต้องตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรขององค์การที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน สามารถจำแนกส่วนประกอบของ DSS ออกเป็น 4 ส่วนดังนี้

  • อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ DSS แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ อุปกรณ์ประมวลผล อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์แสดงผล
  • ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ฐานข้อมูล ฐานแบบจำลอง และชุดคำสั่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
  • ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบระบบการทำงานให้สอดคล้องกันมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอแล้ว DSS ก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม หรืออาจจะสร้างปัญหาในการตัดสินใจได้
  • บุคลากรจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การพัฒนา การออกแบบ และการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยที่เราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนระบบ DSS

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม หรือที่เรียกว่า GDSS เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของกลุ่ม GDSS สำหรับกลุ่มประกอบด้วยอุปกรณ์ ตั้งแต่ ระบบคอมพิวเตอร์ ห้องประชุม ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร เพื่อให้การประสานงานภายในกลุ่มมีประสิทธิภาพ โดยที่อุปกรณ์แต่ล่ะประเภทจะถูกออกแบบและดับแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้ GDSS ต้องมีส่วนประกอบสำคัญ คือ ชุดคำสั่งพิเศษที่ช่วยกำหนดขอบเขต ประเมินทางเลือกของปัญหา และประสานงานให้สมาชิกสามารถตัดสินใจในปัญหาร่วมกัน หรือที่เรียกว่า ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) คือ ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุน การตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนามา จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยเพิ่มตัวแบบ (model) ไว้ในระบบซึ่งได้พัฒนาขึ้นตาม ตามความต้องการของผู้บริหาร ในการตัดสินใจเฉพาะเรื่อง (จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ ,2546 ...

ระบบสารสนเทศประเภทใดที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล เป็นระบบสารสนเทศที่มีผู้ใช้หรือผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียว ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องมีอำนาจในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศประเภทนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบสารสนเทศของผู้บริหาร หรือ (EIS) (Executive Information System ) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้มของเรื่องที่ ...

ระบบสารสนเทศใดที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจปัญหาเฉพาะให้กับธุรกิจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจาก ...

ข้อใดคือระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (อังกฤษ: Executive information system: EIS) เป็นประเภทหรือส่วนย่อยจาก ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems) มีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง โดยเป็นข้อมูลที่มีองค์ประกอบทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับ ...

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร ระบบสารสนเทศประเภทใดที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศใดที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจปัญหาเฉพาะให้กับธุรกิจ ข้อใดคือระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ dss ข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ คือ ตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ บทที่ 3 การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ตัวอย่าง ข้อมูลมีส่วนในการตัดสินใจอย่างไร การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ คณิตศาสตร์