ระบบการจัดการนวัตกรรมภายในองค์กรจัดทำเพื่ออะไร

Innovation หรือ นวัตกรรม คือสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรเติบโต ก่อนการนำนวัตกรรมไปใช้ให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าองค์กรนวัตกรรมเป็นอย่างไร และมีส่วนช่วยในการเติบโตได้อย่างไร สิ่งที่ผู้บริหารหลายคนไม่รู้คือความคิดสร้างสรรค์ที่ท้าทายที่เราต้องทำให้สำเร็จหรือใกล้เคียงให้ได้มากที่สุด โดยจะต้องลงทุนกับทรัพยากรเพื่อสนองความต้องการในการจัดการองค์กร และปลูกฝังแนวคิดใหม่ ๆ แต่น่าเสียดายที่องค์กรส่วนใหญ่ยังการกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม เราจะมาแนะนำ 8 วิธีในการนำนวัตกรรมมาสู่องค์กรเพื่อมุ่งไปสู่แนวคิดที่สร้างสรรค์มากขึ้น

ระบบการจัดการนวัตกรรมภายในองค์กรจัดทำเพื่ออะไร

ปล่อยให้พนักงานมีอิสระในการทำงาน

หัวหน้าหรือนายจ้างที่กำหนดกฎเกณฑ์มากเกินไปมักจะทำให้พนักงานของพวกเขาขาดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของของพวกเขาขาดเสรีภาพทางความคิดสร้างสรรค์และรู้สึกลังเลที่ต้องคิดนอกกรอบ สาระสำคัญขององค์กรแห่งนวัตกรรมคือความสามารถของพนักงานที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์ขององค์กร

 

การจัดหาทรัพยากรให้กับทีมเพื่อดำเนินการตามความคิดสร้างสรรค์

หน้าที่ของผู้นำองค์กรคือการเปลี่ยนความคิดของพนักงานเองให้มองเห็นถึงวิถีการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ หากเราไม่มีพรัพยากรหรือบุคลากรที่เหมาะต่อการสร้างองค์กรนวัตกรรม องค์กรก็คงจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้ ส่วนมากองค์กรที่มีนวัตกรรมมากที่สุดในโลกมักจะลงทุนในแผนก R & D เพื่อให้ทีมงานดำเนินการตามแนวคิดขององค์กร เช่น ซัมซุงเป็นหนึ่งในคู่แข่งชั้นนำจากรายชื่อองค์กรที่มีนวัตกรรมมากที่สุดในโลก โดยลงทุนไป 12.6 พันล้านดอลลาร์

 

อย่าจำกัดนวัตกรรมเฉพาะ R & D เพียงด้านเดียว

ในการบริหารจัดการองค์กรเราไม่ควรจำกัดนวัตกรรมไว้เฉพาะแผนก R&D เท่านั้น เพราะการจะพัฒนาองค์กรให้ครอบคลุมทั้งหมด เราต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาในทุก ๆ แผนกขององค์กรด้วย และเมื่อเราเริ่มใช้กลยุทธ์นวัตกรรมแบบองค์กรเราจะสามารถส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนได้

 

อย่าต่อว่าพนักงานเมื่อเขาทำงานล้มเหลว

ความล้มเหลวในการคิดค้นหรือการปฏิบัติงานคือส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ หากเราลงโทษพนักงานเมื่อเขาทำผลงานไม่ดี พนักงานคนนั้นก็จะกลายเป็นคนที่กลัวความล้มเหลวตลอดไป และวิธีการลงโทษพนักงานนั้นจ้างผลกระทบต่อความสามารถของพนักงาน เพราะความกลัวจะเป็นตัวปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ เมื่อเราปล่อยให้พนักงานทำงานอย่างมีอิสระโดยปราศจากข้อจำกัดของความกลัว พวกเขาจะสามารถคิดนอกกรอบได้อย่างมั่นใจ

ระบบการจัดการนวัตกรรมภายในองค์กรจัดทำเพื่ออะไร

ลงทุนกับเวลาในการฝึกฝนบุคลากร

การลงทุนกับเวลาในการฝึกฝนพนักงาน คือหนึ่งในวิธีการที่จะทำให้องค์กรเติบโตขึ้นไปอย่างก้าวกระโดด ถ้าเราต้องการนำนวัตกรรมเข้ามาสู่องค์กร แต่ไม่มีการฝึกฝนพนักงานเลย ความเป็นไปได้ที่จะบริหารองค์กรให้ไปถึงเป้าหมายก็คงจะเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ผู้นำต้องลงทุนกับเวลาในการจัดโปรแกรมฝึกฝนพนักงานให้เก่งขึ้นพร้อมรับมือกับนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น การจัดสัมมนารายสัปดาห์เพื่อส่งเสริมทักษะพนักงาน เหมือนกับ Google ที่จัดสรรเวลา 20% ของเวลาการทำงานไปกับการพัฒนาด้านนวัตกรรม

 

พัฒนารูปแบบการเป็นผู้นำนวัตกรรมในระดับองค์กร

ในฐานะผู้นำองค์กรความรับผิดชอบของเราคือการส่งเสริมและรักษาทัศนติของสมาชิกในแต่ละทีมหรือแต่ละแผนก ในการเป็นผู้นำหากเราไม่สามารถแสดงถึงวิธีการที่สร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านทัศนคติหรือพฤติกรรมของตัวเองได้ผลที่ตามมาคือพนักงานในเชื่อใจเราและไม่มั่นใจที่จะฝากชีวิตไว้กับเรา การบีบเวลาในการคิดสร้างสรรค์และต้องการนำนวัตกรรมมาใช้แค่ยะระสั้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่คนเป็นผู้นำควรตัดออกไปจากความคิด เพราะคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมนั้นเราจะต้องมีพื้นที่และเวลามากพอที่จะให้พนักงานลองผิดลองถูกและสามารถปรับปรุงได้ เป้าหมายของการใช้นวัตกรรมนั้นควรจะเป็นเป้าหมานที่ยั่งยืนและระยะยาว ดังนั้น เราต้องลงทุนกับเวลาในการพัฒนาองค์กรและให้ทัศนคติที่ดีต่อพนักงาน

 

ผู้นำควรลดการยึดติดกับตำแหน่งและลงไปรับฟังพนักงาน

ความหยิ่งทางความคิดนั้นถือว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจของการนำนวัตกรรมไปใช้ในองค์กร เมื่อผู้นำเพิกเฉยต่อความคิดของพนักงานเพียงเพราะพวกเขาเป็นลูกน้อง กลายเป็นเราที่ไปขัดขวางกระบวนการคิดสร้างสรรค์ในตัวพวกเขา หากเป็นเช่นนี้องค์กรของเราก็จะเติบโตขึ้นไม่ได้ ดังนั้น อย่าปล่อยให้พนักงานพูดอยู่ในใจเพียงคนเดียว เราต้องสนับสนุนให้พวกเขาแบ่งปันความคิดและเป็นส่วนหนึ่งของทุกกระบวนการสร้างสรรค์

 

ยอมรับการมีส่วนร่วมของพนักงาน

พนักงานจะรู้สึกว่าตัวเองมีค่าเมื่อผู้นำรับรู้ถึงความพยายามของพวกเขา ในทำนองเดียวกันหากเราต้องส่งเสริมวัตธรรมแห่งนวัตกรรมในองค์กรของเรา เราต้องใช้นโยบายแรงจูงใจให้พนักงาน และนโยบายดังกล่าวจะทำให้พนักงานถูกชื่นชมสำหรับความพยายามในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เหมือนใคร

"สิ่งที่จะขับเคลื่อนองค์กรได้ดีที่สุด คือทัศคติของผู้นำ"

อย่างไรก็ตามนวัตกรรมไม่ใช่สิ่งชั่วคราว แต่เป็นกลยุทธ์ระยะยาวที่ต้องการการลงทุนกับเวลาและความพยายามของทุกคนในองค์กร ดังนั้น เพื่อความมั่นใจว่าองค์กรจะได้รับประโยชน์จากผลลัพธ์เชิงบวกของนวัตกรรมเราต้องลองใช้แนวทางที่ได้กล่าวมาข้างต้น

จากการได้ศึกษาเรียนรู้ในรายวิชาการจัดการนวัตกรรมกับท่านอาจารย์ ดร.ธนพล ก่อฐานะ ทำให้เรียนรู้ถึงบทบาทสำคัญของภาวะผู้นำ ที่จะสามารถนำพาองค์กรให้อยู่รอดท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงของโลกได้นั้น การแก้ปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องมีการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้วยการนำกลยุทธ์ใหม่ ๆ มาปรับใช้ในการทำงาน ซึ่งท่านอาจารย์ได้นำประสบการณ์ชีวิตในทำงานของท่านมาแบ่งปันความรู้ด้วยการถอดบทเรียนเป็นกรณีศึกษาให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เห็นว่าในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงทุกวัน สถานการณ์โลกก็เปลี่ยนอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ความรู้ใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นทุกวินาที

ดังนั้น องค์ความรู้ มุมมอง และแนวคิดในเชิงพลวัตย่อมแตกต่างจากที่เคยได้เรียนรู้มา อาจารย์จึงได้ถอดบทเรียนการทำงานของอาจารย์ในการก้าวข้ามทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในวิกฤตการณ์นั้นได้ด้วยทัศนคติที่ดี โดยการปรับใช้กลยุทธ์เฉพาะทางในหลากหลายรูปแบบทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติแบบบูรณาการเข้าด้วยกัน จนทำให้ผ่านพ้นวิกฤติที่เกิดขึ้นมาได้ โดยอาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบเรียบง่ายแต่มองเห็นภาพตามด้วยการสื่อสารแบบเล่าเรื่องราว ด้วยวิธีคิด มุมมอง สถานการณ์ บวกประสบการณ์ชีวิตในการเรียนรู้และการทำงานมาเป็นกระบวนการประกอบการตัดสินใจ คิด วิเคราะห์และแก้ปัญหา ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่เข้าใจง่าย นักศึกษาสามารถนำข้อมูลชุดความรู้ใหม่นี้มาสังเคราะห์และนำไปเป็นกรณีศึกษาประกอบการเรียนได้ทุกวิชา อีกทั้งยังเป็นความรู้จากห้องเรียนไปสู่การประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาของและตนเองและองค์กรได้เป็นอย่างดี

จะเห็นได้ว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่กล่าวถึงกันมากในแวดวงของการดำเนินธุรกิจ และเป็นคำที่ผู้บริหารทุกองค์กรปรารถนาและพยายามขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นภายในองค์กร แต่การที่จะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จในการทำนวัตกรรมนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ทรัพยากร ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการขับเคลื่อน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจให้ก้าวสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เราจึงควรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยในการดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

อย่างไรก็ตาม เวลาเราพูดถึงนวัตกรรมส่วนใหญ่เราก็มักจะนึกถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการทำงาน แต่เรามักจะไม่ค่อยได้นึกถึงนวัตกรรมทางการจัดการ (Management Innovation) กันเท่าใด เนื่องจากนวัตกรรมทางการจัดการอาจจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ยากกว่านวัตกรรมทั่วๆ ไป และตัวอย่างของนวัตกรรทางการจัดการก็ไม่ค่อยได้พบเห็นทั่วไปเช่นนวัตกรรมในด้านอื่น ๆ

ในวารสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2549 นี้ Gary Hamel ซึ่งถึงเป็นกูรูทางด้านกลยุทธ์ผู้หนึ่งได้เขียนบทความเรื่องชื่อ The Why, What, and How of Management Innovation ซึ่งในบทความดังกล่าว Hamel พยายามนำเสนอถึงแนวคิด ความจำเป็น และความสำคัญ ของนวัตกรรมทางการจัดการ

โดย Hamel พยายามตอกย้ำถึงความสำคัญของนวัตกรรมทางการจัดการว่ามีความสำคัญต่อการนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ ไม่แพ้นวัตกรรมด้านอื่นๆ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าในรอบร้อยปีที่ผ่านมา นวัตกรรมทางการจัดการเป็นปัจจัยที่สำคัญที่นำพาองค์กรหลายแห่งสู่ความสำเร็จมากกว่านวัตกรรมในด้านอื่นอย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญ ก็คือองค์กรต่าง ๆ ขาดระบบหรือกระบวนการในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมทางการจัดการ Hamel ระบุไว้ว่านวัตกรรมทางการจัดการ หรือ Management Innovation หมายถึง แนวทางคิดในด้านการบริหารจัดการที่แตกต่างจากการบริหารจัดการปกติ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการบริหารจัดการขององค์กร หรือถ้าให้ง่ายเข้า ก็คือสิ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการบริหารจัดการขององค์กร ในขณะที่นวัตกรรมในด้านอื่นๆ เน้นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ หรือ กระบวนการในการทำงานทั่วๆ ไป นวัตกรรมทางการจัดการเน้นปรับปรุงกระบวนการในการบริหารจัดการภายในองค์กร (Management Process)

ในบทความดังกล่าว Gary Hamel ได้ยกตัวอย่างขององค์กรชั้นนำที่มีนวัตกรรมทางการจัดการ และประสบความสำเร็จอันได้แก่ GE, DuPont, P&G, Visa, และ Linux โดยนวัตกรรมทางการจัดการของ GE ได้แก่การนำระบบการบริหารที่มีความเป็นระบบและชัดเจนเข้ามาทำให้เกิดความเป็นระบบเรียบสำหรับ GE ที่ในอดีตอุดมไปด้วยนักวิทยาศาสตร์ ที่มุ่งเน้นแต่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนขาดระเบียบในการบริหาร หรือ ของ DuPont ก็เป็นการนำเอาหลักการของ Return on Investment (ROI) มาใช้เป็นแห่งแรก จนกระทั่งสามารถหาตัวชี้วัดทางการเงินที่สามารถใช้ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร หรือ P&G ที่เป็นผู้บุกเบิกเรื่องของการบริหารแบรนด์ขึ้นมาใช้เป็นแห่งแรก หรือ Visa ที่เป็นองค์กรแรกๆ ที่มีลักษณะเป็น Virtual Organization อย่างแท้จริง หรือ Linux ที่พัฒนาซอฟแวร์โดยการอาศัยโปรแกรมเมอร์จากทั่วโลกให้เข้ามามีส่วนร่วม หรือที่เรียกว่า Open Source Developmentบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเครือซิเมนต์ไทย เครือสหพัฒน์ หรือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ก็น่าจะมีนวัตกรรมทางการจัดการของตนเอง ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการลอกเลียนของที่มีอยู่แล้วหรือของต่างประเทศ และในองค์กรที่มีนวัตกรรมทางการจัดการจะทำให้เกิดการพัฒนาองค์กร หรือนำไปสู่ความสำเร็จได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าศึกษา