การศึกษาพระพุทธศาสนา

         กล่าวโดยสรุป การศึกษามีหน้าที่สร้างสรรค์ทั้งสองด้านไปพร้อมกัน คือ การพัฒนาชีวิตบุคคลให้ถึงความสมบูรณ์และสร้างสรรค์อารยธรรมที่ส่งเสริมให้ระบบความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งเจริญงอกงามไปในวิถีทางที่เกื้อกูลกันยิ่งขึ้น ๆ การศึกษาที่แท้คือ การพัฒนาชีวิตบุคคลให้สมบูรณ์พร้อมไปด้วยกันกับการสร้างสรรค์อารยธรรมที่ยั่งยื่น นักการศึกษาที่ยึดมั่นในหลักของพระพุทธศาสนา ก็พยายามพิจารณาตรวจสอบปัญหาต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ใช้หลักศาสนานำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา เราก็เริ่มเห็นปัญหาและสาเหตุแห่งปัญหาอย่างชัดเจนว่า การศึกษาที่ขาดดุลยภาพเป็นสาเหตุแห่งวิกฤตการณ์ในด้านต่าง ๆ จึงได้หันกลับมาพิจารณากันว่า การจัดการเรียนการสอนในอนาคตมีความจำเป็นต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นจึงมีความเห็นพ้องกันว่าควรจะปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน โดยได้นำเอาหลักการของพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานในด้านการเรียนการสอน ด้วยตั้งความหวังร่วมกันว่า การจัดการเรียนการสอนอันมีพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน เพราะพระพุทธศาสนาเหมาะสมอย่างยิ่งกับสังคมไทย ก็จะก่อให้เกิดดุลยภาพแห่งการศึกษา และการพัฒนาสังคมเพราะพระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่แน่นอนเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เช่น ศีล 5 ก็ควบคุมการ ดำรงชีวิตของแต่ละบุคคลและเชื่อมั่นว่าการศึกษาที่สมดุลและการพัฒนาที่สมบูรณ์ เช่นนี้จะเป็นพลวปัจจัยให้เกิดสังคมที่ปกติสุขที่ มนุษย์ สัตว์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม จะอยู่ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยกันด้วยสันติ บนพื้นฐานแห่งความเมตตาธรรม อันเป็นแกนนำแห่งสัมพันธภาพที่ไร้พรมแดนก็เพราะอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางนำมาซึ่งสุขของสรรพสิ่งทั้งปวง การศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นการศึกษาระบบกัลยาณมิตรระหว่างครูกับศิษย์ ซึ่งในปัจจุบันครูกับศิษย์มีความปฏิสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ห่างกันมาก ครูทำหน้าที่เพียงบรรยาย (สิปปทายก) แล้วก็จบออกไป โอกาสที่ครูและศิษย์จะมีปฏิสัมพันธ์ทางความรู้ก็ไม่มี ซึ่งแตกต่างกับการศึกษาสมัยก่อนแบบตะวันออก เช่น การเรียนแพทย์ แพทย์ที่มีชื่อเสียง เช่น หมอชีวกโกมารภัจจ์ ไปเรียนที่เมืองตักสิลา หลักสูตร 14 ปี ต้องเรียนวิชาการแพทย์ 7 ปี อยู่ปรนนิบัติรับใช้อาจารย์อีก 7 ปี ได้รับการถ่ายทอดความรู้ความประทับใจในจรรยาบรรณต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแพทย์ รวมทั้งศีลธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาด้วยนี้คือการสอนแบบตะวันออกและเป็นระบบที่ปฏิบัติในพระพุทธศาสนาจนถึงทุกวันนี้ แต่ในปัจจุบัน ระบบกัลยาณมิตรได้พังทลายแล้ว เพราะแนวคิดและค่านิยมแบบตะวันตก และการศึกษาสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทโดยเน้นปรัชญาการศึกษาตามรูปแบบทางตะวันตกมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงวัฒนธรรมพื้นฐานของสังคมไทย ทำให้เกิดการทวนกระแสระหว่างปรัชญาการศึกษาตะวันตกและวัฒนธรรมไทย

          แต่ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์โดยส่วนใหญ่ขาดหลักปฏิบัติที่สำคัญคือ การนั่งสมาธิเจริญภาวนาจึงไม่อาจเข้าถึงความจริงของโลกและชีวิตได้อย่างแจ่มแจ้งเหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระอรหันตสาวกทั้งหลาย

                    ถึงความสุขจากการเห็นความจริงของธรรมชาติ โลก ชีวิต ความสุขอะไรต่างๆ เหล่านี้ มีเยอะเหลือเกินล้วนแต่มีจุดเริ่มจากฉันทะ และเป็นความสุขที่จะต้องพัฒนาขึ้นมาจึงมาถึงหลักที่ว่า การพัฒนาความสุขก็คือการศึกษา

“ดาว์พงษ์” จี้ สกอ. ทำแผนอุดม 15 ปี ให้ชัดเจน ย้ำลดเวลาเรียนเลิก 14.00 น. ไม่กระทบวิชาการ ผู้ปกครองไม่ต้องกังวล สั่งปรับระบบสอบเข้ามหา’ลัย ด้าน “ธีระเกียรติ” เตรียมถก ทปอ. ปรับการสอบให้สอดคล้องกับนโยบาย

  พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา

ความหมายของคำว่าการศึกษา
                         คำว่า “การศึกษา” มาจากคำว่า “สิกขา” โดยทั่วไปหมายถึง “กระบวนการเรียน “ “การฝึกอบรม” “การค้นคว้า” “การพัฒนาการ” และ “การรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งปวง” จะเห็นได้ว่า การศึกษาในพระพุทธศาสนามีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำสุดถึงระดับสูงสุด เมื่อแบ่งระดับอย่างกว้าง ๆ มี 2 ประการคือ
                         1. การศึกษาระดับโลกิยะ มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตในทางโลก
                         2. การศึกษาระดับโลกุตระ มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตเหนือกระแสโลก
          ในการศึกษาหรือการพัฒนาตามหลักพระพุทธศาสนา นั้น พระพุทธเจ้าสอนให้คนได้พัฒนาอยู่ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านศีล ด้านจิตใจ และด้านสติปัญญา โดยมีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง มิใช่เป็นคนดีแต่โง่ หรือเป็นคนเก่งแต่โกง การจะสอนให้มนุษย์เป็นคนดีและคนเก่งนั้น จะต้องมีหลักในการศึกษาที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งในการพัฒนามนุษย์นั้นพระพุทธศาสนามุ่งสร้างมนุษย์ให้เป็นคนดีก่อน แล้วจึงค่อยสร้างความเก่งทีหลัง นั่นคือสอนให้คนเรามีคุณธรรม ความดีงามก่อนแล้วจึงให้มีความรู้ความเข้าใจหรือสติปัญญาภายหลัง
                        ดังนั้นหลักในการศึกษาของพระพุทธศาสนา นั้นจะมี ลำดับขั้นตอนการศึกษา โดยเริ่มจาก สีลสิกขา ต่อด้วยจิตตสิกขาและขั้นตอนสุดท้ายคือ ปัญญาสิกขา ซึ่งขั้นตอนการศึกษาทั้ง 3 นี้ รวมเรียกว่า "ไตรสิกขา"  ซึ่งมีความหมายดังนี้
                      1. สีลสิกขา การฝึกศึกษาในด้านความประพฤติทางกาย วาจา และอาชีพ ให้มีชีวิตสุจริตและเกื้อกูล (Training in Higher Morality)
                      2. จิตตสิกขา การฝึกศึกษาด้านสมาธิ หรือพัฒนาจิตใจให้เจริญได้ที่ (Training in Higher Mentality หรือ Concentration)
                      3. ปัญญาสิกขา การฝึกศึกษาในปัญญาสูงขึ้นไป ให้รู้คิดเข้าใจมองเห็นตามเป็นจริง (Training in Higher Wisdom) 
ความสัมพันธ์ของไตรสิกขา
                      ความสัมพันธ์แบบต่อเนื่องของไตรสิกขานี้ มองเห็นได้ง่ายแม้ในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ
                      (ศีล -> สมาธิ) เมื่อประพฤติดี มีความสัมพันธ์งดงาม ได้ทำประโยชน์อย่างน้อยดำเนินชีวิตโดยสุจริต มั่นใจในความบริสุทธิ์ของ ตน ไม่ต้องกลัวต่อการลงโทษ ไม่สะดุ้งระแวงต่อการประทุษร้ายของคู่เวร ไม่หวาดหวั่นเสียวใจต่อเสียงตำหนิหรือความรู้สึก ไม่ยอมรับของสังคม และไม่มีความฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ เพราะความรู้สึกเดือดร้อนรังเกียจในความผิดของตนเอง จิตใจก็เอิบอิ่ม ชื่นบานเป็นสุข ปลอดโปร่ง สงบ และแน่วแน่ มุ่งไปกับสิ่งที่คิด คำที่พูดและการที่ทำ
                      (สมาธิ -> ปัญญา) ยิ่งจิตไม่ฟุ้งซ่าน สงบ อยู่กับตัว ไร้สิ่งขุ่นมัว สดใส มุ่งไปอย่างแน่วแน่เท่าใด การรับรู้ การคิดพินิจพิจารณามอง เห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆก้ยิ่งชัดเจน ตรงตามจริง แล่น คล่อง เป็นผลดีในทางปัญญามากขึ้นเท่านั้น
                      อุปมาในเรื่องนี้ เหมือนว่าตั้งภาชนะน้ำไว้ด้วยดีเรียบร้อย ไม่ไปแกล้งสั่นหรือเขย่ามัน ( ศีล ) เมื่อน้ำไม่ถูกกวน คน พัด หรือเขย่า สงบนิ่ง ผงฝุ่นต่างๆ ก็นอนก้น หายขุ่น น้ำก็ใส (สมาธิ) เมื่อน้ำใส ก็มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน ( ปัญญา )
                      ในการปฏิบัติธรรมสูงขึ้นไป ที่ถึงขั้นจะให้เกิดญาณ อันรู้แจ้งเห็นจริงจนกำจัดอาสวกิเลสได้ ก็ยิ่งต้องการจิตที่สงบนิ่ง ผ่องใส มีสมาธิแน่วแน่ยิ่งขึ้นไปอีก ถึงขนาดระงับการรับรู้ทางอายตนะต่างๆ ได้หมด เหลืออารมณ์หรือสิ่งที่กำหนดไว้ใช้งาน แต่เพียงอย่างเดียว เพื่อทำการอย่างได้ผล จนสามารถกำจัดกวาดล้างตะกอนที่นอนก้นได้หมดสิ้น ไม่ให้มีโอกาสขุ่นอีกต่อไป 

ไตรสิกขานี้ เมื่อนำมาแสดงเป็นคำสอนในภาคปฏิบัติทั่วไป ได้ปรากฏในหลักที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ ( พุทธโอวาทที่เป็นหลักใหญ่ อย่าง ) คือ
                                 สพพปาปสส อกรณ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ( ศีล )
                                 กุสลสสูปสมปทา การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม (สมาธิ )
                                  สจิตตปริโยทปน การทำจิตของตนให้ผ่องใส (ปัญญา )
    นอกจากนี้ยังมีวิธีการเรียนรู้ตามหลักโดยทั่วไป ซึ่งพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าตรัสไว้ 5 ประการ คือ
                         1. การฟัง หมายถึงการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนในห้องเรียน
                         2. การจำได้ หมายถึงการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้จำได้
                         3. การสาธยาย หมายถึงการท่อง การทบทวนความจำบ่อย ๆ
                         4. การเพ่งพินิจด้วยใจ หมายถึงการตั้งใจจินตนาการถึงความรู้นั้นไว้เสมอ
                         5. การแทงทะลุด้วยความเห็น หมายถึงการเข้าถึงความรู้อย่างถูกต้อง เป็น  ความรู้อย่างแท้จริง ไม่ใช่ติดอยู่แต่เพียงความจำเท่านั้น แต่เป็นความรู้ความจำที่สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติได้
                      จะเห็นได้ว่า สีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา การศึกษาทั้ 3 ขั้นนี้ ต่างก็เป็นพื้นฐานกันและกัน ซึ่งในการศึกษา พุทธศาสนามุ่งสอนให้คนเป็นคนดี คนเก่งและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จากกระบวนการศึกษาที่กล่าวมาทั้ง 3 ขั้นตอนของพุทธศาสนานี้ หากสามารถนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะเกิดผลดีกับผู้ปฏิบัติ ซึ่งหลักการทั้ง 3 นั้น เป็นที่ยอมรับจากชาวโลก ทำให้พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงนับได้ว่าพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษาอย่างแท้จริง


การศึกษาทางพระพุทธศาสนา มีอะไรบ้าง

การศึกษาในพุทธศาสนา เรียกว่า “ไตรสิกขา” ประกอบด้วย (1) ศีลสิกขา คือข้อปฏิบัติส าหรับใช้ อบรมทางด้านความประพฤติ(2) จิตตสิกขา คือข้อปฏิบัติสาหรับอบรมจิตให้เกิดสมาธิและ (3) ปัญญาสิกขา คือ ข้อปฏิบัติส าหรับอบรมปัญญาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่ก่อให้เกิดความ เป็นอยู่ที่ดี และเป็นพื้นฐานส า ...

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแนวพระพุทธศาสนามีคุณลักษณะอย่างไร

ผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบพุทธ จะมีลักษณะเด่น คือ มีคุณธรรม ๒ ประการประจำตน ๑. มีปัญญา ซึ่งเกิดพร้อมกับการสิ้นอวิชชา ๒. มีกรุณา ซึ่งเป็นแรงเร้าในการกระทำในการดำรงชีวิต จะมีลักษณะ ๒ คือ อัตตัตถะ การบรรลุถึงประโยชน์ตน ฝึกตนเองได้ดี (ปัญญา)

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการศึกษาหมายถึงสิ่งใด

พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษาที่เน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยกับวิธีการแก้ปัญหา เพื่อการพัฒนาตนได้ถูกต้อง พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์และสันติภาพแก่บุคคล สังคม และโลก สาระการเรียนรู้

การศึกษาธรรมคืออะไร

การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือที่เรียกกันว่า นักธรรม เกิดขึ้นตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นการศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาไทย เพื่อให้ภิกษุสามเณรผู้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาสามารถศึกษาพระธรรมวินัยได้สะดวกและทั่วถึง อันจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่สัมมาปฏิบัติ ตลอดจนเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกล ...