สภาพภูมิศาสตร์ประเทศไทย ทั้ง 6 เขต

การแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์

          การแบ่งภูมิภาคมีประโยชน์ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นภายในกรอบของพื้นที่รวมทั้งหมด แต่การแบ่งภูมิภาคอาจทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้เนื่องจากการแบ่งนั้นกระทำได้หลายวิธีแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ และเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการแบ่งก็จะแตกต่างกันสุดแต่ว่าจะเป็นวิธีการของหน่วยงานใดหรือนักวิชาการสาขาใด สำหรับงานจัดทำอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ของราชบัณฑิตยสถานยึดถือตามการแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ การแบ่งดังกล่าวนี้ ได้อาศัยเกณฑ์ในด้านลักษณะภูมิประเทศเป็นสำคัญ แต่ก็ได้นำลักษณะทางด้านภูมิอากาศ วัฒนธรรมด้านเชื้อชาติ ภาษา และความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่นมาเป็นส่วนประกอบในการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น ๖ ภูมิภาค คือ
๑. ภาคเหนือ มี ๙ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์
๒. ภาคกลาง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร และอีก ๒๑ จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
๓. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี ๑๙ จังหวัด ได้แก่ หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
๔. ภาคตะวันออก มี ๗ จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
๕. ภาคตะวันตก มี ๕ จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
๖. ภาคใต้ มี ๑๔ จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต พัทลุง ตรัง ปัตตานี สงขลา สตูล นราธิวาส และยะลา
นอกจากการแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ตามข้อเสนอของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติแล้ว ยังมีหน่วยงานที่จัดแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยที่สำคัญอีกหน่วยงานหนึ่งคือ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น ๖ ภาค และมีขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เหมือนกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ แต่ขอบเขตของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกแตกต่างไปจากภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ดังนี้
 –ภาคเหนือ มี ๑๗ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และ อุทัยธานี
 –ภาคกลาง มี ๙ จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
 –ภาคตะวันออก มี ๙ จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา
สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
 –ภาคตะวันตก มี ๘ จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

นางสาวนฤมล  บุญแต่ง
นักวรรณศิลป์ ๗ ว
กองธรรมศาสตร์และการเมือง

 

 

สภาพภูมิศาสตร์ประเทศไทย ทั้ง 6 เขต

               สภาวิจัยแห่งชาติได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภูมิภาค ตามลักษณะธรรมชาติ รวมไปถึงธรณีสัณฐานและทางน้ำ รวมไปถึงรูปแบบวัฒนธรรมมนุษย์ โดยภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะตั้งอยู่บนที่ราบตอนกลางของประเทศ แต่เนื่องจากมันเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด เขตมหานครแห่งนี้จึงอาจพิจารณาได้ว่าเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งของประเทศ ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ทั้งหกนี้มีความแตกต่างกันโดยมีเอกลักษณ์ของตนเองในด้านประชากร ทรัพยากรพื้นฐาน ลักษณะธรรมชาติ และระดับของพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ ความหลากหลายในภูมิภาคต่าง ๆ เหล่านี้ได้เป็นส่วนสำคัญต่อลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย
                พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือแบบสะวันนาตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบคอบเปน ในขณะที่ภาคใต้และทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเป็นเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-41°C ในฤดูแล้ง อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของเดือนมีนาคม โดยสูงกว่า 40°C ในบางพื้นที่ในช่วงกลางเดือนเมษายนเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านจุดเหนือศีรษะ

                 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดเข้าสู่ประเทศไทยระหว่างเดือนพฤษภาคมและกรกฎาคม (ยกเว้นภาคใต้) เป็นจุดบ่งชี้ว่าประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งกินเวลาจนถึงเดือนตุลาคม และเมฆซึ่งปกคลุมทำให้อุณหภูมิลดลง แต่มีความชื้นสูงมาก เดือนพฤศจิกายนและเดือนธนวาคมเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูแล้งและอุณหภูมิในเวลากลางคืนเหนือพื้นดินสามารถลดต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมกราคม เมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงมายังภูมิประเทศ ฤดูแล้งในภาคใต้มีระยะเวลาสั้นที่สุด เนื่องจากการที่ภาคใต้ตั้งอยู่ใกล้ทะเลจากทุกด้านในคาบสมุทรมลายู พื้นที่ทั้งประเทศได้รับปริมาณฝนอย่างเพียงพอ ยกเว้นบางพื้นที่เท่านั้น แต่ระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง

สภาพภูมิศาสตร์ประเทศไทย ทั้ง 6 เขต
สภาพภูมิศาสตร์ประเทศไทย ทั้ง 6 เขต

สภาพภูมิศาสตร์ของประเทศไทยทั้งหกเขตมีอะไรบ้าง

เขตภูเขาและหุบเขาภาคเหนือ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา แนวเทือกเขาทอดตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้ ... .
เขตที่ราบลุ่มภาคกลาง ... .
เขตเทือกเขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ... .
เขตภูเขาและที่ราบภาคตะวันออก ... .
เขตเทือกเขาภาคตะวันตก ... .
เขตคาบสมุทรภาคใต้.

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย มีอะไรบ้าง

ลักษณะภูมิประเทศที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของประเทศไทย คือ ภูเขาสูง ที่ราบลุ่มตอนกลาง และที่ราบสูงภาคเหนือของไทยมีภูเขาทอดผ่านเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ชายแดนพม่าผ่านคอคอดกระและคาบสมุทรมลายู ที่ราบตอนกลางเป็นพื้นที่ลุ่มซึ่งระบายน้ำโดยแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสายย่อย ทั้งนี้ แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นระบบแม่น้ำที่สำคัญของประเทศ โดย ...

ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค

สภาวิจัยแห่งชาติได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภูมิภาค ตามลักษณะธรรมชาติ รวมไปถึงธรณีสัณฐานและทางน้ำ รวมไปถึงรูปแบบวัฒนธรรมมนุษย์ โดยภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะตั้งอยู่บนที่ราบตอนกลางของประเทศ แต่เนื่องจากเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ ...

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตภูมิภาคใด

ประเทศไทยตั้งอยู่ตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ในระหว่างเส้นรุ้งที่ 5' 40'เหนือ และ 20' 30' เหนือ และในระหว่างเส้นแวงที่ 97' 22' ตะวันออก และ 105' 37' ตะวันออก มีเนื้อที่ ทั่วประเทศรวม 320,696,950 ไร่ หรือประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทางทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพ ...