แผนกิจกรรมการผลิตหรือการบริการ คือ

การวางแผนธุรกิจ (Business Planning)

          จุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนระบบการวางแผนและควบคุมการผลิตคือแผนธุรกิจ (Business Plan) ซึ่งเป็นการวางเป้าหมายการขายของธุรกิจในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า ว่า Business Plan จะวางเป้าหมายในการทำธุรกิจว่าจะไปในทิศทางใดโดยที่มุ่งในหัวข้อต่างๆดังนี้

-  จะขายสินค้า หรือบริการใด

-  ลูกค้ากลุ่มไหนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการขายสินค้า/บริการ

อะไรที่จะเป็นจุดขายที่จะทำให้ลูกค้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเรา

เงินทุนที่ต้องใช้มากน้อยเพียงไร และจะหามาจากแหล่งทุนใด

ผลตอบแทนที่คาดหวังจะได้รับจากการทำธุรกิจ

          ในระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning) และวัสดุคงคลัง (Inventory) แต่ละระดับของการวางแผนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่สำคัญคือ

1.  ส่วนของแผนด้านผลผลิต (จากแผนผังที่1ด้านซ้ายมือต้องพิจารณาว่าเราควรจะผลิตอะไร จำนวนเท่าไร และเมื่อไร โดยจัดลำดับตามความสำคัญ และความเร่งด่วนในส่วนการผลิต

2.  แผนกำลังการผลิต (ด้านขวามือ) ต้องดูแผนด้านผลผลิตที่กำหนดขึ้นมีความเป็นไปได้ในด้านกำลังการผลิตหรือไม่โดยการพิจารณากำลังการผลิตจำเป็นจะต้องคำนึงถึงความประหยัดด้วย นั่นคือการคือการพิจารณาแหล่งกำลังการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งในบางครั้งอาจต้องมีการปรับเลื่อนกำหนดการในตารางการผลิตเสียใหม่ เพื่อให้มีความเป็นไปได้ และประหยัด

         ทัั้ง 2 ส่วนเป็นแผนที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการ (อุปสงค์) และสินค้าหรือบริการที่พร้อมจะขายในตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการ (อุปทาน)ในกระบวนการนี้แผนการดำเนิน
งานในรูปแบบของแผนการผลิตและแผนการขายจะถูกวางไปพร้อมๆกันเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีสินค้าหรือบริการมาตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้น
ประกอบด้วยแผนการผลิต(Production Plan) และแผนการขาย (Sale Plan)


แผนผังที่ 1


การกำหนดตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling)

          ตารางการผลิตหลักจะกำหนดจำนวนของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่จะต้องทำการผลิตให้แล้วเสร็จตามช่วงเวลา
ต่าง ๆ
ตารางการผลิตหลักนี้ก็จะถูกนำไปกำหนดแผนสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนชนิดต่างๆ จากผู้ผลิตภายนอกกำหนดตารางการผลิตสำหรับชิ้นส่วนที่จะทำในโรงงาน โดยเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องได้จังหวะและสอดคล้องกับ
วันกำหนดส่งผลิตภัณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในตารางหลัก (Master Scheduling)
และต้องสอดคล้องกับกําลังการผลิตของโรงงาน ซึ่งไม่ควรจะให้มีจำนวนของผลิตภัณฑ์มากกว่าความสามารถของโรงงานที่จะทำการผลิตได้

          ตารางการผลิตหลักจะแสดงถึงชนิดและจำนวนผลผลิต ที่จะต้องจัดหามาในแต่ละช่วงเวลาโดยจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังนี้

-  ผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง

-  ผลิตเมื่อไร

-  จะเสร็จเมื่อไร

-  รายละเอียดของวัสดุที่ต้องการใช้

-  ข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนกำลังการผลิต

          โดยผลรวมของการผลิตตามแผนการผลิตหลักทั้งหมดนั้นจะเท่ากับแผนการผลิตรวม (Aggregate Production Planning) ซึ่งจะมีส่วนประกอบสำคัญดังแสดงในแผนภูมิต่อไปนี้

การวางแผนการผลิต (Production Planning)

          การวางแผนการผลิต / กำลังการผลิต (Production Planning / Capacity Planning) มี 2 แบบคือ

1.  การวางแผนกำลังแบบขั้นต้น / แบบหยาบ (Rough-cut Capacity Planning : RCCP) ใช้สำหรับเปรียบเทียบกำลังการผลิตที่ต้องการจากแผนการผลิตหลักกับทรัพยากรหลักๆทุกประเภทโดยดูตามช่วงเวลาที่มีความต้องการเกิดขึ้น ารวางแผนกำลังการผลิต จะเกี่ยวข้องกับการคำนวณหากำลังการผลิตของเครื่องจักรและแรงงานที่ต้องการสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนที่กําหนดไว้ในตารางการผลิตหลักผลจากการคำนวณที่ได้นี้ จะต้องนำไปเปรียบเทียบกับกำลังการผลิตของเครื่องจักรและแรงงานที่มีอยู่ว่าเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอจะได้ดำเนินการหาทางปรับปรุงแก้ไขต่อไปเช่น ทำล่วงเวลา จ้างผู้ รับเหมาช่วงจากภายนอกหรืออาจจำเป็นจะต้องมีการปรับแก้ไขตารางการผลิตหลัก ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงความประหยัด และความพึงพอใจของลูกค้าด้วย วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ทำได้โดยการนำข้อมูลจากแผนลำดับการผลิตหลัก 2 อย่างมาใช้คือ กำลังการผลิตทั้งหมด (คิดเป็นชั่วโมง) ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหนึ่งหน่วยโดยแยกเป็นชั่วโมงแรงงานต่อหน่วย ชั่วโมงเครื่องจักรต่อหน่วย ฯลฯ ซึ่งก็คือเวลามาตรฐาน (standard time)ประวัติการใช้สถานีการผลิตนั้นคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับการใช้ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งเรียกว่าปัจจัยการวางแผน (planning factor)

2.  การวางแผนความต้องการกำลังการผลิต (Capacity Requirements Planning: CRP) ใช้สำหรับเปรียบเทียบกำลังการผลิตที่ต้องการกับแผนความต้องการวัสดุกับทรัพยากรโดยละเอียด การวางแผนความต้องการกำลังการผลิต จะเกี่ยวข้องกับการคำนวณหากำลังการผลิตของเครื่องจักร และ แรงงานที่ต้องการ ในการผลิตชิ้นส่วนให้เสร็จตามจำนวนและกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในทุกขั้นตอนของการผลิตลัก การวางแผนความต้องการกำลังการผลิตคล้ายกับการวางแผนกำลังการผลิตขั้นต้น เพียงแต่การวางแผนความต้องการกำลังการผลิตจะคำนวณทุกหน่วยผลิตที่ผลิตชิ้นส่วนหรือวัสดุทุกรายการ ส่วนการวางแผนกำลังการผลิตขั้นต้นจะคำนวณกำลังการผลิตที่ต้องการเฉพาะจากหน่วยผลิตที่สำคัญเท่านั้น สำหรับการออกใบสั่งผลิตจากระบบ MRP จะมีความน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อได้ผ่านการกลั่นกรองด้านกำลังการผลิตว่ามีเพียงพอต่อความต้องการที่จะผลิต