หลักการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชน blockchain

บล็อกเชนคือเทคโนโลยีบัญชีแบบกระจายศูนย์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของระบบแบบรวมศูนย์ที่มีอำนาจการควบคุมและตัดสินใจเพียงคนกลุ่มเดียว ซึ่งการเก็บข้อมูลของบล็อกเชนจะเป็นในรูปแบบของบล็อก (ฺBlock) และเชื่อมโยงกันในเครือข่ายเหมือนห่วงโซ่ (Chain) ทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลชุดเดียวกัน เชื่อมต่อกันแบบผู้คนสู่ผู้คน (Peer-to-Peer) กล่าวคือ ทุกคนสามารถตรวจสอบธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายได้ และใช้ Consensus Algorithm ในการหาฉันทามติเมื่อมีธุรกรรมใหม่เกิดขึ้น

หลักการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชน blockchain

การกระจายศูนย์ (Decentralization)

หนึ่งในข้อดีหลักของเทคโนโลยีบล็อกเชน คือความจำเป็นของตัวกลางหรือบุคคลที่สามจะถูกกำจัดออกไป และถูกแทนที่ด้วยการตรวจสอบของคนในระบบด้วยกลไกการทำงานของบล็อกเชนที่สามารถจัดการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมได้

โดยทั่วไปแล้ว การป้องกันระบบถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการเก็บข้อมูล ยิ่งเป็นระบบที่ต้องทำงานร่วมกับบุคคลที่สามหรือองค์กรก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการถูกแทรกแซง การรักษาความปลอดภัยต้องใช้ทั้งเงินและเวลาเป็นอย่างมากสำหรับระบบการเก็บข้อมูลแบบทั่วไป

การทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถช่วยลดเวลาและต้นทุนในการป้องกันระบบ เนื่องจากทุกธุรกรรมที่อยู่บนบล็อกเชนมีหลักฐาน โดยจะถูกคัดลอกไปยังคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายบนบล็อกเชน หมายความว่าทุกคนสามารถตรวจสอบข้อมูลธุรกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชนได้อย่างอิสระ

บัญชีแบบกระจายศูนย์ของบล็อกเชนสามารถบันทึกการกระทำ ข้อมูล และธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ ธุรกรรมทั้งหมดจะถูกเปิดเผยแบบสาธารณะ ความน่าเชื่อถือเหล่านี้เกิดขึ้นจากผู้ที่มีส่วนร่วมในระบบที่ไม่มีใครรู้จักกัน ไม่จำเป็นต้องไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่จะตรวจสอบความถูกต้องของกันและกันตามข้อตกลงของบล็อกเชน จึงทำให้มีความโปร่งใสและน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก

ตามปกติการแลกเปลี่ยนหรือทำสัญญาจะต้องผ่านหลายกระบวนการก่อนที่จะถึงปลายทาง ในบางอุตสาหกรรมอาจใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน เทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยประหยัดเวลาได้เป็นอย่างมากอาจไม่กี่นาทีหรือบางทีบล็อกเชนอาจไม่ถึงนาที

ถือว่าเป็นข้อเสียในข้อดีที่ระบบไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ เมื่อข้อมูลถูกบรรจุลงในบล็อกเชนแล้วจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะย้อนกลับไปแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการทำธุรกรรมทุกครั้งควรจะตรวจสอบให้ดีก่อน

จากกรณีตัวอย่างเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ.2020 มีใครบางคนโอนบิตคอยน์ 0.01088549 BTC หรือมูลค่า 5,893 บาท ด้วยค่าธรรมเนียม 2.66 BTC หรือ 1,428,377 บาท (ราคา ณ ขณะนั้น) จากกรณีดังกล่าวคาดว่าผู้โอนน่าจะใส่จำนวนเหรียญที่จะทำการโอนสลับกับช่องค่าธรรมเนียม ด้วยกระเป๋าที่สามารถระบุค่าทำเนียมเองได้ ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมากที่ต้องตรวจสอบทุกครั้งก่อนทำธุรกรรม

บล็อกเชนนั้นเปลืองพลังงานอย่างมาก โดยพลังงานมีความจำเป็นต่อการเก็บรักษาบัญชีแบบเรียลไทม์ ทุกครั้งที่เกิดธุรกรรม นักขุดในเครือข่ายจะต้องใช้พลังงานในการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ พลังงานจะถูกใช้เพื่อการตรวจสอบ แก้ไขสมการ และจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ อย่างถาวร ทุกการกระทำเหล่านี้จะผลาญพลังงานไฟฟ้าไปอย่างมาก

ในทางทฤษฎีบล็อกเชนสามารถถูกแทรกเซงได้

การจะเข้าแทรกแซงบล็อกเชนได้จำเป็นต้องใช้พลังงานมากกว่า 51% ของทั้งระบบ เพื่อทำให้เสียงส่วนใหญ่บนบล็อกเชนเห็นชอบกับข้อมูล บล็อกเชนที่มีจำนวนโหนดหรือผู้ใช้น้อย จึงมีความเป็นไปได้ที่จะถูกโจมตีได้ง่าย อย่างไรก็ตาม แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในทางปฎิบัติ โดยเฉพาะเครือข่ายที่มีการกระจายตัวสูงอย่างบิตคอยน์ ยิ่งมีผู้มีส่วนร่วมมากยิ่งทำให้เครือข่ายมีความแข็งแกร่ง ปลอดภัย และโปร่งใสมากเท่านั้น

บล็อกเชนไม่สามารถปรับแก้ไขระบบได้ง่ายดายเหมือนระบบรวมศูนย์ที่สามารถปรับระบบได้ตลอดเวลา ปัญหาของเครือข่ายที่พบได้มากก็คือเรื่องของการขยายระบบ ในบางเครือข่าย เช่น บิตคอยน์ บางครั้งผู้ใช้อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการยืนยันธุรกรรม

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีความพยายามที่จะพัฒนาแก้ไขเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ระบบสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น ลดปัญหาคอขวด และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในอนาคตได้

ปัจจุบัน การเก็บรักษา Private key สามารถทำได้ง่ายขึ้นหากเทียบกับเมื่อก่อน แต่ก็ยังพูดได้ว่ายังเป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ เนื่องจากผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีอยู่ระดับหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถเก็บรักษา Private key ได้อย่างปลอดภัย

การเก็บรักษานั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ หากผู้ใช้ไม่มีวิธีเก็บที่ปลอดภัยและรัดกุมมากพอ อาจทำให้สูญเสียบัญชีไปตลอดกาลได้

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีประโยชน์อย่างมากในรูปแบบของการเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ แต่ก็ยังคงมีข้อเสียอยู่บ้าง จึงอาจทำให้มันไม่เหมาะสำหรับบางอุตสาหกรรม

เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถตัดตัวกลางในการดำเนินการต่าง ๆ ทำให้ระบบมีความโปร่งใส ปัจจุบัน นักพัฒนากำลังพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น และเพื่อให้สามารถตอบรับกับความต้องการของผู้ใช้ได้ในอนาคตได้

Blockchain (บล็อกเชน) คำศัพท์ใหม่ ที่เราเริ่มได้ยินตามสื่อต่างๆ รวมถึงตามงานสัมมนากันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน FinTech บทความนี้ผู้เขียนตั้งใจจะขออธิบาย concept ของมัน โดยเฉพาะเรื่องประโยชน์และการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้

หลักการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชน blockchain

Blockchain (บล็อกเชน) คืออะไร และสำคัญอย่างไร

"Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง"

โดยปกติแล้วเรามักต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม (centralized trusted party) มาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม  ถ้าท่านผู้อ่านเคยทำธุรกรรมออนไลน์ จะสังเกตเห็นว่า มักจะต้องมีคำที่ระบุว่า Secured by หรือ Protected by ตามด้วยชื่อตัวกลางใดๆ

แน่นอนว่า Trust เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่อย่างนั้นเราจะกล้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิตได้อย่างไร โดยที่ยังมั่นใจว่ามันจะไม่รั่วไหล หรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลง

การมาของบล็อกเชนมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ประโยชน์ของมันคือมันเป็นเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ทีนี้ธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ก็จะสามารถทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น ใส่ความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น creative มากขึ้น innovative มากขึ้น ประหยัดขึ้น รวดเร็วขึ้น มันเรียกได้ว่าเป็น “transfer of trust in a trustless world” เพราะถึงแม้สองบุคคลจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วยความมั่นใจ พูดถึงคำว่าแลกเปลี่ยนข้อมูล ก็มีการประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทีเดียว เราจึงตื่นเต้นกันว่าบล็อกเชนนี่แหละ ต่อไปจะเป็น Game changer

การทำงานของ Blockchain

บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆ คนเป็น โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ

เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน  มันจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เวลาที่มีใครต้องการจะเพิ่มข้อมูล ทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction โดย Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาต ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง

Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไร

บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล

บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล

จะเห็นได้ว่า บล็อกเชน ไม่ใช่ บิทคอยน์ และบิทคอยน์ ก็ไม่ใช่บล็อกเชน แต่โมเดลบิทคอยน์ มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย

และเพราะว่า บล็อกเชน ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะบิทคอยน์ หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ มาจากความพยายามในการทำบิทคอยน์

ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้

เช่น วงการอสังหาริมทรัพย์ สามารถประยุกต์ใช้ทำ Smart contract โดยถ้าสัญญาอยู่ในบล็อกเชน ทุกคนจะเห็นข้อมูลตรงกัน เราจึงสามารถไว้ใจให้ระบบ Automate ปฏิบัติงานใดๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย ดังที่มีการสรุปไว้ในแผนภาพนี้

ทิ้งท้าย

ขอแนะนำให้นำคีย์เวิร์ดต่างๆ บนภาพข้างต้นนี้ ไปลองศึกษาเพิ่มเติมนะคะ ความจริงเรื่องของบล็อกเชน มีข้อมูลอีกมากมายที่รอให้ท่านศึกษา ทั้งนี้ท่านสามารถเซิร์จอ่านได้ทั้ง Financial blockchain และ Non-financial blockchain จะพบกับตัวอย่างการประยุกต์ใช้มากมาย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจคอนเซปต์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนมากขึ้น ไว้มีโอกาสจะนำเสนอคำศัพท์อื่นๆ เพิ่มเติมอีกค่ะ

บทความที่คุณอาจสนใจ

DeFi 101 เริ่มต้นเรียนรู้โลก DeFi ฉบับมือใหม่ โอกาสทางการเงินแห่งอนาคต

รู้จักกับ Unicorn ในวงการสตาร์ทอัพ พร้อมทิศทางการเกิด Unicorn ในไทย

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก letstalkpayments.com, cryptocoinsnews.com

ซึ่งเรามีบทความที่แนะนำให้อ่านต่อ เป็นสรุปการบรรยายจาก Chris Skinner ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับบล็อกเชน อ่านได้ที่นี่

อีกทั้งสามารถอ่านเกี่ยวกับบล็อกเชนเพิ่มเติมใน Techsauce คลิกเลือก Tag Blockchain หรือ คลิกที่นี่ ได้เลยค่ะ

หลักการทํางานของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร

Blockchain คือวิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง นึกภาพง่าย ๆ ว่า พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวม ๆ กันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั้นเอง

หลักการทํางานของเทคโนโลยี Blockchain มีกี่ขั้นตอน

บล็อกเชนทำงานอย่างไร.
ขั้นตอนที่ 1 – บันทึกธุรกรรม ธุรกรรมในบล็อกเชนจะแสดงการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ที่จับต้องได้หรือดิจิทัลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งในเครือข่ายบล็อกเชน โดยจะบันทึกเป็นบล็อกข้อมูลและอาจมีรายละเอียดต่างๆ เช่น ... .
ขั้นตอนที่ 2 – รับฉันทามติ ... .
ขั้นตอนที่ 3 – เชื่อมโยงบล็อก ... .
ขั้นตอนที่ 4 – แบ่งปันบัญชีแยกประเภท.

Blockchain คืออะไร มีหลักการทํางานอย่างไร และมีบทบาทอย่างไรกับการทํางานของโปรแกรมต่างๆ *

Blockchain คือเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง เมื่อมีการอัปเดตข้อมูลใด ๆ สำเนาข้อมูลในฐาน ...

หลักการทำงานของบล็อกเชนจะเก็บข้อมูลไว้ที่ใด

สิ่งที่ทำให้ Blockchain แตกต่างจาก Database ทั่ว ๆ ไปคือโครงสร้างในการจัดเก็บข้อมูลครับ สำหรับ Blockchain จะมีการเก็บข้อมูลเอาไว้ด้วยกันเป็นแบบกลุ่ม หรือที่เราเรียกกันว่า Block ซึ่งมัดรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุด โดยตัวของ Block เองก็จะมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายในตัวของมัน และเมื่อมีการใส่ข้อมูลไปแล้ว จะมีการนำ Block ...