พระพุทธเจ้าเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ เช่น

            ��÷����������˹������ö����ظ��� ����С����ʹ����������ͧ�ִ�˹���Ƿҧ�Ե��ҹѺ�� 2551 ���蹹�� �������繪Ѵ�֧�ѡ��Ҿ�ͧ������������ö�Ѳ�ҵ��ͧ������˹�ҷ�駷ҧ�ѵ����ШԵ����ҧ�๡͹ѹ���� ��Ҩ֧��ͧ���������ѡ�����դ�����������������ö������Шҡ��Ԫ�Ҵ��¡���֡�����ҧ��ԧ�ѧ������Է����ʵ�� ���͹����ѧ��������»ѭ���������ԧ

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สำคัญศาสนาหนึ่งของโลก ถือว่าเป็นมรดกแห่งอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติอำนวยประโยชน์สุขเป็นอันมากให้แก่ชาวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิปัญญาอันสูงส่งที่สามารถทำให้มนุษย์ ได้ค้นพบสันติภาพ อิสรภาพ และความรักอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ยอมรับขององค์การสหประชาชาติ เพราะพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นมาโดยมีมนุษยชาติเป็นศูนย์กลางนั่นเอง

เมื่อกล่าวถึงการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ศาสนาถือว่าเป็นเรื่องของจิตใจที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ เพราะศาสนาเกิดจากความเชื่อและประสบการณ์ของมนุษย์ที่ต้องการความมั่นใจและความปลอดภัยของมนุษย์ที่ต้องการความมั่นใจและความปลอดภัยจากความกลัวในสิ่งที่นอกเหนือจากความสามารถของมนุษย์ จึงเกิดความเชื่อเรื่องวิญญาณภายนอกและเทพเจ้าต่าง ๆ ที่มีอำนาจเหนือมนุษย์และสามารถดลบันดาลได้ สูงขึ้นไปจนกระทั่งมีเทพสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวที่เรียกว่า เทพเจ้าสูงสุด ที่มนุษย์จะต้องเซ่นสรวงสังเวย เอาใจให้ท่านโปรดปรานประทานพรปกห้องคุ้มครองรักษาตนเองและเผ่าพันธุ์มนุษย์

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหนึ่งถือกำเนิดขึ้น โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประกาศพระศาสนา พระองค์มีพระชนม์อยู่ก่อนพุทธศักราช 80 ปี การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการประการศักยภาพของเผ่าพันธุ์มนุษย์เป็นครั้งแรกในโลก ให้ชาวโลกได้รู้ว่า มนุษย์เท่านั้นที่สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้ และเป็นไปได้ด้วยกำลังความสามารถแห่งมันสมองที่ประกอบด้วยสติปัญญาและเรี่ยวแรงแห่งความพยายามด้วยตนเอง ไม่มีใครมากำหนดชี้ชะตาดลบันดาลหรือใช้อิทธิพลให้กลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ดังประวัติพระพุทธศาสนาปรากฏชัดว่า พระองค์ลงมือทดลองค้นคว้าด้วยประสบการณ์ตรงด้วยพระองค์เองทุกวิธีและวิถีทาง (เช่น ทำทุกรกิริยา) ที่จะบรรลุถึงความดับทุกข์ที่มีอยู่ประจำในร่างกายและจิตใจมวลมนุษยชาติมาช้านานไม่มีที่สิ้นสุด

ด้วยศักยภาพทางสมองที่ฉลาดสูงส่ง ทรงมีจิตใจที่แน่วแน่มั่นคง ทรงอดทนและมีความพยายามอย่างยิ่งยวด จึงส่งผลให้พระองค์ทรงเป็นมนุษย์คนแรกที่ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ด้วยการตรัสรู้ความจริงของสิ่งมีชีวิตครอบคลุมถึงสรรพสิ่งที่ไม่มีชีวิต นั่นคือ อริยสัจ 4 ได้แก่ การรู้แจ้งชัดด้วยปัญญาญาณ ในความจริงที่ว่าด้วยทุกข์ (ทุกข์) สาเหตุของทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) และข้อปฏิบัติที่จะระงับดับทุกข์ (มรรค) (พระมหานพดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก. 2545 : 45-46)

การศึกษาพุทธประวัติของพระองค์ และเข้าใจหลักพื้นฐานของพระพุทธศาสนา คือตัวอย่างที่พระพุทธองค์ทรงเป็นมนุษย์ที่พัฒนาตนได้อย่างสูงสุด พระธรรมปิฎก (2535 : 92-96) ได้กล่าวไว้ถึงศักยภาพของพระพุทธเจ้าไว้ดังนี้คือ

1. พระพุทธองค์ทรงประกาศอิสรภาพของมนุษย์ พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในท่ามกลางความเชื่อตามหลักศาสนาพราหมณ์ ที่ถือว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก เทพเจ้าเป็นผู้บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์จะต้องบวงสรวงอ้อนวอนด้วยพิธีกรรม ซึ่งคิดจัดสรรกันต่าง ๆ ให้เทพเจ้าถูกอกถูกใจ มีความใหญ่โตพิสดาร จนกระทั่งถึงกับมีวิธีบูชายัญแบบต่าง ๆ มากมาย เพื่อเอาใจเทพเจ้าให้โปรดปรานแล้วจะได้บันดาลผลที่ต้องการให้แก่ตน คัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ กำหนดว่า คนเกิดมาแยกเป็นวรรณะสี่ เพราะว่าพระพรหมท่านสร้างมาอย่างนั้น เกิดมาในชั้นวรรณะไหน ก็ต้องเป็นอย่างนั้นตลอดชาติ แก้ไขไม่ได้ ทุกอย่างถูกครอบงำกำหนดด้วยการดลบันดาลของเทพเจ้า

เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น สิ่งแรกที่ถือว่าเกิดขึ้นพร้อมกับการอุบัติของเจ้าชาวสิทธัตถะคือ การประกาศอิสรภาพของมนุษย์ ถ้าใครสังเกตจะนึกได้ว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ มีเหตุการณ์ที่เป็นสัญลักษณ์ว่าได้เสด็จย่างพระบาทไป 7 ก้าว ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก เราคือผู้เป็นใหญ่แห่งโลก”

พระดำรัสนี้ ถ้าไม่สังเกตให้ดีจะเข้าใจผิดว่า ทำไมเจ้าชายสิทธัตถะมาอวดตัวว่ายิ่งใหญ่ แต่พึงทราบว่านี้คือการประกาศอิสรภาพของมนุษย์ เพราะหลักการต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงต่อมาจะบอกเราว่า มนุษย์มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองได้สูงสุด เมื่อมนุษย์พัฒนาตนเองแล้วก็เป็นผู้ประเสริฐสุด ดังมีพระองค์เป็นตัวอย่างในฐานะที่เป็นตัวแทนของมนุษย์คือการที่ทรงเป็น “พุทธะ” ซึ่งทุกคนก็เป็น “พุทธะ” ได้ทั้งนั้น เมื่อมนุษย์มีศักยภาพอย่างนี้จะได้ไม่มัวไปอ้อนวอนหวังพึ่งเทพเจ้าหรือำนาจดลบันดาลจากภายนอก จะได้หันมาเอาใจใส่พัฒนาตัวเอง และทำการต่าง ๆ ด้วยความเพียรพยายามของตน เมื่อเป็น “พุทธะ” แล้ว แม้แต่เทพเจ้า แม้แต่พระพรหมก็น้อมนมัสการ

คำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวถึงเรื่องนี้ ก็คือ “มนุสฺสภูตํ สมฺพุทฺธํ อตฺตทนฺตํ สมาหิตํ……. เทวาปิ นมสฺสนฺติ

ซึ่งบอกว่า “พระพุทธเจ้า แม้จะเป็นมนุษย์ แต่เป็นผู้ที่ได้ฝึกฝนพัฒนาตนแล้ว…..แม้เทพเจ้าทั้งหลาย (ไม่ว่าชั้นเทพหรือชั้นพรหม) ก็น้อมนมัสการ”

หลักการข้อนี้เป็นการเปลี่ยนท่าทีของมนุษย์เสียใหม่ ท่าทีของจิตใจที่มองไปข้างนอกในแบบที่คอยหวังพึ่งเทพเจ้า คอยรอการดลบันดาลของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ถูกกระตุกกลับอย่างแรง แล้วคนก็ถูกปลุกเร้าให้หันมามองดูที่ตัวเองว่า ภายในตัวของเขาเองนี้มีธรรมชาติแห่งความเป็นสัตว์ที่พัฒนาได้ ถ้าเธอฝึกฝนพัฒนาตนเธอจะเป็นผู้ประเสริฐ โดยไม่ต้องไปฝากชะตาชีวิตไว้กับเทพเจ้าเหล่านั้น แม่แต่เทพเหล่านั้นก็ต้องยอมรับในคุณค่าความประเสริฐของเธอ แล้วเขาก็จะมาน้อมนมัสการเอง

หลักนี้ก็คือ การมีความเชื่อหรือศรัทธาพื้นฐานว่า มนุษย์มีศักยภาพในการพัฒนาตนได้สูงสุดและให้มองพระพุทธเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นตัวแทนเป็นตัวอย่างของมนุษย์ที่พัฒนาตนเองแล้วได้สูงสุด

2. หลักการแก้ปัญญาด้วยการกระทำของมนุษย์ตามหลักเหตุผล ไม่หวังการอ้อนวอนจากปัจจัยภายนอก หลักการนี้จะเห็นได้จากตัวอย่างคำสอนในคาถาธรรมบท ซึ่งถือเป็นการประกาศหลักการใหญ่ภาคปฏิบัติของพระพุทธศาสนา คาถานั้นว่า “พหุ เว สรณํ ยนฺติ…..”

เริ่มต้น คาถานี้ก็บอกให้ทราบว่า วิถีชีวิตของมนุษย์ก่อนพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ดังข้อความว่า “มนุษย์ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้ว”นี่ตรงกับเรื่องการเกิดขึ้นของศาสนาทั้งหลาย ในพุทธพจน์ท่านตรัสว่า“มนุษย์ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้ว พากันถึงเข้าป่าเจ้าเขา เจ้าภูผา ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่พึ่ง แต่สิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่สรณะอันเกษมเมื่อยึดเอาสิ่งเหล่านั้นเป็นสรณะ ย่อมไม่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง”

“แต่ชนเหล่าใดมาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ รู้เข้าใจอริยสัจ 4 เห็นปัญหา เหตุเกิดของปัญหา ภาวะไร้ปัญหาและวิธีปฏิบัติให้ถึงความสิ้นปัญหาจึงจะสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้”

นี่คือ จุดหักเหที่เบนจากการอ้อนวอนหวังพึ่งเทพเจ้า มาสู่การกระทำของมนุษย์ ถ้าเราไม่รู้หลักนี้เราอาจจะเผลอนับถือพระรัตนตรัยแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาทั่ว ๆ ไป ทั้งหลายพระรัตนตรัยเริ่มจากพระพุทธเจ้า คือ ตัวอย่างของมนุษย์ที่พัฒนาตนได้สูงสุดและใช้ปัญญาแก้ปัญหาได้เสร็จสิ้น ซึ่งเป็นการเตือนใจมนุษย์ทุกคนว่า เรามีศักยภาพนี้อยู่ในตัวและจึงมีหน้าที่ที่จะต้องพัฒนาตนเอง การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะนั้น คือเป็นการเตือนใจตัวเราพอระลึกถึงพระรัตนตรัย นึกถึงพระพุทธเจ้าก็ต้องเกิดความสำนึกที่จะใช้ปัญญาแก้ปัญหาและพัฒนาตนทันทีนี่คือการเตือนจิตสำนึกในศักยภาพของตัวเราเอง

พอนึกถึงพระธรรม ก็เตือนใจเราให้ระลึกว่า การที่จะพัฒนาตนได้นั้น ก็ต้องทำให้เป็นไปตามหลักปัจจัย เราจะต้องรู้เข้าใจกฎธรรมชาติต้องมองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย ต้องหยั่งถึงและปฏิบัติให้ถูกต้องตามความจริงแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

เมื่อนึกถึงพระสงฆ์ ก็คือชุมชนที่ประเสริฐ สังคมมนุษย์ที่ประกอบด้วยมนุษย์ที่พัฒนาตนได้โดยใช้กฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยนี้เอาความรู้นี้มาใช้ประโยชน์ พัฒนาตนได้สำเร็จนั้นเป็นจริงทำให้มีให้เป็นได้ และเป็นที่ปรากฏของการเข้าถึงความจริงของกฎธรรมชาติในทางปฏิบัติ หรือในเชิงประยุกต์เราจะต้องเข้าร่วม เข้าสังกัด ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนประเสริฐนี้

เหล่านี้คือหลักพระรัตนตรัย พอเราเชื่อในหลักการนี้ เราก็ต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีการของมนุษย์ที่เพียรทำการด้วยปัญญาที่รู้เหตุปัจจัยวิธีการแก้ปัญหาด้วยปัญญาของมนุษย์คือ อริยสัจ 4

นี่คือตัวอย่างของมนุษย์ที่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างสูงสุด พระพุทธองค์ทรงเข้าใจถึงความเป็นกฎธรรมชาติและมุ่งหวังให้มนุษย์หลุดพ้นจากวังวนแห่งวัฏสงสาร มนุษย์จะต้องแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาปัญญาของมนุษย์ เพื่อให้หลุดพ้นจากวังวนดังกล่าว

พระพุทธเจ้าจำแนกมนุษย์เป็นบัว 4 เหล่า

พระพุทธเจ้าเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ เช่น

ความหมายของบัวสี่เหล่าตามนัยอรรถกถา
1.ดอกบัวพ้นน้ำ(อุคคฏิตัญญู) พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
2.ดอกบัวบัวปริ่มน้ำ(วิปจิตัญญู) พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
3.ดอกบัวใต้น้ำ(เนยยะ) พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
4.ดอกบัวจมน้ำ(ปทปรมะ) พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน

วิธีการสอนของพระพุทธเจ้าวิธีการสอน

พระพุทธเจ้าได้รับยกย่องว่า ทรงเป็น “ พระบรมครู ” หรือ “ ศาสดาเอก ” ในโลกเพราะพระองค์ทรงมีวิธีสอนที่ดีเยี่ยม ทำให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง มีคำกล่าวว่า ถ้าพระพุทธองค์ทรงตัดสินพระทัยจะแสดงธรรมโปรดใคร เขาผู้นั้นย่อมได้บรรลุมรรคผลไม่ระดับใดก็ระดับหนึ่ง ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ในที่นี้กล่าวถึง หลักการสอน วิธีสอนธรรม และเทคนิควิธีสอนธรรมของพระพุทธองค์โดยสังเขป

1. หลักการสอน หมายถึง หลักการสอนทั่วไป มีอยู่ 4 ประการ ดงนี้

1.1 แจ่มแจ้ง อธิบายแจ่มแจ้งดุจนำมาวางให้ตรงหน้า

1.2 จูงใจ พูดจูงใจอยากปฏิบัติตามที่สอน

1.3 หาญกล้า ทำให้ผู้ฟังเกิดความกล้าหาญ มั่นใจที่จะปฏิบัติตาม

1.4 ร่าเริง ให้ผู้ฟังเกิดฉันทะในการฟัง สนุกสนานไปกับการสอน ไม่เบื่อ

2. วิธีสอน วิธีสอนของพระพุทธเจ้ามี 4 แบบ ดังนี้

2.1 แบบบรรยาย การสอนแบบนี้นี้ทรงใช้เสมอ ส่วนมากจะเป็นบรรยากาศที่มีผู้ฟังจำนวนมาก เช่น ที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร พระองค์จะเสด็จลงแสดงธรรมเทศนาในช่วงบ่ายของทุกวัน เมื่อครั้งแสดงธรรมครั้งแรกคือโปรดปัญจวัคคีย์ทรงใช้วิธีบรรยายตั้งแต่ต้นจนจบ

2.2 แบบสนทนา แบบนี้ทรงใช้บ่อยมาก อาจเพราะผู้ฟังมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น ทำให้การเรียนการสอนสนุก ผู้ฟังมีความรู้สึกว่าตนกำลังสนทนากับผู้สอน ไม่ใช่ “ ถูกสอน ” ในการสนทนาพระพุทธเจ้าทรงทำหน้าที่ซักถาม โยนประเด็นปัญหาให้ขบคิดแล้วทรงสรุปให้เข้าใจ

2.3 แบบตอบปัญหา แบ่งย่อยออกเป็น 4 อย่าง ดังนี้

(1) ตอบตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม ไม่มีเงื่อนไข เช่นถ้าถามว่า ทางพ้นทุกข์คืออะไร ตอบทันที่เลยว่าทางพ้นทุกข์คืออริยสัจสี่

(2) ย้อนถามก่อนแล้วค่อยตอบ ปัญหาบางอย่างจะตอบทันทีไม่ได้ ต้องย้อนถามเพื่อความแน่ใจก่อนแล้วค่อยตอบ เช่นถามว่า คนเราทำกรรมแล้ว ตายไปเกิดชาติหน้าจะตกนรกหรือขึ้นสวรรค์ ต้องย้อนถามว่า ที่ทำกรรมนั้น ทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว ถ้าทำกรรมดีย่อมขึ้นสวรรค์ ถ้าทำกรรมชั่วย่อมตกนรก ดังนี้เป็นต้น

(3) แยกประเด็นตอบ บางครั้งก็แยกตอบเป็นเรื่องๆ เป็นประเด็นๆไป ยกตัวอย่าง มีผู้ถามพระพุทธองค์ว่า พระองค์ตำหนิตบะ ( ความเข้มงวด )ทุกอย่างหรือไม่ พระพุทธองค์ทรงแยกแยะประเด็นตอบว่า ถ้าเป็นความเข้มงวดแบบทรมานตัวเองให้ลำบากต่างๆนานา พระพุทธองค์ทรงตำหนิ แต่ถ้าเป็นความเข้มงวดแบบธุดงควัตรพระองค์ทรงสรรเสริญ

(4) แบบตัดประเด็นหรือไม่ตอบ มีปัญหาบางอย่างที่พระองค์ไม่ทรงตอบเรียกว่า “ อัพยากตปัญหา ” เช่น ถามว่าโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง โลกมีที่สุดหรือไม่ พระอรหันต์ตายไปแล้วยังคงอยู่หรือไม่ เหตุผลที่ไม่ทรงตอบ เพราะว่า แม้จะรู้หรือไม่รู้ ก็ไม่ทำให้ทุกข์ที่มีอยู่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ในบางกรณีที่ผู้ถามต้องการให้ทรงขัดแย้งกับคนอื่น พระองค์ไม่ทรงตอบ เช่น ชาวกาลามะ แห่งหมู่บ้านเกสปุตตนิคม เล่าว่ามีเจ้าลัทธิต่างๆที่ผ่านมาต่างก็ดูถูกลัทธิของคนอื่นว่าผิด ของตนถูกต้อง แล้วทูลถาม

พระองค์ว่า พวกไหนสอนถูก พวกไหนสอนผิด พระองค์ตรัสว่า ใครจะสอนถูกสอนผิดช่างเถิด เราตถาคตจะแสดงธรรมให้ฟัง

3. เทคนิควิธีสอน พระพุทธเจ้าทรงใช้เทคนิคการสอนหลากหลาย คือ

3.1 ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม หรือ “ ทรงทำของยากให้ง่าย ” ธรรมะเป็นนามธรรมละเอียดอ่อนเข้าใจยาก พระองค์ทรงมีเทคนิควิธีทำให้ง่ายขึ้น ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น

(1) ใช้อุปมาอุปไมย บางเรื่องที่พึงรู้ได้ด้วยอุปมาอุปไมย พระองค์ทรงใช้ เช่น ตรัสบอกเหล่าสาวกของพระองค์ว่า ธรรมะที่ทรงตรัสรู้นั้นมีมากดุจใบไม้ในป่า แต่ทรงนำมานิดเดียวเฉพาะที่จำเป็นจะต้องรู้ ดุจใบไม้ในกำมือดังนี้ เป็นต้น

(2) ยกนิทานประกอบ ทรงยกนิทานชาดก ( เรื่องราวของพระองค์เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีในชาติก่อนๆ ) เช่น พระเวสสันดรชาดก หรือทรงนำนิทานพื้นบ้านโบราณมาเล่าให้ฟัง ดังเรื่อง ตาบอดคลำช้างแปดคน ต่างคนต่างคลำแต่ละส่วนของช้าง แล้วเข้าใจว่าตนรู้จักช้างดี จึงทะเลาะทุบตีกัน แล้วสรุปว่า “ คนที่รู้เห็นเพียงบางแง่มุมมักจะทะเลาะทุ่มเถียงกันเพราะทิฐิ ( ความเห็น )”

(3) ใช้สื่อการสอน พระพุทธองค์ทรงใช้สื่อการสอนเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจนขึ้น ดังทรงสอนสามเณรราหุลเรื่องโทษของการพูดเท็จทั้งที่รู้ โดยทรงใช้ขันตักน้ำเทลงทีละนิดจนหมดขันแล้วคว่ำขันลง แล้วทรงยกขันเปล่าขึ้น ตรัสสอนว่า คนที่พูดเท็จทั้งที่รู้ย่อมเทความดีงามออกทีละนิดจนหมดไปในที่สุด อีกครั้งหนึ่งทรงใช้แว่นส่องหน้าเป็นสื่อในการสอนเรื่อง สติสัมปชัญญะ แว่นมีไว้ส่องดูใบหน้าฉันใด สติสัมปชัญญะก็มีไว้กำกับตนเพื่อส่องดูเรื่องที่คิด การที่ทำและคำที่พูดฉันนั้น

3.2 ทำตนให้เป็นตัวอย่าง ในแง่การสอนอาจแบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ

(1) สาธิตให้ดูหรือทำให้ดู ดังเมื่อครั้งพระองค์ทรงสั่งให้พระอานนท์ผสมน้ำอุ่น แล้วทรงใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดร่างกายของพระภิกษุรูปหนึ่งที่ป่วยด้วยโรคพุพอง มีหนองไหลเยิ้ม ไม่มีเพื่อนภิกษุดูแล ทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วตรัสสอนว่า “ พวกเธอมาบวชในศาสนาของตถาคต ไม่มีพ่อไม่มีแม่ เมื่อพวกเธอไม่ดูแลกันเองในยามป่วยไข้ แล้วใครจะดูแล ”

(2) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ที่ปฏิบัติพระองค์ให้เป็นแบบอย่างที่ดี จึงได้รับการยกย่องว่า เป็นพระบรมครู เป็นศาสดาเอกในโลก

3.3 ทรงเลือกใช้คำให้เหมาะสม คำศัพท์ที่คนสมัยนั้นใช้อยู่แล้ว เช่น คำว่า พราหมณ์ ภิกษุ เทพ เป็นต้น พระองค์ทรงนำเอามาใช้สอนธรรม แต่ให้ความหมายใหม่ วิธีนี้ทำให้ผู้ฟังให้ความสนใจและเข้าใจได้ง่ายเพราะได้เทียบเคียงกับความหมายเดิม

ครั้งหนึ่งพราหมณ์คนหนึ่งมาชวนให้พระพุทธเจ้าไปอาบน้ำ อ้างว่าอาบน้ำในท่าศักดิ์สิทธิ์แล้วจะหมดบาปได้ขึ้นสวรรค์ พระองค์ทรงแย้งว่า ถ้าความบริสุทธิ์มีได้ด้วยน้ำมนุษย์ก็บริสุทธิ์สู้กุ้ง หอย ปู ปลาไม่ได้ เพราะสัตว์เหล่านั้นอาบน้ำอยู่ตลอดเวลา ครั้นพราหมณ์ถามว่า พระองค์ไม่สรรเสริญการอาบน้ำหรือ พระองค์ตอบว่า สรรเสริญ แล้วทรงให้ความหมายของการอาบน้ำใหม่ว่า เป็นการอาบกาย วาจา ใจ ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา

3.4 รู้จังหวะและโอกาส คือ รอให้ผู้ฟังมีความพร้อมเสียก่อนแล้วค่อยสอน ดังกรณีเด็กหนุ่มชื่อ วักกลิมาบวชเพราะติดใจในความงามแห่งพระวรกายของพระพุทธองค์ ไม่สนใจปฏิบัติธรรม ได้แต่คอยเฝ้ามองพระพุทธองค์ด้วยความชื่นชม พระองค์ทรงรอให้เธอมีความพร้อมเสียก่อนแล้วตรัสเตือนสติประทานโอวาท จนสำเร็จพระอรหันตผลในที่สุด

3.5 ยืดหยุ่นในการใช้เทคนิควิธี ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ พระพุทธเจ้าตรัสกับคนฝึกม้าชื่อเกสี ว่าพระองค์ทรงใช้เทคนิควิธีฝึกสาวกของพระองค์ เช่นเดียวกับที่เกสีฝึกม้า คือ บางครั้งก็ทรงใช้วิธีนุ่มนวล บางครั้งเข้มงวด บางครั้งผสมผสานระหว่างทั้งสองวิธี ถ้าไม่สำเร็จ พระองค์ก็ทรง “ ฆ่าทิ้ง ” ดุจนายเกสีฆ่าม้าที่ฝึกไม่ได้ แต่การฆ่าของพระองค์ หมายถึง ไม่พูดด้วย ไม่ว่ากล่าวตักเตือน หรือ “ คว่ำบาตร ” ให้ผู้นั้นสำนึกตนในภายหลัง

3.6 เสริมแรง เพื่อสัมฤทธิ์ผลแห่งการสั่งสอน การเสริมแรงเป็นสิ่งจำเป็น การตรัสชมเชยพระสาวกของพระสาวกบางรูปให้สงฆ์ฟัง เป็นการเสริมแรงให้ท่านผู้นั้นมีฉันทะในการปฏิบัติธรรมสูงขึ้นตามลำดับ แม้การทรงตั้งตำแหน่ง “ เอตทัคคะ ”(ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) ให้แก่พระสาวกที่มีความถนัดและความสามารถพิเศษเฉพาะด้านก็นับเป็นการเสริมแรงเช่นเดียวกัน

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยา

พุทธจริยา หมายถึง พระจริยาวัตรหรือความประพฤติที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น มี 3 ประการ ดังนี้

1. โลกัตถจริยา พุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก

2. ญาตัตถจริยา พุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระประยูรญาติทั้งหลาย

3. พุทธัตถจริยา พุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญในฐานะที่ทรงเป็นพระพุทธเจ้า

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาพระจริยาวัตรทั้ง 3 ประการของพระพุทธองค์เพื่อความเข้าใจแนวพระจริยาวัตรให้ถูกต้อง ดังนี้

1. โลกัตถจริยา การที่พระองค์ทรงอนุเคราะห์ชาวโลกนั้นแสดงออกในพุทธกิจประจำวันนั่นเอง ซึ่งเห็นได้ชัดว่า วันเวลาที่ผ่านไปแต่ละวันเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นทั้งนั้น พระองค์แทบไม่มีเวลาพักผ่อนเลยแม้ประชวรหนักอย่างไร ก็ทรงอุตสาห์ข่มทุกขเวทนาสั่งสอนคนอื่น ดังเช่น ทรงโปรดสุภัททปริพาชกก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเป็นต้น พุทธกิจ 5 ประการ คือ

(1) ปุเรภัตตกิจ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต ถือโอกาสแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ด้วย

(2) ปัจฉาภัตตกิจ เวลาบ่ายทรงแสดงธรรมโปรดประชาชน

(3) ปุริมยามกิจ เวลาค่ำทรงประทานโอวาทแด่ภิกษุสงฆ์

(4) มัชฌิมยามกิจ เวลากลางคืนทรงตอบปัญหาเทวดา

(5) ปัจฉิมยามกิจ เวลาจวนสว่างทรงตรวจดูบุคคลที่พึงโปรดด้วยพระญาณ

2. ญาตัตถจริยา พระพุทธองค์ทรงสงเคราะห์พระญาติเมืองกบิลพัสดุ์และพระญาติเมืองเทวทหะหลายครั้ง เพราะทรงถือว่าแม้พระองค์จะเป็น “ คนของโลก ” แล้ว ก็ไม่ทรงละเลยการอนุเคราะห์เกื้อกูลกันฉันเครือญาติ เช่น

*** เสด็จนิวัติเมืองกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระพุทธบิดา และพระประยูรญาติทั้งหลายหลังการตรัสรู้แล้ว

*** เสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยเทศนาพระอภิธรรมโปรดตลอดพรรษา

*** ทรงชักนำขัตติยกุมารจากศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ออกบวชเพื่อให้พบแนวทางชีวิตที่ดีกว่า ตลอดถึงทรงอนุญาตให้ขัตติยนารีที่เป็นพระญาติของพระองค์บวชเป็นภิกษุณีด้วย เช่น กรณีให้นางมหาปชาบดีโคตมีบวช

*** ทรงระงับสงครามแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีระหว่างศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ทำให้พระญาติทั้งสองฝ่ายไม่ต้องฆ่าฟันกันให้เสียเลือดเนื้อ เหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ชาวพุทธได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นอนุสรณ์ปางหนึ่งเรียกว่า “ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ ” ( พระพุทธรูปยืนยกหัตถ์ขวาในท่าห้ามปราม )

*** ทรงเสด็จไปป้องกันพระญาติฝ่ายศากยวงศ์จากการถูกทำลายล้างของพระเจ้าวิฑูฑภะ ผู้ยกทัพมาโจมตีเมืองกบิลพัสดุ์ด้วยความแค้นส่วนตัวถึงสามครั้ง

3. พุทธัตตถจริยา หน้าที่ที่พระพุทธองค์ทรงกระทำในฐานะที่เป็นพระพุทธเจ้า ความจริงรวมอยู่ในโลกัตตถจริยานั่นเอง แต่ที่แยกพูดอีกต่างหากก็เพื่อเน้นว่า หน้าที่บางอย่างพระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงทำได้ พุทธะอื่นๆ ( คือปัจเจกพุทธะและอนุพุทธะ )ไม่สามารถทำได้ พุทธจริยามีมากมายเช่น

3.1) ช่วยสรรพสัตว์ข้ามห้วงทุกข์ พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมายาวนาน เมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ก็ตั้งพระปณิธานจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากความทุกข์ เมื่อได้ตรัสรู้แล้วทรงทำหน้าที่นี้ตลอดพระชนม์ชีพ

3.2) ปูพื้นฐานแห่งกุศลธรรม หรืออุปนิสัยที่ดีในภายหน้า ในกรณีที่ทรงแนะหรือฝึกฝนบางคนไม่ได้ เพราะเขามีความหยาบช้าหนาแน่นไปด้วยโมหะอวิชชาเกินกว่าจะเข้าถึงธรรมได้พระองค์ไม่ทรงทอดทิ้งพยายามสั่งสอนเพื่อให้เขามีอุปนิสัยปัจจัยที่ดีในภายภาคหน้า ดังกรณีทรงบวชให้พระเทวทัต ทั้งๆที่รู้ด้วยพระญาณว่าเทวทัตบวชแล้วจักทำสังฆเภท ( สร้างความแตกแยกในหมู่สงฆ์ )

3.3) ช่วยปิดทางอบาย คือปิดกั้นมิให้คนบางประเภทถลำลึกลงสู่ทางแห่งความเสื่อมฉิบหาย เช่น เสด็จไปโปรดโจรองคุลิมาล ก่อนที่จะพบมารดาระหว่างทางและก่อนจะกระทำมาตุฆาต ( ฆ่ามารดา ) อันเป็นกรรมหนัก

3.4) ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อความดำรงมั่นแห่งพระศาสนา พระวินัยถือว่าเป็นรากแก้วแห่งพระพุทธศาสนา เมื่อพระสงฆ์บางรูปกระทำสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ เป็นที่ตำหนิติเตียนของชาวโลก พระองค์ทรงวางเป็นข้อบังคับห้ามทำเช่นนั้นอีกต่อไป พระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นเป็นเครื่องควบคุมสงฆ์ให้มีความสงบเรียบร้อย เป็นที่เลื่อมใสของประชาชน และเป็นเครื่องจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวร

3.5) ทรงสถาปนาสถาบันสืบทอดพระพุทธศาสนา ทรงตั้งพุทธบริษัท 4 คือ ภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พร้อมทรงวางหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติและหน้าที่พึงปฏิบัติร่วมกัน เพื่อความวัฒนาสถาพรแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป

พระพุทธเจ้าเชื่อมั่นในศักยภาพมนุษย์อย่างไร

พระพุทธเจ้าทรงมองว่ามนุษย์ สามารถพัฒนาตนเองได้ด้วย แนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเน้น ย้้าให้มนุษย์พัฒนาศักยภาพ คุณความดีความรู้และ ความสามารถของตนเอง อยู่เสมอ พระพุทธเจ้าเชื่อมั่น ในศักยภาพของมนุษย์ มนุษย์ประเสริฐสูงสุด ได้ด้วยการฝึก พระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง ของมนุษย์ผู้ใช้ความเพียรเพื่อความดีงาม

พระพุทธศาสนาใช้หลักอะไรในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์

พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการกระทำ ทุกอย่าง จะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน การฝึกจิตหรือการบริหารจิต จึงเป็น การกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา

ศักยภาพของมนุษย์ คืออะไร

ศักยภาพของมนุษย์คืออะไรกันแน่ ขีดความสามารถสูงสุดที่เป็นไปได้ของบุคคลนั้น ถ้าหากได้รับการส่งเสริมฝึกฝนอย่างเต็มที่และถูกทาง อย่างเต็มที่ ดังนั้น หากเราสามารถกระทำในสิ่งที่ทำอยู่ แล้วทำได้ดีขึ้น นั่นหมายความว่าเรากำลังพัฒนาศักยภาพของเราอยู่

การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ามีผลต่อมนุษย์อย่างไร

การตรัสรู้ด้วยพระองค์เองของพระพุทธเจ้านั้น เป็นการปรากฏของธรรมอัน สูงสุดธรรมคือความจริงที่เป็นกฎธรรมชาติของเอกภพ ที่ทุกคนและทุกสิ่งต้องอยู่ภายใต้ กฎนี้ ดังนั้น ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบจึงเป็น อกาลิโก คือถูกต้องเสมอ และทําให้ พระพุทธศาสนาแตกต่างจากศาสนาอื่น และเป็นศาสนาสากลของโลก ทั้งยังเป็นนิมิต หมายในการประกาศ ...