ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร

โดยทั่วไปมนุษย์เราจะสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็ต่อเมื่อ มีบรรยากาศของความไว้ใจกัน ความเข้าใจกัน โดยความสัมพันธ์ของมนุษย์สามารแบ่งได้เป็น 2 ประเภทก็คือ ความสัมพันธ์ด้านกายภาพ (physical relationship)

มนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลกับบุคคลบุคคลกับหมู่คณะ หรือระหว่างคณะกับคณะ เพื่อก่อให้เกิดความเคารพนับถือความจงรักภักดี ความสามัคคี ความสำเร็จในหน้าที่การงานและความสุข (เริงชัยหมื่นชนะ)

มนุษยสัมพันธ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือบุคคลกับกลุ่มหรือกลุ่มกับกลุ่ม รวมตลอดถึงพฤติกรรมในการแสดงออกทั้งกาย วาจา ใจต่อคนอื่นใน รูปแบบของการทำงานร่วมกันและในบางกรณี ก็เป็นไปในทางส่วนตัว(สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ)

มนุษยสัมพันธ์หมายถึงการติดต่อเกี่ยวข้องระหว่างบุคคลกับบุคคล บุคคลต่อกลุ่มหรือกลุ่มต่อกลุ่มทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัวและเกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อให้เกิดความรัก ความศรัทธาช่วยเหลือและร่วมมือร่วมใจกันทำงานให้บรรลุเป้าหมาย(ผุสดี พฤกษะวัน)

มนุษย์ทุกคนต้องอยู่ร่วมกันและทำงานกับผู้อื่นดังนั้นจึงต้องให้ความสนใจแก่มนุษย์ผู้ปฏิบัติงานในฐานะที่เป็นแกนสำคัญของการทำงาน คนเป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจมีความต้องการ มีความรู้ มีอารมณ์ มิใช่เป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ หากได้รับการดูแลจากฝ่ายบริหารเป็นอย่างดีอาจจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขึ้นมากกว่าเดิม

แนวคิดพื้นฐานและหลักทั่วไป

– ต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเองและต้องเปิดโอกาสที่จะให้บุคคลแต่ละคนได้ใช้

พรสวรรค์ทักษะ ความเฉลียวฉลาดของเขาให้มากที่สุด เหมาะสมกับบุคลิกภาพ

ของเขาซึ่งเป็นการพัฒนาบุคคล

– ต้องรู้แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ ซึ่งได้แก่ การตระหนักในความแตกต่าง

ของบุคคลความต้องการของบุคคลอันเป็นสาเหตุแห่งพฤติกรรมและศักดิ์ศรีของ

ความเป็นมนุษย์

– ต้องตระหนักถึงลักษณะธรรมชาติองค์กรว่าองค์กรนั้นเป็นระบบสังคมที่มีชีวิต

เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงได้

– องค์การเป็นระบบเปิดที่ต้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร

หลักทั่วไปในการสร้างมนุษยสัมพันธ์

– การมีความจริงใจ

– การมีความรักและความปรารถนาดีต่อบุคคลอื่น

– การรู้จักจิตใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

– การมีมารยาททางสังคมรู้ว่า สิ่งใดควรทำ สิ่งใดควรละเว้น

ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์

แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่

1. ด้านการดำเนินชีวิตในสังคม ได้แก่ ความสำคัญในการดำรงชีวิตความสำคัญที่มี

ต่อคุณภาพชีวิต

2. ด้านการบริหาร

– ผู้บริหารต้องรู้หลักการครองใจพนักงานและสนองความต้องการของพนักงาน

– ผู้บริหารต้องใช้แรงจูงใจและศิลปะในการสนองความต้องการของพนักงาน

– บุคลากรต้องมีความรู้สูงขึ้น

– ผู้บริหารต้องใช้กลวิธีในการสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำ

งานให้สำเร็จตามเป้าหมาย

3. ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและธุรกิจสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมอุตสาหกรรม

และพาณิชยกรรมมีการแข่งขันเกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีความพอใจในการเลือก

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและการบริการดังนั้นการจะโน้มน้าวให้ผู้บริโภคมาใช้สินค้า

ต้องรู้จักการใช้หลักมนุษยสัมพันธ์

4. ด้านการเมืองถ้าผู้นำทางการเมืองมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจะทำให้การบริหารมี

ประสิทธิภาพประเทศชาติมีความมั่นคง

ปรัชญาพื้นฐานของมนุษยสัมพันธ์

ปรัชญาพื้นฐานของมนุษยสัมพันธ์ที่ควรคำนึงถึงได้แก่

1. เป็นการสร้างสรรค์ความสามัคคีให้เกิดขึ้นใน หน่วยงานนั้น ๆ

2. เป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติและฝ่ายปฏิบัติ

กับฝ่ายปฏิบัติ

3. ในการติดต่อสัมพันธ์กับมนุษย์นั้นต้องยอมรับว่าทุกคนมีคุณค่าความเป็นคนเท่า

เทียมกันทุกคนต้องการการยอมรับนับถือ การยกย่องสรรเสริญและการให้เกียรติ

ซึ่งกันและกัน

4. มนุษย์ต้องการการจูงใจ ได้แก่ ความต้องการทางกาย ความมั่นคง ปลอดภัย

ความรัก เกียรติยศชื่อเสียง และความตระหนักในตนความต้องการที่ได้รับการ

ตอบสนองย่อมก่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและนำไปสู่การทำงานที่มี

ประสิทธิภาพ

5. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน

ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์

1. ทำให้เข้าใจความต้องการความแตกต่างพื้นฐานของมนุษย์

2. ทำให้เกิดความราบรื่นในการคบหาสมาคมกับผู้อื่น

3. ทำให้ผู้บริหารเข้าถึงประชาชน

4. สร้างทักษะให้ผู้บริหารในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาและติดต่อกับกลุ่ม

ชนรวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงานอื่นได้ดี

5. ทำให้ได้รับความรักใคร่เชื่อถือศรัทธา จากบุคคลในครอบครัว องค์กร และ

สังคมได้

6. ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้

7. ลดปัญหาความขัดแย้งในการทำงานและอยู่ร่วมกัน

8. ทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน มีความสามัคคีมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน

9. เป็นปัจจัยสำคัญในการประสานประโยชน์ของสังคม

10. ทำให้ตนเองและสังคมมีความสุข

ความหมายขององค์กร

องค์กรหมายถึงหน่วยงานทางสังคมที่มีกลุ่มคนมาทำงานร่วมกัน ร่วมกันคิด พิจารณา ตัดสินใจแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน (ผุสดีพฤกษะวัน)

องค์ประกอบขององค์กร

องค์ประกอบขององค์กรมี 4 ประการ ดังนี้

1. Purpose

2. People

3. Process

4. Place other resource

ประเภทขององค์กร

ประเภทขององค์กรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.องค์กรรูปนัย (Formal Organization)

2.องค์กรอรูปนัย (Informal Organization)

มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร

มนุษยสัมพันธ์ในองค์กรหมายถึงความสัมพันธ์ของบุคลากรที่อยู่ในแวดล้อมขององค์กรรูปนัยซึ่งมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในแนวตั้งคือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตามลำดับสายงานการบังคับบัญชาและสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในแนวนอนคือสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในระดับเดียวกัน และรวมถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อบุคคลกลุ่มบุคคลต่อกลุ่มบุคคลด้วย

มนุษย์สัมพันธ์มีความสำคัญกับองค์กรอย่างไร

มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation) เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างปกติสุข เกิดความร่วมแรงร่วมใจ ทำงานราบรื่นไม่เกิดปัญหา ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ การสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรได้จะต้องอยู่บนองค์ประกอบที่ เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และยอมรับความแตกต่างระหว่างกันได้

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีอะไรบ้าง

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล.
ประเภทแรก เป็นการตั้งรับ หมายถึง ใช้การสังเกตการกระทำของคนอื่นแทนที่ จะซักถามหรือเข้าไปร่วมในสถานการณ์.
ประเภทที่สอง แบบรุก หมายถึง การเข้าไปจัดการกับสถานการณ์ทางสังคม เพื่อให้ได้ข้อมูลมากขึ้น เช่น ใช้การคุย การถาม หรือการสัมภาษณ์.

มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร คืออะไร

จากความหมายของคำว่า “มนุษยสัมพันธ์” และ คำว่า “องค์การ” ทำให้ได้ความหมายของคำว่า “มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ” ซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ของบุคลากรที่อยู่ในรูปแบบขององค์การ ซึ่งมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อบุคคล กลุ่มบุคคลต่อกลุ่มบุคคลด้วยกัน เพื่อให้มีความผูกพันเป็นไมตรีต่อกัน มีความสุขในการทำงานร่วมกันในองค์การ ความสัมพันธ์ ...

ความสัมพันธ์ของบุคคลเกิดจากองค์ประกอบกี่ประการ

พรรณทิพย์ศิริวรรณบุศย์(2550 : 85) ได้ให้ความเห็นว่าองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์มีอยู่ 3 ประการด้วยกัน ได้แก่การรู้จักตน การเข้าใจผู้อื่นและการมีสภาพแวดล้อมที่ดี โดยได้เสนอเป็นแผนภูมิ แสดงองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเมื่อน ามาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วม งานในองค์การ อาจกล่าวได้ว่าองค์ประกอบของ ...