เหตุใดประเทศไทยจึงต้องปฏิรูปกฎหมายครั้งสำคัญในสมัย รัชกาลที่ 5

รหัสโครงการวิจัย
ปีงบประมาณ

2563

ประเภทโครงการ

โครงการวิจัยเดี่ยว

ประเภททุน

งบประมาณส่วนตัว

ชื่อโครงการวิจัย

การปฏิรูปกฎหมายไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อโครงการวิจัย (EN)

The Legal Reform of Thailand in the Reign of King Chulalongkorn (Rama V)

นักวิจัย

1. อาจารย์ณัถฑ์ เขียวงาม (หัวหน้าโครงการ, ร้อยละการทำวิจัย 100 )

สาขาวิชา/กลุ่มงาน

สาขาวิชา รัฐศาสตร์

หลักสูตร

รัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)

คณะ/หน่วยงาน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาถึงสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2) เพื่อศึกษาถึงขั้นตอนและวิธีดำเนินการปฏิรูปกฎหมายของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ (3) เพื่อศึกษาถึงผลสำเร็จและอุปสรรคของการปฏิรูปกฎหมายไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์อันเป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหนังสือบทความงานวิจัยวิทยานิพนธ์และงานวิชาการต่าง ๆ

  ข้อค้นพบจากการวิจัยมีดังนี้ (1) กฎหมายไทยดั้งเดิมก่อนที่มีการปฏิรูปครั้งสำคัญสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ซึ่งไทยรับมาจากอินเดีย และยังมีกฎหมายตราสามดวง ที่ชำระขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ที่ไทยใช้มาจนถึงรัชกาลที่ 4 (2) สาเหตุสำคัญที่ไทยต้องเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้เป็นแบบตะวันตกก็คือ ผลจากการที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับอังกฤษในปี พ.ศ.2398 และกับประเทศอื่น ๆ อีกด้วย สัญญาดังกล่าวนี้เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เพราะทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่นานาประเทศ การที่จะได้เอกราชทางกฎหมายและการศาลกลับคืนมาก็คือ การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลไทยให้อยู่ในระดับที่ประเทศตะวันตกพึงพอใจ เพราะเนื่องจากชาวต่างประเทศไม่ให้ความเชื่อมั่นต่อระบบกฎหมายและการศาลของไทย ดังนั้นความจำเป็นเร่งด่วนในขณะนั้นก็คือ ต้องเร่งดำเนินการปฏิรูปกฎหมายให้เป็นที่ยอมรับของประเทศตะวันตกให้ได้ ดังเช่น ญี่ปุ่นได้ทำสำเร็จมาแล้ว (3) การปฏิรูปกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเลือกใช้ระบบประมวลกฎหมายแบบเดียวกับประเทศในยุโรปใช้กันอยู่ คือ ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมีประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบอย่าง และในการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายครั้งนี้ไทยได้ว่าจ้างที่ปรึกษาด้านกฎหมายชาวต่างประเทศมาช่วยหลายท่าน ในการปฏิรูปกฎหมายดำเนินไปได้สำเร็จ (4) ผลจากการปฏิรูปกฎหมายทำให้มีการปฏิรูปภาษากฎหมาย การเปลี่ยนแปลงการศึกษากฎหมาย การสร้างนักกฎหมาย การพัฒนาวิชาชีพนักกฎหมาย รวมทั้งผลกระทบต่อสังคมไทยในระยะต่อมา (5) ผลสำเร็จและอุปสรรคของการปฏิรูปกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ การได้เอกราชทางศาลโดยสมบูรณ์ และทำสนธิสัญญาที่เสมอภาคกับนานาประเทศได้ แต่ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือ ปัญหาการจ้างนักกฎหมายชาวต่างประเทศ การขาดแคลนบุคลากรด้านกฎหมายสมัยใหม่ การยอมรับจากต่างประเทศ และความขัดแย้งกันระหว่างกรรมการร่างกฎหมาย

  อย่างไรก็ตามปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายของไทยก็ได้ใช้ความพยายามแก้ปัญหาได้สำเร็จ จนประเทศไทยสามารถปฏิรูปกฎหมายได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

The purpose of the research were three folds (1) to study causes and factors to push the legal reform of Thailand in the reign of King Chulalongkorn (2) to study the procuration of legal reform and (3) to study the achievements, obstacles and the impacts of legal reform. The data were collected form documentary studying and document data which considered as scholarly work such as books, articles, research papers, thesis etc.

  The findings of this research revealed as follows ;
1. The ancient Thai laws which was based on the Indian law was Dharmasastraand the three seal law which settlement in the reign of King Rama I.

  2. The legal reform caused by Bowring Treaty, 1855 namely unequal treatygenerated extraterritoriality for the foreigners who dwelling in Thailand. The western nations seem to have lack of trust in Thai law and Thai courts. The exigency of Siam that was legal reform as Japan had success done.

  3. Thai elite decided to adopt civil law (Roman law) and the Penal code of1908 was the first evidence of this reform by guided by the foreigners advisors same as Japan and then Commercial code was proclaimed.

  4. The legal reform sequently that is language of law, the changing of lawstudy, lawyer training, the upgrading for law profession and impact to later Thai society.

  5. The achievement and obstacles of the legal reform were found that werethe sovereignty of Thai court, the equal treaty with western countries, the main obstacle were lack of technocrats, the acceptation form western countries and the conflict among the legal drafting committee.

  In conclusion, the legal reform carried out effectively accepted by civilized countries till the present day.

คำสำคัญ

การปฏิรูป,กฎหมายไทย,พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สถานะโครงการ

ดำเนินการเสร็จสิ้น

บทคัดย่อ

PDF ดาวน์โหลด เปิด : 281 ครั้ง

เล่มรายงาน

PDF ดาวน์โหลด เปิด : 562 ครั้ง / ดาวน์โหลด : 3 ครั้ง
(จำกัดจำนวน 8 หน้า เข้าสู่ระบบสำหรับเอกสารฉบับเต็ม)

เปิดดู

1,162 ครั้ง

หมายเหตุ