ใครเป็นผู้กอบกู้เอกราชจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

          วานนี้ (6 พ.ย. 64) เป็นวันกู้ชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้กอบกู้เอกราชจากพม่าให้แก่ประเทศไทย และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี จึงขอนำประวัติของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ มาบอกเล่า เพื่อร่วมรำลึกถึงวีรกรรม ความกล้าหาญของพระองค์ ที่ช่วยให้คนไทยได้มีชาติไทยอาศัยอยู่มาจนถึง ณ ทุกวันนี้

          สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี ที่มาจากสามัญชนคนธรรมดา เกิดวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ในสมัยช่วงปลายแผ่นดินกรุงศรีอยุธา พระองค์ทรงเป็นสามัญชนคนธรรมดา เป็นลูกคนจีน กำเนิดในตระกูลแต้ มีชื่อเดิมว่า สิน มีพ่อเป็นคนจีนชื่อ ไหฮอง เดินทางจากประเทศจีนมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย แล้วได้แต่งงานกับหญิงไทยชื่อ นางนกเอี้ยง มีหลักฐาน บันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้มี ปัญญาเฉลียวฉลาด และมีความสามารถด้าน กฎหมายเป็นพิเศษ ได้ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนือง ๆ เนื่องจากได้ทำ ความดีมีความชอบต่อแผ่นดิน จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองตาก ในเวลาต่อมา

          กระทั่งปี พ.ศ.2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร ขึ้นครองราชย์ต่อได้เพียง 3 เดือนเศษ ก็ถวายราชสมบัติให้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้นายสินเป็นมหาดเล็กรายงาน เชิญท้องตราราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือ นายสินมหาดเล็กสร้างผลงานได้รับความดีความชอบ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสินมหาดเล็กรายงานเป็นหลวงยกบัตรเมืองตาก จนกระทั่งพระยาตากถึงแก่กรรม หลวงยกบัตรเมืองตากจึงได้เลื่อนเป็นพระยาตาก ให้ปกครองเมืองตาก

          ต่อมาพม่าได้ยกทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยาทางตอนใต้ เมื่อปี พ.ศ.2307 โดยมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ พระยาตากยกทัพไปช่วยรักษาเมืองเพชรบุรี และตีทัพพม่ากลับไปอย่างง่ายดาย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2308 พม่าได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง พระยาตากก็สามารถช่วยรักษาพระนครไว้ได้อีก ความดีความชอบนี้ ทำให้ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาตากเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันที่พระยาวชิรปราการจะได้ครองเมืองกำแพงเพชร พม่าก็ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง พระยาวชิรปราการจึงต้องเข้ากรุงศรีอยุธยา เพื่อป้องกันพระนคร

    ระหว่างทำการสู้รบอยู่นั้น พระยาวชิรปราการเกิดท้อแท้ใจที่แม้จะตีค่ายพม่าได้ แต่พระนครกลับไม่ส่งกำลังไปหนุน จนทำให้พม่ายึดค่ายกลับคืนได้ อีกทั้งยังเห็นว่า ทัพพม่ามีกำลังมากกว่า หากออกไปรบคงพ่ายแพ้อย่างหมดทางสู้ และตนเองยังถูกภาคทัณฑ์ที่ยิงปืนใหญ่ใส่ทัพพม่าโดยไม่ได้ขออนุญาต ด้วยเหตุนี้ พระยาวชิรปราการจึงเห็นว่า คงไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่ป้องกันพระนคร และเชื่อว่า กรุงศรีอยุธยาคงจะต้องเสียกรุงเสียครานี้ เพราะกษัตริย์ที่เป็นผู้นำ นั้นอ่อนแอ พระยาวชิรปราการจึงนำไพร่พล 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากค่ายพิชัย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และยึดเมืองระยองได้สำเร็จ ระหว่างนั้น ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ พายุหมุนอย่างรุนแรงจนบิดต้นตาลเป็นเกลียวโดยไม่คลายตัว ชาวบ้านจึงเรียกว่า "ตาลขด" ขณะที่เหล่าเสนาบดีทหารทั้งหลายก็ยกย่องพระยาวชิรปราการเป็น "เจ้าตาก"

    กรุงศรีอยุธยาแตก ในเมื่อวันที่ 7เมษายน พ.ศ.2310 พระเจ้าตากตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา ก่อนกรุงแตกไปเเล้ว ได้ทำการรวบรวมผู้คนทางเมืองชายทะเลตะวันออก เดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ มุ่งยึดจันทบุรี ไว้เป็นฐานที่มั่น จึงสั่งทหารทุกคนว่า "เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อหุงข้าวเสร็จแล้วก็กินให้อิ่ม แล้วสั่งทุบหม้อข้าวหม้อแกงทิ้ง ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ ก็ต้องพากันตายทั้งหมด " ซึ่งเป็นกุศโลบายปลุกใจทหาร จากนั้นพระเจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ยิงปืนคาบศิลาเป็นสัญญาณ ไสช้างเข้าพังประตูเมือง นำทหารเข้าตีเมืองจันทบุรีได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 ในเวลาตี 3

    เมื่ออยู่ที่เมืองจันทบุรี ก็ได้สั่งสมกำลังพล อาวุธ และเสบียง ครั้นได้นายทัพนายกองเพิ่มเติมมากขึ้น พอถึงเดือน 11 ปี กุน พ.ศ. 2310 สิ้นฤดูมรสุมพระเจ้าตาก ต่อเรือรบได้ 100 ลำ รวบรวมไพร่พล รวมทหารทั้งไทยจีนได้ประมาณ 5,000 นาย จึงได้ยกทัพเรือออกจากจันทบุรี เข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเข้าโจมตีข้าศึกพม่ารามัญ ที่เมืองธนบุรี

    6 พ.ย พ.ศ. 2310 เมื่อเจ้าตากยกทัพเข้าตียึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงได้เคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาเข้าตียึดค่ายโพธิ์สามต้น นำทัพรบพุ่งปราบพม่าจนราบคาบ โดยสามารถกอบกู้เอกราชได้สำเร็จภายในเวลา 7 เดือน นับตั้งแต่ที่เสียกรุงเมื่อปี พ.ศ. 2310 หลังจากนั้น พระองค์ได้ยกทัพกลับมาที่ธนบุรี ตั้งเมืองราชธานีใหม่ ณ ที่แห่งนี้ ขนานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" และทรงปราบดาภิเษก จากสามัญชน ขึ้นไปเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ในพระชนมายุ 34 พรรษา ทรงเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 

    ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์ได้ทำสงครามกับพม่าถึง 9 ครั้งและทรงได้รับชัยชนะทุกครั้ง รวมทั้งทรงทำศึกกับเขมร 3 ครั้ง ส่วนพระราชกรณียกิจด้านอื่น ๆ นอกจากการเมืองและการศึกสงครามแล้ว พระองค์ทรงฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม การบำรุงการศึกษาตามวัด การรวบรวมพระไตรปิฎก บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม

    พระเจ้าตากสิน ทรงรบทำศึก ปราบปรามขุนศึก พิชิต ก๊กต่าง ๆ เพื่อที่จะรวบรวมผนวกแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น เป็นอาณาจักร ปกครองดินแดน มีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาลมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ของการสร้างชาติไทย ดร.รัตติกร ทองเนตร กล่าวต่อไปว่า ดิฉันขอแสดงความยินดีกับทุกโรงเรียนนการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” ในปีการศึกษา 2562 นับเป็นเกียรติประวัติของโรงเรียนทั้ง 57 แห่ง ที่ผ่านการประเมินรอบที่ 1 รอบที่ 2 และรอบที่ 3 การผ่านการประเมินเป็นการแสดงถึงศักยภาพของคุณครูปฐมวัยที่ตั้งใจ การพัฒนาการจัดกิจกรรมการทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ปีการศึกษา 2562 การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ซึ่งกิจกรรมการทดลองและการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นั้นจะได้ช่วยส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา และยังเป็นการพัฒนา ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยที่จะเป็นรากฐานที่ดีของการพัฒนาคุณภาพของพลเมืองไทยในอนาคต ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป และประสบผลสำเร็จในการพัฒนาความก้าวหน้าด้านวิชาชีพ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยสืบไป

ใครกอบกู้เอกราชในการเสียกรุงครั้งที่ 2

ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 พระเจ้าตากและพวกได้ฝ่าวงล้อมของพม่า ยกทัพมายังดินแดนเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อรวบรวมผู้คน เสบียงอาหาร ตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อกลับมากอบกู้เอกราชจากพม่า

ใครเป็นผู้กอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และ 2

พระมหากษัติย์พระองค์ ที่ 2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมัยกรุงศรีอยุธยา) พระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย ภายหลังที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ในรัชสมัยของพระองค์ ทรงทำการศึกสงคราม และเอาชนะข้าศึกหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือ ใน พ.ศ. 2135 พระมหาอุปราชาของพม่าได้ยกทัพมาตีไทย พระองค์ทรงชนช้างกระทำยุทธหัตถี

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 กอบกู้เอกราชได้อย่างไร

การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นการรวบรวมกองกำลังของเจ้าตาก เพื่อขับไล่กองทัพพม่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยา ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง อันส่งผลให้เกิดสภาพจลาจลโดยทั่วไป ราชอาณาจักรอยุธยาเดิมจึงถูกแบ่งออกเป็นชุมนุมต่าง ๆ เป็นอิสระต่อกัน

ใครเป็นผู้กอบกู้เอกราชหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา 15 ปี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2 (2516) ว่า “เจ้าตากสิน” นั้น ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีผู้รู้จักมากที่สุดพระองค์หนึ่ง เนื่องจากได้ทรงเป็น ผู้กอบกู้เอกราชของสยามประเทศจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าในครั้งที่2 เมื่อปีพ.ศ. 2310 และได้ ทรงสถาปนากรุงธนบุรีและเป็นปฐมกษัตริย์ ...