การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เกิดจาก สาเหตุ ใด

YouTube Video

 

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เกิดจาก สาเหตุ ใด

ในปี 2310 สมัยพระเจ้าเอกทัศน์ สาเหตุมาจาก

- คนไทยแตกความสามัคคี

- ขาดผู้นำที่เข้มแข็ง เพราะว่างเว้นจากสงครามมานาน

- ขาดแคลนเสบียงอาหาร

ผลของสงครามไทยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านาน 1 ปี 2 เดือน ผู้กอบกู้เอกราชได้สำเร็จ คือ พระเจ้าตากสินมหาราช

กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งที่ 2 ของประเทศไทย โดยเป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆถึง 417 ปี เป็นเมืองหลวงที่อายุยาวที่สุดของไทย โดยมีกษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททองและราชวงศ์บ้านพลูหลวง[1] เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองทั้งด้านการทหาร ด้านการทูตและด้านเศรษฐกิจที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น มีการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าถึงสองครั้ง ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2112 โดยพระเจ้าบุเรงนอง และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 โดยพระเจ้ามังระ

พระ เจ้าบุเรงนองมีดำริจะบุกเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้น จึงยกทัพตีเมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองในปกครองของกรุงศรีอยุธยาแม้กระทั่งเมืองพิษณุโลกสองแคว แต่ก็ยังไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกได้โดยเร็ว สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง ได้เสด็จยกมาช่วยแต่ก็ถูกพม่าตีแตกพ่ายที่สระบุรี พระยาจักรีหนึ่งในเสนาที่ถูกกุมตัวไปยังกรุงหงสาวดี เมื่อครั้งแพ้สงครามช้างเผือก ก็เห็นแก่ทรัพย์ที่พระเจ้าบุเรงนองประทานให้ผู้ที่คิดแผนตีกรุงศรีอยุธยาลง ได้ จึงเสนอตัวเป็นหนอนบ่อนไส้ในกรุงศรีอยุธยา โดยเข้าไปในกรุงศรีอยุธยาทำทีเป็นว่าลอบหนีมาจากกรุงหงสาวดีได้ ประกอบด้วยความไว้พระทัยที่พระมหินทราธิราชมีต่อพระยาจักรีผู้นี้ จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาจักรีจึงวางอุบายให้ทหารที่มีความสามารถไปประจำกองที่ไม่มีความสำคัญ และให้ทหารที่ไร้ฝีมือมาเป็นทัพหน้าประจัญบานกับกองทัพของพระเจ้าบุเรงนอง แม่ทัพนายกองที่พอจะมีฝีมือก็หาเรื่องใส่ความให้ต้องโทษขังหรือเฆี่ยน เพียงข้ามคืนกรุงศรีอยุธยาก็พ่ายแพ้ เสียกรุงให้กับพม่าเป็นครั้งแรกเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 7 เมษายน ปี พ.ศ. 2310 นั้น คำให้การชาวกรุงเก่า ซึ่งถือเป็นหลักฐานชั้นต้นได้บันทึกเอาไว้ว่า “พม่าเห็นได้ที ก็ระดมเข้าตีปล้นกรุงศรีอยุธยา ทำลายเข้ามาทางประตูที่พระยาพลเทพนัดหมายไว้ ก็เข้าเมืองได้ทางประตูทิศตะวันออกในเวลากลางคืน เมื่อ ณ วันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ จุลศักราช ๑๑๒๘ ไล่ฆ่าฟันผู้คนล้มตายลงเปนจำนวนมาก เอาไฟเผาโรงร้านบ้านเรือนภายในพระนครศรีอยุธยาเสียเปนอันมาก ขณะนั้นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาและพระมเหสีพระราชโอรสธิดา กับพระราชวงศานุวงศ์ก็หนีกระจัดกระจายกันไป พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเสด็จหนีไปซุ่มซ่อนอยู่ประมาณสิบเอ็ดสิบสองวันก็เสด็จสวรรคต”

ส่วนในพระนิพนธ์ไทยรบพม่า ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเรียบเรียงขึ้นหลังเหตุเสียกรุงประมาณ 160 ปี ได้เล่าไว้ว่า

“ครั้นถึงวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นวันเนาสงกรานต์ เพลาบ่าย ๓ โมง พม่าก็จุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาไชย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกๆ ค่าย พอเพลาพลบค่ำ กำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เพลาค่ำ ๘ นาฬิกา แม่ทัพพม่าก็ยิงปืนสัญญาให้เข้าปีนปล้นพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดพาดปีนเข้าได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน พวกไทยที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็เข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง นับเวลาแต่พม่ายกมาตั้งล้อมพระนครได้ปี ๑ กับ ๒ เดือน จึงเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าข้าศึก”

พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังได้บรรยายถึงการทำลายล้างกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ว่า “เมื่อพม่าเข้าพระนครได้นั้นเป็นเพลากลางคืน พม่าไปถึงไหนก็เอาไฟจุดเผาเหย้าเรือนของชาวเมืองเข้าไปจนกระทั่งปราสาทราชมนเทียร ไฟไหม้ลุกลามแสงสว่างดังกลางวัน ครั้นพม่าเห็นว่าไม่มีผู้ใดต่อสู้แล้ว ก็เที่ยวเก็บรวบรวมทรัพย์จับผู้คนอลหม่านทั่วไปทั้งพระนคร แต่เพราะเป็นเวลากลางคืนพวกชาวเมืองจึงหนีรอดไปได้มาก พม่าจับได้สัก ๓๐,๐๐๐ ส่วนพระเจ้าเอกทัศ มหาดเล็กพาลงเรือน้อย หนีไปซุ่มซ่อนอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้ที่บ้านจิก ริมวัดสังฆาวาส แต่พม่ายังหารู้ไม่ จับได้แต่พระเจ้าอุทุมพรซึ่งทรงผนวชกับเจ้านายโดยมาก ทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยและพระภิกษุสามเณรที่หนีไปไม่พ้น พม่าก็จับเอารวมไปคุมไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ส่วนผู้คนพลเมืองที่จับได้ ก็แจกจ่ายกันไปควบคุมไว้ตามค่ายนายทัพนายกองทั้งปวง แล้วพม่าเที่ยวตรวจเก็บบรรดาทรัพย์สมบัติทั้งสิ่งของ ของหลวงของราษฎรตลอดจนเงินทองของเครื่องพุทธบูชาตามพระอารามใหญ่น้อย ไม่เลือกว่าของที่จะหยิบยกได้หรือที่ไม่พึงจะหยิบยกได้ ดังเช่นทองเงินที่แผ่หุ้มพระพุทธรูป มีทองคำที่หุ้มพระศรีสรรเพชญดาญาณเป็นต้น พม่าก็เอาไฟสุมพระพุทธรูปให้ทองละลายเก็บเอามาจนสิ้น เท่านั้นยังไม่พอ พม่ายังจะเอาทรัพย์ซึ่งราษฎรฝังซ่อนไว้ตามวัดวาบ้านเรือนต่อไปอีก เอาราษฎรที่จับไว้ได้ไปชำระซักถาม แล้วล่อลวงให้ส่อกันเอง ใครเป็นโจทก์บอกทรัพย์ของผู้อื่นให้ได้ก็ยอมปล่อยตัวไป ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ถ้าไม่บอกให้โดยดี พม่าก็เฆี่ยนตีและทำทัณฑกรรมต่างๆ เร่งเอาทรัพย์จนถึงล้มตายก็มี”

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เกิดจาก สาเหตุ ใด
อย่างไรก็ดี แม้ว่าบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวจะชวนให้คิดว่า พม่าคือต้นเหตุที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาย่อยยับแต่ฝ่ายเดียว แต่ สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวว่า “อยุธยาที่เห็นเหลือแต่ซากทุกวันนี้ เป็นฝีมือคนพื้นเมืองและไทยจีนกันเองทั้งนั้น แต่มักโยนบาปเหมาให้พม่าพวกเดียว” ก่อนเสริมว่า “ไฟไหม้ใหญ่ในพระนครศรีอยุธยา ก่อนกรุงแตก 3-4 เดือน ไม่ใช่พม่าลอบเผา แต่คนในเมืองลักลอบเผากันเอง เพราะทัพอังวะล้อมกรุงอยู่นอกเมืองเป็นปกติ ยังตีไม่ได้อยุธยา จึงไม่มีส่วนเผาตลาดกลางเมืองอยุธยา” นอกจากนี้ยังมีบันทึกของชาวต่างชาติที่กล่าวถึงการขุดทำลายเมืองเพื่อหาซากสมบัติโดยฝีมือคนพื้นเมืองทั้งไทยและจีนหลังจากที่พม่าได้ยกทัพกลับไปแล้วด้วย

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เกิดจากสาเหตุใดและไทยสามารถกู้เอกราชในแต่ละครั้งได้อย่างไร

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรตองอูและอาณาจักรอยุธยา อันเป็นผลมาจากความต้องการของพระเจ้าบุเรงนองซึ่งต้องการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราช และอาจถือได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามช้างเผือก ในปี พ.ศ. 2106 ที่ทรงตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่1เเละครั้งที่2เกิดจากสาเหตุใด

โดยสรุปสาเหตุของการเสียกรุงครั้งที่ 1 นั้นมาจาก 3 สาเหตุหลักคือ 1. เกิดความแตกสามัคคีกันระหว่างสมเด็จพระมหินทราธิราชกับพระมหาธรรมราชา เนื่องมาจากการยุยงของข้าศึก 2. ไทยขาดกำลังใจต่อสู้เนื่องจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิสวรรคตในขณะบัญชาการศึก 3. พระยาจักรี (ออกญาจักรี) ซึ่งเป็นแม่ทัพไทยเป็นไส้ศึกให้แก่พม่า

การเสียกรุงครั้งที่ 1 และ 2 เกิดขึ้นในปีใดและกษัตริย์พระองค์ใดเป็นผู้กอบกู้

2 เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย คือการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าถึง 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2112 โดยพระเจ้าบุเรงนอง และครั้งที่ 2 ในวันอังคาร ขึ้น 9 คํ่า เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2310 โดยพระเจ้ามังระ