ในสภาพการณ์หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ผู้นําของคนไทยขณะนั้นควรเป็นใครเพราะเหตุใด

แอพแชร์โน้ตสรุป Clearnote มีโน้ตสรุปมากกว่า 300,000 เล่ม ทั้งระดับ ม.ต้น ม.ปลาย และมหาวิทยาลัย

ให้โน้ตสรุปจาก Clearnote เป็นตัวช่วยในการเรียน ไม่ว่าจะเตรียมสอบที่โรงเรียน หรือสอบเข้ามหาลัย

และยังสามารถถามคำถามเกี่ยวกับการเรียนได้ที่ Q&A อีกด้วย

แอพแชร์โน้ตสรุป Clearnote มีโน้ตสรุปมากกว่า 300,000 เล่ม ทั้งระดับ ม.ต้น ม.ปลาย และมหาวิทยาลัย

ให้โน้ตสรุปจาก Clearnote เป็นตัวช่วยในการเรียน ไม่ว่าจะเตรียมสอบที่โรงเรียน หรือสอบเข้ามหาลัย

และยังสามารถถามคำถามเกี่ยวกับการเรียนได้ที่ Q&A อีกด้วย

ก่อนสิ้นแผ่นดิน บ้านเมืองแปรปรวน          ก่อน กรุงศรีอยุธยาจะแตกครั้งที่สองแล้วสิ้นราชวงศ์ ท่านนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ ได้บันทึกประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งไว้ดังนี้
สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ มีพระนามเดิมว่า กรมขุนอนุรักษ์มนตรี ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ โดยที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงพระราชดำริว่ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีเป็นผู้ซึ่งไม่มีความ​เหมาะสมที่จะขึ้นครองราชย์ ครั้นเมื่อบุตรองค์แรก สมเด็จพระมหาอุปราช ต้องพระราชอาญาสิ้นพระชนม์ จึงทรงข้ามไปโปรดฯ ให้พระราชโอรสองค์ที่ 3 คือ เจ้าฟ้าอุทุมพร ทรงเป็นพระมหาอุปราชแทน           พอสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ และเจ้าฟ้าอุทุมพรทรงราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไม่ถึง 3 เดือน เจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรีก็ตั้งพระองค์เองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ทำให้พระเจ้าลูกเธอทั้ง 3 พระองค์ไม่พอพระทัย คิดจะก่อกบฏ แต่ถูกจับได้และประหารชีวิตทั้งหมด ส่วนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงตัดสินพระทัยด้วยเหตุผลส่วนพระองค์ไปผนวชเสียสภาพบ้านเมืองรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศ

          นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2301 อันเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ได้มีหลักฐานบรรยายสภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้นอยู่หลายมุมมอง ซึ่งที่ปรากฏในพงศาวดารและหลักฐานไทยในสมัยหลังส่วนใหญ่อธิบายไว้ว่า ในรัชสมัยของพระองค์ ข้าราชการเกิดความระส่ำระสาย มีบางคนลาออกจากราชการ โดยบาทหลวงฝรั่งเศสได้เขียนจดหมายเหตุไว้ในตอนนั้นว่า "บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน (พระราชชายา)ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีความผิดฐานกบถ ฆ่าคนตาย เอาไฟเผาบ้านเรือน จะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น เป็นต้น          ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ถูกมองข้ามและมิได้มองว​่าพระองค์มีความประพฤติเช่นนั้นเลย โดยมีบันทึกว่าพระองค์ "ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก" เป็นต้น           จากข้อความในบางตอน จะเห็นได้ชัดเจนถึงกระบวนการยุติธรรมในยุคเสื่อมเป็นเช่นไร หากินในความยุติธรรมของคน เอาความทุกข์ของผู้คนแปรเปลี่ยนเป็นทรัพย์สิน           เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าราชการจึงปลีกตัวหนี ราษฎรก็เกลียดชังราชสกุล กรุงศรีอยุธยาจึงอยู่ไม่ได้ เมื่อข้าศึกบุกมาประชิดเมือง ไม่ช้ากรุงศรีอยุธยาก็แตก ขุนนาง ลูกท่านหลานเธอเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นตัวประกัน           นักรบกล้าที่รับใช้ในเบื้องพระบาท ต่างคนต่างหนีเอาตัวรอดไม่คิดจะกอบกู้เอาราชวงศ์คืน ทุกคนที่เคยมีอำนาจก็ตั้งตนเองเป็นใหญ่ ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่ากันเอง แสวงหาผลประโยชน์กันเองต่อไปไม่สิ้นสุดการปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา          หลังฤดูน้ำหลากผ่านพ้นไป อยุธยาพยายามที่จะตีค่ายพม่าพร้อมกับสร้างแนวปะทะใหม่ขึ้น โดยส่งพระยาไต๊ตีค่ายมังมหานรธา และส่งพระยาพระนริศตีค่ายเนเมียวสีหบดี แต่ก็ถูกตีแตกกลับมาทั้งสองทาง พระเจ้าเอกทัศจึงโปรดให้เพิ่มการป้องกันให้แน่นหนาขึ้น และที่สำคัญที่สุด คือ การสร้างค่ายล้อมกรุงเอาไว้ทุกด้าน ฝ่ายพม่าก็พยายามเคลื่อนเข้าใกล้กำแพงพระนครขึ้นทุกขณะ เมื่อถึงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2309 ฝ่ายพม่าก็เข้ามาตั้งติดกำแพงพระนครห่างกันเพียงแค่ระยะปืนใหญ่            ในระหว่างที่อยู่ภายใต้วงล้อมนี้ การวางแนวปะทะของอยุธยาไม่สามารถพลิกผลของสถานการณ์ได้เลย ในพระนครเริ่มขาดแคลนอาหาร ประสิทธิภาพและขวัญกำลังใจของกองทัพเสื่อมโทรม มังมหานรธาเสนอในที่ประชุมแม่ทัพนายกองแนะให้ใช้อุบายลอบขุดอุโมงค์เข้าไปในกรุง พร้อมกับสร้างค่ายทหารขึ้น 27 ค่ายล้อมรอบพระนคร ซึ่งรวมไปถึงเพนียด วัดสามพิหาร วัดมณฑบ วัดนางปลื้ม และวัดศรีโพธิ์ เพื่อจะได้ยิงปืนใหญ่ด้วยความแม่นยำยิ่งขึ้น อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กองทัพหัวเมืองทางเหนือราว 20,000 นาย มาช่วยอยุธยา แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปอย่างง่ายดาย            ภายหลังความพ่ายแพ้ในการรบทางเรืออย่างบอบช้ำ ฝ่ายผู้ปกครองอยุธยาจึงแต่งทูตออกไปเจรจาขอเป็นเมืองขึ้นของพม่า แต่แม่ทัพพม่าก็ปฏิเสธ โดยอ้างพระบรมราชโองการของพระเจ้ามังระ ต่อมา ระหว่างเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ทหารพม่าก็เริ่มการขุดอุโมงค์ด้านหัวรอจำนวน 5 แห่งอย่างเป็นขั้นตอน โดยตั้งค่ายใหม่เพิ่มอีก 3 แห่ง พร้อมกับยึดค่ายป้องกันพระนครทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด และยึดค่ายป้องกันทางด้านทิศใต้ภายในเดือนมีนาคม ต่อมา ฝ่ายเนเมียวสีหบดีก็เสนอแก่นายกองทั้งหลายให้ใช้ไฟสุมเผารากกำแพงเมืองจากใต้อุโมงค์ซึ่งขุดไว้แล้ว จากนั้นก็ตกลงกันเตรียมเชื้อเพลิงและกำลังพลไว้พร้อม

กองทัพพม่าสามารถเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ พร้อมทั้งจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัยและยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310

          กองทัพพม่าจุดไฟสุมรากกำแพงกรุงศรีอยุธยาจนทรุดถล่มลงมา กรุงศรีอยุธยาเสียแก่กองทัพพม่าในคืนวันเดียวกัน ครั้นถึงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube