สาเหตุเกิดอุบัติภัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคืออะไร

?>

สาเหตุเกิดอุบัติภัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคืออะไร

อัพเดทวันที่ : 07 มี.ค. 2560

รู้หรือไม่สิ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในขั้นตอนต่างๆ กว่าร้อยละ 80เปอร์เซ็น ล้วนมีสาเหตุมาจากพนักงานซะส่วนใหญ่ ทั้งความประมาท สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม การไม่ตั้งใจอบรม การไม่สนใจคำชี้แนะของหัวหน้างาน การกระทำเหล่านี้เป็นผลให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานบ่อยมาก ในบทความนี้ทางพีดีเอสจะพาทุกคนไปเข้าใจสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้เฝ้าระวังและดำเนินการแก้ไขต่อไป

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ

1.การไม่มีความรู้ที่มากพอ ซึ่งในการทำงานทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานใหม่ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมย่อมจะพาพนักงานใหม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานแต่ละแผนก พร้อมทั้งอบรมเรื่องความปลอดภัย ข้อควรระวัง กฎระเบียบที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แต่หากพนักงานใหม่ไม่ตั้งใจฟัง ย่อมจะปฏิบัติงานบนความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองและเพื่อนๆร่วมทีมได้

2.ความประมาทของพนักงาน สำหรับพนักงานบางคนอาจคิดว่าตนเชี่ยวชาญในงานที่ทำ จนละเลยกฎระเบียบบางประการที่สำคัญในเรื่องความปลอดภัย เพราะความมั่นใจที่ว่าทำจนชำนาญ ย่อมจะทำให้เกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ ตัวอย่างเช่น การไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย เป็นต้น

3.เครื่องมือที่ชำรุด เครื่องไม้เครื่องมือ หากชำรุดหรือใช้การไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการแจ้งเปลี่ยนแปลงโดยทันที อย่าฝืนใช้งาน เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ

4.ร่างกายไม่พร้อมในการทำงาน บางครั้งพนักงานไม่สบายหรือสภาพร่างกายไม่พร้อม ต้องรีบแจ้งหัวหน้างานให้ทราบ เพื่อสัพเปลี่ยนคนอื่นเข้าไปทำงานแทน อย่าฝืนทำงานทั้งๆที่ตัวเองไม่พร้อมเด็ดขาด เพราะอาจทำให้พลาดท่าบาดเจ็บได้ โดยเฉพาะคนที่ควบคุมเครื่องจักรที่มีอันตรายหากประมาท

5.เครื่องจักรที่ไม่พร้อม เมื่อพบเจอเครื่องจักรที่ชำรุดหรือมีชิ้นส่วนหลุด ต้องรีบแจ้งหัวหน้างานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบโดยทันที ห้ามฝืนใช้งานเครื่องจักรโดยเด็ดขาด


องค์ประกอบหลักที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ ประการที่หนึ่ง คือ คน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากพฤติกรรม เช่น การดื่มสุราแล้วขับรถ การขับรถเร็ว การขับรถโดยประมาท เป็นต้น หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น สายตาสั้น หูตึง ตาบอดสี เป็นต้น ประการที่สอง คือ ยานพาหนะ ที่ขาดการดูแลบำรุงรักษาเครื่องยนต์อย่างต่อเนื่อง และประการที่ 3 คือ สิ่งแวดล้อม เช่น สภาพถนนที่ไม่ได้มาตรฐานทางวิศวกรรม ฝนตก ถนนลื่น ความมืด ควันไฟ เป็นต้น

ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุสาเหตุสำคัญล้วนมาจากพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการดื่มเพื่อเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลพิเศษ เช่น ปีใหม่ และสงกรานต์ เพราะโอกาสพิเศษนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการสนับสนุนให้มีการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มากกว่าการดื่มในช่วงเวลาปกติ

ข้อเท็จจริงจากการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกรานต์ที่ผ่านมาพบว่า การเมาสุรา ยังคงครองแชมป์เป็นมัจจุราชที่คร่าชีวิตผู้คนบนท้องถนนมาเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 39.21) รองลงมา คือ ขับรถเร็วเกินกำหนด (ร้อยละ 21.57) ตัดหน้ากระชั้นชิด (ร้อยละ 15.12) มอเตอร์ไซต์ไม่ปลอดภัย (ร้อยละ 14.96) ทัศนวิสัยไม่ดี (ร้อยละ 8.28) และหลับใน (ร้อยละ 2.65) (ดังภาพที่ 1)

ภาพที่ 1 แสดงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 7 วันอันตราย
เปรียบเทียบระหว่างปี 2554 กับ 2555

สาเหตุเกิดอุบัติภัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคืออะไร

ที่มา : สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศการสงกรานต์ 2555 ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบีติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2555 อ้างใน http://www.roadsafetythailand.com/main/files/data1/songkran55/data_170455/report7.pdf

หากย้อนเวลากลับไปดูข้อมูลในช่วงเวลาเดียวกันนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว สุราได้กลายมาเป็นสาเหตุหลักแซงพฤติกรรมเสี่ยงๆ อย่างการไม่สวมหมวกนิรภัย จากเดิมที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดถึง ร้อยละ 51.59 ในปี 2552 แต่ในปีถัดมากลับพบว่า สัดส่วนการเกิดอุบัติเหตุจากการการไม่สวมหมวกนิรภัยเริ่มมีแนวโน้มลดลงเหลือเพียงร้อยละ 30.75 ในขณะที่สัดส่วนการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาสุราเริ่มมีมากขึ้น จนกลายมาเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดในปัจจุบัน (ดังภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 แสดงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 7 วันอันตราย
เปรียบเทียบระหว่างปี 2550 - 2554

สาเหตุเกิดอุบัติภัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคืออะไร

ที่มา : วิเคราะห์ข้อมูลเทศกาลสงกรานต์ 50-54 กลุ่มงานศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน สำนักบูรณาการสาธารณภัย อุบัติเหตุ และความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย อ้างใน http://www.roadsafetythailand.com/main/files/data/songkran/risk-behav50-54.pdf

ในสังคมยุคอุตสาหกรรม ปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลย ที่จะใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ ยิ่งเครื่องจักรอุตสาหกรรม ที่สามารถตอบสนอง ต่อกระบวนการผลิตที่ต้องการผลผลิตคราวละมากๆ ผลิตได้ไวตามที่ลูกค้าต้องการ ด้วยเหตุนี้เครื่องจักรจึงเข้ามามีบทบาทมากสำหรับประเทศอุตสาหกรรม สิ่งที่ตามมาคือ อันตรายและอุบัติเหตุต่างๆ อันมีสาเหตุหลักมาจากเครื่องจักร ซึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องจักร มีอยู่หลายสาเหตุ ดังนี้

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องจักร ได้แก่

สาเหตุเกิดจากผู้ปฏิบัติงาน
1.1 การแต่งกายไม่รัดกุม บุคคลที่ทำงานกับเครื่องจักรไม่ควรไว้ผมยาว ผูกเนคไท ใส่เสื้อผ้าไม่รัดกุม รวมทั้งกำไล แหวน นาฬิกา เพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ขณะทำงาน
1.2 ขาดความตระหนักในการสวมใส่อุปกรณ์ ป้องกันภัยส่วนบุคคล PPE อาาจะมองว่าการทำงานไม่สะดวกมีความรู้สึกเกะกะในขณะใช้เครื่องจักร
1.3  สภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงานไม่พร้อมที่จะทำงาน ทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้
1.4  การขาดการฝึกอบรมการใช้งานที่ถูกต้อง การทำงานกับเครื่องจักรต่างๆ ต้องได้รับการฝึกอบรมที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้อง

สาเหตุจากสภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์
2.1 เครื่องจักรชำรุด รวมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ประกอบ เช่น น็อตหลวม แท่นเครื่องหลวมคลอนไม่แน่น สายพานใกล้จะขาด เป็นต้น
2.2 เครื่องจักรขาดระบบเซฟตี้การ์ด ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ปฏิบัติงานได้ การใช้เครื่องจักรที่ไม่มีระบบป้องกันอันตราย

สาเหตุจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3.1 ความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยในบริเวณปฏิบัติงาน มีวัสดุกีดขวางในระหว่างปฏิบัติงาน 
3.2 สภาพโดยรอบมีแสงสว่างไม่เพียงพอ ในสถานที่ปฏิบัติงาน
3.3 สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง โดยไม่มีการป้องกัน จะทำให้ความสามารถในการรับฟังไม่ดีพอ เกิดการสื่อสารผิดพลาด ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
3.4 สถานที่ปฏิบัติงานมีเนื้อที่คับแคบ ไม่มีความสะดวกในการปฏิบัติ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
3.5 การระบายอากาศและการขจัดกลิ่นควันหรือไอพิษไม่ดีพอ
3.6 สถานที่ปฏิบัติงานไม่มีทางหนีไฟหรือทางฉุกเฉิน ตามที่กฎหมายกำหนด
3.7 ขาดระบบป้องกันอัคคีภัยและอุปกรณ์ดับเพลิงที่ถูกต้อง ตามที่กฎหมายกำหนด
3.8 ขาดการป้องกันระบบไฟฟ้าที่เหมาะสม ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

สรุป: การทำงานกับเครื่องจักให้เกิดความปลอดภัยนั้นควรเริ่มจากความตระหนักจากผู้ปฏิบัติงานการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆและวิธีการทำงานอย่างถูกวิธีทำตามกฎความปลอดภัยที่ทาง จป หัวหน้างาน ได้ออกระเบียบข้อบังคับด้านไว้ปลอดภัยอย่างเคร่งครัด